ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always be loved.
Group Blog
 
<<
มกราคม 2564
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
31 มกราคม 2564
 
All Blogs
 
ราชมรรคาเมืองพิมาย

เรื่องเล่าในกาลเวลา “ราชมรรคา” เมืองพิมาย–เขมรต่ำ
....กลางฤดูหนาว ในปี พ.ศ. 2495
....“คิด คงควร” นายเกวียนมือใหม่วัย 14 ฤดูฝน ตวัดเชือกสนตะพาย เร่งฝีเท้าวัวตัวหลัง ให้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกองคาราวานเกวียน ออกรอนแรมบนเส้นทางสายเปลี่ยวที่ทอดตัวยาวไกล ตัดผ่านทุ่งนาหลังฤดูเก็บเกี่ยว ดงไม้แห้งโกร๋นและหย่อมบ้านเรือน มี “กองศิลาโบราณ” ที่มีต้นไม้ขึ้นปกคลุมมีให้เห็นเป็นระยะ...
...หนุ่มน้อยวัยคะนองเรียนรู้มาจากคำเล่าลือว่า ซากปรักเหล่านั้นเคยเป็นที่พักคนเดินทางเมื่อครั้งอดีต ก่อนนำเกวียนเฉียดเข้าไปใกล้จนมองเห็นยอดเขาด้านขวามือ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นที่ตั้งของปราสาทหินโบราณขนาดใหญ่ 
....ย่างเข้าสู่เย็นวันที่ 10 ของการเดินทาง เด็กหนุ่มและคณะก็มาถึงหนองน้ำเล็กๆกลางดงไม้หนาทึบ จากจุดนั้น ที่หมายปลายทางของพวกเขาก็อยู่แค่เอื้อม....
....“หยุดดดดดด ๆ ๆ ” คิด คงควร ออกคำสั่งกับวัวเทียมเวียน พร้อมบังคับรถเกวียนให้เข้าไปเข้าสมทบกับกองคาราวานของคณะ ซึ่งจอดเรียงรายล้อมเป็นวงกลมอยู่ก่อนแล้ว อีก 19 เล่ม วัวเทียมเกวียนแต่ละคู่ได้หยุดพักกินหญ้าเป็นรอบที่สองของวัน ก่อนจะถูกต้อนไปผูกรวมกันไว้ตรงกลางวงล้อม....
.....กองไฟขนาดย่อมถูกสุมขึ้นเพื่อใช้หุงหาอาหารมื้อเย็น และให้คนกับวัวได้อาศัยไออุ่นช่วยขับไล่ความหนาวเหน็บในยามค่ำคืน ภารกิจของกองเกวียนกลางสายลมหนาวจาก “เมืองพิมาย” นี้ ก็คือลำเลียงเกลือสินเธาว์ที่มีอยู่ดาษดื่นในเขตเมือง โดยบรรจุไว้ในกระทอไม้ไผ่ก่อนนำขึ้นไปเรียงจนเต็มกูบเกวียนเพื่อข้ามเขตแดนไทยไปแลกปลาที่ฝั่งประเทศกัมพูชา หรือที่ชาวพิมายเรียกว่า “เมืองเขมรต่ำ” ดินแดนที่มั่งคั่งไปด้วยปลาและข้าว โดยอาศัยเส้นทางสัญจรที่นักเดินทางและนายกองเกวียน ที่ชาวพิมายรู้ต่อ ๆ กันมาในนาม “ถนนโบราณ” แต่ก็ไม่มีใครสักคนที่รู้ว่า เส้นทางดินที่กงเกวียนนับยี่สิบคู่บดอัดมาตลอดสิบวันนั้นถูกสร้างขึ้นมาตั้งแต่เมื่อใด....
... “ในปีที่ข้าวปลาอาหารขัดสน พวกเจ้าต้องเดินทางไปตามถนนสายนี้พร้อมกับเกลือ เจ้าถึงจะอยู่รอด” 
นี่อาจเป็นคำสั่งเสียของปู่ย่าตายายที่ย้ำนักย้ำหนา เป็นเหตุผลที่สำคัญในการเดินทางของกองคาราวานนี้มากกว่าจะสนใจเรื่องถนน และแน่นอนว่า “ความอยู่รอดและมีกิน” จึงเป็นเหตุผลใหญ่ที่ทำให้คิด คงควร พ่อของเขาและชาวเมืองพิมาย ต่างตัดสินใจออกเดินทาง...ไปตามเส้นทางโบราณที่ยังไม่หายไป ....” (Ref.National Geographic)
---------------------------------------
*** ภายหลังการสวรรคตของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ถนนโบราณ-ราชมรรคาในการอุปถัมภ์ของราชวงศ์มหิธรปุระ ก็เริ่มซบเซาเพราะขาดการดูแลปกปักษ์รักษา 
การอุปถัมภ์ศาสาสถานตามเส้นทางมายังเมืองพิมายเริ่มลดลง จนสิ้นสุดลงในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 20 เมื่อศูนย์กลางอำนาจแห่งอาณาจักรเทวราชา ได้ถูกทำลายโดยกองทัพจากอยุทธยา หนึ่งในกลุ่มแว่นแคว้นที่เคยอยู่ภายใต้จักรวรรดิเดียวกัน แต่ในวันนี้ กำลังเป็นรัฐขอมตะวันตกที่เติบโตและยิ่งใหญ่ขึ้นมาแทนที่
ซากอาคารก่อศิลามากมายตามเส้นทาง จึงได้เสื่อมสภาพลงไปตามบริบทการล่มสลายของชุมชนในอาณาจักรที่สิ้นสลายจากเหตุเพราะการสงคราม การกวาดต้อนผู้คนเพื่อนำไปใช้เป็นแรงงานทาส ความเชื่อและอำนาจการปกครองของรัฐใหม่ที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย 
และเมื่อมีผู้คนกลุ่มใหม่ตระกูลไท - ลาวจากแดนอีสานเหนือและแดนลาวใต้ ชาวเขมรป่าดงจากเขมรต่ำ อพยพเข้าสู่แผ่นดินอีสานใต้ หักร้างถางพงเพื่อทำไร่ ทำนา สร้างหมู่บ้านตั้งชุมชน เข้ามาครอบครองซากปราสาทเก่าแก่ ที่ปรักหักพังทับถมเป็นเนินดอน ชุมชนใหม่ที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานบนบ้านเมืองที่ถูกทิ้งให้ร้างมานานหลายร้อยปี มาอยู่ร่วมกับชาวเขมรโบราณหรือคนขะแมร์ลือ ที่ยังคงอาศัยกระจายชุมชนอยู่ทั่วอีสานใต้ยังคงได้ใช้เส้นทางโบราณเป็น “ถนน” สำหรับขบวนคาราวานเกวียน บนเส้นทางสายเก่าที่ไม่เคยมีผู้ใดรู้ที่มา 
รู้แต่เพียงว่าบนถนนนี้จะมีหย่อมบ้านเรือนของผู้คนเก่าแก่ มีกองศิลาโบราณที่มีต้นไม้ขึ้นปกคลุมให้เห็นเป็นระยะ ซึ่งซากกองศิลาเหล่านั้นเคยเป็นที่พักคนเดินทางเมื่อนานแสนนานมาแล้ว 
ขบวนคาราวานเกวียน จากเมืองพิมาย จะนำสินค้าประเภทต่าง ๆ ทั้ง วัว ควาย ของป่า ครั่ง นุ่นและเกลือสินเธาว์จากถิ่นอีสานใต้ เดินทางรอนแรมไปตามถนนที่มีซากปราสาท ข้ามช่องเขาพนมดองเร็กที่ช่องเสม็ด ลงไปแลกข้าว ปลาและของป่า สมุนไพร กับชุมชนเขมรรอบโตนเลสาบในเขตเขมรต่ำที่มีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ 
---------------------
*** เรื่องเล่าการเดินทางของขบวนคาราวานสินค้าทางเกวียน และตำนานนายฮ้อยแห่งอีสานบนเส้นทางถนนโบราณในช่วง 100 – 200 ปีนี้เอง ที่เป็นหลักฐานสำคัญ บอกเล่าเรื่องราวในอดีตกับร่องรอยสำคัญในวิถีชีวิตของผู้คน ที่ยืนยันการมีตัวตนของ “ถนนราชมรรคา” จากยุคจักรวรรดิบายนเคยยิ่งใหญ่ ยังคงปรากฏหลงเหลือมาจนถึงในทุกวันนี้ครับ
เครดิต ; FB
วรณัย พงศาชลากร 
EJeab Academy
.....................................................
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs link 👆 
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
https://abhinop.blogspot.com
https://abhinop.bloggang.com
.....................................................
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always be love.
.....................................................



Create Date : 31 มกราคม 2564
Last Update : 31 มกราคม 2564 14:43:30 น. 3 comments
Counter : 769 Pageviews.

 
ททมาโน ปิโยโหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always be love.


โดย: ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก วันที่: 31 มกราคม 2564 เวลา:14:44:26 น.  

 
ขอบคุณที่แบ่งปัน


โดย: Kavanich96 วันที่: 1 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา:1:17:08 น.  

 
ยังมีสาระเรื่องราวดี ๆ ที่อยากเล่าตามมาดูเราได้ที่ ;
My blogs link 👆
https://sites.google.com/site/dhammatharn/
//abhinop.blogspot.com
//abhinop.bloggang.com
ททมาโน ปิโยโหติ #ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.


โดย: ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก วันที่: 8 มีนาคม 2564 เวลา:14:32:44 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ททมาโน ปิโยโหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.
New Comments
Friends' blogs
[Add ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.