ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always be loved.
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2564
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
15 ตุลาคม 2564
 
All Blogs
 
ตัวมกร

“ถาลาบริวัตร” ศิลปะเริ่มแรกของอนุราชวงศ์ปัลลวะ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
“ราชวงศ์ปัลลวะ” (Pallava Dynasty) ผู้ปกครองแคว้นอานธระประเทศ (Andhra Pradesh) และทมิฬนาฑู (Tamil Nadu) ในเขตอินเดียใต้ฝั่งตะวันออก เริ่มปรากฏขึ้นอิทธิพลขึ้นครั้งแรกในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 9 เป็นกลุ่มอำนาจแห่งกาญจีปุรัม (Kanchipuram) ที่กำลังเติยใหญ่ขึ้นในท่ามกลางการช่วงชิงอำนาจของกลุ่มราชวงศ์ใหญ่ อย่าง “ราชวงศ์อิกษวากุ/นครนาคารชุนโกณฑะ” (Ikshvaku Dynasty) ที่กำลังเสื่อมถอย “ราชวงศ์จาลุกยะ” (Early Chalukya Dynasty) จากอินเดียตะวันตกที่ขยายอิทธิพลเข้ามา “ราชวงศ์ปาณฑยะ” (Pandya) คู่อริทางใต้สุดของคาบสมทรเดกข่าน ที่เข้ามาช่วงชิงแดนทิมฬนาฑู และราชวงศ์คุปตะ (Gupta Dynasty) จากอินเดียเหนือ ที่ได้แผ่อำนาจเข้ามายึดครองแคว้นอานธระประเทศในช่วงพุทธศตวรรษที่ 10
.
*** ซึ่งในช่วงพุทธศตวรรษที่ 9 – 10 เป็นช่วงเวลาแรก ๆ ของ กระบวนการ “ภารตะภิวัฒน์/การกลายเป็นวัฒนธรรมอินเดีย” (Indianization) ขึ้นในดินแดนต่าง ๆ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ “สุวรรณทวีป-สุวรรณภูมิ (Suvaṇṇabhūmi- Suvarṇadvīpa) ทั้ง “คาบสมุทรมาลายู” (Malay Peninsula) ไปจรดชวาและดินแดนปากแม่น้ำโขง โดยเฉพาะการเข้ามาของคติความเชื่อและศิลปะในลัทธิภาควัต (Bhāgavata) ไวษณพนิกาย (Vaishnavism –Vishnuism) ที่นิยมในจักรวรรดิคุปตะ พุทธศาสนาทั้งฝ่ายสถวีรวาท/เถรวาท (Sthāvirīya) และมหายาน (Mahāyāna) ในงานศิลปะแบบ “หลังอมราวดี” (Post Amaravati) (อมราวดี/คุปตะ/ลังกา) จากท่าเรือเรือในแค้วนอานธระประเทศ และปากแม่น้ำคงคาในเขตแคว้นกลิงคะครับ  
.
*** ส่วน “ลัทธิฮินดู/ไศวะนิกาย” (Hinduism/Shavisim) จากอิทธิพลอินเดียเหนือและตะวันตก นั้น ดูเหมือนว่าจะเพิ่งได้รับความนิยมในสมัยราชสำนักราชวงศ์ปัลลวะที่เริ่มเข้าครอบครองแคว้นอานธระประเทศ  และอินเดียใต้ ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 11 และได้เริ่มส่งกองเรือข้ามมหาสมุทร นำโดยกลุ่มเชื้อพระวงศ์ในอนุราชวงศ์ นักบวช พ่อค้าวาณิช ช่างฝีมือ เกษตรกร ทหารและกลุ่มผู้แสวงโชค ออกสำรวจดินแดนใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ยังไม่มีการครอบครองเป็นครั้งแรก 

ในยุคแรกของการสำรวจดินแดนใหม่ กลุ่มอนุวงศ์ปัลลวะกลุ่มแรกได้เดินทางเลาะชายฝั่งทะเลตะวันออก (จังหวัดจันทบุรีไปถึงจังหวัดกัมปอดในปัจจุบัน) สำรวจเข้าไปในแผ่นดินใหญ่ ส่วนกลุ่มอนุวงศ์ปัลลวะกลุ่มใหญ่ ที่ติดตามเข้ามา เลือกเดินทางอ้อมแหลมดัดมุย (จังหวัดก่าเมา เวียนามในปัจจุบัน) เลาะมาเข้าทางปากแม่น้ำโขง ล่องตามแม่น้ำใหญ่เข้ามาในภูมิภาคแผ่นดิน ตามเส้นทางเดิมที่ “ราชวงศ์สาตวาหนะ” (Satavahana Dynasty) อานธระ/อิกษวากุและคุปตะ และกลุ่มชาวอินเดียทางตะวันตกเคยใช้มาแล้วในช่วงก่อนหน้าครับ 
.
ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 11 กลุ่มสำรวจกลุ่มใหญ่ได้เริ่มตั้งชุมชนเมืองขึ้นเป็นครั้งแรกที่ “สัมภูปุระ” (Sambhupura) ตั้งแต่สมัยของพระเจ้าศรีสารวะเภามะ (Śrī Sārvabhauma) และขยายขอบเขตมายัง “อีศานปุระ” (Īśānapura) หรือ “สมโปร์ไพรกุก” (Sambor Prei Kuk) โดยมีเจ้าชายจิตรเสนะ (Prince Śrī Citrasena) บุตรของ “ศรีวีรวรมัน” (Śrī Vīra-varman) เป็นผู้นำในการสำรวจเพื่อการขยายดินแดน/อิทธิพลของอนุวงศ์ชาวปัลลวะ ให้ลึกเข้าไปในแผ่นดินตามเส้นทางแม่น้ำโขงและต้นน้ำสาขา

-----------------------  
*** ศิลปะอันโดดเด่นในยุคเริ่มแรกของอนุวงศ์ปัลลวะในลุ่มน้ำโขง/ชายทะเลตะวันออก คือการปรากฏรูป “นักรบนั่งอยู่เหนือตัว ม ก ร (Makara) คู่ อยู่ที่เหนือเสาปลายของซุ้ม หันหน้าเข้าหากัน หางเป็นกระหนกม้วนยาว อ้าปากเห็นเขี้ยวและฟันคายแถบคาดประดับลายลูกปัดอัญมณี (ในความหมายของการสำรอกน้ำศักดิ์สิทธิ์) เข้าหากันแบบสะพาน/วงโค้ง โดยมีพุ่มช่อดอกไม้กลม/วงรีทิ้งอุบะตรงกลาง” เป็นรูปมงคลเหนือซุ้มบัญชร/ซุ้มประตู ที่รับอิทธิพลทางศิลปะมาจากราชวงศ์คุปตะ/ราชวงศ์วากาฏกะ/จาลุกยะ (เช่นที่พบจากหมู่ถ้ำอชันต้าและเอลโรล่า เมืองออรังกาบัด รัฐมหาราษฏระ) ดังปรากฏภาพสลักหินในงานศิลปะราชวงศ์ปัลลวะในอินเดียใต้อย่างที่ “เทวาลัยไกรลาสนาถ” (Kailasanathar temple) เมืองกาญจีปุรัม (Kanchipuram)  “มหิงษาสุรมรรทิณี มณฑาพรัม” (mahishasuramardini mandapam) ในกลุ่มเทวาลัยถ้ำเจาะหิน และ “มณฑปเทราปตีรถะ” (Draupadi Ratha) ใน  “กลุ่มเทวาลัยปัญจปาณฑพรถะ” (Pancha Rathas complex) เมืองมามัลละปุรัม (Mahabalipuram) รัฐทมิฬนาฑู อดีตเมืองท่าสำคัญของราชวงศ์ปัลลวะครับ
.
ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ศิลปะมกรคายแถบวงโค้งเหนือซุ้มประตูแบบปัลลวะ ได้ถูกนำมาแกะสลักหินเป็นรูปมงคลไว้เหนือซุ้มประตู ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบของหินทับหลัง ถูกกำหนดชื่อเรียกศิลปะว่า “ถาลาบริวัตร/ธาราบริวัต ”(Thala Boriwat Style) เริ่มต้นประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 11 ถึงช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 12 โดยในยุคแรกนิยมใส่รูป “ครุฑยุคนาค” (Khrut yut nak - Garuda holding Nāga) ตามคติ“ความดี (ครุฑ) เหนือความชั่ว (นาค)” ในปกรณัมพื้นถิ่นของอินเดีย รูปสิงห์ หน้ากาล หรือสูริยเทพ ไว้ในช่อดอกไม้กลมตรงกลาง ยังไม่ปรากฏรูปเทพเจ้าอย่างพระวิษณุ พระศิวะหรือพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ (ทิศตะวันออก) ต่อมารูปแถบโค้งได้ยืดออกด้านข้างตามขนาดกรอบประตู เพิ่มช่อดอกไม้คั่นแถบโค้ง ที่พัฒนาขึ้นในท้องถิ่น (ศิลปะสมโบร์ไพรกุก) จึงเริ่มปรากฏรูปของเหล่าเทพเจ้าเข้ามาอยู่ในวงช่อดอกไม้ 
.
--------------------- 
*** รูปศิลปะ “ถาลาบริวัตร” ของอนุราชวงศ์ปัลลวะนี้ จึงมักพบในพื้นที่ที่นักเดินทางสำรวจจากแดนอินเดียใต้ ได้เข้ามาบุกเบิกและยึดครองดินแดนในช่วงแรก ๆ (ก่อนการเป็นเขมร) เริ่มจากชายฝั่งทะเลตะวันออกของประเทศไทยและกัมพูชา เลาะเข้ามาทางเส้นทางปากแม่น้ำโขง ขึ้นไปยังกำปงจาม สตรึงเตรง ข้ามสี่พันดอน วัดพู ขึ้นไปยังปากแม่น้ำมูล และบางส่วนอาจพบเห็นลึกเข้าไปเขตอีสานใต้และลาวครับ 
เครดิต :FB
วรณัย  พงศาชลากร
EJeab  Academy


Create Date : 15 ตุลาคม 2564
Last Update : 15 ตุลาคม 2564 19:52:39 น. 1 comments
Counter : 277 Pageviews.

 
ขอบคุณที่แบ่งปัน


โดย: Kavanich96 วันที่: 16 ตุลาคม 2564 เวลา:5:09:40 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ททมาโน ปิโยโหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.
New Comments
Friends' blogs
[Add ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.