ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always be loved.
Group Blog
 
<<
กันยายน 2564
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
29 กันยายน 2564
 
All Blogs
 

พระนาคปรกบายน

“พระพุทธรูปนาคปรกศิลปะบายน” ที่วัดพระธาตุลำปางหลวง ไม่เกี่ยวข้องกับตำนานจามเทวี 

หากไม่นำ “นิทาน/ตำนาน/เรื่องเล่า” ประวัติการสร้างเมืองในอาณาจักรล้านนา ที่ได้รับอิทธิพลมาจาก“ชินกาลมาลีปกรณ์” (Jinakālamālī) และ "จามเทวีวงศ์" (Jamadeviwong) วรรณกรรมพุทธศาสนาที่เพิ่งถูกรจนาขึ้นโดยพระเถระในช่วงต้นถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 21 ในยุครุ่งโรจน์ของอาณาจักร สมัยพระเจ้าติโลกราชถึงสมัยพระเจ้าศิริธรรมจักรพรรดิราช (พญาแก้วหรือพระเมืองแก้ว) มาใช้อธิบายแล้ว “วัดพระธาตุลำปางหลวง” จะถูกสร้างขึ้นครั้งแรกในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 21 โดยผู้ปกครองเมืองลำปาง ตามข้อความใน “จารึกเจ้าหมื่นคำเพชร” (ลป.1) อักษรฝักขาม ภาษาไทย ระบุปีจุลศักราช 838 ( พ.ศ.2019) กล่าวว่า “...ปุนัพสุเจ้าหมื่นคําเพชรมาครองเมืองนคร มาเลิกศาสนาพระธาตุเจ้าในลําพาง ให้ก่อกําแพงแปลงวิหาร แล้วเสร็จ ให้รจนารูปพระพุทธตนหนึ่งมีประมาณแสนหยิบหมื่นนํ้าทอง แล้วจัดงานเฉลิมฉลอง ถวายข้าทาส4 ครัวเรือน เพื่อให้ดูแลรักษาศาลากับนํ้าบ่อ แผ้วทางต่อพระเจดีย์ศรีรัตนชินธาตุ ถวายที่นา 15 ไร่ ข้าว 200 และข้าพระไว้ให้ทำนา...”
.
ในจารึกวัดพระธาตุลำปางหลวง (ลป.2) อักษรฝักขาม ภาษาไทย ระบุปีจุลศักราช 858 – 886 (พ.ศ. 2039 – พ.ศ. 2049) ระบุว่า “....เจ้าเมืองนครสีทัตถมหาสุรมนตรี (สีทัตถะ) ได้ขึ้นครองเมืองนครนี้มาแล้ว 6 เดือน จึงได้ร่วมกับพระสงฆ์ เจ้าหมื่น เจ้าพันและนักบุญทั้งหลาย ก่อสร้างวิหารวัดพระธาตุลำปางหลวง หล่อพระเจ้าล้านทอง และก่อพระเจดีย์ตั้งแต่เริ่มวางรากฐานจนถึงหุ้มทองกว้าง 12 วา สูง 19 วาจนแล้วเสร็จ...” ในจารึกหลักนี้ยังปรากฏวงดวงทักษิณา 3 วง ระบุเวลาของการก่อสร้างเจติยะสถานแต่ละอย่างไว้อย่างชัดเจนครับ 
.
เมื่อพิจารณารูปแบบศิลปะ/งานสถาปัตยกรรมของซุ้มประตูโขง มังกรคายนาค มณฑปโขงทรงปราสาทยอด (กุฎาคาร) และพระธาตุเจดีย์ทรงล้านนาเรือนฐาน 4 เหลี่ยมยกเก็จขยาย ฐานบัวลูกแก้ว “บัวถลา” แบบสุโขทัยรองรับองค์ระฆังไม่มีบัลลังก์ ก็สอดรับกับช่วงเวลาที่มีการก่อสร้างวัดพระธาตุลำปางหลวงตามจารึกในสมัยพระเมืองแก้วอย่างชัดเจน     
.
*** ภายหลังการสร้างวัดพระธาตุลำปางหลวงเพียงไม่กี่ปี อาณาจักรล้านนาได้เกิดสงครามกับอาณาจักรอยุทธยาในสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ในปี พ.ศ. 2050 สงครามยืดเยื้อจนถึงปี พ.ศ. 2058 กองทัพฝ่ายอยุทธยาสามารถยึดครองเมืองลำปาง อันเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญทางใต้ของอาณาจักรล้านนาได้ ดังปรากฏความในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ว่า “....ศักราช 877 กุนศก วัน 3 15 ค่ำ เดือน 11 เพลารุ่งแล้ว 8 ชั้น 3 ฤกษ์ 9 ฤกษ์ สมเด็จพระรามาธิบดี เสด็จไปเมืองนครลำภางได้เมือง...” แต่ก็ได้คืนเมืองลำปางแก่ล้านนาภายหลังการเจรจาสงบศึก ตกลงเป็นไมตรีกันในปี พ.ศ. 2065 ครับ 
.
*** “ตำนานจามเทวี” ที่เริ่มจากวรรณกรรมชินกาลมาลีปกรณ์ และจามเทวีวงศ์ ที่ถูกนำมาใช้สวมทับ เล่าประวัติความเป็นมาวัดพระธาตุลำปางหลวงและหลาย ๆ ที่ในเมืองหริภุญชัยและเชียงใหม่กันอย่างกว้างขวางในยุคร่วมสมัยปัจจุบัน ยังไม่ได้ถูกรจนาขึ้นหรือยังไม่แพร่หลายเป็นที่รู้จัก 
.
พูดง่าย ๆ ก็คือ ตำนานจามเทวีที่ชอบนำมาฟุ้ง มาวิเคราะห์ปริศนากันอย่างสนุกสนานในปัจจุบัน...ยังไม่ได้เป็นที่รับรู้กันในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 21 ในยุคที่มีการสร้างวัดพระธาตุลำปางหลวงเลยนะครับ    
.
---------------------------
*** “วิหารละโว้/วิหารพระเจ้าศิลา/วิหารจามเทวี อันเป็นอาคารโถงไม่มีผนังทางด้านตะวันตก (ด้านหลัง) ขององค์พระธาตุ มีพระพุทธรูปนาคปรกองค์หนึ่งประดิษฐานอยู่ภายในมณฑปยอดปราสาท (กุฎาคาร) (มีข้อความอธิบายไปตามตำนานหริภุญชัยจากชินกาลมาลีปกรณ์ ยกให้ไปเป็น “...พระพุทธรูปเก่าแก่ที่สุดในกรุงละโว้สมัยนั้น ครั้งเมื่อ พ.ศ. 1215 พระราชบิดาของพระนางจามเทวี มอบให้มาประดิษฐานไว้ ณ ที่นี้..” หรือใช้จากตำนานพระธาตุลำปางหลวงที่แต่งใหม่ในยุคหลังโดยได้รับอิทธิพลจากตำนานจามเทวี ที่ระบุว่า "...วิหารด้านวันตกไว้พระสิลาเจ้า ตนอันพระญาละโว้พ่อนางจามเทวีหื้อมาไว้เปนที่ไหว้แก่อนันตยศอันเปนหลานตนอันยังอยู่กินเมืองนครนั้นแล...”) มีพุทธศิลป์แบบพระนาคปรกในงานศิลปะเขมรแบบบายน ที่น่าจะถูกนำขึ้นไปจากเมืองศรีสัชนาลัย/สุโขทัย (สุโขทัยพบพระพุทธรูปนาคปรกศิลปะนาคแผ่พังพานลู่เฉียงแบบบายนหลายองค์) ในช่วงที่พระเมืองแก้วนำกองทัพใหญ่ลงมาตีกรุงสุโขทัยในปี พ.ศ. 2056 ด้วยเพราะอาจเคยเป็นพระพุทธรูปสำคัญองค์หนึ่งของรัฐสุโขทัยในยุคจักรวรรดิเขมร (ปราค์วัดเจ้าจันทร์ ?) ไม่น่าเกี่ยวข้องไกลไปถึงเมืองละโว้ในตำนานและชื่อนามที่แต่งเติมกันเอาไปครอบทับเล่ากันในภายหลังแต่อย่างใด
.
องค์พระนาคปรกปรากฏร่องรอยแตกหักชำรุดไม่สมบูรณ์หลายแห่ง มีการซ่อมแซมส่วนพระเศียร โดยการปั้นพระพักตร์และพระเกศาขึ้นใหม่ด้วยปูนปั้น ขยายส่วนพระวรกายให้อวบอ้วนตามแบบคติ “พระสีหลปฏิมา/พระสิงห์” แบบล้านนาจากอิทธิพลศิลปะปาละ ปั้นจีวรห่มเฉียงผิดรูปเข้ามามุดใต้ผ้าสังฆาฏิสั้นปลายผ้าทบสองแฉก (ไม่เป็นเขียวตะขาบ) ส่วนฐานปั้นกลีบบัวและเกสรคลุมขึ้นมาถึงขนดนาคท่อนกลาง ตามแบบฐานพระพุทธรูปศิลปะล้านนานิยมครับ
.
และเมื่อพิจารณาส่วนฐานกลีบบัวที่ประกบเข้ากับตัวอาคารมณฑปทรงปราสาทยอดแบบล้านนา ที่ปรากฏ “บัวงอนสะบัดปลาย” และการแอ่นโค้งของสันมุมเรือนธาตุ อันเป็นอิทธิพลของงานสถาปัตยกรรมแบบล้านช้าง ทั้งยังไม่ประดับกาบแบบประตูโขงและมณฑปปราสาทยอดพระเจ้าล้านทอง พระพุทธรูปนาคปรกศิลปะบายนองค์นี้ จึงอาจเพิ่งถูกซ่อมแซม นำมาประดิษฐานพร้อมสร้างมณฑปภายหลังสมัยพระเมืองแก้วไปแล้ว ซึ่งอาจเป็นสมัยของพระเกษเกล้า/พระนางจิรประภาเทวี จนถึงสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 21 ที่ปรากฏอิทธิพลศิลปะล้านช้างในล้านนา   
.
*** มิควรได้เกี่ยวข้องอะไรกับเมืองละโว้ในตำนานจามเทวี แต่อย่างใดเลยครับ 
เครดิต : FB
วรณัย พงศาชลากร
EJeab Academy




 

Create Date : 29 กันยายน 2564
1 comments
Last Update : 29 กันยายน 2564 6:49:21 น.
Counter : 802 Pageviews.

 

ขอบคุณที่แบ่งปัน

 

โดย: Kavanich96 30 กันยายน 2564 9:22:16 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ททมาโน ปิโยโหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.
New Comments
Friends' blogs
[Add ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.