ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always be loved.
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2564
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
8 ธันวาคม 2564
 
All Blogs
 
ภาพจิตรกรรมฝาผนัง

จิตรกรรมฝาผนังคติเทพชุมนุมสมัยอยุธยา ที่ “วัดใหญ่สุวรรณาราม” เมืองเพชรบุรี
.
.
.
"วัดใหญ่สุวรรณาราม" เป็นวัดโบราณสมัยกรุงศรีอยุธยา สร้างขึ้นประมาณช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 22 (พระเจ้าปราสาททอง) ภาพจิตรกรรมฝาผนัง (Mural Painting) ในพระอุโบสถอาจเพิ่งถูกเขียนขึ้นในสมัยพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ในช่วงที่มีการบูรณปฏิสังขรณ์ เป็นเรื่องราว“เทพชุมนุม” (Celestial assembly mural paintings) อาจถือได้ว่าเป็นจิตรกรรมฝาผนังที่มีความงดงามที่สุดในประเทศไทย ที่เหลือรอดมาจากสมัยอยุธยา 
.
ด้วยเพราะผนังแปด้านข้างของอุโบสถไม่มีช่องหน้าต่าง จึงเป็นปัจจัยที่ดีที่ทำให้ช่างสามารถออกแบบงานจิตรกรรมบนผนังได้อย่างเต็มที่ วางภาพบุคคลเป็นโครงร่างมนุษย์ มีท่านั่งเฉพาะโดยนั่งยกเข่าขึ้นข้างหนึ่งเรียกว่าท่ามหาราชาลีลาสนะ ทำให้ดูเบาและลอยต่างจากภาพแห่งอื่น ลายผ้านุ่งไม่ซ้ำกัน ระหว่างรูปบุคคลแบ่งด้วยเส้นหยักฟันปลา ที่เรียกว่า “สินเทา” พื้นแดงมีดอกไม้สวรรค์ร่วงหล่นในกรอบสามเหลี่ยมพุ่มลายกระหนกก้านขดเรียงต่อเนื่องกัน 2 ชั้น เรียงรายเป็นแถว 5 ชั้น ไปตลอดทั้งผนัง สามชั้นบนเป็นรูปพรหม ฤๅษี ยักษ์ อสูร พญานาค คนธรรพ์ วิทยาธร นั่งเรียงเคียงสลับกับเทพชั้นสูงอย่างพระพรหม พระอินทร์ ส่วนสองชั้นล่างเขียนรูปครุฑสลับกับเทวดา หันหน้าแสดงอัญชุลีวันทา ไปทางเดียวกัน คือหันไปทางพระพุทธรูปประธานของพระอุโบสถ จัดองค์ประกอบให้เกิดเป็นเรื่องราวเดียวกันระหว่างภาพจิตรกรรมกับพระประธานครับ
.
ภาพจิตรกรรมเทพชุมนุมที่วัดใหญ่สุวรรณาราม เป็นการชุมนุมของเหล่าเทพยดาจากทั่วสกลจักรวาล เพื่อชื่นชมอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณและแสดงอัญชุลีสาธุการร่วมแสดงการยินดีในการตรัสรู้ ดังปรากฏความใน "มหาสมัยสูตร" อันเป็นบรรพหนึ่งจาก "พระสุตตันตปิฎก" เล่มที่ 10 ที่เล่าถึงการชุมนุมของเทพยดาและอมนุษย์ อันประกอบไปด้วยพระพรหม, คนธรรพ์ (ซึ่งรวมทั้งนักสิทธิ์และวิทยาธร), อสูร (หรือยักษ์), นาค, ครุฑ และเทวดา 
ภาพจิตรกรรมฝาผนังได้รับการซ่อมแซมบูรณะอีกครั้งในช่วงรัชกาลที่ 3 มีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดแตกต่างไปจากความศิลปะนิยมในสมัยอยุธยา อย่างเช่น การเขียนภาพ “มารผจญ” บนผนังสกัดหุ้มกลองฝั่งตะวันออกขึ้นใหม่ รูปโต๊ะหมู่แบบจีน รูปพระพุทธเจ้าและพระธรณีในงานศิลปะพระราชนิยมแบบรัชกาลที่ 3 รูปของทวารบาลบนประตูด้านหน้าที่ได้รับการวาดซ่อมแซม เปลี่ยนเส้นสินเทามาเป็นรัศมีประภามณฑลสีแดงล้อมศีรษะ รวมทั้งรูปของฤๅษีที่มีลายเส้นที่หยาบกว่ารูปฤๅษีสมัยอยุธยาครับ 
 
.
ประตูด้านหลังพระประธานทั้งสองฝั่งวาดเป็นรูปนางกินรีในป่าหิมพานต์ และนางฟ้าบนสวรรค์ เพื่อให้สอดคล้องกับภาพจิตกรรมบนผนังสกัดด้านหลังพระประธานที่วาดเป็นภาพเขาพระสุเมรุ มีป่าหิมพานต์ติดอยู่กับชายแดนเขาสุทัสสนะ 
.
*** ชาวต่างประเทศที่ปรากฏในภาพจิตรกรรม (จีน อาหรับ ฝรั่ง) เอกลักษณ์สำคัญของภาพจิตรกรรมเมืองเพชรบุรี เป็นหลักฐานแสดงถึงสภาพสังคมของเมืองเพชรบุรีที่เป็นเมืองหน้าด่านการค้านานาชาติ เป็นตลาดและที่พักแรมของพ่อค้าวานิชจากต่างประเทศที่เดินทางมาทั้งทางเรือและเส้นทางการค้าทางบก มะริด/ทวาย/ตะนาวศรี มาลายู/ไชยา ก่อนเข้าสู่กรุงศรีอยุธยา ที่ต้องมาผ่านด่านขนอน ดักเก็บภาษีกันที่เมืองเพชรบุรีครับ
.
.
เครดิต Fb
วรณัย พงศาชลากร 
EJeab Academy
เพราะทุกที่มีเรื่องราวและเรื่องเล่า
.
.



Create Date : 08 ธันวาคม 2564
Last Update : 8 ธันวาคม 2564 18:44:12 น. 0 comments
Counter : 369 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ททมาโน ปิโยโหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.
New Comments
Friends' blogs
[Add ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.