ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก A giver is always be loved.
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2564
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
1 ธันวาคม 2564
 
All Blogs
 
พระโพธิสัตว์

พุทธศิลป์ภาพจิตรกรรม “พระโพธิสัตว์” มีชื่อเสียงที่สุดในโลก ที่ถ้ำอชันต้า 
 
“ถ้ำอชันต้า” หมายเลข 1 (Ajanta Caves No.1) ตั้งอยู่ปลายด้านตะวันออกของส่วนโค้งของเทือกเขารูปวงพระจันทร์ ที่มีถ้ำเจติยะคฤหะ/กุฏิ/วิหาระ เจาะเข้าไปในเชิงหน้าผาหินบะซอลต์ (Rock-cut) จำนวน 30 ถ้ำ ในเมืองออรังกาบัด รัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย ถูกสร้างขึ้นราวกลางพุทธศตวรรษที่ 11 ในสมัยของ “พระเจ้าหริเสนะ” (Harishena) กษัตริย์ในช่วงยุคสุดท้ายแห่งความรุ่งโรจน์ของราชวงศ์วากาฏกะ (Vākāṭaka Dynasty) ราชสำนักผู้ปกครองเขตเดกข่านตะวันตก (Western Deccan) ที่มีความนิยมในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน (Mahāyāna Buddhism) ก่อนการเกิดขึ้นของนิกายวัชรยาน (Vajrayāna)
.
จุดเด่นของถ้ำเจติยะหมายเลข 1 คือ ภาพเขียนสีจิตรกรรมฝาผนัง (Mural Painting) แบบปูนเปียก/เฟรสโก้ (Dry Fresco) ที่แสดงเรื่องราวของพุทธประวัติ นิทานชาดก (Jatakas) รูปชาวต่างชาติอย่างทูตชาวเปอร์เซียและพ่อค้าผู้มั่งคั่งชาวซัสเซเนียน (Sasanian) ภาพวาดยังได้สะท้อนให้เห็นวีถีชีวิต คติความเชื่อ กิจกรรมทางสังคม เครื่องแต่งของชนพื้นเมืองทั้งของราชวงศ์ชนชั้นสูง นักบวช สามัญชน รวมถึงภาพของกองทัพ ร้านค้า การค้า เทศกาล การแสดง ขบวนแห่ พระราชวัง ดนตรีและสภาพแวดล้อมในช่วงเวลานั้นของดินแดนเดกข่านตะวันตกได้เป็นอย่างดีครับ
.
ภาพวาดปูนเปียกที่เหลือรอดมาจากอดีต มีชื่อเสียงไปทั่วโลกของถ้ำหมายเลข 1 คือภาพของพระโพธิสัตว์ ผู้เป็นบริวารแห่งพระศายมุนีพุทธเจ้า โดยภาพวาดผนังทางขวา (เมื่อมองเข้าไปจากประตู) ข้างห้องประธานตรงกึ่งกลาง เป็นภาพวาดของ “พระโพธิสัตว์ปัทมปาณี” (Padmapāṇi Bodhisatava) ที่เป็นบริวารทางเบื้องขวา ยืนเอียง 3 ส่วนแบบตริภังค์ (Tribhaṅga) สวมมงกุฎประดับอัญมณี ถือดอกบัวในพระหัตถ์ขวา ผนังด้านขวา เป็นพระโพธิสัตว์ผิวกายคล้ำถือดอกบัว/วัชระขนาดเล็ก ? ซึ่งตามคติของฝ่ายมหายานจะหมายถึง “พระโพธิสัตว์วัชรปาณี” (Vajrapāṇi Bodhisatava) พระโพธิสัตว์รุ่นแรก ๆ ของฝ่ายมหายาน ผู้เป็นพละกำลังและพระธรรมบาลแก่พระศากยมุนี สวมมงกุฎเป็นยอดบัญชรโค้ง 3 เรือน ภายในซุ้มก็ไม่ชัดเจนว่าเป็นรูปใด ยืนเอียงสามส่วนแบบเดียวกับพระโพธิสัตว์ปัทมปาณี แวดล้อมด้วยรูปบริวารที่มีผิวกายคล้ำเช่นเดียวกัน
.
*** ซึ่งในเวลาต่อมา เมื่อนิกายวัชรยานได้ถูกพัฒนาขึ้นในช่วงราชวงศ์จาลุกยะ (Early Chalukya Dynasty) ราชวงศ์ฮินดูที่ให้การสนับสนุนพุทธศาสนาฝ่ายวัชรยาน/ตันตระ ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 12 เป็นต้นมา รูปศิลปะแบบวางรูปสามองค์ (Triad) ของพระศากยมุนีพุทธเจ้าและบริวารผู้ช่วย ได้ถูกเปลี่ยนแปลงความนิยมของรูปศิลปะจากพระโพธิสัตว์ปัทมปาณี มาเป็น “พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร” (Bodhisattva Avalokiteśvara) ส่วนพระโพธิสัตว์วัชรปาณี ได้ถูกเปลี่ยนแปลงมาเป็น “พระโพธิสัตว์ไมเตรยะ” (Maitreya Bodhisatava) รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงท่านั่งของพระศากยมุนี จากทางนั่งขัดสมาธิแสดงธรรมจักรมุทรา มาเป็นการนั่งห้อยพระบาทแบบกรีก/ยุโรป “ปรลัมพปาทาสนะ” (Pralambapa – dasana posture) บนภัทรบัลลังก์/ภัทรบิฐ มีพนักพิงแบบเก้าอี้ แสดงธรรมจักรมุทรา ดังปรากฏงานพุทธศิลป์แกะสลักที่ “หมู่ถ้ำเอลโลรา” (Ellora Caves) เมืองออรังกาบัด ห่างจากหมู่ถ้ำอชันต้าประมาณ 100 กิโลเมตรครับ
เครดิต :FB
วรณัย พงศาชลากร
EJeab Academy



Create Date : 01 ธันวาคม 2564
Last Update : 1 ธันวาคม 2564 21:17:59 น. 0 comments
Counter : 337 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ททมาโน ปิโยโหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
A giver is always beloved.
New Comments
Friends' blogs
[Add ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.