.....ภาษาตระกูลไท เป็นวัฒนธรรมของคนไท สมควรจะเผยแพร่ให้โลกรู้จักอย่างทั่วถึง มากกว่าจะเก็บไว้สอนกันอย่างเร้นลับ ในมหาวิทยาลัย แล้วก็ปล่อยให้หายสาบสูญไปตามกาลเวลา.....
Group Blog
 
All Blogs
 
สระ และ วรรณยุกต์ - Vowel &Tone

สระ -Vowel - 元音



Vowels and Final consonants Table (83 sounds)
For reference only. Don't try to remember now.
Each sound will be explained in the relating lessons.




วรรณยุกต์ -Tone - 调号





คลิปวิดิโอ การเรียนภาษาไทใหญ่ ที่ บ้านสามปู ต.แสนไห อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่

Shan learning at Sam Pu village, Wiang Haeng District, Chiang Mai Province









Create Date : 01 กุมภาพันธ์ 2550
Last Update : 15 มกราคม 2553 12:37:45 น. 8 comments
Counter : 11033 Pageviews.

 
*
สวัสดีค่ะ
มาเยี่ยมเยีน ค่ะ
สบายดีนะค่ะ


โดย: STAR ALONE (STAR ALONE ) วันที่: 1 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:22:08:15 น.  

 
ขอบคุณคุณนายช่างปลูกเรือนมากๆสำหรับบล็อกภาษาไทใหญ่ อยากเรียนมานานแล้วคับ คิดว่าสำหรับคนไทยน่าภาษาไทใหญ่น่าจะง่ายกว่าภาษาพม่านะครับ เพราะศัพท์หรือเสียงที่คล้ายภาษาไทยหรือภาษาไทยถิ่นล้านนา ก็มีเยอะพอสมควร งั้นขอให้กำลังใจในการสร้างบล็อกภาษาไทใหญ่ต่อไปครับ...
ปล.ผมมีแพลนจะไปเที่ยวเชียงตุงเร็วๆนี้ด้วยครับ คงได้ไปถิ่นไทใหญ่จริงๆเสียที..


โดย: เอหม่อง (A_Mong ) วันที่: 2 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:9:48:39 น.  

 
ขอบคุณ ครับ ที่มาเยี่ยม
ทั้งคุณ STAR ALONE และ คุณ A_Mong

จะไปเชียงตุง ภาษาพูดใช้ภาษาไทย หรือ คำเมือง ก็ได้ครับ คนเชียงตุงพูดภาษาตระกูลไท-ไต ได้หลายภาษา บางทีก็เอาศัพท์หรือเสียง พูดปน ๆ กันไปหลายภาษา จนทางวิชาการ แยกไม่ได้ว่าเป็นภาษาอะไรแน่

ถ้าไปถึง ตองยี หรือ มัณฑะเลย์ ก็จะเป็นไทใหญ่ล้วน ๆ หน่อย


โดย: นายช่างปลูกเรือน วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:20:22:11 น.  

 
เคอไตครับ...สำเนียงที่ใช้ใน วีซีดี.คาราโอเกะของเพลงไต..เป๋นสำเนงของภาษากลางของรัฐฉานหรือไม่ครับ...
หมายถึง ไตใหญ่ครับ..คือหมายถึงว่า ทุกภาคในรัฐฉาน
พอฟังแล้ว..ฟังออก เข้าใจ...

อยู๋หลีกั๊ดเหยนข้า..


โดย: จางปั๋น..!? (Jangpan ) วันที่: 23 กันยายน 2550 เวลา:13:33:44 น.  

 

เหมือนคำเมืองนั่นแหละครับ
แต่ละจังหวัด หรือแต่ละถิ่น ออกเสียงต่างกันบ้าง
ก็เข้าใจกันดี นอกจากศัพท์เฉพาะถิ่น

การเขียนก็อาจจะขัดกันบ้าง เพราะยังไม่มีสถาบันกลางที่เป็นหลัก แบบราชบัณฑิตยสถานของไทย

แม้แต่ คำเมือง เอง ต่างถิ่น ต่างอาจารย์ ก็ยังเขียนต่างกัน
ถือว่าของตัวเอง ถูกต้อง


โดย: นายช่างปลูกเรือน วันที่: 24 กันยายน 2550 เวลา:19:07:30 น.  

 
ข่าลูกแม่ไต อำฮ่อกำไต ข้าอ่อ


โดย: จายติ๊ก IP: 118.172.22.183 วันที่: 14 มิถุนายน 2552 เวลา:0:42:56 น.  

 
ใหม่สุงข้า คุณ นายช่างปลูกเรือน

ได้เรียนภาษาไตจากเว็บนี้มาสักระยะหนึ่งแล้ว
ถ้าไม่ได้เข้ามากล่าวขอบคุณ ก็จะกลายเป็นคนไม่สำนึกในบุญคุณ
เว็บนี้ให้ประโยชน์แก่ผมมากกว่าหนังสือแบบเรียนทุกเล่มที่ผมมี
(ผมไปกว้านซื้อที่วัดป่าเป้า ซื้อมาทุกเล่มเท่าที่เขามี แต่ส่วนใหญ่จะคล้ายๆกัน)
กล่าวได้ว่าผมเรียนจาก 3 แหล่งใหญ่ๆ
เว็บนี้ + พจนานุกรมภาษาไทใหญ่-ไทย ของ ม.ราชภัฏเชียงใหม่ + คนรู้จักที่เป็นคนไต

ผมเป็นคนกรุงเทพฯย้ายมาอยู่อ.ลี้ ลำพูน ตอนสร้างบ้านผมเอาผู้รับเหมาจากเชียงใหม่มาสร้าง คนงานทั้งหมดเป็นคนไต ผมได้เริ่มหัดเขียนอ่านจากคนเหล่านี้ และยังพาผมไปหาซื้อหนังสือ พวกเขาน่ารักกันทุกคน เป็นคนดีมีน้ำใจ (แต่ถูกผู้รับเหมาเอาเปรียบ) และยังรักษาขนบธรรมเนียนของตนอย่างแนบแน่น ซึ่งผมว่าเป็นสิ่งที่งดงามมาก

เรียนไปทำไม - ผมเริ่มสนใจภาษาไตเพราะสนุกดี เมื่อพอรู้จักภาษาไตบ้าง (เล็กน้อย) จึงเห็นว่าถ้าจะหารากเหง้าของภาษาไทยแท้ๆ ต้องหาจากภาษาไตนี่แหละ ภาษาไทย (ภาคกลาง) ปัจจุบันถูกภาษาเขมร บาลี สันสกฤต ปนไปหมดแล้ว กล่าวได้ว่าเรียนภาษาไตเพื่อให้เข้าใจรากเหง้าของภาษาตัวเองได้ดีขึ้น

อย่างเช่นสำนวน "วงศ์วานว่านเครือ" หลายคนที่ผมถามเขาจะบอกว่า ว่าน ในที่นี้ เป็นแค่คำคล้องจอง ถ้าเป็นภาษาไต ว่าน คือหมู่บ้าน ดังนั้น ว่านเครือ จะมีความหมายขึ้นมาทันที และผมตั้งสมมุติฐานว่า ว่านเครือ คือคำดั่งเดิม เรามาเติม วงศ์ (สันสกฤต) วาน (คำคล้องจอง) ทีหลัง ไม่รู้ว่า "ว่านเคอ" เขาใช้กันในภาษาไตหรือเปล่า ถ้าใช้ ก็จะทำให้สมมุติฐานของผมหนักแน่นยิ่งขึ้น เสียดายถ้าผมมีความรู้ภาษาไตมากสักหน่อย คงจะเขียนหนังสือได้เป็นเล่ม

ถ้าใครเคยอ่านวรรณคดีไทยเก่าๆ จะเจอคำว่า ไป่ (แปลว่าไม่), คำลงท้ายว่า "แล" ใกล้เข้ามาหน่อยก็ของสุนทรภู่ "แต่ลมปากหวานหูไม่รู้หาย" (หวานหู = ไพเราะ) วรรณคดีภาคเหนือ สัง แปลว่า ทำไม (ไม่รู้ว่าปัจจุบันยังมีคนเหนือใช้กันอยู่หรือเปล่า)

ภาษาคือกระจกเงาสะท้อนให้เห็นถึงจิตใจ ความคิดของคนที่พูดภาษานั้น
นี่คือความเชื่อของผม ผมเชื่อว่าคนไตรักพวกพ้อง (หรืออย่างน้อยก็ถูกสอนให้รักพวกพ้อง) ดูจากคำ ไต๊ก้อ (ผมว่านัยของคำนี้คือคนไตทุกคนเป็นเพื่อนกัน)

.....ตั้งใจจะมากล่าวคำขอบคุณ แต่นอกเรื่องไปมาก ขอโทษด้วย

ขอลงท้ายหน่อย สำหรับคนที่พูดและใช้ภาษาไต จงภุมิใจเถิด
เพราะเป็นภาษาที่งดงาม และยังไม่ถูกปนเปื้อนมากนัก (แต่ก่อนภาษาไทยก็เป็นแบบนี้)
เป็นภาษาที่ลึกซึ้งแต่เรียบง่าย (คนที่เคยชินมากเกินไปอาจไม่รู้สึก เช่นคำ ป่องใจ๋ หยาใจ๋ ใจ๋ถึง ใจ๋ติด ฯลฯ จงภูมิใจในอัจฉริยภาพของบรรพบุรุษที่ประกอบคำเหล่านี้มาให้เราใช้ -พอดีกำลังอยากรวบรวมคำผสมที่มีคำว่าใจ)
และเป็นภาษาที่ไพเราะ เหมือนเสียงดนตรี เป็นเพราะไม่มีเสียงสามัญ จึงทำให้ contrast ของเสียงสูงต่ำมากขึ้น โดยเฉพาะเสียงวรรณยุกต์ : (จ้ำหน้า) ผมฟังแล้วไม่เหมือนไม้ตรี แต่เหมือนเสียง(เอื้อนขึ้นสูง)ในเพลงมากกว่า

ขอบคุณความอุสาหะและจิตใจที่เผื่อแผ่ของ นายช่างปลูกเรือน ที่ทำให้ผมได้ความรู้มากมายจากเว็บนี้


โดย: kit IP: 122.155.36.85 วันที่: 23 พฤษภาคม 2555 เวลา:16:05:46 น.  

 
ขอโทษ กดผิดกดถูก
comment เลยมาโผล่ที่นี่อีกที่


โดย: kit IP: 122.155.36.85 วันที่: 23 พฤษภาคม 2555 เวลา:16:13:53 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

นายช่างปลูกเรือน
Location :
กาญจนบุรี Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 62 คน [?]




ไม่สงวนลิขสิทธิ์

เพื่อเปิดกว้างการศึกษาและเผยแพร่ภาษาตระกูลไท

ข้อมูล "ในส่วนที่ไม่ใช่ลิขสิทธิ์ของผู้อื่น"
ยินดีให้ ลอกเลียน, ทำซ้ำ, เพิ่มเติม, แก้ไขเปลี่ยนแปลง
หรือนำไปใช้

โดยไม่ต้องขออนุญาต หรืออ้างถึงใด ๆ ทั้งสิ้น


Copyleft
Friends' blogs
[Add นายช่างปลูกเรือน's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.