|
ยุทธศาสตร์ "ปราบไทยใหญ่" ของพม่า ในสายตาเจ้ายอดศึก
ยุทธศาสตร์ ปราบไทยใหญ่ ของผู้นำพม่า ในสายตาเจ้ายอดศึก
(สรุปจาก สาละวินโพสต์ ฉบับที่ ๖๐ : กรกฎาคม สิงหาคม ๒๕๕๓, หน้า ๓ ๗ )
จุดอ่อนของกองกำลังกลุ่มต่อต้านรัฐบาล
๑. ประชาชนส่วนใหญ่ความรู้น้อย ถูกพม่าหลอกเพียงน้อยนิด ก็ตกใจกลัว หนีเอาตัวรอด ผู้มีความรู้การศึกษามาก ก็ไม่ทนต่อความยากลำบาก
๒. นโยบายการเมืองต่างกัน ทำให้เกิดความขัดแย้งทางความคิด เมื่อต้องการเอาชนะกันเอง ก็หันเข้าพึ่งศัตรู
๓. มีทิฐิส่วนตัว มากกว่าความรักชาติ ทำให้รบกันเองเพื่อแย่งชิงพื้นที่
๔. ขาดผู้นำที่มีความรู้ความสามารถด้านการเมืองและการทหาร
๕. กลุ่มหยุดยิง หลงมัวเมากับการทำธุรกิจ หาเงิน หาผลประโยชน์ส่วนตัว จนลืมเรื่องการบ้านการเมือง
๖. กองกำลังกลุ่มต่อต้านรัฐบาล ยังรบแบบกองโจร ไม่สามารถรบตามแบบได้

(......การที่จะทำให้ชาติพันธุ์ไทยใหญ่ ไม่มีความคิดที่จะแยกตัวออกไปนั้น ขึ้นอยู่กับการกระทำของเราชาวพม่าในระยะเวลา ๑๐ ปี ที่เป็นสหภาพร่วมกัน ถ้าเราสามารถส่งเสริมให้ประชาชนในรัฐฉาน ศึกษาภาษาพม่า ทั้งการพูดการเขียน เรียนรู้วัฒนธรรมประเพณี และแต่งกายด้วยชุดประจำชาติของพม่าได้ ถึงเวลานั้นประชาชนในรัฐฉานก็หมดความคิดที่จะแยกตัวออกไป..... - นายพลอองซาน)
ยุทธศาสตร์ปราบไทยใหญ่ของผู้นำพม่า
พม่านำแนวความคิดของนายพลอองซาน ที่จะค่อย ๆ กลืนชาติพันธุ์ไทยใหญ่ มาใช้ โดย
๑. ห้ามสอนภาษาไทยใหญ่ ให้เยาวชนในรัฐฉาน เรียนและใช้ภาษาพม่า นิยมวัฒนธรรมพม่า ให้แต่งงานกับชาวพม่า ซึ่งในรุ่นเหลน จะกลายเป็นพม่าไปหมด
๒. ทำลายหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมของไทยใหญ่ แล้วสร้างแบบพม่าขึ้นแทน
๓. ทำให้กลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในรัฐฉาน แตกแยกกัน จนถึงขั้นสู้รบกันเอง
๔. หลอกลวงให้โลกเห็นว่าพม่าปกครองด้วยความเที่ยงธรรม และใส่ร้ายกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ว่าเป็นผู้ก่อความวุ่นวาย
๕. ด้านการทหาร ทำการทารุณกรรมอย่างรุนแรง ละเมิดสิทธิมนุษยชนทุกรูปแบบ
การเลือกตั้งในปลายปีนี้ พม่าเพียงต้องการลดแรงกดดันจากประชาคมโลก ไม่ได้หวังจะให้เกิดความปรองดองในชาติ ตามที่กล่าวอ้าง
Create Date : 19 กันยายน 2553 |
Last Update : 19 กันยายน 2553 10:53:18 น. |
|
0 comments
|
Counter : 2481 Pageviews. |
 |
|
|
| |
|
|
Location :
กาญจนบุรี Thailand
[Profile ทั้งหมด]
|
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 62 คน [?]

|
ไม่สงวนลิขสิทธิ์
เพื่อเปิดกว้างการศึกษาและเผยแพร่ภาษาตระกูลไท
ข้อมูล "ในส่วนที่ไม่ใช่ลิขสิทธิ์ของผู้อื่น" ยินดีให้ ลอกเลียน, ทำซ้ำ, เพิ่มเติม, แก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือนำไปใช้
โดยไม่ต้องขออนุญาต หรืออ้างถึงใด ๆ ทั้งสิ้น
Copyleft
|
|
|
|
|
|
|
|