space
space
space
 
ตุลาคม 2563
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
space
space
28 ตุลาคม 2563
space
space
space

ข้าวลูกผสม คืออะไร?

               ข้าวลูกผสม (Hybrid rice) หมายถึง ต้นข้าวที่เกิดจากเมล็ดพันธุ์ที่เป็นลูกผสมชั่วอายุที่ 1 (F1 seed) ที่ได้จากการข้ามพันธุ์ (cross pollination) ระหว่างข้าวสายพันธุ์แท้ (inbred) 2 สายพันธุ์ ซึ่งต้นข้าวลูกผสมนี้เมื่อออกดอกและผสมตังเอง (self pollination) แล้วจะได้เมล็ดข้าวเปลือกเป็นลูกชั่วที่ 2 และเมล็ดลูกชั่วที่ 2 นี้เองที่เกษตรกรจะนำไปบริโภคหรือจำหน่ายเป็นการค้า เมล็ดลูกชั่วที่ 2 นี้ไม่สามารถนำไปใช้เป็นเมล็ดพันธุ์ในครั้งต่อไปได้ เพราะจะให้ต้นข้าวในรุ่นลูกที่กระจายตัวทางพันธุกรรมและไม่สม่ำเสมอในทางการเกษตร ดังนั้นเมล็ดพันธุ์ข้าวลูกผสม จึงใช้ได้เพียงฤดูเดียว จะต้องเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ทุกฤดู การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวลูกผสม จึงต้องการความรู้และความชำนาญสูง
 
ความเป็นมาของข้าวลูกผสม
               เทคโนโลยีข้าวลูกผสมพัฒนาขึ้นมาเมื่อประมาณ 30 ปีที่ผ่านมา โดยประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นประเทศแรกที่ค้นพบวิธีการผลิตเพื่อเพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่ ประเทศไทยจึงได้ให้ความสำคัญและนำเทคโนโลยีข้าวลูกผสมมาพัฒนาเพื่อเพิ่มผลผลิตต่อไร่ในพื้นที่นาชลประทานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 โดยเทคโนโลยีข้าวลูกผสมของไทยใช้ระบบ 3 สายพันธุ์คือสายพันธุ์เรณูเป็นหมัน (A line) สายพันธุ์รักษาพันธุ์เรณูเป็นหมัน (B line) และสายพันธุ์แก้ความเป็นหมัน (R line) ซึ่ง A line คือสายพันธุ์ที่มีเรณู (เกสรตัวผู้) เป็นหมันและลักษณะดังกล่าวถูกควบคุมโดยพันธุกรรมที่อยู่ในไซโตพลาสซึม (cytoplasmic-genetic male sterility) หรือบางครั้งเรียกสายพันธุ์ A line นี้ว่า ซีเอ็มเอสไลน์ (cms line) ส่วนสายพันธุ์ B line เป็นสายพันธุ์คู่แฝดของ A line มีลักษณะที่เหมือนกันเกือบทุกอย่างยกเว้น B line ไม่เป็นหมัน จึงใช้ B line เป็นสายพันธุ์พ่อในการรักษาพันธุ์บริสุทธิ์ (maintain) และขยายพันธุ์ A line สายพันธุ์ที่สามคือ R line เป็นสายพันธุ์ที่ปกติและมียีนแก้ความเป็นหมัน (restore gene) อยู่ในนิวเคลียส ใช้เป็นสายพันธุ์พ่อในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวลูกผสม โดยการข้ามผสมพันธุ์กับสายพันธุ์ A line ให้ลูกผสม F1 hybrid ที่ไม่เป็นหมัน ผสมตัวเองได้เมล็ดชั่วที่ 2 เพื่อการบริโภคและเป็นการค้าได้
 
ข้อจำกัด
               เนื่องจากข้าวเป็นพืชผสมตัวเอง (self-pollinated crop) ซึ่งมีดอกสมบูรณ์เพศที่เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ภายในกลีบดอกเดียวกัน จึงผสมพันธุ์ตัวเองในดอกเดียวกันได้ก่อนที่ดอกจะบาน การผสมข้ามระหว่างพันธุ์ (cross pollination) จึงทำได้ยาก และจะทำได้ก็ต่อเมื่อได้กำจัดเกสรตัวผู้ทิ้งก่อนแล้วจึงผสมพันธุ์กับเกสรตัวผู้ของพ่อซึ่งเป็นพันธุ์อื่น
               การกำจัดเกสรตัวผู้ (emasculation) ทำได้หลายวิธี เช่นการตัดด้วยกรรไกร การใช้ไอร้อน การใช้น้ำอุ่น และการใช้ vacuum pump แต่วิธีการเหล่านี้ใช้ได้ผลดีเมื่อต้องการผสมข้ามให้ได้เมล็ดข้าวลูกผสมปริมาณน้อยหรือเพื่อการปรับปรุงพันธุ์เท่านั้น ไม่สามารถใช้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวลูกผสม ปริมาณมากเพื่อการทดสอบพันธุ์และผลิตเป็นการค้าได้ ในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวลูกผสม จึงกำจัดเกสรตัวผู้โดยการทำให้ต้นแม่เป็นหมันด้วยการถ่ายทอดพันธุกรรมความเป็นหมันแบบ ซีเอ็มเอส (cms) จากพันธุ์ข้าวจีนซึ่งมียีน (gene) ควบคุมลักษณะเรณูเป็นหมันจากข้าวป่าแบบ wild abortive type ถ่ายทอดลักษณะดังกล่าวให้กับข้าวสายพันธุ์และพันธุ์ดีของไทย จนได้สายพันธุ์เรณูเป็นหมันเพื่อใช้เป็นพันธุ์แม่ (A lines) เช่น RD21A, RD25A, SPRLR76102A และพัฒนาสายพันธุ์แก้ความเป็นหมัน (R lines) จากข้าวไทยได้หลายพันธุ์/สายพันธุ์ เช่น RD7-4, RD11, SPR90 ซึ่งสามารถใช้ในการผลิตข้าวลูกผสมผลผลิตสูงได้แต่ประสบปัญหาในการผลิตเมล็ดข้าวพันธุ์ลูกผสม เนื่องจากเปอร์เซ็นต์การติดเมล็ดต่ำ จึงได้พัฒนาสายพันธุ์ใหม่และเทคโนโลยีที่จะสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ F1-seed ได้ง่ายและให้ผลผลิตเมล็ดพันธุ์ต่อไร่สูง เพื่อการผลิตเชิงพาณิชย์และผลการวิจัยดังกล่าวก้าวหน้าไปมากและภายในระยะเวลาอันใกล้นี้จะสามารถเมล็ดพันธุ์ข้าวลูกผสมออกเผยแพร่แก่เกษตรกรได้
 
ที่มา: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์


Create Date : 28 ตุลาคม 2563
Last Update : 28 ตุลาคม 2563 16:54:46 น. 1 comments
Counter : 1177 Pageviews.

 


โดย: สมาชิกหมายเลข 6109868 วันที่: 28 ตุลาคม 2563 เวลา:21:29:55 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6126135
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6126135's blog to your web]
space
space
space
space
space