กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
ก่อนศึกษาพุทธธรรม
กรรมฐาน
จงกรม
หลักปฏิบัติ
สภาวธรรม
ลำดับญาณ,ทวนญาณ
ภาค ๑. มัชเฌนธรรมเทศนา
ภาค ๒. มัชฌิมาปฏิปทา
ภาค ๓. อารยธรรมวิถี
วิธีการแห่งศรัทธา (ปรโตโฆสะที่ดี)
วิธีการแห่งปัญญา (โยนิโสมนสิการ)
ภาษาธรรมวันละคำ
ปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง
ข้อธัมม์ที่ถาม-เถียงกันบ่อย
บุญ
ผู้พิพากษาตั้งตุลา ใ ห้ สั ง ค ม ส ม ดุ ล
คติธรรมสั้นๆ
รู้เขา รู้เรา
พุทธโอวาท ๓ เดือนก่อนปรินิพพาน,
ความเป็นมาของการบวช
การทำวัตรสวดมนต์
ทำยังไงจึงจะมีอายุยืนและมีความสุข
พลังดันคน
ที่ทำงานของจิต
บรรลุธรรมอะไร?
พุทธปรัชญาในสุตตันตปิฎก
ธัมมาธิบาย
สวดมนต์
ความจน เ ป็ น ทุ ก ข์ ใ น โ ล ก
เรียนบาลีเพื่อรักษาพุทธพจน์
ศีลธรรมไม่กลับมาโลกาจะพินาศ
หลักธรรมสำหรับผู้ยังไม่นับถือศาสนาใดๆ
วัฒนธรรมประเพณี
จาริกบุญ จารึกธรรม
สมาธิ,ฌาน
ถ้าศาสนาพุทธมีหลักธรรมดีจริง คงไม่สูญสิ้นจากถิ่นเดิม
ศีลกับเจตนารมณ์ทางสังคม
คุณค่าทางจริยธรรมของไตรลักษณ์
สติปัฏฐาน
ศีลสำหรับประชาชน
ทางดำเนินชีวิตสายกลาง
คุณสมบัติบุคคลโสดาบัน
กาม
ความสุข
อริยสัจ ๔
ธรรมฉันทะ - ตัณหาฉันทะ
กรรม
ฅนไทย ใช่กบเฒ่า ?
พระไทย ใช่เขาใช่เรา?
สมถะ,วิปัสสนา,เจโตวิมุตติ,ปัญญาวิมุตติ
อนัตตา
สมมุติบัญญัติ
ศีล-สีลัพพตปรามาส
นรก สวรรค์ ในพระไตรปิฎก
วันสำคัญของชาวพุทธไทย
วิธีฝึกหูทิพย์ ตาทิพย์
ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะ ศ.ประจำชาติ
ภาวะแห่งนิพพาน
ระดับของผู้บรรลุนิพพาน
ภาวะของผู้บรรลุนิพพาน
อิทธิบาท ๔
รู้ทุกอย่างแต่ปล่อยวางไม่ได้
สติ,สติปัฏฐาน
ตถตา
อ่าน แล้ว คิดว่าเป็นนั่นเป็นนี่
ทำยังไงจะให้เชื่อเรื่องกรรม
ตุลาคม 2564
>>
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
30 ตุลาคม 2564
พรหมวิหาร
ขังตัว ไม่ขังใจ
ธรรมะจากธรรมาสน์
แม่พระธรณีวัด
ยกเลิกเหอะ
โรคกาย และจิตใจ ไม่เหมาะสมเป็นตุลาการ
บัญญัติแก้ไขได้
แล้วแต่ฝ่ายไหนถือปากกา
วัฏฎะ
มรดกบาป
นิติ
ฆ่าเขาได้แล้วเราอยู่เป็นสุข
ตอบคำถามท้ายเรื่อง (จบ)
ตอบคำถามท้ายเรื่อง (ต่อ)
ตอบคำถามท้ายเรื่อง
Pictures
ตุลาการ ๔ ความหมาย
ธรรมะที่ทำให้เข้มแข็งและเป็นสุขในการทำหน้าที่
ข้างใน มีใจเที่ยงตรง ข้างนอก เป็นธรรมเสมอกันทุกคน
สมานัตตตา อีกแง่หนึ่ง
จริยธรรมในใจ ออกประสาน จริยธรรมทางสังคม
ถ้ารู้เข้าใจ อนิจจัง ผิด ก็ยุ่ง
ปัญญาที่แท้ก็ต้องชัด ถ้าไม่ชัดก็ยังไม่เป็นปัญญา
พรหมวิหาร หลักประกันสันติสุข
อุเบกขาดำรงรักษาธรรม
อำนาจ
มองพรหมวิหารคือคำนึงทุกสถานการณ์
พรหมวิหาร
ธรรมะอาศัยกันและกัน
มองพระพุทธศาสนาให้ครบ
ย้ำ เจตนา อีกที
เจตนาพามนุษย์ยุ่งนุงนังด้วยปัญหา
ไตรสิกขาระบบพัฒนาคนทั้งคน
ศีลธรรมค่อยๆหล่นหาย ตั้งแต่มีแผนพัฒนาฯ
ไปให้ถึงจริย(ธรรม)แท้ที่เป็นระบบ
เข้าใจ จริยธรรม ให้ชัด
ความไม่รู้บังความรู้
เน้นย้ำ บัญญัติธรรม อีกที
สภาวะ จริยะ บัญญัติ ซ่อนอยู่ใต้ ธรรมวินัย
พักเบรคความคิด
ปัญญา กับ เจตนา คุณสมบัติในตัวคน
บัญญัติจะดี ปัญญาต้องเต็ม เจตนาต้องตรง
ปัญญาต้องรู้ชัด เจตนาตั้งไว้ถูก
รู้ธรรมแล้วบัญญัติวินัย
ธรรม กับ วินัย แยกให้ชัด
ธรรม เป็นกฎธรรมชาติ มีอยู่ตามธรรมดาของมัน
ถ้าเป็นธรรม ก็ถูกต้องตามความจริง
จะนั่นนี่โน่นให้เป็นธรรม ต้องรู้จักธรรม
หลักเบื้องต้น คือ เจตนา กับ ปัญญา
ศัพท์ยาก ที่ต้องแปล
เจตนารมณ์หนังสือ ผู้พิพากษาตั้งตุลาให้สังคมสมดุล
พรหมวิหาร
หัวข้อนี้ จะเห็นแนวคิดระหว่างพระพุทธศาสนา กับ ลัทธิศาสนาอื่นๆ ตลอดจนเห็นการตีความธรรมะในทางที่ผิด ในทางที่ถูกด้วย
พรหมวิหาร
คือ
จริยะ
พื้นฐานที่จะกำกับเจตนาของ
ตุลาการ
พรหมวิหาร แปลกันว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของท่านผู้ใหญ่ (หรือท่านผู้เป็นใหญ่) ท่านผู้ใหญ่ หรือท่านผู้เป็นใหญ่นี้ คือ"
พรหม"
ปรากฏว่า ได้เกิดความ
เข้าใจเพี้ยนขึ้นในภาษาไทย
เรามักเข้าใจว่า พรหมวิหาร เช่น เมตตา นี้ เป็นธรรมของผู้ใหญ่โดยวัย หรือโดยสถานะในสังคม ถ้าอย่างนั้น เด็กก็ ไม่ต้องมีเมตตา เป็นต้น ใช่ไหม เป็นหน้าที่ของผู้ใหญ่จะต้องเมตตาต่อเด็ก หรือต่อผู้น้อย อะไรทำนองนี้
แต่ถ้าไปดูในหลักธรรมต่างๆ ที่พระพุทธเจ้าทรงสอนทั่วไป แม้แต่ในหลักธรรมที่คฤหัสถ์พึงปฏิบัติ ก็มีวิธีปฏิบัติของคฤหัสถ์ต่อพระภิกษุ เริ่มต้นเลยว่า ๑-๒-๓ คฤหัสถ์พึงปฏิบัติต่อพระภิกษุด้วย
กายกรรม
มีเมตตา ด้วย
วจีกรรม
มีเมตตา ด้วย
มโนกรรม
มีเมตตา คือ ให้ญาติโยมมีเมตตาต่อพระ อ้าว ถ้าเมตตาเป็นธรรมของผู้ใหญ่ ก็น่าจะให้พระเมตตาโยม นี่ทำไมให้โยมเมตตาพระล่ะ
ตามคำ
อธิบายในคัมภีร์บาลี
พระผู้น้อยก็ตาม ญาติโยมก็ตาม ตักน้ำล้างเท้า และพัดวีถวายแก่พระเถระ เรียกว่า เป็นการกระทำด้วยเมตตาจิต หรือ อย่างหมอชีวกผ่าฝีถวายการบำบัดแด่พระพุทธเจ้า ก็เป็นการกระทำด้วยเมตตาจิต นี่ก็เป็นตัวอย่างที่ว่าเราเข้าใจและ
เอาธรรมะมาใช้คลาดเคลื่อน
ไม่ตรงตามความหมายที่ท่านว่าไว้ เพราะปัญหาทางภาษา
ผู้ใหญ่ หรือผู้เป็นใหญ่นี้ คือ "พรหม" ใน
พระพุทธศาสนา
หมายถึงผู้มีจิตใจยิ่งใหญ่ คือยิ่งใหญ่ด้วยความดีงาม หรือมีคุณธรรมยิ่งใหญ่ หรือไม่ก็แปลว่า
ประเสริฐ
ท่านสอนทุกคนให้ทำตัวเป็นพรหม
ควรรู้ภูมิหลังว่า ใน
ศาสนาพราหมณ์เดิมถือว่า พระพรหมเป็นผู้สร้างโลก
และสร้างสังคมมนุษย์ แล้วก็ทำให้โลกสังคมมนุษย์นี้ดำรงอยู่ได้ แต่
พระพุทธศาสนาปฏิเสธลัทธิ
นั้น ท่านไม่สอนให้นับถือเรื่องพระพรหมสร้างโลก แต่บอกว่ามนุษย์ทุกคนนี่แหละ มีหน้าที่สร้างโลก ช่วยกันผดุงโลก อภิบาลโลก
ถ้า
มนุษย์
ประพฤติปฏิบัติดี คือมีธรรมชุดนี้ ได้แก่มี
เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
แล้ว เราก็เป็น
พรหม
กันทุกคน แล้วเราก็เป็นผู้สร้างสรรค์โลก บำรุงรักษาอภิบาลโลกให้อยู่ดีได้ โดยไม่ต้องไปรอพระพรหม
แต่ในทางตรงข้าม ถ้าเรามัวรอพระพรหมอยู่ และทำอะไรๆโดยไม่รับผิดชอบ เราก็ทำลายโลก และทำลายสังคมนี้ แล้วก็ได้แต่รอพระพรหมมาสร้างโลกให้ใหม่ ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่ไหว โลกแย่แน่
พระพุทธเจ้าไม่ให้เรามัวรอพระพรหม
แต่ให้มนุษย์ทุกคนเป็นพรหมเอง ด้วยการมีพรหมวิหาร เพราะฉะนั้น จึงเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องมีพรหมวิหาร คือ มีธรรมที่จะทำให้มีจิตใจของพระพรหม หรือมีใจกว้างขวาง มีคุณความดียิ่งใหญ่ดุจพระพรหมนั่นเอง ไม่ใช่ผู้ใหญ่ในความหมายที่เข้าใจกันทั่วไป
เอาละ ตกลงว่า
เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
ก็ต้องมีในทุกคนนั่นแหละ โดยเฉพาะแน่นอนว่า ผู้ที่เป็นใหญ่หรือเป็นผู้ใหญ่ ก็เป็นธรรมดาว่าจะต้องรับผิดชอบในการปฏิบัติธรรมทุกข้อเป็น ตัวอย่างอยู่แล้ว ก็ต้องมี เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เป็นตัวอย่างด้วย เท่ากับเป็นผู้นำหรือมีหน้าที่เป็นพิเศษในการที่จะสร้างสรรค์ บำรุงรักษาอภิบาลสังคมนี้ไว้ เพราะฉะนั้น จึงควรเอาใจใส่มากในการมีธรรมชุดนี้
แต่โดยหลักการที่แท้แล้ว ทุกคนนั่นแหละต้องมีเมตตาต่อกัน เด็กก็ต้องมีเมตตาต่อผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ก็ต้องมีเมตตาต่อเด็ก
ที่จริง
เมตตา
ก็หมายถึง
ความเป็นมิตร
หรือน้ำใจมิตรเท่านั้นเอง เมตตา กับ
มิตตะ
นี่มีรากศัพท์เดียวกัน อย่างที่ว่าแล้ว เมตตาก็คือธรรมของมิตร หรือน้ำใจของมิตร คือใจรัก หรือน้ำใจปรารถนาดี อยากให้เขามีความสุข และแน่นอนว่า ความเป็นมิตรนี้ทุกคนควรมีต่อกัน ทั้งคุณพ่อคุณแม่ต่อลูกๆ ทั้งลูกต่อคุณพ่อคุณแม่และพี่น้อง แล้วก็ต่อเพื่อนนักเรียน ต่อเพื่อนบ้าน ต่อเพื่อนร่วมชาติ ต่อเพื่อนร่วมโลก มีเมตตาต่อกันไปจนทั่ว
เมตตาของคุณพ่อคุณแม่นั้น มีเป็นตัวอย่างให้แก่ลูก และลูกก็มีเมตตาตอบแทนด้วยความรักต่อพ่อแม่ แล้วก็เมตตาต่อผู้อื่น แผ่ขยายออกไป และไม่เฉพาะเมตตาเท่านั้น ก็ต้อง
มีให้ครบหมดทั้ง 4
อย่าง ต่อด้วย กรุณา และเมตตา ลงท้ายด้วย
อุเบกขา
ทีนี้ มาถึงท่าน
ผู้พิพากษา
ก็ชัดเจนเลยว่า มีหน้าที่โดยตรงในการที่จะผดุงไว้ซึ่งสังคม หรือธำรงรักษาสังคม ให้อยู่ดีมีความมั่นคงปลอดภัย ถึงกับเรียกว่า
เป็นตุลาการ เป็นตราชู ผู้ดำรงธรรมไว้ให้แก่สังคม
จึงต้องเอาพรหมวิหารนี้มาปฏิบัติให้มีอยู่ประจำตัว เป็นธรรมพื้นฐานในใจ ไว้กำกับเจตนาเป็นประจำ ทั้งในการปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ได้ผลสมจริง และเป็นแบบอย่างของสังคม พร้อมไปด้วยกัน
พอไปกันได้กับ
โลกก็คือสังคมมนุษย์ (มนุษยโลก) นี่แหละ จะพินาศ
Create Date : 30 ตุลาคม 2564
Last Update : 30 ตุลาคม 2564 12:58:33 น.
0 comments
Counter : 750 Pageviews.
Share
Tweet
ชื่อ :
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :
[ดู Profile ทั้งหมด]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [
?
]
Webmaster - BlogGang
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
Bloggang.com