กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
ก่อนศึกษาพุทธธรรม
กรรมฐาน
จงกรม
หลักปฏิบัติ
สภาวธรรม
ลำดับญาณ,ทวนญาณ
ภาค ๑. มัชเฌนธรรมเทศนา
ภาค ๒. มัชฌิมาปฏิปทา
ภาค ๓. อารยธรรมวิถี
วิธีการแห่งศรัทธา (ปรโตโฆสะที่ดี)
วิธีการแห่งปัญญา (โยนิโสมนสิการ)
ภาษาธรรมวันละคำ
ปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง
ข้อธัมม์ที่ถาม-เถียงกันบ่อย
บุญ
ผู้พิพากษาตั้งตุลา ใ ห้ สั ง ค ม ส ม ดุ ล
คติธรรมสั้นๆ
รู้เขา รู้เรา
พุทธโอวาท ๓ เดือนก่อนปรินิพพาน,
ความเป็นมาของการบวช
การทำวัตรสวดมนต์
ทำยังไงจึงจะมีอายุยืนและมีความสุข
พลังดันคน
ที่ทำงานของจิต
บรรลุธรรมอะไร?
พุทธปรัชญาในสุตตันตปิฎก
ธัมมาธิบาย
สวดมนต์
ความจน เ ป็ น ทุ ก ข์ ใ น โ ล ก
เรียนบาลีเพื่อรักษาพุทธพจน์
ศีลธรรมไม่กลับมาโลกาจะพินาศ
หลักธรรมสำหรับผู้ยังไม่นับถือศาสนาใดๆ
วัฒนธรรมประเพณี
จาริกบุญ จารึกธรรม
สมาธิ,ฌาน
ถ้าศาสนาพุทธมีหลักธรรมดีจริง คงไม่สูญสิ้นจากถิ่นเดิม
ศีลกับเจตนารมณ์ทางสังคม
คุณค่าทางจริยธรรมของไตรลักษณ์
สติปัฏฐาน
ศีลสำหรับประชาชน
ทางดำเนินชีวิตสายกลาง
คุณสมบัติบุคคลโสดาบัน
กาม
ความสุข
อริยสัจ ๔
ธรรมฉันทะ - ตัณหาฉันทะ
กรรม
ฅนไทย ใช่กบเฒ่า ?
พระไทย ใช่เขาใช่เรา?
สมถะ,วิปัสสนา,เจโตวิมุตติ,ปัญญาวิมุตติ
อนัตตา
สมมุติบัญญัติ
ศีล-สีลัพพตปรามาส
นรก สวรรค์ ในพระไตรปิฎก
วันสำคัญของชาวพุทธไทย
วิธีฝึกหูทิพย์ ตาทิพย์
ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะ ศ.ประจำชาติ
ภาวะแห่งนิพพาน
ระดับของผู้บรรลุนิพพาน
ภาวะของผู้บรรลุนิพพาน
อิทธิบาท ๔
รู้ทุกอย่างแต่ปล่อยวางไม่ได้
สติ,สติปัฏฐาน
ตถตา
อ่าน แล้ว คิดว่าเป็นนั่นเป็นนี่
ทำยังไงจะให้เชื่อเรื่องกรรม
ตุลาคม 2564
>>
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
29 ตุลาคม 2564
ธรรมะอาศัยกันและกัน
ขังตัว ไม่ขังใจ
ธรรมะจากธรรมาสน์
แม่พระธรณีวัด
ยกเลิกเหอะ
โรคกาย และจิตใจ ไม่เหมาะสมเป็นตุลาการ
บัญญัติแก้ไขได้
แล้วแต่ฝ่ายไหนถือปากกา
วัฏฎะ
มรดกบาป
นิติ
ฆ่าเขาได้แล้วเราอยู่เป็นสุข
ตอบคำถามท้ายเรื่อง (จบ)
ตอบคำถามท้ายเรื่อง (ต่อ)
ตอบคำถามท้ายเรื่อง
Pictures
ตุลาการ ๔ ความหมาย
ธรรมะที่ทำให้เข้มแข็งและเป็นสุขในการทำหน้าที่
ข้างใน มีใจเที่ยงตรง ข้างนอก เป็นธรรมเสมอกันทุกคน
สมานัตตตา อีกแง่หนึ่ง
จริยธรรมในใจ ออกประสาน จริยธรรมทางสังคม
ถ้ารู้เข้าใจ อนิจจัง ผิด ก็ยุ่ง
ปัญญาที่แท้ก็ต้องชัด ถ้าไม่ชัดก็ยังไม่เป็นปัญญา
พรหมวิหาร หลักประกันสันติสุข
อุเบกขาดำรงรักษาธรรม
อำนาจ
มองพรหมวิหารคือคำนึงทุกสถานการณ์
พรหมวิหาร
ธรรมะอาศัยกันและกัน
มองพระพุทธศาสนาให้ครบ
ย้ำ เจตนา อีกที
เจตนาพามนุษย์ยุ่งนุงนังด้วยปัญหา
ไตรสิกขาระบบพัฒนาคนทั้งคน
ศีลธรรมค่อยๆหล่นหาย ตั้งแต่มีแผนพัฒนาฯ
ไปให้ถึงจริย(ธรรม)แท้ที่เป็นระบบ
เข้าใจ จริยธรรม ให้ชัด
ความไม่รู้บังความรู้
เน้นย้ำ บัญญัติธรรม อีกที
สภาวะ จริยะ บัญญัติ ซ่อนอยู่ใต้ ธรรมวินัย
พักเบรคความคิด
ปัญญา กับ เจตนา คุณสมบัติในตัวคน
บัญญัติจะดี ปัญญาต้องเต็ม เจตนาต้องตรง
ปัญญาต้องรู้ชัด เจตนาตั้งไว้ถูก
รู้ธรรมแล้วบัญญัติวินัย
ธรรม กับ วินัย แยกให้ชัด
ธรรม เป็นกฎธรรมชาติ มีอยู่ตามธรรมดาของมัน
ถ้าเป็นธรรม ก็ถูกต้องตามความจริง
จะนั่นนี่โน่นให้เป็นธรรม ต้องรู้จักธรรม
หลักเบื้องต้น คือ เจตนา กับ ปัญญา
ศัพท์ยาก ที่ต้องแปล
เจตนารมณ์หนังสือ ผู้พิพากษาตั้งตุลาให้สังคมสมดุล
ธรรมะอาศัยกันและกัน
มองชื่อธรรมะท่านให้มองเหมือนคนนั่งรถเจ็ดผลัดเจ็ดต่อ ขึ้นคันที่หนึ่งสุดทางแล้วก็ลงแล้วขึ้นคันต่อไป ต่อคันนั้น...คันนั้นๆ จนถึงจุดหมายปลายทาง ถึง ๗ ผลัด. พูดถึงสติก็ไม่ใช่มีแต่สติตัวเดียว สติก็ต้องอาศัยธรรมตัวอื่นอีก พูดถึงปัญญา ไม่ใช่ปัญญา ปัญญา ตัวเดียว ปัญญาก็อาศัยสติ เป็นต้นอีก พูดถึงจิต ไม่ใช่จิต จิตตัวเดียว จิตคนเดียวทำอะไรไม่ได้ ถ้าไม่อาศัยเจตสิก เช่น สติ ปัญญา สมาธิ เจตนา มนสิการ สัญญา เป็นต้น ร่วมทำงาน
เพราะดังนั้น พึงมองให้ตลอด
ปัญญา
ส่องสว่างให้เห็นทั่วไป จะเอาอย่างไร ก็แล้วแต่
เจตนา
ตอนนี้ เราก็เข้าสู่วงการ
ตุลาการ
แต่ที่จริงนั้น ต้องถึงกันหมด หลักการก็ตั้งอยู่บนฐานเดียวกันนั่นแหละ คือเริ่มจาก
นิติบัญญัติ แล้วบริหาร
และ
ตุลาการ
บริหารก็ดำเนินการให้เป็นไปตามนิติบัญญัตินั้น แล้วตุลาการก็เอานิติบัญญัตินั่นแหละมาเป็นเกณฑ์ที่จะตัดสิน
นี่ก็เหมือนพระวินัย และก็คือ
วินัย
ในความหมายที่แท้ของมันนั่นแหละ พระวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงวางไว้ก็แบบเดียวกัน
ย้ำอีกทีว่า
วินัยนี้เป็นบัญญัติ
พระพุทธเจ้าตรัสว่า ทรง
แสดงธรรม บัญญัติวินัย
ท่านใช้ศัพท์ต่างกัน เพราะว่าธรรมนั้นมีอยู่ของมันตามธรรมดา พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ก็ทรงแสดงไปตามที่มันเป็น แต่วินัยนี้ทรงบัญญัติ คือจัดตั้งวางขึ้นไว้ เป็นเรื่องของฝีมือมนุษย์
วินัย
เกิดจากฝีมือของมนุษย์ ถ้ามนุษย์นั้น
มีฝีมือดี
อย่างที่ว่าเป็นผู้รู้จริง มีปัญญาใสสว่างเข้าถึงความจริง แล้วก็มีเจตนาที่ใสสะอาด ก็มาใช้ปัญญาที่สามารถในการจัดตั้ง จัดการวางตราข้อกำหนดบทบัญญัติลงไปได้อย่างดี บัญญัตินั้น จะเรียกว่า
นิติบัญญัติ
หรือ
วินัยบัญญัติ
ก็แล้วแต่ ก็จะได้ผลดีจริง
ถ้า
นิติบัญญัติ
จัดตั้งไว้ดีแล้ว มาถึง
ตุลาการ
ก็คงไม่ต้องหนักใจ
แต่ถ้านิติบัญญัติทำมาไม่ดี
ตุลาการก็หนักใจ
ถ้าทำมาไม่เรียบร้อย ในด้านตัวบทโครงสร้างรูปแบบ ก็คงหนักใจไปแบบหนึ่ง ถ้า
ทำมาไม่ถึงธรรมในด้านอรรถสาระ
ถึงแม้ด้านตัวบทจะเรียบร้อย ถ้าตุลาการมีเจตนาดี มุ่งเพื่อความดีงามความเป็นธรรมความถูกต้องในสังคม ก็คงอึดอัด แต่ถ้าไม่มีเจตนามุ่งถึงธรรม ว่าไปแค่ให้ตรงตามตัวบทก็แล้วไป
รวมความแล้ว ตุลาการก็ดำเนินการให้เกิดผลตามนิติบัญญัตินั้น และในการทั้งหมดนั้น ก็อย่างที่กล่าวแล้วว่ามีปัญญา กับ เจตนานี้แหละเป็นสำคัญ
ทีนี้ ปัญญา กับ เจตนา นั้น เหมือนเป็นหัวหน้าใหญ่ ต่อจาก
ปัญญาและเจตนา ก็มีข้อธรรมปลีกย่อยมากมายหลายอย่าง เป็นตัวประกอบที่จะกำกับพ่วงไป
หรือช่วยรับใช้สนองงานออกสู่การปฏิบัติกระจายออกไปในขั้นตอนต่างๆ
เราต้องยอมรับว่า ผู้พิพากษานั้นแน่นอนว่าท่านก็เป็นมนุษย์ ท่านก็มีจิตใจ มีความรู้สึก มีความนึกคิด แล้วในด้านความรู้สึกนั้น ก็เป็นธรรมดาตามปกติที่เป็นปุถุชน ก็มีความรู้สึกสบายใจ ไม่สบายใจ บางทีก็มีความทุกข์ใจ แล้วก็หายโล่งไป มีความผ่องใสได้ มีความขุ่นมัวเศร้าหมองได้ บางทีมีความโกรธขัดใจ ต้องใช้ความเข้มแข็งมากที่จะข่มใจระงับ ก็จึงต้องมีหลักธรรม หรือข้อประพฤติปฏิบัติ ในระดับของจริยะ เพื่อช่วยในการที่จะดำรงตัวหรือวางตัวให้ได้ผลดี
พูดเข้าหลักก็คือ เพื่อให้ปัญญา กับ เจตนา ทำงานประสานออกสู่การปฏิบัติด้วยกัน ให้ออกผลอย่างที่มันควรจะเป็นอย่างแท้จริง ก็มีหลักธรรมข้ออื่นๆ มาประกอบ กำกับ รับใช้ สนองงาน เป็นบริวาร สนับสนุน เป็นต้น ซึ่งในกรณีนี้ ก็มาออกที่ตัวของผู้พิพากษา โดยมีผู้พิพากษาเป็นผู้แสดง
ก่อนจะพูดถึงธรรมข้อย่อยๆ ที่ออกสู่การปฏิบัติทั่วไป จะต้องทำความเข้าใจให้ชัดอีกหน่อยเกี่ยวกับบทบาทของปัญญา กับ เจตนา นั้น ในฐานะที่เป็นตัวยืน มีขอบเขตการทำงานทั่วรอบครอบคลุมและตลอดแต่ต้นจนจบ
การทำงานของปัญญา กับ เจตนา นั้นต่างกัน ปัญญาเป็นของดีมีประโยชน์ ซึ่งทำหน้าที่หรือมีบทบาทเหมือนตะเกียง เหมือนไฟฉาย ดวงไฟ ดวงประทีป ตลอดจนเหมือนดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ คือ ให้ความสว่าง ส่องแสง ส่องทาง เมื่อคนและสัตว์ทั้งหลาย อาศัยแสงสว่างนั้น มองเห็นที่เห็นทาง เห็นสิ่งทั้งหลายแล้วจะทำอะไรอย่างไร ดีหรือร้ายเป็นคุณหรือโทษ ก็เป็นเรื่องของคนสัตว์เหล่านั้น
ตัวเจ้าการเจ้าบทบาทที่จะใช้ประโยชน์จากแสงสว่างของปัญญา คืออาศัยแสงสว่างนั้นแล้วทำอะไรๆ ก็คือ
เจตนา
นี่แหละ การดีการร้าย จึงเป็นเรื่องของเจตนา และเจตนาจึงเป็นหัวหน้านำปฏิบัติการในแดนของจริยะ และ
ออกมาในแดนบัญญัติ
เพื่อให้มั่นใจว่าเจตนาจะนำทำงานอย่างถูกต้องเป็นจริยะอย่างดีที่สุดสำหรับผู้พิพากษา ที่จะออกมาสู่การปฏิบัติในเรื่องของบัญญัติก็จึงหาข้อธรรมที่ตรงเรื่องที่สุดมาไว้ประกอบกำกับเจตนาของผู้พิพากษานั้น
ตอนนี้ เราจะต้องพยายามให้เจตนานำไปสู่ความถูกต้องเป็นธรรมชอบธรรมให้ได้ เป็นเรื่องของเจตนาที่ว่าจะเอาธรรมหรือคุณสมบัติอะไรมาไว้กับตัวที่จะไปด้วยกัน
ถึงตอนนี้ ก็มีหลักธรรมชุดย่อยๆ มากำกับ
สนองงานแก่เจตนา
นั้น เริ่มด้วยชุดที่ตรงเรื่องและใช้บ่อยที่สุด ก็คือ หลักธรรมชุด "พรหมวิหาร"
Create Date : 29 ตุลาคม 2564
Last Update : 29 ตุลาคม 2564 19:47:10 น.
0 comments
Counter : 681 Pageviews.
Share
Tweet
ชื่อ :
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :
[ดู Profile ทั้งหมด]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [
?
]
Webmaster - BlogGang
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
Bloggang.com