 |
|
|
|
 |
|
|
ตัดมาจากหัวข้อใหญ่ https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samathijit&month=05-2021&date=01&group=12&gblog=12
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของคำว่า "เจตนา" สักเล็กน้อย เจตนาในทางธรรม มีความหมายละเอียดอ่อนกว่าที่เข้าใจกันทั่วไปในภาษาไทย กล่าวคือ ในภาษาไทย มักใช้เจตนาต่อเมื่อต้องการเชื่อมโยงความคิดที่อยู่ภายใน กับ การกระทำที่แสดงออกมาในภายนอก เช่นว่า พูดพลั้งไป ไม่ได้เจตนา หรือเขากระทำการโดยเจตนา เป็นต้น แต่ในทางธรรม คือตามหลักกรรมนี้ การกระทำ การพูด ที่แสดงออกภายนอกโดยจงใจก็ดี ความคิดต่างๆ แม้เล็กๆ น้อยๆ ที่เกิดขึ้น ๆ ชั่วครู่ชั่วขณะแล้วผ่านไปๆ ภายในจิตใจก็ดี การคิดถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งในลักษณะใดลักษณะหนึ่งก็ดี ความรู้สึก และท่าทีของจิตใจต่อสิ่งต่างๆ ที่ได้ประสบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และที่ระลึกหรือนึกขึ้นมาในใจก็ดี ล้วนมีเจตนาประกอบอยู่ด้วยทั้งสิ้น
เจตนาจึงเป็นเจตจำนง ความจงใจ การเลือกอารมณ์ของใจ ตัวนำที่หันเหชักพาทำให้จิตเคลื่อนไหวโน้มน้อมไปหา หรือ ผละไปจากสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือมุ่งไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง เป็นหัวหน้าเป็นผู้จัดการ หรือเจ้ากี้เจ้าการของจิตว่าจะเอาอะไรไม่เอาอะไร กับเรื่องใดอย่างไร เป็นตัวการจัดแจงแต่งวิถีทางของจิต และในที่สุดก็เป็นตัวการปรุงแต่งจิตนั้น ให้เป็นไปต่างๆ

สัพพจิตตสาธารณเจตสิก (เจตสิกที่เกิดกับจิตทุกดวง) คือ ผัสสะ เจตนา เอกัคคตา ชีวิตินทรีย์ มนสิการ เวทนา สัญญา
เจตนาเป็นหนึ่งในเจ็ดแห่งสัพพจิตตสาธารณเจตสิก
Create Date : 28 ตุลาคม 2564 |
Last Update : 28 ตุลาคม 2564 12:51:43 น. |
|
0 comments
|
Counter : 445 Pageviews. |
 |
|
|
|
|
 |
|
|
|