กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
 
ตุลาคม 2564
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
space
space
27 ตุลาคม 2564
space
space
space

ศีลธรรมค่อยๆหล่นหาย ตั้งแต่มีแผนพัฒนาฯ

170กังวลว่าศีลธรรมหล่นหาย สังคมไทยเที่ยวเวียนค้นคูหาตามล่าจริยธรรม

   อย่างที่กล่าวแล้วข้างต้นว่า ความรู้เข้าใจ และความคิดของสังคมไทยที่คืบเคลื่อนมาในการให้ความหมายและการใช้คำศัพท์ที่สำคัญอย่างคำว่าจริยธรรมนั้น เป็นเรื่องที่น่าศึกษา แต่ในยามกระชั้นชิดนี้ ขอพูดโดยยังไม่ได้ทบทวนและตรวจสอบให้ละเอียด

   เท่าที่ระลึกได้ ก่อนเกิดมีศัพท์บัญญัติว่า "จริยธรรม" เมื่อ ๔๐-๕๐ ปีก่อนนั้น สังคมไทย ก็เหมือนกับสังคมทั่วไปในโลก ได้ตื่นเต้นอยู่กับความหวังในความเจริญก้าวหน้าแบบสมัยใหม่มาเป็นเวลานาน ผู้คนไม่ค่อยสนใจในเรื่องศีลธรรม แม้ว่าเวลานั้นยังใช้คำว่า "ศีลธรรม" เด็กยังต้องเรียนวิชาหน้าที่พลเมือง และศีลธรรม แต่จิตใจคนกำลังห่างเหินออกมา  (คงคล้ายกับคำเปรียบที่ว่า ยามน้ำมากหาง่าย คนไม่เห็นคุณค่า แต่เมื่อใดไม่มีน้ำจะกิน แม้แต่เพชรพลอยก็หมดสิ้นความหมาย)

  ต่อมาเมื่อมีคำใหม่ว่า "จริยธรรม" ที่บัญญัติขึ้นจากคำฝรั่ง และคำว่า ศีลธรรมเลือนลางลงไปๆ ก็พอดีหรือบังเอิญว่า สังคมไทยได้เข้ามาสู่ยุคที่ประสบปัญหาทางศีลธรรมมากขึ้นๆ คนมีปัญหาจิตใจมากขึ้น จนคนบ่นกันหนาหูขึ้นเรื่อยๆว่า ศีลธรรมเสื่อมๆ (คำว่า "ศีลธรรม" เสื่อมหาย!)

  ถึงตอนนี้ สังคมหันมามองเห็นความจำเป็นของศีลธรรม ในขณะที่คำใหม่ที่โก้กว่า คือ จริยธรรม กำลังเริ่มเด่นขึ้นมาแทน

  ยุคใหม่ของความสนใจปัญหาสังคม จึงมาพร้อมกับการค่อยๆเลือนหายของคำว่า "ศีลธรรม" และการนิยมคำใหม่ว่า "จริยธรรม"

  ก่อนนั้น ไม่นาน สังคมไทยได้ก้าวเข้าสู่ยุคพัฒนา ซึ่งเริ่มต้นเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๕ และประเทศไทยก็ได้มี แผนพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับแรก คือ ฉบับที่ ๑ พ.ศ.๒๕๐๖-๒๕๐๙ (แผน ๑ นี้ ในชื่อมีคำว่า "การ" แต่ไม่มี "และสังคม") ในแผนฉบับแรกนี้ ซึ่งมุ่งที่เศรษฐกิจ ไม่เอ่ยถึงศีลธรรมเลย (จริยธรรม ยิ่งไม่ต้องพูดถึง เพราะเป็นคำที่ยังไม่ใช้)

  ระหว่างที่เน้นการพัฒนาประเทศในด้านเศรษฐกิจนั้น  คนไทยได้มองเห็นปัญหาสังคมที่คนมีความเสื่อมโทรมทางจิตใจ ห่างเหินจากศีลธรรมไกลออกไปๆ ตอนนั้น เริ่มมีระบบผ่อนส่ง ซึ่งแพร่สะพัดไปอย่างรวดเร็ว พร้อมกับการกู้หนี้ยืมสินระบาดไปทั่ว

  เมื่อได้เห็นความสำคัญของปัญหาสังคมที่พ่วงมากับความเห่อวัตถุและปัญหาความเสื่อมจากศีลธรรม ก็เป็นเหตุให้แผนพัฒนาฉบับต่อมา ขยายขอบเขตออกไปโดยเพิ่มคำว่า "และสังคม" เข้าไปในชื่อ กลายเป็น แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๑๐ - ๒๕๑๔ และในแผนนี้ ก็ได้เริ่มมีคำว่า "ศีลธรรม" โดยเฉพาะได้เกิดมีคำว่า "พัฒนาจิตใจ" ซึ่งเป็นจุดเน้นที่กล่าวถึงสืบมาอีกหลายแผน

   ต่อมา เมื่อขึ้นสู่ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (พึงสังเกตว่า ตั้งแต่แผน ๓ นี้ไป ในชื่อแผนไม่มีคำว่า "การ") ฉบับที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๑๕ - ๒๕๑๙ คำว่า "จริยธรรม" ก็เริ่มเข้ามา และคนก็นิยมใช้คำนี้มากขึ้นๆ พอถึงแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ ๕ พ.ศ. ๒๕๒๕ - ๒๕๒๙ ก็มีคำว่า "พัฒนาจริยธรรม" ถึงตอนนี้ คำว่าศีลธรรมแม้จะยังมีใช้อยู่ แต่ก็น้อย จริยธรรมกลายเป็นคำเด่น ซึ่งทางการก็หันไปใช้มาก (ในแผน ๕ นี้ มีคำว่าศีลธรรมเพียง ๕ ครั้ง แต่เอ่ยอ้างจริยธรรมถึง ๑๘ ครั้ง)

  คำว่า "พัฒนาจิตใจ" ซึ่งได้เข้ามาสู่แผนพัฒนา ฯ พร้อมกับคำว่า "ศีลธรรม" โดยเริ่มขึ้นในฉบับที่ ๒ (พ.ศ.๒๕๑๐ - ๒๕๑๔) นั้น ตอนแรก ยังใช้น้อย ไม่บ่อยไม่เด่นเท่าคำว่าศีลธรรม แต่อย่างที่กล่าวแล้ว พอเข้าแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ ๓ (พ.ศ.๒๕๑๕ - ๒๕๑๙) คำว่าศีลธรรมก็เริ่มมีคำว่า "จริยธรรม" เข้ามาแข่ง และปรากฎตัวน้อยลงๆ ในขณะที่คำว่า "พัฒนาจิตใจ" กลับมีการใช้มากขึ้นๆ

  ในแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ ๕ "พัฒนาจิตใจ" ก็ได้ขึ้นมาเป็นหัวข้อใน "บทที่ ๒ แนวนโยบายและเป้าหมายด้านประชากร กำลังคน การพัฒนาจิตใจและสิ่งแวดล้อม"


 พอถึงแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ ๖ (๒๕๓๐-๓๔) ปรากฎว่า "ศีลธรรม" มีใช้เพียง ๒ ครั้ง แต่ใช้ "พัฒนาจิตใจ" ถึง ๑๕ ครั้ง จากนั้น "พัฒนาจิตใจ" ก็ถึงจุดโดดเด่นที่สุดในแผน ฯ ๗ (๒๕๓๕ - ๓๙) โดยขึ้นมาเป็นชื่อบทหนึ่งในแผนนั้น คือ "บทที่ ๒ การพัฒนาจิตใจ วัฒนธรรมและสังคม" และใช้บ่อยไม่น้อยกว่า ๒๔ ครั้ง

  (พึงสังเกตด้วยว่า คำว่า "คุณภาพชีวิต" "สิ่งแวดล้อม" "ระบบนิเวศน์" "ทรัพยากรธรรมชาติ" ก็ทวีความสำคัญขึ้นมาในช่วงเวลาใกล้กัน ตั้งแต่แผน ๕ เป็นต้นมา)

  ข้อความใน แผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ ๕ พ.ศ.๒๕๒๕-๒๙ และฉบับที่ ๖ พ.ศ.๒๕๓๐-๓๔ ช่วยบอกเราว่า ในช่วงนั้น ค่อนข้างชัดว่าคนนิยมใช้ "จริยธรรม" มากขึ้นๆ ขณะทีใช้ "ศีลธรรม" น้อยลงๆ และ "คุณธรรม" ก็เข้ามาเป็นตัวเสริมมากขึ้นๆ

  อย่างไรก็ดี แม้ว่า "จริยธรรม" จะเข้ามาแข่งหรือเบียด "ศีลธรรม" แต่ยังอยูในระยะที่ไม่ลงตัว (คงไม่แน่ใจ) ในช่วงแรกจึงยังใช้ลักลั่นอยู่ (ยังไม่คุ้นและไม่ได้ตกลงความหมายกันให้ชัด) และเมื่อเอาคำว่า "คุณธรรม" มาเข้าคู่ ตอนแรกก็เหมือนกับเอาแค่ให้มีคุณธรรมด้วย แต่จะให้เข้าคู่กับคำไหนแน่ ก็บอกไมได้

   ตัวอย่าง ในแผน ๕ "คุณธรรมและจริยธรรม" ก็เริ่มมีใช้ แต่ใช้ว่า "ศีลธรรมและจริยธรรม" มากกว่า และใช้ว่า "คุณธรรมและศีลธรรม" ก็มี บางที ก็ใช้ว่า "ศีลธรรมและจริยธรรมอันดีงาม"

  ในแผน ๖ และแม้ในแผน ๗ ที่เน้นการพัฒนาจิตใจอย่างยิ่ง ก็ใช้คำเหล่านี้ปะปนกันไป เช่นว่า "พัฒนาจิตใจให้มีคุณธรรม จริยธรรม" บ้าง "การพัฒนาทางด้านจิตใจ คุณธรรมและศีลธรรม" บ้าง "ส่งเสริมปลูกฝังศีลธรรมและจริยธรรม" บ้าง "การพัฒนาจิตใจหรือจริยธรรม" บ้าง "การสอนเรื่องศาสนาและจริยธรรม" บ้าง  (เรียกได้ว่า ใช้กันนัวเนีย แม้กระทั่งในแผน ๘ ก็ยังมีทั้ง "ศีลธรรม จริยธรรม" "คุณธรรม จริยธรรม" และ "ศาสนาและจริยธรรม")


  "พัฒนาจิตใจ"   ยังเฟื่องมาถึงแผน ๘ แต่เมื่อผ่านมาถึงแผน ๙ และแผน ๑๐ มีใช้เพียง ๒-๓ ครั้ง คือแทบจะหายไปเลย แต่คำว่า "จริยธรรม" กลับมีความมั่นคงมากขึัน

  ถึงตอนนี้ การอบรมจริยธรรมก็มาเข้าชุดกับ การพัฒนาจริยธรรม ทั้งส่วนราชการและเอกชน ตื่นขึ้นมาจัดอบรมจริยธรรมกันดื่นไปทั่ว ในขณะเดียวกัน ทางด้านกระทรวงศึกษาธิการ คำว่า ศีลธรรมค่อยๆ หล่นหายไปจากหลักสูตรการศึกษา และคำว่าจริยธรรมก็ค่อยๆเข้ามาแทนที่

  อย่างไรก็ตาม คำว่า "จริยธรรม" ตามความหมายที่นำเข้ามาจากต่างประเทศนั้น มองออกไปทางด้านสังคม เน้นคาวมประพฤติที่แสดงออกหรือมีผลกระทบต่อภายนอก มุ่งที่การปฏิบัติต่อกันและการอยู่ร่วมในสังคม

  การตื่นอบรมจริยธรรมเดินหน้ามาระยะหนึ่ง ก็ชักสงสัยกันวุ่นวายไปว่า เอ๊ะ ... ไม่ได้นะ การอบรมจริยธรรมที่เอาแต่เรื่องความประพฤติข้างนอกนี่ ไม่พอ ไม่ได้ผลหรอก ต้องให้มีคุณธรรมในจิตใจด้วย ความประพฤติข้างนอกจึงจะดีได้ เพราะฉะนั้น ต้องพัฒนาจิตใจ เน้นให้ถึงคุณธรรม ต้องเติมคุณธรรมลงไป ต้องอบรมคุณธรรม

  ตอนนี้ สังคมไทยก็ก้าวมาอีกขั้นหนึ่ง ตกลงว่า การจัดอบรมจริยธรม มีชื่อยาวขึ้น กลายเป็น การอบรมคุณธรรมและจริยธรรม

  พอถึง แผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ ๙ (๒๕๔๕-๔๙) และ ฉบับที่ ๑๐ (๒๕๕๐-๕๔) "คุณธรรม" ก็ได้มาเข้าคู่กับ "จริยธรรม" ลงตัวแล้ว

  ในแผน ๙ พบ "จริยธรรม" ๖ ครั้ง และทุกครั้งมี "คุณธรรม" เป็นคู่อยู่ด้วย ส่วนในแผน ๑๐ มีคำคู่ว่า "คุณธรรม จริยธรรม" ถึง ๒๒ ครั้ง (เขียนชิดกันบ้าง มี "และ" คั่นบ้าง หรือสับที่กันเป็น "จริยธรรม คุณธรรม" ก็มี)

  ถึงตอนนี้ "ศีลธรรม" แม้จะยังใช้อยู่ แต่ไม่มีที่จะมาเข้าคู่ว่า "ศีลธรรมและจริยธรรม" อย่างก่อนหน้านั้น คือ ใช้แยกความหมายออกไป เช่นว่า "...ปลูกฝังศีลธรรมให้สำนึกในคุณธรรม จริยธรรม"

  บางทีมีเค้าหรือเป็นแนวโน้มทำนองว่าจะใช้ "ศีลธรรม" ในกรณีที่พูดคลุมๆหรือกล่าวถึงภาพรวมของสังคม เช่นว่า "เวลานี้ สังคมมีปัญหาทางศีลธรรมมาก" หรือว่า "บ้านเมืองกำลังเสื่อมโทรมทางศีลธรรม" แต่เอาเข้าจริง คนก็ยังใช้ทั้งศีลธรรมและจริยธรรมสับสนปนเปกันไป

  ในขณะเดียวกัน ระหว่างนี้ นักวิชาการของเราก็ยังพยายามจำกัดความให้ความหมายคำเหล่านี้อยู่ เพื่อช่วยให้สังคมไทยยุติความเข้าใจในถ้อยคำเหล่านี้

  นี่คือเบื้องหลังความเคลื่อนไหวการแก้ไขปัญหาที่เรียกว่าเป็นเรื่องของจริยธรรมในสังคมไทย เรามากันได้แค่นี้ คือมาถึงขั้นที่เห็นๆกัน ตามถ้อยคำที่เราใช้สื่อสารกันอยู่ในระดับชาติเวลานี้แหละว่า การอบรมคุณธรรมและจริยธรรม บ้าง การพัฒนาจริยธรรมและพัฒนาจิตใจ บ้าง

  ดูตามที่พูดมา เห็นเค้าว่าสังคมนี้คงจะต้องเดินทางไกล และคงต้องใช้เวลาอีกยาวนาน กว่าจะถึงจุดหมายของการพัฒนาคน


Create Date : 27 ตุลาคม 2564
Last Update : 27 ตุลาคม 2564 18:52:48 น. 0 comments
Counter : 264 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space