กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
 
ตุลาคม 2564
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
space
space
24 ตุลาคม 2564
space
space
space

สภาวะ จริยะ บัญญัติ ซ่อนอยู่ใต้ ธรรมวินัย

ไปต่อ

สังเกตชื่อหลักธรรมหัวข้อนี้ชัดๆ ซึ่งพูดกันทั่วๆไป 


170ซ่อนใต้ระบบ ๒ ของธรรมวินัย มองไปเห็นระบบ ๓ แห่งสภาวะ จริยะ และบัญญัติ

   ที่จริง  ตอนที่พูดเรื่อง ธรรม กับ วินัย นั่นแหละ คือ ได้พูดเรื่องระบบของธรรมทั้งหมดแล้ว เพียงแต่ตอนนั้น จับเอาเฉพาะต้น กับ ปลาย ที่เป็นจุดกำหนดใหญ่ คือ

   - จุดเริ่ม หรือหลักต้นเดิม แบบแผนเดิม ด้านธรรมชาติ ได้แก่ ความจริงตามสภาวะของมัน ที่เรียกว่า ธรรม กับ

   - จุดปลาย หรือหลักที่ตั้งขึ้น  แบบแผนที่จัดวางขึ้นใหม่ ในด้านมนุษย์ ได้แก่ หลักการกฎกติกา ซึ่งบัญญัติขึ้น ที่เรียกว่า วินัย

   ธรรมในที่นี้   หมายถึง ความจริงตามสภาวะของธรรมชาติ  ถ้าเรียกชื่อเต็ม ก็คือ สภาวธรรม (เรียกหลวมๆ แบบไทยเราว่า สัจธรรม)

   ส่วนวินัย ก็อย่างที่กล่าวแล้ว ว่าเป็นเรื่องที่คนบัญญัติจัดตั้งวางขึ้น เมื่อวางเป็นหลักเป็นแบบแผนแล้ว ก็เรียกได้ว่าเป็นธรรมอย่างหนึ่ง  (ดังเช่นกฎหมายก็เรียกว่า ธรรม เช่น ในคำว่า ธรรมศาสตร์ คือ วิชากฎหมาย) ดังนั้น วินัยเมื่อจัดเข้าในชุดของธรรม (เป็นเรื่องสืบเนื่องจากธรรมนั่นแหละ) ก็เรียกว่าเป็น บัญญัติธรรม

  เป็นอันว่า ถึงตอนนี้ มีธรรม ๒ อย่าง คือ สภาวธรรม ในข้างธรรมชาติ และ บัญญัติธรรม ในข้างคนหรือสังคมมนุษย์

  ทั้งนี้ ได้บอกแล้วว่า อย่างหลัง คือ บัญญัติธรรม ตั้งอยู่บนฐานของอย่างแรก คือ สภาวธรรม

  ทีนี้ ถ้าดูให้ดี ในคำอธิบายเรื่อง ธรรม - วินัย ข้างต้นนั้น จะเห็นว่าระหว่าง ๒ อย่างนั้น ก่อนจะตั้งอย่างหลังขึ้นได้ คือ จากธรรม จะมาตั้งวินัยขึ้นนั้น มีตัวเชื่อมโยง ซึ่งสำคัญมากเหมือนกัน แต่ที่นั่นไม่ได้เน้น ถ้าไม่สังเกต อาจจะมองข้ามหรือลืมไปเสีย ตัวเชื่อมโยงนั่นแหละ คือ ธรรมอีกอย่างหนึ่ง เรียกว่า จริยธรรม

  คราวนี้    ก็ครบชุดตลอดทั้งระบบเป็น ๓ อย่าง เรียงตามลำดับเป็น

  สภาวธรรม  (หลัก หรือแบบแผนที่เป็นอยู่เป็นไปในธรรมชาติตามธรรมดาของมัน)

  จริยธรรม   (ข้อที่เสมือนเป็นเงื่อนไขที่ธรรมชาติเรียกร้องต่อมนุษย์ว่า ถ้ามนุษย์ต้องการผลดี จะต้องปฏิบัติอย่างไร)

  บัญญัติธรรม  (หลักหรือแบบแผนที่มนุษย์บัญญัติขึ้นเพื่อสนองตามเงื่อนไขของธรรมชาติ)

  ถ้าเรียกให้สั้น ก็คือ สภาวะ จริยะ และ บัญญัติ  (ใช้คำว่า ธรรม ต่อท้าย เพื่อให้รู้ว่าอยู่ในระบบแห่งธรรม หรือเป็นส่วนของระบบแห่งธรรมนั้น)

  ข้อสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องบอกแจ้งไว้ก่อน เพื่อป้องกันความสับสน คือ คำว่าจริยธรรมในที่นี้ จะต้องตระหนักว่า มิใช่มีความหมายอย่างคำว่า "จริยธรรม" ที่ใช้และเข้าใจกันทั่วไปในบัดนี้

  เมื่อเห็นคำว่า "จริยธรรม"  ในที่นี้   ห้ามนึกถึงจริยธรรมที่ใช้ในปัจจุบันเลย ต้องลบออกไปเลย (เรื่องนี้จะอธิบายเหตุผลข้างหน้า https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=samathijit&month=26-10-2021&group=27&gblog=16

  ความสัมพันธ์ระหว่างธรรม ๓ อย่างนี้ ก็เหมือนกับที่ได้อธิบายแล้วในตอนว่าด้วย ธรรม กับ วินัย และในที่นี้จะทบทวนเล็กน้อย

  ยกตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมเป็นเชิงเปรียบเทียบ เพื่อให้เข้าใจง่าย

  สภาวะ (ความจริงตามธรรมชาติ) ไฟเป็นของร้อน  มีอำนาจเผาไหม้  ทำให้เกิดแสงสว่างและความเปลี่ยนแปลงต่างๆ มากน้อย ตามระดับของอุณหภูมิ (มองในแง่ของมนุษย์ มีทั้งที่เป็นคุณ และเป็นโทษแก่ตน)

  จริยะ  (เงื่อนไขหรือข้อพึงประพฤติที่มนุษย์ต้องปฏิบัติเมื่อต้องการผลดีแก่ตน) พึงเข้าไปเกี่ยวข้องและปฏิบัติต่อไฟด้วยความระมัดระวัง สอดส่องป้องกันมิ ให้เกิดอุบัติภัย ไม่เอาไฟไปใช้ทำร้ายใคร หรือทำลายสิ่งใด รู้จักใช้ทำประโยชน์ต่างๆ นำมาใช้ประโยชน์ภายใต้การควบคุมฯลฯ

  บัญญัติ  (จัดตั้งวางระเบียบกฎกติกา และมาตรการที่ให้มั่นใจว่าจะเกิดผลดีตามจริยะ) วางกฎ  มิให้ปล่อยเด็กเล็กอายุเท่านั้นๆ ไว้ในที่ใกล้ระยะเท่านั้นๆ จากวัตถุ ก่อไฟ วางข้อห้าม มิให้ผู้ใดนำไฟ หรือวัตถุสื่อไฟเข้าไปในเขตรัศมีเท่านั้นๆ จากโรงเก็บวัตถุระเบิด ตั้งข้อกำหนด  มิให้ก่อกองไฟเผาหญ้า หรือ ผิงไฟ  เป็นต้น ใกล้สิ่งก่อสร้างในระยะเท่านั้นๆ วางระเบียบ ในนการสร้างครัว และโรงครัวว่าจะต้องใช้วัสดุอะไร สำหรับส่วนประกอบใด ต้องจัดวางส่วนประกอบภายในที่ตรงไหน อย่างไรได้ อย่างไรไม่ได้ ฯลฯ

  ตัวอย่างทางนามธรรม ก็ เช่น

  สภาวะ: ความโลภ คือ สภาพจิตที่อยากได้อยากเอามาเพื่อตน  อาจเป็นเหตุให้ทำ การแสวงหาต่างๆ อาจถึงกับทำให้ไปเอาทรัพย์สินของคนอื่น ทำการลักขโมย เป็นต้น โทสะ คือภาวะจิตที่เคืองแค้นมุ่งร้าย ทำให้ใจเร่าร้อน หัวใจเต้นเร็ว ใจเครียด กล้ามเนื้อเขม็งเกร็ง เลือดลมติด ขัด กระบวนการเผาผลาญในร่างกายทำงานหนัก ทรุดโทรมแก่เร็วขึ้น ง่ายที่จะก่อความขัดแย้งกับผู้อื่น รุนเร้าขับดันให้ไปรังควาญคนที่ตนเกลียดชัง   อาจถึงกับทำให้ไปทำร้ายทุบตี  หรือฆ่าคนอื่น เมตตา คือ สภาพจิตที่รักปรารถนาดีอยากให้คนอื่นเป็นสุข  ทำให้จิตใจสงบเย็น ทำให้ระบบของร่างกายผ่อนคลาย หายใจสบาย เลือดลมเดินดี เผาผลาญน้อย ทรุดโทรมแก่ช้า ทำให้มีความเป็นมิตรและอยากช่วยเหลือผู้อื่น ไปบำเพ็ญประโยชน์ เกื้อกูลสังคม ฯลฯ

  จริยะ: ควรควบคุมความโลภ ไม่ให้ทำการแสวงหาเกินขอบเขตที่ถึงกับไปเอาของของคนอื่น ถึงกับเบียดเบียน หรือ ก่อความเดือดร้อนแก่สังคม   ควรจัดการให้โลภะระบายออกในระบบการแสวงหาลาภด้วยการทำงาน  ควรดับโทสะ  เพื่อสุขภาพกายใจของตน  ระงับยับยั้งโทสะไม่ให้ทำการประทุษร้ายผู้อื่น   มิให้แสดงออกมาในการก่อความเดือดร้อนเบียดเบียนสังคม  ควรเจริญเมตตาให้เอื้อต่อสุขภาพกายใจ   ควรพัฒนาตนในทางมีน้ำใจช่วยเหลือเกื้อกูล  ควรหาทางแสดงน้ำใจไมตรี ไปร่วมมือกัน ไปบำเพ็ญประโยชน์ต่างๆ ฯลฯ

  บัญญัติ:  ตรากฎหมายห้ามลักขโมย   ตรากฎหมายวางบทบัญญัติเกี่ยวกับการทำร้ายร่างกาย วางระเบียบการจัดอบรมผู้ต้องขัง อบรมเด็กมีปัญหา จัดตั้งค่ายคุณธรรมเพื่อพัฒนาเมตตาธรรม ให้ซื่อสัตย์  ให้กตัญญู  จัดตั้งชมรมสุขภาพกายสุขภาพใจ ฯลฯ


  ตามตัวอย่างเหล่านี้   จะเห็นได้ไม่ยากว่าสภาวะ  เป็นความจริงของธรรมชาติ และจริยะ ก็เป็นความจริงเกี่ยวกับความต้องการของชีวิตของคน  ไม่ว่าที่ไหน เมื่อใด ทุกกาลเทศะ ก็เป็นอย่างนั้น

  ดังนั้น สภาวธรรม และจริยธรรม  ซึ่งสืบเนื่องต่อกันมา   จึงอยู่ในระดับที่เป็นสัจธรรมด้วยกัน

  ส่วนบัญญัตินั้น    กำหนดหรือจัดตั้งวางขึ้น   เพื่อให้จริยะมีผลเป็นจริง หรือ ให้ได้ผลตามจริยะ เห็นได้ชัดว่าเป็นสมมติ หรือสมมติธรรม คือไม่มีอยู่จริง   แต่เป็นเรื่องของการตกลงหรือยอมรับร่วมกันของมนุษย์

  ดังนั้น  บัญญัติธรรม ซึ่งแต่ละสังคมก็พยายามจัดวางให้ได้ผลมากที่สุด  แต่มีความรู้ความเห็นความต้องการความสามารถมากน้อยไม่เท่ากัน ไม่ตรงกัน   เช่น   ประเทศนี้   มีกฎหมายว่าด้วยการเก็บ การเคลื่อนย้าย การใช้เชื้อเพลิงประเภทต่าง ๆ เช่น แก๊ส น้ำมัน ถ่านหิน ฯลฯ อย่างหนึ่ง  แต่อีกประเทศหนึ่ง   มีข้อกำหนดอีกแบบหนึ่ง และสำหรับเชื้อเพลิงแต่ละประเภทนั้นๆ ก็มีข้อ บัญญัติที่เป็นรายละเอียดแตกต่างกันไปมากมาย หรือแม้ในประเทศเดียวกัน แต่ต่างยุคสมัย ก็มีเหตุให้บัญญัติแผกกันไป

  บางทีบัญญัติธรรมก็ต่างกันมาก  จนอาจจะตรงข้ามกันเลย คือ เรื่องที่ในสังคมนี้บัญญัติให้เป็นการถูกต้อง   แต่อีกสังคมหนึ่ง   บัญญัติให้เป็นการไม่ถูกต้อง หรือ ในสังคมเดียวกันต่างกาละ เรื่องที่เคยบัญญัติว่า ผิด ก็บัญญัติใหม่เป็นถูก  เรื่องที่เคยว่า ถูก  ก็เอาเป็นผิด

  ข้อที่พึงทราบอีกอย่างหนึ่ง คือ จะเห็นชัดเช่นกันว่าสภาวะ หรือสภาวธรรม เป็นเรื่องของปัญญา คือขึ้นต่อความรู้   ต้องใช้ความรู้ความเข้าใจ   ส่วนจริยะ เป็นเรื่องของเจตนา คือขึ้นต่อเจตจำนง ความตั้งใจ

  ในการบัญญัติจัดตั้งบัญญัติธรรมจะทำได้ผลดีก็ต้องมีปัญญาที่รู้เข้าใจเข้าถึงสภาวะและมีเจตนาที่สะอาดประกอบด้วยเมตตาปรารถนาดีต่อเพื่อนมนุษย์ ต่อสังคม เป็นต้น อย่างจริงจังและจริงใจ

  ท้ายสุด  ในขั้นปฏิบัติตามบัญญัติธรรม   การที่จะปฏิบัติตามหรือไม่ และปฏิบัติได้ผลมากน้อยเพียงไร ก็ขึ้นอยู่กับปัญญา และเจตนาเช่นเดียวกัน

  ด้วยเหตุนี้    จึงต้องมีการพัฒนามนุษย์   ด้วยการศึกษา ที่จะให้มนุษย์นั้นมีปัญญารู้เข้าใจสภาวธรรมเท่าที่จะเป็นไปได้ และให้เขาพัฒนาจิตใจ   ให้มีเจตนาที่ประกอบด้วยคุณสมบัติดีงามทั้งหลาย เช่น เมตตา กรุณา สติ สมาธิ ฯลฯ  เพื่อจะได้มีจริยธรรม   ที่จะเอาเจตนานั้นไปนำพฤติกรรมทางกาย วาจา โดยอาศัยบัญญัติธรรมช่วยเกื้อหนุนให้ประพฤติปฏิบัติในทางที่ดีงามเกื้อกูลเป็นคุณเป็น ประโยชน์ แก่ชีวิต แก่สังคม และแก่โลกที่แวดล้อมทั้งหมด ให้อยู่ดีมีสันติสุขแท้จริง.


173ก็พอเทียบเคียงได้บ้างว่าเราอยู่ตรงไหนของ สภาวธรรม จริยธรรม บัญญัติธรรม.  หากมองอีกด้านหนึ่ง  จะเห็นว่าสภาวธรรมอยู่ชั้นในสุด  ตัวที่ปิดบังสภาวธรรม  ก็ได้แก่ ธรรมชั้นนอกๆ  คือ  จริยธรรม   กับ  (สมมติ) บัญญัติธรรม172   


 


Create Date : 24 ตุลาคม 2564
Last Update : 26 ตุลาคม 2564 15:16:10 น. 0 comments
Counter : 463 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space