กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ(สํ.สฬ.18/217/166) เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า"ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
หลักปฏิบัติ: แยกจากหัวข้อใหญ่
สภาวธรรม
เบญจขันธ์
อายตนะ
ไตรลักษณ์
ปฏิจจสมุปบาท
กรรม
วิชชา วิมุตติ วิสุทธิ สันติ นิพพาน
ผู้บรรลุนิพพาน
หลักบรรลุนิพพาน
มัชฌิมาปฏิปทา
ปรโตโฆสะ
โยนิโสมนสิการ
ปัญญา
ศีล
สมาธิ
อริยสัจ ๔
อารยธรรมวิถี
แรงจูงใจคน
ความสุข ๑
ความสุข ๒
ปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง
ผู้พิพากษาตั้งตุลาให้สังคม ฯ
คติธรรมสั้นๆ
ภาษาธรรมวันละคำ
เรื่องเหนือสามัญวิสัย
รู้เขา รู้เรา
คำพูดของคนใกล้สิ้นลม
ความเป็นมาของการบวช
การทำวัตรสวดมนต์
ทำยังไงจึงจะมีอายุยืนและมีความสุข
นิพพาน-อนัตตา ฉบับเพียงเพื่อไม่ประมาท
มาฆบูชา กับ วาเลนไทน์
แรงผลักดันมนุษย์
ที่ทำงานของจิต
บรรลุธรรมอะไร?
พุทธปรัชญาในสุตตันตปิฎก
ธัมมาธิบาย
ตุลาคม 2564
>>
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
22 ตุลาคม 2564
บัญญัติจะดี ปัญญาต้องเต็ม เจตนาต้องตรง
ปัญญาต้องรู้ชัด เจตนาตั้งไว้ถูก
รู้ธรรมแล้วบัญญัติวินัย
ธรรม กับ วินัย แยกให้ชัด
นิติ
ฆ่าเขาได้แล้วเราอยู่เป็นสุข
ตอบคำถามท้ายเรื่อง (จบ)
ตอบคำถามท้ายเรื่อง (ต่อ)
ตอบคำถามท้ายเรื่อง
Pictures
ตุลาการ ๔ ความหมาย
ธรรมะที่ทำให้เข้มแข็งและเป็นสุขในการทำหน้าที่
ข้างใน มีใจเที่ยงตรง ข้างนอก เป็นธรรมเสมอกันทุกคน
สมานัตตตา อีกแง่หนึ่ง
จริยธรรมในใจ ออกประสาน จริยธรรมทางสังคม
ถ้ารู้เข้าใจ อนิจจัง ผิด ก็ยุ่ง
ปัญญาที่แท้ก็ต้องชัด ถ้าไม่ชัดก็ยังไม่เป็นปัญญา
พรหมวิหาร หลักประกันสันติสุข
อุเบกขาดำรงรักษาธรรม
อำนาจ
มองพรหมวิหารคือคำนึงทุกสถานการณ์
พรหมวิหาร
ธรรมะอาศัยกันและกัน
มองพระพุทธศาสนาให้ครบ
ย้ำ เจตนา อีกที
เจตนาพามนุษย์ยุ่งนุงนังด้วยปัญหา
ไตรสิกขาระบบพัฒนาคนทั้งคน
ศีลธรรมค่อยๆหล่นหาย ตั้งแต่มีแผนพัฒนาฯ
ไปให้ถึงจริย(ธรรม)แท้ที่เป็นระบบ
เข้าใจ จริยธรรม ให้ชัด
ความไม่รู้บังความรู้
เน้นย้ำ บัญญัติธรรม อีกที
สภาวะ จริยะ บัญญัติ ซ่อนอยู่ใต้ ธรรมวินัย
พักเบรคความคิด
ปัญญา กับ เจตนา คุณสมบัติในตัวคน
บัญญัติจะดี ปัญญาต้องเต็ม เจตนาต้องตรง
ปัญญาต้องรู้ชัด เจตนาตั้งไว้ถูก
รู้ธรรมแล้วบัญญัติวินัย
ธรรม กับ วินัย แยกให้ชัด
ธรรม เป็นกฎธรรมชาติ มีอยู่ตามธรรมดาของมัน
ถ้าเป็นธรรม ก็ถูกต้องตามความจริง
จะนั่นนี่โน่นให้เป็นธรรม ต้องรู้จักธรรม
หลักเบื้องต้น คือ เจตนา กับ ปัญญา
ศัพท์ยาก ที่ต้องแปล
เจตนารมณ์หนังสือ ผู้พิพากษาตั้งตุลาฯ
รู้ธรรมแล้วบัญญัติวินัย
รู้ธรรมยังไม่พอ
จะจัดชีวิต-สังคมให้ดีจริง ก็ยังไม่ได้
หันไปจัดการกับธรรมชาติ ก็พลาดมาแทบพัง
ถ้ามนุษย์ไม่รู้ไม่เข้าใจความจริงของธรรมชาติเพียงพอ เรียกว่า ปัญญาเข้าไม่ถึงความจริงนั้น ถึงแม้ว่าเขาจะต้องการผลดีโดยมีเจตนาดี เช่น ปรารถนาดี มีเมตตา เป็นต้น แก่สังคมของตน แล้วพยายามบัญญัติจัดตั้งวางกฎ กติกา ระเบียบ แบบแผนขึ้นมา ให้คนทำอย่างนั้นอย่างนี้ แต่เมื่อบัญญัตินั้นไม่สอดคล้องกับความจริงแท้ มันก็คือความผิดพลาด แล้วก็ไม่ได้ผลจริง จึงต้องให้สองอย่าง นี้สัมพันธ์และสอดคล้องซึ่งกันและกัน
ตกลงว่า
หนึ่ง
ความจริงที่มีอยู่ตามธรรมดาของธรรมชาติ เรียกว่า "
ธรรม"
และ
สอง
อาศัยความรู้ในความจริงของธรรมชาตินั้น มนุษย์เรานี้แหละ ก็มา
บัญญัติ
จัดวางกติกา ระเบียบ แบบแผน ขึ้นในสังคม เพื่อให้มนุษย์ปฏิบัติโดยสอดคล้องกับความจริงของธรรมชาตินั้น ในทางที่จะเกิดผลดีแก่ชีวิต และสังคมของตน เรียกว่า "
วินัย
"
พระพุทธศาสนา ก็จึงมีหลักใหญ่อยู่ ๒ อย่างเท่านี้ แล้วก็เรียกพระพุทธศาสนาว่า "
ธรรมวินัย
" เท่านี้เอง เป็นชื่อที่สั้นที่สุด และเป็นชื่อเดิมด้วย
ส่วนคำว่า "
พระพุทธศาสนา
" เป็นคำที่ใช้กว้างๆ ซึ่งแต่เดิมนั้น ก็หมายถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นด้านหนึ่ง ไม่ใช่ทั้งระบบของพระพุทธศาสนา และก็มองภาพรวมได้ไม่ชัด ไม่เหมือนคำว่า พระธรรมวินัย
เพราะฉะนั้น สำหรับพระเวลาใช้คำที่เป็นทางการหรือเป็นหลักฐาน ก็จะใช้คำว่าพระธรรมวินัย ซึ่งชี้ตรงไปที่ตัวหลักเลย และเห็นกันชัดออกมาเลยว่ามี ๒ อย่างนี้นะ มารวมกันเป็นหนึ่ง
ทั้งที่มี ๒ อย่าง
แต่เวลาเรียกรวมกันว่า
พระธรรมวินัย
นี่ ท่านใช้เป็นคำ
เอกพจน์
คือ ๒ อย่าง รวมกันแล้วกลายเป็นหน่วยอันหนึ่งอันเดียว
เหมือนอย่าง
ชีวิตเรา
นี้ ที่มีรูป
กับ
นาม
เวลารวมกันแล้ว ท่านเรียกว่า
นามรูป
เป็นชีวิตอันหนึ่งอันเดียวหน่วยเดียว ประกอบด้วยด้านนาม กับ ด้านรูป หรือด้านร่างกาย กับ ด้านจิตใจ แต่คำที่เรียกรวมกันนั้น เป็น
คำเอกพจน์
นี่คือ
นามรูป
เป็นหน่วยรวม
อันเดียวคือชีวิต
เหมือนกับ
ธรรมวินัย
เป็นหน่วยรวมอันเดียว คือ
พระพุทธศาสนา
ที่ว่ามานี้ เป็นหลักการใหญ่ ที่เหมือนกับเป็นเครื่องเตือนใจเราว่า มนุษย์จะต้องพยายามเข้าถึงความจริงอยู่เสมอ การบัญญัติ จัดตั้ง วางและเปลี่ยนแปลง ระเบียบ แบบแผน กฎเกณฑ์ ต่างๆ จะต้องสอดคล้องกับความจริง เช่น ความเป็นไปตามเหตุปัจจัย ทั้งลึกลงไปในธรรมชาติที่เป็นพื้นฐาน และในสังคมที่อยู่บนฐานของธรรมชาติ
ความเป็นจริงในธรรมชาติ เป็นความเป็นจริงพื้นฐาน จะพูดว่าความจริงในชีวิตและในสังคมมนุษย์ ตั้งอยู่บนฐานของความจริงของธรรมชาติ หรือว่าชีวิตและสังคมต้องเป็น ไปตามความเป็นจริงของธรรมชาติ ก็ถูกทั้งนั้น เพราะฉะนั้น จึงหนีไม่พ้นว่า ถ้ามนุษย์จะให้ชีวิตและสังคมของตนอยู่ดีมีสุขได้ มนุษย์ก็ต้องพยายามเข้าให้ถึงความจริงของธรรมชาติ หรือ ธรรมดานี้
อาการเป็นไปที่เป็นความจริงของธรรมชาตินั้น มองรวมๆ แล้ว ก็เป็นระเบียบ เป็นระบบ ซึ่งมนุษย์ที่ต้องการจะเป็นอยู่ให้ดีและทำอะไรให้ได้ผล ก็ต้องทำให้เป็นระเบียบ เป็นระบบตามนั้น ตั้งแต่จะกิน จะทำงาน จะนอนไปตามวันเวลาที่ดวงอาทิตย์ดวงจันทร์โคจร ต้องทำการกสิกรรมไปให้ถูกลำดับและระบบของฤดูกาล เป็นต้น
เพื่อจะเป็นอยู่ให้ดีและทำอะไรได้ผลยิ่งขึ้น มนุษย์ที่ฉลาดก็มาพยายามคิด บัญญัติจัดตั้งวางระเบียบระบบชีวิตและสังคมของตน มากขึ้นๆ
อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้ ถ้าเราไม่เข้าถึงความจริงของธรรมชาติแล้ว บัญญัติจัดตั้งวางระเบียบระบบ ของชีวิตของสังมให้สอดคล้องกับความจริงของธรรมชาตินั้นแล้ว กฎเกณฑ์ กติกา กฎหมายอะไรต่างๆนั้น ก็เป็นไปได้ยากที่จะได้ผลดี ที่แท้ก็คือ มันจะไม่สำเร็จผลจริง
แม้ในยุคอุตสาหกรรม ที่มนุษย์มุ่งจะเอาชนะธรรมชาติ จะไม่ยอมขึ้นต่อธรรมชาติ ก็ยังต้องรู้ความจริงธรรมชาติในด้านที่จะเอาชนะนั้นให้มากที่สุด และต้องทำให้ถูกต้องตามกฎธรรมชาติในเรื่องนั้น
เพียงแต่ว่า นั่นเป็นการพยายามรู้ด้วยท่าทีแบบศัตรู หรือเป็นปฏิปักษ์ คือใช้วิธีล้วงความลับ เพื่อเอาความจริงของศัตรูมาใช้จัดการมัน โดยทำตามความจริงนั้นแหละ แต่ทำในทางที่ย้อนทางหรือยักเยื้องให้เข้ากับความต้องการของตน (เหมือนคนเอาความรู้เกี่ยวกับการไหลของน้ำมาใช้ทำเขื่อนกั้นน้ำ)
แม้จะประสบความสำเร็จไม่น้อย แต่ปัญหาก็มักเกิดขึ้น เพราะมนุษย์รู้ความจริงในเรื่องนั้นไม่เพียงพอ หรือรู้ครบถ้วนเฉพาะในเรื่องนั้นด้านนั้น แต่ไม่รู้ไปถึงเหตุปัจจัยข้างเคียงที่สัมพันธ์โยงต่ออกไป คือ ระบบความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัยในสิ่งทั้งหลาย ที่โยงกันทั่วตลอด (ระบบปัจจยาการ)
ดังนั้น บ่อยครั้ง แม้จะได้ผลที่ต้องการแล้ว แต่พร้อมนั้น หรือบางครั้งทีหลังจากนั้น เร็วบ้าง ช้าบ้าง ก็เกิดผลพ่วงอย่างอื่นตามมา ที่มักไม่ได้คาดคิด ซึ่งบางทีก็เป็นเรื่องร้ายแรง ทำให้ผลดีที่ได้มานั้นไม่คุ้มกัน อย่างปัญหาสิ่งแวดล้อมทั่วโลก ที่นับวันดูจะยิ่งรุนแรงจนแทบไม่เห็นทางแก้
เรื่องเบี่ยงเบน และข้างเคียงจะไม่พูดมาก พูดแค่รวมๆว่า แม้จะก้าวหน้าในการพิชิตธรรมชาติมามากมายจนบัดนี้ มนุษย์ก็ยังเอาชนะธรรมชาติไม่ได้ แต่ตรงข้าม มนุษย์ได้เริ่มเปลี่ยนท่าทีหันมาขออยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างเป็นมิตร
Create Date : 22 ตุลาคม 2564
Last Update : 22 ตุลาคม 2564 12:23:15 น.
0 comments
Counter : 122 Pageviews.
Share
Tweet
ชื่อ :
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :
[ดู Profile ทั้งหมด]
ให้ทิปเจ้าของ Blog
[
?
]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [
?
]
Webmaster - BlogGang
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
Bloggang.com