กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ(สํ.สฬ.18/217/166) เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า"ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
หลักปฏิบัติ: แยกจากหัวข้อใหญ่
สภาวธรรม
เบญจขันธ์
อายตนะ
ไตรลักษณ์
ปฏิจจสมุปบาท
กรรม
วิชชา วิมุตติ วิสุทธิ สันติ นิพพาน
ผู้บรรลุนิพพาน
หลักบรรลุนิพพาน
มัชฌิมาปฏิปทา
ปรโตโฆสะ
โยนิโสมนสิการ
ปัญญา
ศีล
สมาธิ
อริยสัจ ๔
อารยธรรมวิถี
แรงจูงใจคน
ความสุข ๑
ความสุข ๒
ปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง
ผู้พิพากษาตั้งตุลาให้สังคม ฯ
คติธรรมสั้นๆ
ภาษาธรรมวันละคำ
เรื่องเหนือสามัญวิสัย
รู้เขา รู้เรา
คำพูดของคนใกล้สิ้นลม
ความเป็นมาของการบวช
การทำวัตรสวดมนต์
ทำยังไงจึงจะมีอายุยืนและมีความสุข
นิพพาน-อนัตตา ฉบับเพียงเพื่อไม่ประมาท
มาฆบูชา กับ วาเลนไทน์
แรงผลักดันมนุษย์
ที่ทำงานของจิต
บรรลุธรรมอะไร?
พุทธปรัชญาในสุตตันตปิฎก
ธัมมาธิบาย
ตุลาคม 2564
>>
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
21 ตุลาคม 2564
ธรรม เป็นกฎธรรมชาติ มีอยู่ตามธรรมดาของมัน
ถ้าเป็นธรรม ก็ถูกต้องตามความจริง
จะนั่นนี่โน่นให้เป็นธรรม ต้องรู้จักธรรม
หลักเบื้องต้น คือ เจตนา กับ ปัญญา
ศัพท์ยาก ที่ต้องแปล
เจตนารมณ์หนังสือ ผู้พิพากษาตั้งตุลาฯ
นิติ
ฆ่าเขาได้แล้วเราอยู่เป็นสุข
ตอบคำถามท้ายเรื่อง (จบ)
ตอบคำถามท้ายเรื่อง (ต่อ)
ตอบคำถามท้ายเรื่อง
Pictures
ตุลาการ ๔ ความหมาย
ธรรมะที่ทำให้เข้มแข็งและเป็นสุขในการทำหน้าที่
ข้างใน มีใจเที่ยงตรง ข้างนอก เป็นธรรมเสมอกันทุกคน
สมานัตตตา อีกแง่หนึ่ง
จริยธรรมในใจ ออกประสาน จริยธรรมทางสังคม
ถ้ารู้เข้าใจ อนิจจัง ผิด ก็ยุ่ง
ปัญญาที่แท้ก็ต้องชัด ถ้าไม่ชัดก็ยังไม่เป็นปัญญา
พรหมวิหาร หลักประกันสันติสุข
อุเบกขาดำรงรักษาธรรม
อำนาจ
มองพรหมวิหารคือคำนึงทุกสถานการณ์
พรหมวิหาร
ธรรมะอาศัยกันและกัน
มองพระพุทธศาสนาให้ครบ
ย้ำ เจตนา อีกที
เจตนาพามนุษย์ยุ่งนุงนังด้วยปัญหา
ไตรสิกขาระบบพัฒนาคนทั้งคน
ศีลธรรมค่อยๆหล่นหาย ตั้งแต่มีแผนพัฒนาฯ
ไปให้ถึงจริย(ธรรม)แท้ที่เป็นระบบ
เข้าใจ จริยธรรม ให้ชัด
ความไม่รู้บังความรู้
เน้นย้ำ บัญญัติธรรม อีกที
สภาวะ จริยะ บัญญัติ ซ่อนอยู่ใต้ ธรรมวินัย
พักเบรคความคิด
ปัญญา กับ เจตนา คุณสมบัติในตัวคน
บัญญัติจะดี ปัญญาต้องเต็ม เจตนาต้องตรง
ปัญญาต้องรู้ชัด เจตนาตั้งไว้ถูก
รู้ธรรมแล้วบัญญัติวินัย
ธรรม กับ วินัย แยกให้ชัด
ธรรม เป็นกฎธรรมชาติ มีอยู่ตามธรรมดาของมัน
ถ้าเป็นธรรม ก็ถูกต้องตามความจริง
จะนั่นนี่โน่นให้เป็นธรรม ต้องรู้จักธรรม
หลักเบื้องต้น คือ เจตนา กับ ปัญญา
ศัพท์ยาก ที่ต้องแปล
เจตนารมณ์หนังสือ ผู้พิพากษาตั้งตุลาฯ
ถ้าเป็นธรรม ก็ถูกต้องตามความจริง
เป็นธรรมก็ถูกต้องตามความจริง ถูกต้องตามความจริง ก็ดีงาม
ทีนี้ ก่อนที่จะพูดถึง
ธรรมสำหรับผู้พิพากษา ๒
ชุดนั้น ซึ่ง
เป็นเรื่องใหญ่สักหน่อย
ก็มาพูดคุยกันในข้อปลีกย่อยต่างๆ เกี่ยว กับ ธรรม ให้เป็นเรื่องเบาๆเป็นพื้นไว้ ก่อนจะพูดเรื่องที่ยากขึ้นไป
เราบอกว่า ผู้พิพากษาเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งความยุติธรรม เป็นตราชูอันทำหน้าที่ที่เรียกว่าดำรงธรรมไว้ให้แก่สังคมนั้น
"
ธรรม
" นี้ แปลกันมาว่า
ความจริง
ความถูกต้อง
ความดีงาม
ความหมายที่เป็นหลักเป็นแกนของธรรมนั้น ก็คือ
ความจริง
หรือ
สภาวะ
ที่เป็นอยู่เป็นไปของมันอย่างนั้นๆ เป็นธรรมดา
มนุษย์เรานั้น ต้องการสิ่งที่เกื้อกูลเป็นคุณเป็นประโยชน์แก่ตน แต่สิ่งทั้งหลายที่จะเกื้อกูลเป็นคุณเป็นประโยชน์แก่คนแท้จริง จะต้องสอดคล้องกับความจริง มิฉะนั้น ก็จะไม่เกื้อกูลเป็นประโยชน์ได้แน่แท้ยั่งยืน
สิ่งที่เกื้อกูลเป็นประโยชน์แก่มนุษย์แท้จริง เรียกว่า เป็น
ความดีงาม
ความดีงาม
จึงอยู่สอดคล้อง คือถูกต้องตามความจริง
ความจริง
เป็นหลักยืนตัว
ความดีงาม
เป็นคุณค่าที่มนุษย์ต้องการ ความถูกต้องเป็นความสัมพันธ์ที่น่าพอใจ ระหว่างคุณค่าที่มนุษย์ต้องการ กับความจริงที่เป็นหลักยืนตัวนั้น
ที่ว่าผู้พิพากษาดำรงธรรมนั้น เราเน้นความหมายในแง่ของการรักษาความถูกต้อง ทำให้เกิดความถูกต้อง หรือพูดให้ตรงว่า ทำความถูกต้องให้ปรากฏ และความถูกต้องที่ว่านั้นก็ขึ้นอยู่กับความจริง แล้วความจริงและความถูกต้องนี้ก็พ่วงความดีงามมาด้วย
ถ้าไม่มีความจริง ไม่มีความถูกต้อง ความดีงามก็ไม่แท้ไม่จริง เหมือนอย่างที่คนหลอกลวงก็สามารถทำให้คนรู้สึกว่า เขาเป็นคนดีได้ แต่แล้วในเมื่อไม่ถูกต้อง ไม่ตรงความจริง พอขาดความจริงเท่านั้น ที่ว่าดีก็หมดความหมายไป กลายเป็นไม่ดี ดังนั้น ความจริงและความถูกต้อง จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก
ทีนี้
ความจริง
นั้น
มีอยู่เป็นสภาวะของมันเอง
หรือเป็นธรรมดาของธรรมชาติ และ
ความถูกต้องก็อยู่กับความจริงนั้นด้วย
แต่เมื่อเรื่องมาถึงคน หรือว่า
เมื่อคนไปเกี่ยวข้องกับมัน
ก็มีข้อผูกพันขึ้นมา ซึ่ง
ทำให้คนเกิดมีเรื่องในภาคปฏิบัติ
ว่า
๑.จะทำอย่างไร
ให้ความจริงนั้นปรากฏขึ้นมา เพราะว่า บางทีความจริงมีอยู่ แต่ความจริงนั้นไม่ปรากฏ
๒.จะทำอย่างไร
ให้คนดำรงอยู่ในความจริงนั้นได้ จะได้มีความถูกต้องที่จะตรึง หรือรักษาความดีงามไว้ และ
๓.จะทำอย่างไร
ให้คนทำการได้ถูกต้องโดยสอดคล้องกับความจริงนั้น เพื่อให้คนอยู่กับความดีงาม ซึ่งเป็นคุณเป็นประโยชน์แก่ชีวิตและสังคมของเขา
นี่เป็นเรื่องใหญ่ทั้งนั้น ตอนนี้ก็จึงเหมือนกับว่า ในเรื่องธรรมนี้ เรามอง ๒ ด้าน คือ
หนึ่ง
มองด้านความเป็นจริง หรือตัวสภาวะก่อนว่า ความจริงเป็นอย่างไร แล้วก็
สอง
บนฐานของความจริงนั้น มองว่า เราจะทำอย่างไรให้มนุษย์นี้ ดำเนินไปกับความจริงนั้น โดยอยู่กับความจริง แล้วก็ปฏิบัติให้ถูกต้องตามความจริง
ต้องครบทั้ง ๒ ขั้น ขาดขั้นใดขั้นหนึ่งไม่ได้ ทั้งนั้น
บางทีเราจะเอาขั้นที่ ๒
คือ จะให้คนปฏิบัติถูกต้อง แต่เราไม่รู้ว่า ความจริง คือ อะไร มันก็ไปไม่ได้
เพราะฉะนั้น จึงต้องมีหลักยันอยู่เป็น ๒ ด้าน คือ ด้านสภาวะที่เป็นความจริงตามธรรมชาติ และด้านที่คนเข้าไปเกี่ยวข้องกับความจริง
อย่างไรก็ตาม ตามที่ใช้กันอยู่นั้น "ความจริง" มีความหมายค่อนข้างหลวมๆ ไม่เคร่งครัดนัก คือไม่จำเป็นต้องถึงกับเป็นความจริงตามสภาวะของธรรมชาติ แต่รวมทั้งความจริงตามที่มนุษย์ตกลงยอมรับกันด้วย เช่น หลักการ และข้อที่ตกลงยึดถือกันมาเป็นพวกสมมติสัจจะต่างๆ ดังนั้น ความดีงาม ความถูกต้อง บางทีจึงวัดเพียงด้วยความสอดคล้องกับความจริงระดับนี้ก็มี
สำหรับคนทั่วไป
เอาเพียงว่า ถ้ารักษาปฏิบัติทำความดีงาม ตามที่บอกกล่าวเล่าสอนกันมา ก็ใช้ได้ หรือนับว่าเพียงพอ เมื่ออยู่กับความดีงามแล้ว ก็ถือว่าดำรงความจริง และความถูกต้องพร้อมไปในตัวด้วย
แต่สำหรับผู้ทำหน้าที่ในการรักษาธรรมนั้น จะต้องเข้าถึงธรรมทั้งระบบ
เริ่มด้วยด้านที่หนึ่ง คือ ด้านความจริง และ
ความจริงก็ต้องลงไปถึงความจริงตามสภาวะของธรรมชาติด้วย
ที่พูดไปแล้ว ก็เป็นระบบของธรรมนั่นเอง แต่ใช้ภาษาง่ายๆ และยังค่อนข้างจะหลวม ทีนี้ ก็จะเดินหน้าไปดูให้ถึงระบบของธรรมทั้งหมด ให้ชัดยิ่งขึ้นอีกที
Create Date : 21 ตุลาคม 2564
Last Update : 21 ตุลาคม 2564 20:08:30 น.
0 comments
Counter : 95 Pageviews.
Share
Tweet
ชื่อ :
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :
[ดู Profile ทั้งหมด]
ให้ทิปเจ้าของ Blog
[
?
]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [
?
]
Webmaster - BlogGang
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
Bloggang.com