กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
 
ตุลาคม 2564
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
space
space
21 ตุลาคม 2564
space
space
space

เจตนารมณ์หนังสือ ผู้พิพากษาตั้งตุลาให้สังคมสมดุล
 
  เพื่อให้เห็นเจตนารมณ์ผู้ทำหนังสือธรรมะเล่มนี้  ดูคำกล่าวนำสักเล็กน้อย (ตัดมา) 

คำกล่าวนำ

   กระผมได้มาคิดกับคุณหญิง...ว่า   ในโอกาสที่จะมีการพระราชทานเพลิงศพ (อดีตประธานศาลฎีกา-อดีตองคมนตรีท่านหนึ่ง) อีก ๒-๓ เดือนข้างหน้า น่าจะมีธรรมะดีๆสักเรื่องหนึ่ง เพื่อจะได้จัดทำหนังสือเป็นที่ระลึก แล้วก็มีความเห็นพ้องต้องกันว่า น่าจะได้ฟังธรรมะจากพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณเอง ส่วนหัวข้อก็แล้วแต่ท่านจะเห็นสมควร

   ถ้าถามความประสงค์ก็คือ  อยากจะให้เป็นเรื่องธรรมะที่ผู้พิพากษาทั้งหลาย ควรจะยึดถือไว้ให้มั่นคงในจิตใจ เพราะว่าเอาเข้าจริงๆ แล้ว กระผมเอง โดยส่วนตัวนั้นมีความรู้สึกว่า เรื่องของธรรมะไม่ใช่เป็นเรื่องที่เข้าใจง่ายอย่างที่คิด  บางครั้ง ก็สับสน และบางครั้งก็ไม่แน่ใจว่าอะไรกันแน่ที่ควรจะยึดถือ จึงได้ถือโอกาสมากราบนิมนต์ท่านไว้ ซึ่งก็ได้รับความกรุณาที่ได้รับการนัดหมายในวันนี้  สุดแต่พระเดชพระคุณท่านจะเห็นสมควร.


 
                                                   
ภาพผู้ตัดสินอรรถคดี  ปิดตาสองข้าง ไม่เห็นแก่หน้าใคร  มือหนึ่งถือคันชั่ง  มือหนึ่งถือดาบอาญาสิทธิ์

  

(ตัดมาพอเห็นเค้า)

ผู้พิพากษา  ตั้งตุลาให้สังคมสมในดุล
       
    อาตมภาพขออนุโมทนาที่คณะโยม  มีคุณหญิงเป็นผู้นำ   ได้มาเยี่ยมเยือนที่วัด   การที่อาตมภาพได้รับนิมนต์ให้แสดงธรรมในวันนี้  อาจะเรียกว่าเป็นการสนทนากันในเรื่องธรรมะที่เกี่ยวกับงานตุลาการ หรือ ในเรื่องของผู้พิพากษา
ฯลฯ
   ในการพบกันวันนี้นั้น   ตัวอาตมภาพเองไม่ได้คิดไว้ว่าจะพูดเรื่องอะไร   แต่มองไปในแง่ที่นึกว่าท่านจะมาถามปัญหาอะไร   จึงคิดว่าจะเป็นไปในรูปของการถาม-ตอบ  หมายความว่า  ท่านมีคำถามเกี่ยวกับธรรมะในแง่ที่เกี่ยวกับวงการตุลาการ   หรือเกี่ยวกับเรื่องของตุลาการหรือแม้กระทั่งเกี่ยวกับนิติศาสตร์   เกี่ยวกับกฎหมายอะไรต่างๆ    จะตั้งคำถามอะไรขึ้นมาก็ได้   รู้สึกว่าจะมีแง่ดี  ที่ว่าจะตรงกับจุดสนใจ  ไม่ว่าจะมีอะไรที่เป็นเรื่องซึ่งยังสงสัย   เป็นจุดที่ค้างอยู่ในใจของวงการตุลาการในเรื่องเกี่ยวกับธรรมะ    จะเป็นจุดที่มีความสำคัญก็ดี    หรือเป็นจุดค้างใจหรือสงสัย  ก็ดี    ในแง่นั้น  อาจเป็นประโยชน์  ไม่ทราบท่านจะเห็นเป็นอย่างไร   ถ้าจะพูดในรูปที่คล้ายๆว่ามาสนทนากัน
 
   ตกลง  ท่านว่าให้กล่าวไปเรื่อยๆ   ถ้าว่าไปเรื่อยๆ ก็พูดถึงหลักธรรมเบื้องต้นก่อน (ปัญญา กับ เจตนา)

 
ปกหลัง

   ธรรมะสำหรับผู้พิพากษา ก็คือธรรมะอันเดียวกับที่รักษาชีวิต และสัมคมมนุษย์ ที่ต้องใช้สำหรับทุกคนนั่นเอง  แต่ผู้พิพากษา  เป็นแบบอย่างในเรื่องนี้  เพราะถือว่าผู้พิพากษา เป็นตุลา คือเป็นตราชูของสังคม

   ในการที่จะรักษาสังคมไว้นั้น   ท่านผู้พิพากษาเป็นแบบอย่างในขั้นปฏิบัติการเลยทีเดียวว่า เราจะต้องรักษาสังคมให้อยู่ดี มีความสุขความเจริญโดยเฉพาะมีความมั่นคงอยู่ได้ ด้วยความเป็นธรรมที่ตั้งอยู่บนฐานของจิตใจที่มีพรหมวิหาร ๔ ประการ อันมีอุเบกขาลงไปอยู่ในธรรม ที่ปัญญาบอกให้แล้ว ก็ออกสู่ปฏิบัติการด้วยสมานัตตตา ซึ่งเป็นที่แสดงออกของอุเบกขา แล้วก็มั่นใจแน่ว่าแนบสนิทอยู่กับธรรม

https://static.wixstatic.com/media/5c5371_edd4cdb0b8c74980945341fc619fd15b~mv2.jpg/v1/fill/w_814,h_1085,al_c,q_90/5c5371_edd4cdb0b8c74980945341fc619fd15b~mv2.webp

https://www.facebook.com/photo/?fbid=3051532671604974&set=a.585211744903758





 



Create Date : 21 ตุลาคม 2564
Last Update : 12 มีนาคม 2566 18:27:17 น. 0 comments
Counter : 758 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space