bloggang.com mainmenu search

พิพิธภัณฑ์อู่เรือหลวง เฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษา กรมอู่ทหารเรือ



จันทร์สวัสดีค่ะ ไม่ได้อัพบล็อกกลุ่มนี้นานมาก แต่พยายามจะไปนะคะ ต่อเนื่องจากตอนที่แล้ว...วันนี้ตั้งใจจะพามาที่พิพิธภัณฑ์อู่เรือหลวงค่ะ อย่างที่เล่าให้ฟังแล้ว ได้มีโอกาสไปร่วมกิจกรรมพิพิธนอกรอบกับทางชมรมพิพิธสยาม เมื่อวันอังคารที่ ๑๘ กันยายนที่ผ่านมา หลังจากที่พวกเราดูการซ้อมฝีพายแล้ว น.ต.ยุทธเศรษฐ วังกานนท์ ร.น.ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของกองทัพเรือ นำพวกเรามาชมที่นี่ค่ะ



















อู่เรือหลวง ได้ริเริ่มสร้างขึ้นตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ และใช้สำหรับซ่อมเรือหลวงมาโดยตลอด จนกระทั่งถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ซึ่งเวลานั้นมีเรือหลวงเป็นจำนวนมาก ดังนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินการสร้างอู่เรือหลวงขนาดใหญ่ขึ้นบริเวณข้างโรงหล่อ ด้านทิศใต้ของวัดระฆังโฆสิตาราม และเสด็จพระราชดำเนินมาประกอบพิธีเปิดอู่เรือ ในวันที่ ๙ มกราคม พ.ศ.๒๔๓๓ ต่อมากรมอู่ทหารเรือจึงได้ยึดถือเอาวันที่ ๙ มกราคม ของทุกปีเป็น "วันกรมอู่ทหารเรือ"


















อาคารพิพิธภัณฑ์อู่เรือหลวงเฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษา ในปัจจุบันเดิมเป็นสถานที่ปฏิบัติงานของโรงงานเครื่องจักรกล กองโรงงาน อู่ทหารเรือธนบุรี มายาวนานกว่า ๑๐๐ ปี ตัวอาคารเป็นสถาปัตยกรรมแบบ "เรือนขนมปังขิง"

จุดเ้ด่นของอาคารอยู่ที่บริเวณหน้าจั่วที่ตกแต่งด้วยไม้ฉลุลวดลายขนมปังขิงมีชายน้ำประดับรอบเชิงชายแลดูสวยงามและอ่อนช้อย...


























เสื้อที่ระลึกตัวละ ๒๓๙ บาท หมวกใบละ ๑๓๙ บาท นอกจากนี้ยังมีถุงผ้า พวงกุญแจด้วยค่ะ














น.อ.กาญจนา ทรงวรวิทย์ ภัีณฑารักษ์ประจำพิพิธภัณฑ์อู่เรือหลวงนำชมวิดีทัศน์บอกเล่าถึงความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์














๑๘ กันยายน ที่ผ่านมา...ทั้งชั้นนี้มีแต่กลุ่มเราประมาณ ๒๐ คนค่ะ









พระนครและธนบุรี อดีตคือผืนแผ่นดินเดียวกัน








เหรียญที่ระลึก








"จากราชนิเวศน์สู่อู่เรือหลวง" เป็นส่วนจัดแสดงประวัติศาสตร์ของพื้นที่ก่อนจะมีการสร้างอู่เรือหลวงขึ้น




















"จากอู่เรือหลวงสู่กรมอู่ทหารเรือ"

เป็นส่วนที่อธิบายถึงความสำคัญของงานอู่เรือกับการปกป้องอธิปไตยทางทะเล และความจำเป็นของการมีอู่เรือขนาดใหญ่








หนังสือราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗ แผ่นที่ ๔๒ วันที่ ๑๘ มกราคม ร.ศ.๑๐๙ หน้า ๓๗๒-๓๗๓

บรรยายเรื่องพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดอู่เรือหลวงข้างโรงหล่อด้านทิศใต้วัดระฆังโฆสิตาราม

เมื่อวันที่ ๙ มกราคม ร.ศ.๑๐๙ (พ.ศ.๒๔๓๓)








มุมภาพด้านขวาหนังสือราชกิจจานุเบกษาอยู่ในตู้กระจกค่ะ








พื้นไม้ขัดเป็นเงา งามเชียวค่ะ








น.อ.กาญจนา ทรงวรวิทย์ เดินอธิบายทีละจุด คุณโอ๋ จดใหญ่...ส่วนเราก็เช่นเคยค่ะ








ถ่่ายมาเยอะค่ะ ทำเป็นรูปเล็กบ้างเนาะ








น.อ.กาญจนาเล่าว่า นาฬิกาที่ตั้งโชว์นี้เป็นนาฬิกาตัวแรกที่ใช้บอกเวลาปล่อยหวูด ไม่แน่ใจปี พ.ศ. ที่มีค่ะ













พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพิธีเปิดอู่ทหารเรือพระจุลจอมเกล้า เมื่อ ๗ พฤษภาคม ๒๕๒๔








เรือ ต.๙๙๑ เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา กรมอู่ทหารเรือเป็นผู้จัดสร้าง








พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระนางเจ้า เสด็จมาที่กรมอู่ทหารเรือ








พระบรมวงศานุวงศ์








ขวานที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงใช้ตัดเชือกปล่อยเรือ ในการเสด็จพระราชดำเนิน

ทรงประกอบพิธีปล่อยเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง (ต.๙๙๑) เฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ลงน้ำ เืมื่อ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๐








ถ่ายผ่านกระจกไม่ค่อยชัดค่ะ แต่อยากนำมาให้ชม...








ปากกาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้ลงพระปรมาภิไธยในพิธีวางกระดูกงูเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙

ณ กรมอู่ทหารเรือ เมื่อวันที่ ๕ กันยายน พ.ศ.๒๕๓๗








ฆ้อนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้ในพิธีวางกระดูกงูเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙

ณ กรมอู่ทหารเรือ เมื่อวันที่ ๕ กันยายน พ.ศ.๒๕๓๗








กองทัพเรือได้กราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพิธีวางกระดูกงูเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา

เมื่อวันที่ ๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๘ ที่อู่ทหารเรือธนบุรี เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่เรือ ต.๙๙๑








ส่วนนี้จัดแสดง "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับงานนาวาสถาปัตย์" กล่าวถึงพระมหากรุณาธิคุณ และพระอัจฉริยภาพ

แ่ห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้านการต่อเรือ การสร้างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ชุดเรือ ต.๙๑ ตามแนวพระราชดำริ








โต๊ะทรงงาน








"การเสริมสร้างสมุททานุภาพให้กองทัพเรือ" แสดงให้เห็นถึงกระบวนการต่อเรือ วิทยาการ และเทคโนโลยีการต่อเรือ

ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ตลอดจนการปฏิบัติงานจริงของช่างระหว่างการซ่อมและต่อเรือ




















น.ท.ไพโรจน์ ปลอดดี อธิบายเครื่องมือและงานด้านช่างต่อเรือค่ะ








"การอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของชาติ" นำเสนอการต่อเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙








การอนุรักษ์และซ่อมเรือพระราชพิธี การผสมผสานเทคโนโลยีการต่อเรือของกรมอู่ทหารเรือกับงานช่างศิลป์ของกรมศิลปากร














ด้วยรูปแบบการนำเสนอและเทคนิคต่างๆ ในการจัดแสดงพิพิธภัณฑ์อู่เรือหลวงเฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษา จึงเป็นเสมือนพิพิธภัณฑ์มีชีวิตแห่งแรก

ของกองทัพเรือที่สามารถนำผู้เข้าชมย้อนกลับสู่อดีต เรียนรู้ปัจจุบัน และมองเห็นเส้นทางแห่งอนาคตของกรมอู่ทหารเรือ








คุณปู ประธานชมรมพิพิธสยาม และ น.ต.ยุทธเศรษฐ วังกานนท์ ร.น.ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของกองทัพเรือ








งานผลิตอุปกรณ์สำนักพระราชวัง








ของวังไกลกังวลค่ะ








จอมพล ป.พิบูลสงคราม ในพิธีย้ำหมุด ร.ล.สัตหีบ ที่กรมอู่ทหารเรือเมื่อวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๙








ฆ้อนย้ำหมุดกระดูกงูตัวแรก ในพิธีวางกระดูกงู ร.ล.สัตหีบ เมื่อวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๙








"ธรรมดามีเรือแล้ว ต้องซ่อมเองได้ เป็นหลักของยุทธศาสตร์ ถ้าซ่อมไม่ได้เอง ก็ไม่ควรจะมี"

พระดำรัสของ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

เจ้ากรมอู่ทหารเรือ ลำดับที่ ๗ (๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๖๕ - ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๖๖)








ก่อนจะลงไปดูส่วนจัดแสดงพิพิธภัณฑ์ชั้นล่าง ถ่ายภาพร่วมกันเป็นที่ระลึกก่อนค่ะ















ไปกันต่อเลยนะคะ














เครื่องทดสอบโลหะ AVERY รับเมื่อ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๗๙








จักรยานเผินน้ำ โครงการวิจัยจากพระราชดำริค่ะ














อีกหนึ่งผลงานแห่งความภาคภูมิใจของกรมอู่ทหารเรือค่ะ

เมื่อวันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๔ ได้มีพิธีอัญเชิญพระพุทธชินราชจำลองซึ่งสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วจากพิษณุโลก








โดยล่องเรือมาตามลำน้ำเจ้าพระยา มายังโรงหล่อ (กรมอู่ทหารเรือในปัจจุบัน) เพื่อตกแต่งองค์พระ ลงรักปิดทอง

แต่งพระเศียรและหล่อพระเปลวเพลิงใหม่ หลังจากแต่งองค์พระแล้วเสร็จ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

เสด็จพระราชดำเนินมาในพิธีอัญเชิญพระพุทธชินราชจำลองจากโรงหล่อไปประดิษฐาน ณ วัดเบญจมบพิตร ในวันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๔














เล่มซ้ายมือ...หนังสือข้อบังคับหน้าที่การกลจักร พ.ศ.๒๔๕๗ เล่มขวามือ...การจักรไอน้ำสำหรับเรือ พิมพ์ในปี พ.ศ.๒๔๖๘




















ด้านหลังที่ติดกับบริเวณจัดแสดงเรือพระราชพิธีค่ะ








สุดท้ายนี้...ขอเชิญชวนไปแวะชมพิพิธภัณฑ์อู่เรือหลวงกันนะคะ













รวมเพลงทหารเรือ วอลซ์นาวี / ราชนาวี

ขับร้องโดย นักร้องประสานเสียงกองดุริยางค์ทหารเรือ











Create Date :24 กันยายน 2555 Last Update :24 กันยายน 2555 8:08:57 น. Counter : 8591 Pageviews. Comments :54