bloggang.com mainmenu search

ปราสาทเมืองต่ำ

ทริปเขาใหญ่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๗ ค่ะ ภาพเยอะหน่อยนะคะ จะทำตอนเดียวเลยอัดซะแน่นเลย

ปราสาทเมืองต่ำ ตั้งอยู่ที่ ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ห่างจากปราสาทพนมรุ้งมาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ ๘ กิโลเมตร ปราสาทเมืองต่ำ เป็นศาสนสถานที่สร้างตามคติความเชื่อทางศาสนาฮินดู สันนิษฐานว่าคงสร้างขึ้นเพื่อถวายพระศิวะ มีลักษณะเป็นศาสนสถานประจำเมืองหรือประจำชุมชน

จากการศึกษาทางโบราณคดีพบว่า มีการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณในละแวกนี้เป็นชุมชนขนาดใหญ่หลายชุมชน เช่นชุมชนบ้านโคกเมือง โคกยายคาน โคกสลองตอง เป็นต้น โบราณวัตถุที่ขุดพบได้แก่ เครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันเช่น ภาชนะดินเผาเนื้อดิน เครื่องถ้วยชามเคลือบสีน้ำตาลและเคลือบสีเขียว เป็นจำนวนมาก หลักฐานเหล่านี้แสดงถึง การตั้งถิ่นฐานของชุมชนที่มีอายุใกล้เคียงกับการสร้างปราสาท ซึ่งเป็นอิทธิพลศิลปะขอมแบบคลัง และแบบบาปวน กำหนดอายุประมาณครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๖ หรือราว ๑,๐๐๐ ปีมาแล้ว

ตำแหน่งที่ตั้งของปราสาทเมืองต่ำ อยู่บนเส้นทางอารยธรรมขอมจากเมืองพระนครในประเทศกัมพูชา ขึ้นสู่ทางเหนือผ่านเทือกเขาพนมดงรักผ่านกลุ่มปราสาทตาเมือน จังหวัดสุรินทร์ ผ่านปราสาทเมืองต่ำสู่ปราสาทพนมรุ้งไปยังปราสาทพิมายจังหวัดนครราชสีมา อาจกล่าวได้ว่าชุมชนโบราณที่ปราสาทเมืองต่ำ มีความสัมพันธ์กับชุมชนโบราณใกล้เคียงบนเส้นทางอารยธรรมขอมจากเมืองพระนคร สู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย

ข้อมูลจาก แผ่นพับ และ //www.ปราสาทหินเมืองต่ํา.com/



จอดรถเสร็จ เราเดินมาด้านหน้าทางเข้าก่อนค่ะ บาราย (ทะเลเมืองต่ำ)





ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของปราสาทเมืองต่ำลักษณะเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ชาวบ้านเรียกว่า “ทะเลเมืองต่ำ” มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าตามแนวทิศเหนือ – ใต้

ขนาดกว้าง x ยาว ประมาณ ๕๑๐ x ๑,๐๙๐ เมตร ลึกประมาณ ๓ เมตร ขอบสระก่อด้วยศิลาแลง กึ่งกลางขอบสระด้านทิศตะวันออก – ตะวันตก มีท่าน้ำก่อด้วยศิลาแลง มีบันไดทางลงประมาณ ๕ ขั้น






บาราย เป็นสัญลักษณ์ทางศาสนา หมายถึง มหาสมุทรของจักรวาลที่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุ และยังเป็นแหล่งน้ำสำคัญที่หล่อเลี้ยงชุมชนในสมัยโบราณอีกด้วย






ไม่ได้เดินเข้าไปค่ะ






ซุ้มที่จำหน่ายบัตรเข้าชม แต่เราใช้บัตรเดิม เป็นบัตรรวมจากปราสาทพนมรุ้ง










ที่นี่...ปราสาทเมืองต่ำ ข้อมูลแผ่นพับ ทั้งเว็บ ทำข้อมูลละเอียดดีค่ะ ชอบ ลอกมาหมดเลย






เดินไปตามทางนี้เลยค่ะ






หน้าบันจากปราสาทประธาน ของปราสาทเมืองต่ำ สลักภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ศิลปะเขมรแบบบาปวน อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖






ทับหลังจากปราสาทประธาน ของปราสาทเมืองต่ำ สลักภาพพระอินทร์ประทับเหนือหน้ากาล ศิลปะเขมรแบบบาปวน อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖






เดินไปเรื่อยๆ










กำแพงแก้วและซุ้มประตู

กำแพงแก้วก่อด้วยศิลาแลงมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าบนสันกำแพงประดับด้วยบราลีกึ่งกลางกำแพงแก้วมีซุ้มประตู หรือโคปุระขนาดใหญ่ก่อด้วยหินทราย บริเวณห้องกลางมีลวดลายแกะสลักรูปดอกบัว ๘ กลีบ






อาจหมายถึง การจำลองผังของจักรวาล อันประกอบด้วยทิศสำคัญ ๘ ทิศ หรืออาจบ่งบอกถึง ความบริสุทธิ์ ความเป็นสิริมงคล










ทับหลังรูปพระกฤษณะปราบนาคกาลิยะ

นาคกาลิยะ ได้คายพิษลงในแม่น้ำ จนทำให้น้ำเป็นพิษชาวเมืองเดือดร้อน พระกฤษณะจึงเสด็จไปปราบ ทับหลัง ๓ ชิ้น ที่ปราสาทเมืองต่ำ

เป็นภาพเหตุการณ์ตอนนี้ กล่าวคือสลักรูปพระกฤษณะประทับท่ามกลางนาคกาลิยะ ๗ เศียร โดยใช้มือและเท้าต่อสู้ จนนาคกาลิยะพ่ายแพ้ รูปแบบศิลปะขอมแบบบาปวน


















น่าจะเป็นตรงนี้...บริเวณห้องกลางมีลวดลายแกะสลักรูปดอกบัว ๘ กลีบ






ลานปราสาทและสระน้ำ

อยู่ระหว่างระเบียงคดกับกำแพงแก้วมีสระน้ำเป็นรูปตัวแอล (L) ตามแนวของกำแพง ที่ว่างระหว่างสระน้ำเป็นทางเดินในแนวตรงกับซุ้มประตูระเบียงคดและซุ้มประตูกำแพงแก้ว






สระทั้งสี่กรุด้วยก้อนศิลาแลง เรียงเป็นขั้นบันไดลงไปถึงก้นสระ ขอบบนสุดสลักเป็นลำตัวพญานาคหินทรายทอดตัวไปตามแนวขอบสระชูคอแผ่พังพานที่มุมสระ






พญานาคมี ๕ เศียร เศียรของพญานาคมีลักษณะเกลี้ยงๆ ไม่มีรัศมี หรือ เครื่องประดับศีรษะ รูปแบบศิลปะขอมแบบบาปวน อายุประมาณครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๖






สระน้ำทั้ง ๔ อาจมีความสัมพันธ์กับข้อความในจารึกที่เสาประดับกรอบประตูชั้นในของซุ้มประตูกำแพงแก้วด้านทิศตะวันออก กล่าวว่า สายน้ำเป็นเครื่องรักษาเทวสถาน






ระเบียงคดและซุ้มประตู

ระเบียงคดเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะเป็นห้องแคบๆ ยาวๆ ล้อมรอบกลุ่มปราสาทอิฐและบรรณาลัย มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก่อด้วยหินทรายกว้างประมาณ ๒ เมตรต่อกันโดยรอบ

แต่ไม่สามารถเดินทะลุถึงกันตลอดพื้นระเบียงคดปูด้วยศิลาแลง กึ่งกลางระเบียงคดแต่ละด้านมีซุ้มประตูหรือโคปุระขนาดใหญ่ ก่อด้วยหินทราย มีแผนผังเป็นรูปกากบาท










๑๓.๕๙ น. วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗






กลุ่มปราสาทอิฐ

เป็นอาคารสำคัญที่สุด สร้างอยู่ตรงกลางใช้เป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพ และประกอบพิธีบวงสรวงเทพเจ้า ประกอบด้วยปราสาทอิฐ ๕ องค์ ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกัน

องค์ปราสาทก่อด้วยอิฐเรียงเป็น ๒ แถว แถวหน้า ๓ องค์ และแถวหลัง ๒ องค์ กลุ่มปราสาทอิฐ ๕ องค์นี้ แสดงสัญลักษณ์แทนเขาพระสุเมรุศูนย์กลางจักรวาล














บรรณาลัย

หมายถึง หอเก็บรักษาคัมภีร์ หรือหนังสือสำคัญทางศาสนาอาจใช้เป็นสถานที่ประดิษฐานรูปเคารพทางศาสนาด้วย






ปราสาทแถวหน้าองค์ทิศเหนือ

ก่อสร้างด้วยอิฐ เดิมมีลวดลายปูนปั้นประดับ ทับหลังสลักภาพ พระศิวะคู่กับพระอุมาประทับนั่งเหนือโคนนทิ เรียกภาพตอนนี้ว่า "อุมามเหศวร"






ปราสาทประธาน

ตั้งอยู่ตรงกลางของแถวหน้า มีขนาดใหญ่กว่าปราสาทบริวาร หักพังเหลือเพียงฐาน รูปแบบโดยรวมเหมือนกับปราสาทบริวาร จะต่างกันบ้าง คือ ปราสาทประธานมีมุขด้านหน้า

จากการขุดแต่งพบว่า เดิมประสาททั้งหลังประดับตกแต่งผนังด้วยปูนปั้น สาเหตุที่ปราสาทพังลงมา เนื่องจากไม่สามารถรองรับน้ำหนักเครื่องบนยอดปราสาท ทำให้ฐานทรุดตัวในลักษณะจมลง






ปราสาทแถวหน้าองค์ทิศใต้

ก่อสร้างด้วยอิฐ เดิมมีลวดลายปูนปั้นประดับทับหลังสลักภาพเทพเจ้านั่งชันเข่า (มหาราชลีลา) เหนือหน้ากาล สันนิษฐานว่าเทพเจ้านี้หมายถึงพระอินทร์ เทพผู้รักษาทิศตะวันออก










บัวยอดปราสาท






ปราสาทบริวาร

มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีประตูทางเข้า - ออก ด้านเดียว คือ ด้านทิศตะวันออก เหนือกรอบประตูเป็นทับหลังแกะสลักลวดลาย






ส่วนผนังด้านอื่นก่อทึบเป็นประตูหลอก ทำเป็นรูปบานประตูสองบานปิดเข้าหากัน มีอกเลาอยู่ตรงกลางเลียนแบบบานประตูไม้














เดินออกมาแล้วค่ะ...ลานปราสาทและสระน้ำ






ระเบียงคดและซุ้มประตู














ชอบมุมนี้ค่ะ






พญานาคมี ๕ เศียร เศียรของพญานาคมีลักษณะเกลี้ยงๆ ไม่มีรัศมี หรือ เครื่องประดับศีรษะ รูปแบบศิลปะขอมแบบบาปวนอายุประมาณครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๖


















แอบส่องเลนส์... เห็นพี่เค้าตั้งแต่ที่ปราสาทพนมรุ้งแล้ว


























ปะป๊ากับเมฆ นั่งพักละ จริงๆ แม่ก็ร้อน เหนื่อย เหมือนกัน





หน้าต่างประดับด้วยลูกมะหวด









ที่เล่าให้ฟังตอนก่อน (ปราสาทพนมรุ้ง) เหมือนอธิษฐาน...ลวดลายแกะสลักรูปดอกบัว ๘ กลีบ





ภาพสุดท้ายแล้วค่ะ เยอะมาก





เวลาทำการ

เวลา ๐๖.๐๐ - ๐๘.๐๐ น. ทุกวัน

ไม่เว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์

อัตราค่าธรรมเนียมเข้าชม

ชาวไทย บัตรราคา ๒๐ บาท

ชาวต่างประเทศ บัตรราคา ๑๐๐ บาท






Create Date :30 มิถุนายน 2557 Last Update :30 มิถุนายน 2557 5:20:37 น. Counter : 5224 Pageviews. Comments :41