bloggang.com mainmenu search









เรือนยอดบรมมังคลานุสรณีย์

ผลงานชิ้นสำคัญของแผ่นดิน

โดย สถาบันสิริกิติ์ สวนจิตรลดา

มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

พระที่นั่งอนันตสมาคม





อยากไปถ่ายรูป... จด ๆ จ้อง ๆ มองฟ้าอยู่หลายวัน ภาวนาขออย่าให้ฝนตกเลย วันที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙



เรานั่งรถเมล์จากบ้านมาลงที่สนามหลวง แล้วมาต่อรถเมล์ สาย ๗๐ อีกต่อ / ป้ายนี้เลยค่ะ ซ้ายมือของภาพ




ฝั่งตรงข้ามป้ายรถเมล์ คือ ตึกถาวรวัตถุ

ตึกถาวรวัตถุ  สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕  เริ่มในปี พ.ศ. ๒๔๓๒ ทรงมีพระราชดำริให้สร้างเป็นสังฆิกเสนาสงฆ์ของมหาธาตุราชวิทยาลัย

ต่อมาในราวปี พ.ศ. ๒๔๓๗ ทรงพระราชปรารภให้เป็นที่ตั้งพระศพ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ

หลังจากนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๓๙ เสด็จทรงวางศิลาพระฤกษ์ แต่การก่อสร้างเป็นไปอย่างล่าช้าจึงไม่แล้วเสร็จจนสิ้นรัชกาล

ต่อมาในรัชกาลที่ ๖ ในปี พ.ศ. ๒๔๕๙ โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายหอพระสมุดวชิรญาณมาตั้งที่ตึกถาวรวัตถุ

เป็นหอพระสมุดสำหรับพระนคร เนื่องในการเฉลิมพระชนมพรรษา ๓ รอบ หลังจากนั้นในสมัยรัชกาลที่ ๗

โปรดเกล้าฯ ให้แยกหอพระสมุดสำหรับพระนครเป็น ๒ แห่ง คือ หอพระสมุดวชิราวุธ ตั้งที่ตึกถาวรวัตถุ

และหอพระสมุดวชิรญาณตั้งอยู่พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พระราชวังบวรสถานมงคลในปี พ.ศ. ๒๔๖๙

เปิดบริการ :
วันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา ๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น.

ปิดบริการ : วันจันทร์ - วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์

ที่ตั้ง : ถนนหน้าพระธาตุ แขวงพระบรมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐

โทรศัพท์ : ๐ ๒๒๒๒ ๔๘๖๗ โทรสาร : ๐ ๒๒๒๑ ๖๘๓๐

หมายเหตุ : ไม่เสียค่าเข้าชม


ปัจจุบัน จัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ในโอกาสเสด็จประพาสยุโรปครบ ๑๐๐ ปี และวันพระบรมราชสมภพครบ ๑๕๐ ปี

อ่านต่อข้อมูล จากเว็บหอสมุดแห่งชาติ




เดี๋ยวนี้ เค้าจัดระเบียบรถบัสนักท่องเที่ยว ที่มาเที่ยววัดพระแก้ว และพระบรมมหาราชวัง แล้วค่ะ




๑๑.๑๗ น. วันที่  ๑๕  กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙




ป้ายรถเมล์ ที่เรารออยู่ฝั่งสนามหลวง







ขึ้นต้นสาย นั่งแถวหน้าเลยค่ะ ถ่ายรูปไปด้วย  Smiley




๑๑.๓๑ น.




๑๑.๔๒ น.




๑๑.๔๔ น. ลานพระบรมรูปทรงม้า




เราจะเดินเข้าประตูนี้ เจ้าหน้าที่บอกว่า เรามีกระเป๋าใบใหญ่ (สะพายเป้) ให้เข้าอีกประตู เพื่อฝากของก่อน




เลยต้องเดินมาเข้าประตูด้านถนนอู่ทองใน มีจุดขายบัตรเข้าชม พระที่นั่งวิมานเมฆ




จะเข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติช้างต้น ซื้อบัตรชมพระที่นั่งวิมานเมฆ ได้เลยค่ะ




จะผ่านพระที่นั่งอภิเศกดุสิตด้วย (กำลังบูรณะ)







ป้ายขอความร่วมมือนักท่องเที่ยว ช่วยฝากกระเป๋า




ภายในบริเวณที่ให้ฝากของ เป็นล็อกเกอร์ใส ๆ / ขออนุญาตถ่ายรูปแล้วค่ะ




มีเจ้าหน้าที่ คอยอำนวยความสะดวก และให้ข้อมูล







เจ้าหน้าที่ บอกย้ำอีกครั้งว่า ภายในพระที่นั่งอนันตสมาคม ที่จัดแสดงงานศิลป์แผ่นดิน ถ่ายรูปไม่ได้




บริเวณด้านนอกถ่ายได้ค่ะ จะมีเจ้าหน้าที่ ประจำหลายจุด ดูแลความเรียบร้อย



นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ (จีน) เยอะมาก




พระที่นั่งอนันตสมาคม

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม

ให้ก่อสร้างพระที่นั่งองค์นี้ขึ้นในพื้นที่ของพระราชวังดุสิต เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๐  องค์พระที่นั่งงามสง่าด้วยสถาปัตยกรรมอิตาเลียน

พระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นพระที่นั่งองค์สำคัญของชาติ ใช้เป็นที่ประกอบพระราชพิธี และรัฐพิธีต่าง ๆ

ใน พ.ศ. ๒๕๕๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สถาบันสิริกิติ์ สวนจิตรลดา ใช้เป็นพิพิธภัณฑ์ศิลป์แผ่นดิน




เรือนยอดบรมมังคลานุสรณีย์ พระที่นั่งอนันตสมาคม ไม่ได้แยกบล็อก แต่มีหลายตอนนะคะ




ในโอกาสมหามงคลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติ
ครบ ๗๐ ปี วันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๙ และ
ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๙๐ พรรษา วันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๖๐

สมเด็จพระเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๗ รอบ ๑๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงเจริญพระชนมายุ
ครบ ๕ รอบ ๒๘ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ
ครบ ๕ รอบ ๒ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๘

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
ทรงเจริญพระชันษาครบ ๕ รอบ ๔ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๐

และทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี
ทรงเจริญพระชันษาครบ ๕ รอบ ๕ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๔


พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานพระบรมราชานุญาต
ให้สถาบันสิริกิติ์ มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
จัดสร้างเรือนยอด ๙ ยอด พระราชทานนามว่า "เรือนยอดบรมมังคลานุสรณีย์"

อันมีความหมายว่า "เรือนยอดที่สร้างขึ้นเป็นที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติในโอกาสอันเป็นมงคลยิ่งใหญ่"




ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของพระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิตเป็นเรือนโถงมียอดทรงปราสาท ๙ ยอด

ซึ่งนับเป็นจำนวนยอดที่มากที่สุดในประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมของกรุงรัตนโกสินทร์ ประดับกระจกและตกแต่งด้วยจิตรกรรมในส่วนต่าง ๆ







พระที่นั่งอนันตมหาสมาคม  ออกแบบโดย มาริโอ ตามานโญ โดยมี เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เป็นแม่กองจัดการก่อสร้าง

และมีพระยาประชากรกิจวิจารณ์ (โอ อมาตยกุล) เป็นผู้ช่วย

แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าได้เสด็จสวรรคตก่อนที่พระที่นั่งจะสร้างเสร็จสมบูรณ์

อย่างไรก็ตาม พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ดำเนินการก่อสร้างพระที่นั่งต่อไป

จนเสร็จสมบูรณ์เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๘  โดยใช้ระยะเวลาก่อสร้างทั้งสิ้น ๘ ปี ใช้งบประมาณประมาณ ๑๕ ล้านบาท



สถาปัตยกรรม

พระที่นั่งอนันตมหาสมาคม มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบนีโอเรอเนสซองส์ (Neo Renaissance) และนีโอคลาสสิค (Neo classic)

โดยตกแต่งพระที่นั่งด้วยหินอ่อน ซึ่งสั่งมาจากเมืองคารารา ประเทศอิตาลี  โดยมีจุดเด่น คือ มีหลังคาโดมคลาสสิกของโรมอยู่ตรงกลาง

และมีโดมเล็ก ๆ โดยรอบอีก ๖ โดม รวมทั้งสิ้นมี ๗ โดม โดยโดมทั้งหมดทำขึ้นจากทองแดง (ต่อมาเกิดสนิมสีเขียวขึ้นตามกาลเวลา)

ขนาดขององค์พระที่นั่ง ฯ ส่วนกว้างประมาณได้ ๔๙.๕๐ เมตร ยาว ๑๑๒.๕๐ เมตร และสูง ๔๙.๕๐ เมตร



ภายในพระที่นั่ง บนเพดานโดมมีภาพเขียนเฟรสโก เขียนบนปูนเปียก ซึ่งภาพจะติดทนกว่าภาพที่เขียนบนปูนแห้ง

(ภาพจิตรกรรมไทยนิยมเขียนแบบปูนแห้ง) เกี่ยวกับ พระราชกรณียกิจที่สำคัญ ของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑-๖ จำนวน ๖ ภาพ

โดยฝีมือเขียนภาพของ นายซี. รีโกลี และศาสตราจารย์แกลิเลโอ กินี

เพดานโดมด้านทิศเหนือ เป็นภาพพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

ครั้งดำรงพระยศเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เสด็จกลับจากราชการทัพที่เขมร

เพดานโดมด้านทิศตะวันออก เป็นภาพพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

และพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงอุปถัมภ์งานศิลปะ

เพดานโดมด้านทิศตะวันตก เป็นภาพเหตุการณ์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประทับเบื้องหน้าพระพุทธชินสีห์

แวดล้อมด้วยพระภิกษุและนักบวชต่างชาติศาสนนิกายต่าง ๆ แสดงนัยแห่งพระราชจรรยา ที่ทรงเป็นองค์ศาสนูปถัมภกของทุกศาสนาโดยไม่รังเกียจกีดกัน

เพดานโดมด้านทิศใต้ของท้องพระโรงกลาง เป็นภาพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานอภัยทาน และทรงเลิกประเพณีทาส

เพดานโดมด้านทิศตะวันออกของท้องพระโรงกลาง เป็นภาพเหตุการณ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จออกประทับ

ณ พระที่นั่งบุษบกมาลาที่มุขเด็จ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เนื่องในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๔

เพดานโดมกลาง ซึ่งเป็นโดมใหญ่ที่สุด มีจารึกพระปรมาภิไธยย่อ “จปร.” ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ที่เพดานนับจากจากใต้โดมตลอดทั้งบริเวณท้องพระโรงกลางมีจารึกพระปรมาภิไธยย่อ “จปร.” สลับกัน “วปร.”

อันเป็นพระปรมาภิไธยย่อของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

อ่านต่อที่ วิกิพีเดีย



เรือนยอดที่มีอยู่แล้ว สร้างขึ้น ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ มีเพียง ๕ ยอด คือ

พระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง




เรือนยอดบรมมังคลานุสรณีย์ทั้งหลังเป็นโลหะหล่อจากต้นแบบที่เป็นผลงานไม้แกะสลักของช่างศิลปาชีพ สถาบันสิริกิติ์

ถือเป็นอาคารโลหะทั้งหลังและเป็นหลังแรกของประเทศไทย มีขนาดกว้าง ๑๔.๑๓๔ เมตร ยาว ๒๘.๕๓๔ เมตร และสูง (จากฐานถึงปลายยอด) ๒๔.๘๐ เมตร

เริ่มก่อสร้าง เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๕๗ แล้วเสร็จในวันพฤหัสบดีที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๙

รวมเวลาสร้าง ๘๔๗ วัน




























บริเวณพื้นลานรอบเรือนยอดมีประติมากรรมสำริดรูปช้าง จำนวน ๑๐ ช้าง




ซึ่งเป็นช้างสำคัญในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙













เรือนยอดบรมมังคลานุสรณีย์ สร้างขึ้นตามคติเรื่อง ไตรภูมิ ในวรรณคดีพุทธศาสนา หมายถึง องค์พระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นสมมุติเทพ

บนสนามหญ้าทั้งด้านซ้ายและขวาของเรือนยอดทั้งด้านที่หันสู่ทิศเหนือและทิศใต้ มีสระน้ำ ๔ สระ เป็นสัญลักษณ์แทนสระอโนดาด

ซึ่งตั้งอยู่สี่ทิศของเขาพระสุเมรุ ที่สระอโนดาดแต่ละทิศมีประติมากรรมรูปสัตว์ ๔ ชนิดคือช้าง ม้า โค และสิงห์

ซึ่งในไตรภูมิ กล่าวว่า เป็นทางไหลของน้ำจากสระอโนดาดออกสู่มหาสมุทร




เดินวนรอบค่ะ เก็บภาพมาหลาย ๆ มุม







ในส่วนตัวโถงเพดานจะใช้ไม้แกะสลัก  การสร้างเรือนยอดถือว่ามีความสำคัญ เพราะเป็นรูปแบบศิลปะชั้นสูงสุดของสถาปัตยกรรมไทย

โดยเรียกว่า เรือนยอดทรงจอมแห ที่แปลว่า ยิ่งใหญ่ การสร้างเรือนยอดจะไม่ใช้กับสามัญชนคนธรรมดา จะจำกัดใช้กับพระมหากษัตริย์

ส่วนการใช้สอยนั้น จะเป็นไปตามพระราชอัธยาศัย ซึ่งพระมหากษัตริย์ในรัชกาลก่อน ๆ ทรงใช้เรือนยอดศาลาโปร่ง

เป็นที่เปลื้องเครื่องทรงก่อนเสด็จฯ เข้าวัด หรือใช้เป็นสถานที่ประทับทอดพระเนตรขบวนแห่ต่าง ๆ หรือใช้เป็นสถานที่เข้าเฝ้าฯ เป็นต้น

อ่านต่อที่ วิกิพีเดีย










ประติมากรรม รูปช้าง




ประติมากรรม รูปม้า




จุดบริการนักท่องเที่ยว ซื้อบัตรเข้าชม และขายของที่ระลึกค่ะ






















งดงามวิจิตรมากค่ะ













ตอนกลางคืนเปิดไฟ คงสวยงามมาก










ประติมากรรม รูปสิงห์





พระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิต


เวลาเข้าชม ๑๐.๐๐ - ๑๗.๐๐ น.

(เวลาจำหน่ายบัตร ๐๙.๔๕ - ๑๖.๐๐ น.)


ปิดวันจันทร์ เทศกาลปีใหม่ สงกรานต์ และวันรัฐธรรมนูญ

บัตรราคา ๑๕๐ บาท สำหรับประชาชนทั่วไป

นักเรียน นักศึกษา และผู้สูงอายุ ๗๕ บาท (แสดงบัตรประจำตัว)

แต่งกายสุภาพ ห้ามนุ่งขาสั้น และเสื้อไม่มีแขน

สตรีนุ่งกระโปรง หรือผ้าซิ่น



www.artsofthekingdom.com

โทร. ๐๒ ๒๘๓ ๙๔๑๑, ๐๒ ๒๘๓ ๙๑๘๕





Create Date :18 สิงหาคม 2559 Last Update :18 สิงหาคม 2559 5:02:18 น. Counter : 6758 Pageviews. Comments :53