bloggang.com mainmenu search




อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์


เป็นโบราณสถานที่ได้รับอิทธิพลจากขอม มีอยู่เพียงแห่งเดียวทางภาคตะวันตกของประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ตำบลสิงห์ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี

หลักฐานเก่าแก่ที่สุดที่พบที่ในบริเวณเมืองสิงห์ ได้จากการขุดค้นบริเวณริมแม่น้ำแควน้อยนอกกำแพงเมืองด้านทิศใต้ หลักฐานดังกล่าวเป็นหลุมฝังศพมนุษย์และเครื่องมือเครื่องใช้ที่ฝังร่วมกับศพ อาทิเช่น ภาชนะดินเผา แวดินเผา ภาชนะสำริด ขวานสำริด ทัพพีสำริด กำไลสำริด ลูกปัดหินอะเกตและคาร์นีเลียน กำไลหิน ลูกปัดแก้ว กำไลเปลือกหอย ฯลฯ หลักฐานเหล่านี้คล้ายคลึงกับที่พบที่บ้านดอนตราเพชร อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งกำหนดอายุอยู่ในราวปลายยุคโลหะสมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีอายุประมาณ ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว แสดงให้เห็นว่าบริเวณนี้มีคนเข้ามาทำกิจกรรมก่อนหน้าที่จะสร้างเมืองเป็นเวลานานนับพันปี แต่น่าเสียดาย ที่ไม่ปรากฏหลักฐานแสดงความต่อเนื่องทางวัฒนธรรมของบริเวณนี้จากสมัยก่อนประวัติศาสตร์มาสู่ยุคที่มีการสร้างเมือง

ในสมัยต่อมาของเมืองสิงห์คือช่วงเวลาที่มีการสร้างเมือง ปรากฏหลักฐานเป็นจำนวนมาก ได้แก่ ตัวเมืองรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดพื้นที่ประมาณ ๑ ตารางกิโลเมตร มีคูเมือง คันดิน และกำแพงเมืองศิลาแลงล้อมรอบ ที่กลางเมืองมีโบราณสถานทรงปราสาทสร้างขึ้นตามลักษณะศิลปะขอมแบบบายน และโบราณวัตถุที่เป็นประติมากรรมตามลักษณะศิลปะขอมแบบเดียวกัน ซึ่งจากลักษณะทางศิลปกรรมสามารถกำหนดอายุได้ว่าปราสาทหลังนี้น่าจะสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ หรือในราวรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗  ที่ประเทศกัมพูชา มีศิลาจารึกหลักหนึ่งที่พบที่ปราสาทพระขรรค์ อันเป็นศาสนสถานแห่งหนึ่งที่พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ได้ทรงสร้างขึ้น ศิลาจารึกหลักนี้สร้างขึ้นโดยเจ้าชายวีรกุมารพระราชโอรสองค์หนึ่งของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ มีข้อความสรรเสริญความกล้าหาญและการบุญกุศลของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ และมีตอนหนึ่งกล่าวถึงชื่อเมืองต่างๆ ๒๓ แห่ง ว่าเป็นที่ประดิษฐานพระชัยพุทธมหานาถ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปฉลองพระองค์พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ซึ่งน่าจะเกี่ยวข้องกับเมืองสิงห์และบริเวณใกล้เคียงโดยเฉพาะได้ระบุชื่อเมือง ๖ เมือง ได้แก่ ลโวทยะปุระ สุวรรณปุระ ศัมพูกปัฏฏนะ ศรีราชบุรี ศรีชัยสิงหบุรี และชัยวัชรบุรี ซึ่งตีความว่าอยู่ในเขตภาคกลางของประเทศไทย กล่าวคือ เมืองลโวทยปุระคือเมืองละโว้หรือลพบุรี สุวรรณปุระคือเมืองสุพรรณบุรี ชัยราชบุรีคือเมืองราชบุรี ชัยวัชรบุรีคือเมืองเพชรบุรี และเมืองศรีชัยสิงหบุรีก็คือเมืองสิงห์ที่ตั้งปราสาทเมืองสิงห์ในจังหวัดกาญจนบุรี

ในสมัยกรุงศรีอยุธยาพระเจ้าแผ่นดินผู้ทรงปกครองบ้านเมืองคงจะมีพระราชดำริว่า เมืองสิงห์เป็นเมืองเล็กไม่มีความสำคัญแต่อย่างใด จึงไม่ได้มีการแต่งตั้งเจ้าเมืองปกครอง และในทำเนียบศักดินาหัวเมืองก็ไม่ปรากฏชื่อเมืองสิงห์อยู่เลย จึงเป็นที่เข้าใจว่าเมื่อขอมหมดอำนาจลงแล้ว เมืองสิงห์ก็คงถูกปล่อยให้เป็นเมืองร้างไป เมืองสิงห์ปรากฏหลักฐานอีกครั้งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์ได้ทรงสถาปนาเมืองสิงห์ขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง แต่มีฐานะเป็นเพียงเมืองหน้าด่านเล็กๆ มีเจ้าเมืองปกครองและขึ้นอยู่กับเมืองกาญจนบุรี แต่เนื่องจากบริเวณนี้เป็นที่กันดาร เจ้าเมืองจึงไม่ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่นี่ แต่ทว่าไปอยู่ที่บ้านโป่ง และส่งหมวดลาดตระเวณไปคอยตรวจตราเป็นประจำ เจ้าเมืองจะขึ้นไปบัญชาการที่เมืองนี้ก็เฉพาะแต่กรณีฉุกเฉินบางครั้งบางคราวเท่านั้น


ที่มา :  เว็บของอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์




๑๗ เมษายน ๒๕๕๘  เช็คเอาท์จากรายาบุรีแล้ว มาแวะที่นี่ค่ะ


๑๑.๑๙  น.



อัตราค่าธรรมเนียม


ผังบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์


อาคารจัดแสดงศิลปวัตถุ อยู่ใกล้กับลานจอดรถ เป็นสถานที่จัดแสดงชิ้นส่วนที่ได้จาการขุดแต่ง



ส่วนที่จัดแสงด้านหน้าค่ะ















ภายในอาคารจัดแสดง





พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรรูปจำลอง






















ประติมากรรมขนาดเล็กได้แก่พระพิมพ์ดินเผา แม่พิมพ์ดินเผาและพระพิมพ์เนื้อชินตะกั่ว





เครื่องมือ เครื่องใช้





ชิ้นส่วนพระพุทธรูป








เดินออกมาแล้วค่ะ








จากอาคารจัดแสดงศิลปวัตถุ เราเริ่มที่นี่ก่อน โบราณสถานหมายเลข ๒







เป็นกลุ่มอาคารเช่นเดียวกับโบราณสถานหมายเลข ๑ ตั้งอยู่บนพื้นที่ราบนอกกำแพงแก้ว ใกล้มุมกำแพงด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของโบราณสถานหมายเลข ๑

กลุ่มอาคารทั้งหมดตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน เป็นฐานเขียงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าซ้อนกัน ๒ ชั้น ฐานชั้นล่างกว้าง ๓๓.๙๐ เมตร ยาว ๕๔.๒๐ เมตร สูง ๐.๘๐ เมตร

ตรงกลางใช้ดินลูกรังหรือศิลาแลงเม็ดเล็กๆ อัดแน่น ก่อสร้างด้วยศิลาแลงแล้วประดับด้วยลายปูนปั้น

ถัดไปเป็นฐานชั้นบนกว้าง ๒๓.๗๐ เมตร ยาว ๔๔.๘๐ เมตร มีทางขึ้นอยู่ทางด้านทิศตะวันออก บนฐานชั้นนี้เป็นลานรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๖.๕๐ เมตร ยาว ๑๐ เมตร









โบราณสถานหมายเลข ๑


นกอะไรไม่รู้ สีสวยดี






บรรณาลัย



พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี







ข้อมูลเพิ่มเติม อ่านที่เว็บของอุทยานฯ นะคะ  เค้าทำดีมาก


โบราณสถานหมายเลข ๑  พอจะเป็นรูปร่างมากที่สุดแล้วค่ะ







ขาออก มาแวะที่นี่ก่อนค่ะ  หลุมฝังศพสมัยก่อนประวัติศาสตร์

















ใกล้ที่จอดรถ





แม่น้ำแควน้อย











Create Date :01 กรกฎาคม 2558 Last Update :1 กรกฎาคม 2558 5:30:01 น. Counter : 4952 Pageviews. Comments :22