bloggang.com mainmenu search
พิพิธภัณฑ์ตำรวจ วังปารุสกวัน
 
กรมตำรวจ ได้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ตำรวจขึ้นเป็นครั้งแรกในราวปี พ.ศ. ๒๔๗๓ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นสถานที่เก็บรวบรวมวัตถุของกลางที่คนร้ายใช้ในการกระทำความผิดและใช้เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าข้อมูลทางคดีอาญา สำหรับข้าราชการตำรวจโดยเฉพาะพนักงานสอบสวน ต่อมาจึงได้เปิดให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าชม ซึ่งปัจจุบัน มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า "พิพิธภัณฑ์ตำรวจ วังปารุสกวัน" โดย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
(พระราชอิสริยยศ ขณะนั้น) เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด เมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖

พิพิธภัณฑ์ตำรวจ วังปารุสกวัน ตั้งอยู่ภายในบริเวณวังปารุสกวัน อยู่มุมถนนศรีอยุธยาตัดกับถนนราชดำเนินนอก เขตดุสิต กรุงเทพฯ มีพื้นที่ ๕ ไร่ ๑ งาน ประกอบด้วย ตำหนักจิตรลดา และอาคารพิพิธภัณฑ์ตำรวจ (อาคารกระจก)

พิพิธภัณฑ์ตำรวจ วังปารุสกวัน  เป็นแหล่งเรียนรู้ไม่แสวงหาผลกำไร มุ่งหวังเพื่อสร้างจิตสำนึกที่ดีและความภาคภูมิใจในความเป็นตำรวจ และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างตำรวจกับประชาชน

 



 
ตำหนักจิตรลดา

ตั้งอยู่บริเวณทิศเหนือภายในวังปารุสกวัน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ออกแบบโดย นายมาริโอ ตามาญโญ นายช่างเอกแห่งกรมโยธาธิการในระหว่าง พ.ศ. ๒๔๔๖ - ๒๔๔๘ ก่อสร้างแล้วเสร็จใน พ.ศ. ๒๔๔๙ เป็นอาคารแบบอิตาเลียนวิลล่าสูง ๒ ชั้น โดยได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมแบบสติลลิเบอร์ตี้ (Stile Liberty) ของอิตาเลียน ภายในมีการออกแบบตกแต่งในสไตล์ของอาร์ตนูโว และศิลปะบาโรกและรอกโคโค อันเป็นศิลปะสมัยใหม่ที่กำลังนิยมในยุโรปช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ ซึ่งส่งอิทธิพลมาสู่สยามประเทศ

ข้อมูลจาก แผ่นพับของพิพิธภัณฑ์ตำรวจ วังปารุสกวัน

 


เรามาวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๕ 
งาน  "ใต้ร่มพระบารมี ๒๔๐ ปี กรุงรัตนโกสินทร์"



ถอดรองเท้าด้านหน้าก่อนขึ้นเยี่ยมชม ที่พื้นมีหมายเลขบอกทิศทางการเดิน แต่เราไม่ได้ดู เดินขึ้นบันไดไปเลยค่ะ 



ห้องนี้เคยเป็นที่ตั้งพระโกศของเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ



"กระบี่คู่สุดท้าย" 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ เสด็จพระราชดำเนินมา พระราชทานครั้งแรก เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๔๙๓ ภายหลังจากเสร็จสิ้นพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม เพียง ๒ สัปดาห์ 

วันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๕๔  พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กระทำพิธีพระราชทานกระบี่ผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรืออากาศ และโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ณ ห้องประชุมชั้น ๑๔ อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช

มีตัวแทนนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า นักเรียนนายเรือ นักเรียนนายเรืออากาศ และนักเรียนนายร้อยตำรวจเหล่าละ ๒ นาย เข้ารับพระราชทานกระบี่จาก พระหัตถ์พระองค์คู่สุดท้าย ในประวัติศาสตร์รัชกาลที่ ๙





หม้อบูรณฆฏะ (อ่านว่า บูระณะคะตะ)

"บูรณฆฏะ" หมายถึง หม้อน้ำแห่งความอุดมสมบูรณ์ ตรงตัวตามรากศัพท์ที่ผูกขึ้นจากภาษาสันสกฤตสองคำ คือ คำว่า "บูรณะ" ที่หมายถึงความบริบูรณ์ และ "ฆฏะ" ที่แปลว่า หม้อน้ำ
หม้อบูรณฆฏะ เต็มเปี่ยมไปด้วยน้ำอยู่เสมอจึงชุ่มเย็น หมายถึง...ความมีน้ำใจดีงาม เยือกเย็น มีดอกงอกงามพวยพุ่ง รุ่งเรืองงามตา งามใจ แสดงถึงปัญญางอกงาม หม้อบูรณฆฏะ จึงมีความหมายรวมถึง ความสุข สงบ ร่มเย็น อุดมสมบูรณ์ และความเปี่ยมงอกงามด้วยปัญญา





















มองลงไปข้างล่าง











ห้องทรงพระอักษร



พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖









ลงมาชั้นล่าง ซึ่งเป็นห้องแรกสำหรับการเดินชม แต่เราขึ้นไปชั้นบนก่อน







แบบจำลองวังปารุสกวัน













สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ (ซ้าย) 
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ (กลาง) และหม่อมคัทริน ณ พิษณุโลก (ขวา)




สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
(พระราชอิสริยยศ ขณะนั้น) เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑ์ เมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖



พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ (ซ้าย) และ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ (ขวา)









๑๗.๔๘ น. วันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๕









๑๗.๕๐ น. อาคารกระจก









เป็นนิทรรศการเดินชมเอง เราว่าพื้นที่น้อยไปหน่อย (เรื่องราวจัดแสดงเยอะ แต่พื้นที่จำกัด)



























จากอาคารกระจก เดินออกมาอีกด้านของวังปารุสกวัน







เราก็เพิ่งเคยมาครั้งแรกนี่ล่ะค่ะ 

Create Date :07 พฤษภาคม 2565 Last Update :7 พฤษภาคม 2565 17:03:26 น. Counter : 1292 Pageviews. Comments :0