bloggang.com mainmenu search
บอกไว้ในบล็อกก่อนหน้านี้ว่า เราจะมาดูนิทรรศการถาวรในอาคารมหาสุรสิงหนาท ตั้งใจมาถ่ายรูปล่ะค่ะ 

การจัดแสดงภายในอาคาร อาคารมหาสุรสิงหนาท แบ่งเป็น ห้องศิลปะเอเชีย เพื่อแสดงความหลากหลายของรูปแบบศิลปกรรมในภูมิภาคเอเชีย ห้องก่อนประวัติศาสตร์ จัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์และการพัฒนาตามลำดับ ห้องทวารวดี เกี่ยวเนื่องกับวัฒนธรรมทวารวดีในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๖ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันตก ห้องลพบุรี เล่าเรื่องศิลปกรรมที่มีความใกล้ชิดกับวัฒนธรรมเขมรในราชอาณาจักรกัมพูชาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๒ และปิดท้ายด้วย ห้องศิลปะศรีวิชัย นำเสนอหลักฐานทางโบราณคดีของวัฒนธรรมศรีวิชัยโดยเฉพาะในทางตอนใต้ของประเทศไทยช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๘

https://www.sarakadeelite.com/arts_and_culture/mahasurasinghanat-bangkok-national-museum/



พระพุทธรูปไม้แกะสลักองค์ใหญ่หายากแบบนิกายมหายานของเมียนมาร์ เป็นพระพุทธรูปเครื่องแสดงภูมิสปรรศมุทรา ประทับนั่งขัดสมาธิราบ พระหัตถ์ซ้ายวางบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาคว่ำพาดพระชงฆ์ ห้อยลงในท่าสัมผัสแผ่นดิน (ภูมิสปรรศมุทรา)
 หรือปางสัมผัสแผ่นดิน ซึ่งก็คือปางมารวิชัยหากเรียกตามแบบนิกายเถรวาท





































































ห้อง ๔๐๒ สมัยก่อนประวัติศาสตร์









ห้องก่อนประวัติศาสตร์จัดแสดงหลักฐานทางโบราณคดีในประเทศไทยที่ยังไม่ปรากฏหลักฐานที่บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร เช่น ภาชนะดินเผา สำริด เหล็ก แก้ว เครื่องมือล่าสัตว์และเพาะปลูก และเครื่องประดับต่าง ๆ รวมไปถึงพิธีกรรมความเชื่อที่สะท้อนผ่านโบราณวัตถุ








บริเวณโถงทางเดินที่จะต่อไปยังห้องทวารวดีเป็นส่วนจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้และเครื่องประดับที่เป็นจุดเชื่อมระหว่างยุคก่อนประวัติศาสตร์กับยุคเริ่มประวัติศาสตร์ ไฮไลต์ที่ไม่ควรพลาดคือ ตะเกียงโรมันสำริดซึ่งฝาเปิดหล่อเป็นรูปพระพักตร์เทพเจ้าซิเลนัส (Silenus) ของโรมัน ด้ามหล่อเป็นลายใบปาล์มและโลมา ๒ ตัวหันหน้าชนกัน เนื่องจากลวดลายสัญลักษณ์ดังกล่าว จึงคาดว่าตะเกียงนี้น่าจะหล่อขึ้นที่เมืองอเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ขณะอยู่ภายใต้การปกครองของโรมันราวก่อนพุทธศตวรรษที่ ๖-๑๐ ซึ่งตะเกียงถูกขุดพบที่ตำบลพงตึก อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี และคาดว่าพ่อค้าชาวอินเดียได้นำเข้ามาในประเทศไทยเพราะตำบลที่พบตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าขายที่พ่อค้าชาวอินเดียเคยเดินทางผ่านไปมา






































 

ห้องทวารวดี  วัฒนธรรมทวาราวดีแพร่กระจายไปตามชุมชนโบราณหลายแห่งของประเทศไทยนับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๖ โดยพบหลักฐานจำนวนมากในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันตก สัญลักษณ์ทางศาสนาที่เด่นชัดของยุคนี้คือธรรมจักร ในห้องนี้จัดแสดงธรรมจักรหลายขนาดทั้งแบบหินทรายและศิลาแลงโดยส่วนใหญ่มีประติมากรรมรูปกวางหมอบอยู่ด้านหน้าและลวดลายมีความหลากหลาย เช่น ลายผักกูด ลายขมวดและลายดอกบัว ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะคุปตะของอินเดียที่มีความผสมผสานลวดลายของทางตะวันออกและตะวันตก















































อยากให้ไปเดินดู เดินชมเองมากกว่าค่ะ 

Create Date :25 พฤษภาคม 2565 Last Update :25 พฤษภาคม 2565 16:18:33 น. Counter : 918 Pageviews. Comments :0