bloggang.com mainmenu search
พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน 

เป็นที่ประทับแปรพระราชฐานในฤดูร้อนของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว จัดเป็นที่ประทับที่มีความเรียบง่ายที่สุดซึ่งสร้างตามพระราชประสงค์ของพระองค์เอง เพื่อไม่ให้เป็นการเปลืองพระราชทรัพย์จนเกินไปโดยพระองค์เสด็จมาประทับ ณ พระราชนิเวศน์แห่งนี้ถึงสองครั้ง ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๗ เป็นเวลา ๓ เดือน และครั้งที่สอง ปี พ.ศ. ๒๔๖๘ หลังจากนั้นก็ไม่ได้เสด็จมาประทับอีกเลยเนื่องจาก ๕ เดือนต่อมาพระองค์ก็เสด็จสวรรคต ณ พระบรมมหาราชวัง

ปัจจุบัน พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ยังคงซึ่งไว้เขตพระราชฐาน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้เป็นค่ายพระรามหก กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด) เพื่อใช้ในการฝึกรบสนับสนุนทางอากาศ และในปี ๒๕๓๖ ตชด ได้จัดตั้ง มูลนิธิพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี



ขับรถเข้ามาด้านในได้เลยค่ะ / ระหว่างทาง...







พระราชนิเวศน์มฤคทายวันเปิดทำการทุกวัน (ยกเว้นวันพุธ)
เวลาเปิดจำหน่ายบัตร ๐๘.๓๐ - ๑๖.๐๐ น.

ค่าธรรมเนียมเข้าเยี่ยมชมพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน 
(เฉพาะด้านล่างบริเวณโดยรอบ) 
ท่านละ ๓๐ บาท





เช่นเคยค่ะ ใครแต่งตัวไม่สุภาพ มีผ้านุ่ง ผ้าถุงให้ยืมค่ะ



เจ้าหน้าที่ตรวจบัตรเข้าชม



เจ้าหน้าที่อธิบายถึงภาพเปรียบเทียบ แนวเดิมของประตู ที่เคยเป็นสันทราย



ทางพระราชนิเวศน์ฯ มีโครงการฟื้นฟูแนวสันทราย และระบบนิเวศชายฝั่งบริเวณพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน



ครั้งล่าสุดที่เรามาที่นี่ ปี ๒๕๕๕



ณ เวลานี้ ๑๑.๔๐ น. ไม่มีใครนั่งเล่นกินลมชมวิวเลย ... ร้อนมาก









ในส่วนของพระที่นั่งฯ กำลังบูรณะ มีการปิดไม่ให้เข้าบางส่วนค่ะ



พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ตั้งอยู่ที่อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เป็นที่ประทับแปรพระราชฐานในฤดูร้อนของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว สร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ. ๒๔๖๖ - ๒๔๖๗ โดยมีนายแอร์โกเล มันเฟรดี (Ercole Manfredi) สถาปนิกชาวอิตาเลียนเป็นผู้ออกแบบ หมู่พระตำหนักมีลักษณะทางสถาปัตยกรรมในรูปแบบไทยผสมตะวันตก มีการใช้ไม้สักทองประกอบขึ้นทั้งหลัง โดยยกใต้เสาตอม่อคอนกรีตเสริมเหล็กเหนือชายหาด





สถาปัตยกรรมของพระราชนิเวศน์เป็นสถาปัตยกรรมแบบไทยประยุกต์คือ (ไทยผสมยุโรป) สร้างด้วยไม้สักทองลักษณะเป็นอาคาร ๒ ชั้นเปิดโล่งใต้ถุนสูงบริเวณใต้ถุนทำเป็นคอนกรีต หลังคาเป็นหลังคาทรงปั้นหยามุงด้วยกระเบื้องว่าวแบบสี่เหลี่ยมซึ่งสามารถกันแดดและกันฝน ได้ดีกว่าแบบธรรมดาเพดานยกพื้นสูงมีบานเกร็ดระบายความร้อนโดยมีเสารองรับพระที่นั่งทั้งหมด ๑,๐๘๐ ต้น วางในแนวเดียวกันเสาทุกต้นมีการหล่อขอบฐานและยกขอบขึ้นไปรางน้ำ เรียกว่าบัวขอบ เพื่อกันมดและสัตว์อื่น ๆ ซึ่งในสมัยนั้นมีมดและสัตว์อื่น ๆ ชุกชุม











พระที่นั่งทั้ง ๓ องค์มีความยาวทั้งสิ้น ๓๙๙ เมตรแบ่งเป็น ๓ ส่วนคือ
ท้องพระโรง เขตที่ประทับฝ่ายหน้า และเขตที่ประทับฝ่ายใน โดยมีทางเชื่อมต่อกันโดยตลอด









เสารองรับพระที่นั่งวางในแนวเดียวกันทุกต้น



เสาทุกต้นมีการหล่อขอบฐานและยกขอบขึ้นไปรางน้ำเรียกว่า บัวขอบ เพื่อกันมดและสัตว์อื่น ๆ ซึ่งในสมัยนั้นมีมดและสัตว์อื่น ๆ ชุกชุม















พระที่นั่งชั้นบน ห้ามถ่ายภาพ เลยไม่เคยได้ขึ้นไปเลยค่ะ









งามไปหมด ไม่ว่าจะมองมุมไหน 







ร่มรื่น ต้นไม้ใหญ่ทั้งนั้นเลยค่ะ 























เชื่อมต่อกันหมด







บ่อน้ำจืดเดิม สมัยแรกสร้างพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน 







จุดจำหน่ายขนม เครื่องดื่ม ของที่ระลึก





พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖







บ้านเจ้าพระยารามราฆพ ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากหมู่พระที่นั่งของพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ประมาณ ๖๐๐ เมตร
ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นร้านน้ำชาพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน







มองเห็นพระที่นั่งฯ ที่ยื่นออกมาหน้าหาด







ร้านน้ำชา อยู่ด้านล่างค่ะ



เดินรอบ ๆ ถ่ายมาหลายมุมเลยค่ะ







ข้อมูลจากวิกิพีเดีย

Create Date :22 สิงหาคม 2562 Last Update :22 สิงหาคม 2562 19:32:49 น. Counter : 1998 Pageviews. Comments :0