bloggang.com mainmenu search

อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ (๒)

สวัสดีค่ะ ตอนสุดท้ายของทริปภูทับเบิก-เขาค้อ จบแล้วค่ะวันนี้ เก็บมาไม่ครบนะคะ เรามาถึงที่นี่เกือบ ๔ โมงเย็นแล้ว รถรับ-ส่ง เค้าปล่อยลงจุดเดียว เดินได้นิดเดียวก็ต้องกลับ เพราะใกล้เวลาปิดพอดี

เมืองโบราณศรีเทพนี้มีลักษณะเป็นเมืองซ้อนเมืองขนาดใหญ่ ที่ตั้งของเมืองอยู่ในชุมทาง ที่สามารถติดต่อกับภาคอื่นๆ ได้สะดวก ดังนั้นจึงได้รับอิทธิพลทางศิลปวัฒนธรรมจากอาณาจักรข้างเคียง มาผสมผสาน เช่น ศิลปะทวารวดี ศิลปะขอม เป็นต้น เมืองศรีเทพสร้างขึ้นในยุคของขอมเรืองอำนาจ ซึ่งคาดว่ามีอายุไม่ต่ำกว่า ๑,๐๐๐ ปี โดยดูจากหลักฐานทางสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม และวัฒนธรรมที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและมีความเจริญสูงสุดทางด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม สันนิษฐานว่าเจริญอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๑ ถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๖

เขาคลังใน เป็นศาสนาสถานประเภทวัด มีกำแพงศิลาแลงล้อมรอบ ชื่อโบราณสถานมีที่มาจากความเชื่อของคนในท้องถิ่นที่เชื่อว่าเป็นคลังที่เก็บสิ่งของมีค่า หรือคลังอาวุธในสมัยโบราณ

อาคารประธาน เป็นอาคารในศิลปะทวารดี เช่นเดียวกับโบราณสถานวัดโขลง เมืองคูบัว จังหวัดราชบุรี แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ส่วนที่เหลืออยู่ทั้งหมดคือส่วนฐานก่อด้วยศิลาแลงฉาบปูน ภายในก่อทึบตัน ที่ส่วนล่างของฐานยังเหลือภาพปูนปั้นประดับเป็นลายก้านขด รูปสัตว์ และคนแคระแบก กำหนดอายุได้ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ ด้านหน้ามีบันไดทางขึ้นสู่ชั้นบนซึ่งยังเหลือปูนฉาบเป็นลานกว้าง มีร่องรอยว่าเดิมอาจมีสถูปประดิษฐานอยู่ทางทิศตะวันตก และวิหารขนาดเล็กอยู่ด้านหน้า แต่ปัจจุบันพังทลายไปเกือบจะไม่เหลือร่องรอย ภายในบริเวณวัดยังมีเจดีย์ราย วิหาร และอาคารขนาดเล็กหลายแห่ง ข้อมูลจากแผ่นพับอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ

























ส่วนที่เหลืออยู่ทั้งหมดคือส่วนฐานก่อด้วยศิลาแลงฉาบปูน ภายในก่อทึบตัน





ที่ส่วนล่างของฐานยังเหลือภาพปูนปั้นประดับเป็นลายก้านขด รูปสัตว์ และคนแคระแบก









ปรางค์สองพี่น้อง

เป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดู ปราสาทประธานเป็นแบบศิลปะเขมรก่อด้วยอิฐ ฐานเป็นศิลาแลงฉาบปูนทั้งองค์ หันหน้าไปทางทิศตะวันตก





มีปราสาทหลังเล็กซึ่งสร้างเพิ่มเติมขึ้นในภายหลังตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน จึงเป็นที่มาของชื่อ ปรางค์สองพี่น้อง





บริเวณด้านหน้าปราสาทมีทางเดิน และอาคารประกอบพิธีกรรมต่างๆ ก่อด้วยศิลาแลงหลายหลัง













ด้านหน้าสุดมีทางเดินรูปกากบาท พอมองออกไหมคะ มุมถ่ายมาไม่ดี









ชอบที่นี่ ตรงที่มีสีเขียวเยอะดีค่ะ ดูไม่แห้งแล้งเกินไปเนาะ













มุมนี้ค่ะ พอมองออกเป็นรูปกากบาท






































ทับหลังจำหลักรูป "อุมามเหศวร" คือ สลักรูปพระอิศวรอุ้มนางปารพตี ประทับนั่งอยู่เหนือโคอศุภราช ปัจจุบันติดตั้งอยู่ที่ปราสาทหลังเล็ก

รูปแบบทางศิลปะของเครื่องประดับสถาปัตยกรรมเหล่านี้สามารถกำหนดอายุปรางค์สองพี่น้อง อยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๗





ลักษณะศิลปะแบบบาปวน-นครวัด ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเป็นเทวาลัยในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗

ต่อมาได้ถูกดัดแปลงเป็นศาสนสถานในศาสนาพุทธมหายาน เช่นเดียวกับปรางค์ศรีเทพในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘





สระน้ำ





รอประกอบหรืออย่างไรไม่ทราบค่ะ


































ถึงตรงนี้ก็ ๑๖.๒๗ น. แล้วค่ะ ชุดเราเป็นนักท่องเที่ยวชุดสุดท้ายของวันนี้ เดินกลับไปที่รถรับ-ส่งค่ะ

























นั่งรถคันนี้กลับ





เก็บภาพตามรายทาง จากบนรถอีกรอบ...

















ขอบคุณที่ติดตามกันตั้งแต่ต้นจนจบค่ะ รวมแล้วทริปนี้ก็ ๑๐ ตอนพอดี


ฝากบล็อกไว้ซัก ๓-๔ วันนะคะ พาลูกไปเที่ยวทะเลแถวๆ นี้
Create Date :17 มีนาคม 2557 Last Update :25 มีนาคม 2557 5:46:44 น. Counter : 3457 Pageviews. Comments :66