จงทำสิ่งที่คุณทำได้...ด้วยสิ่งที่คุณมี...ณ จุดที่คุณยืนอยู่ - ธีโอดอร์ รูสเวลท์
Uploaded with ImageShack.us
Group Blog
 
<<
กันยายน 2549
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
28 กันยายน 2549
 
All Blogs
 

เขียนนิยาย - เขียนรูป และ เขียนประเสริฐ



“มีคนถามฉันเสมอว่า “คุณใช้เวลานานเท่าไรในการเขียนนิยายหนึ่งเรื่อง”

ฉันไม่เคยตอบตามความจริง...แล้วแต่....หนึ่งปี....บางทีสามหรือสี่ปี

คำตอบจริงๆ นั้นแน่นอนว่าคุณต้องใช้เวลาชั่วชีวิต

ฉันอายุสี่สิบสี่ปี และใช้เวลาสี่สิบสี่ปีเพื่อจะเขียนนิยาย

คุณจะไม่พูดถึงเรื่องนี้กับคนมากนัก เพราะคุณจะทำให้พวกเขารู้สึกเศร้าใจ

มองหน้าคุณแล้วคิดว่า พระเจ้าช่วย ! อายุสี่สิบสี่ปีได้มาแค่หนังสือนี้หรือ ?

แต่นั่นคือคำตอบสัตย์จริงที่สุด คุณไม่มีทางเขียนได้เร็วกว่านั้น

คุณเขียนนิยายเมื่อถึงเวลาที่จะเขียน และคุณนำเวลาที่ผ่านมาทั้งชีวิตเป็นข้อมูล

ไม่ว่าเวลาที่ผ่านมานั้นมากน้อยกี่ปีก็ตาม”


James D.Houston


(จากหนังสือ เขียนนิยาย )



28 กันยายน 2549


ช่วงที่ผ่านมาผมยังเกาะติดกับหนังสือที่ชื่อ “เขียนนิยาย” ของรตชาอยู่ เท่าที่มีเวลาว่าง คือถ้ามือไม่ได้ทำอะไรอยู่ก็อ่านหนังสือเล่มนี้ ในหนังสือเล่มนี้นอกจากจะให้ความรู้เกี่ยวกับการเขียนนิยายอย่างละเอียดและมีแบบฝึกหัดให้เขียนแล้ว สิ่งหนึ่งซึ่งถือว่าเป็นเสน่ห์ของหนังสือเล่มนี้ก็คือ ผู้เขียนได้เก็บคำคมจากนักเขียนต่างๆทั่วโลกมาปิดท้ายไว้ในแต่ละบท และมีหลายประโยคที่ผมอยากบอกว่าสามารถเป็นแรงบันดาลใจอย่างดีสำหรับคนที่ฝันอยากเป็นนักเขียนทีเดียว


หนังสือเล่มนี้ได้เปิดหูเปิดตาผมเกี่ยวกับนิยายเสียใหม่ ถึงแม้ผมจะอ่านนิยายมาไม่น้อย ผมก็เป็นเพียงผู้เสพผลงานของนักเขียนเท่านั้น ผมอาจจะรู้เรื่องราวของนิยายเรื่องนั้น ๆรู้ว่าชอบไม่ชอบ รู้ว่านักเขียนคนไหนเก่งไม่เก่ง เรื่องราวดำเนินเป็นไปอย่างไร แต่เอาเข้าจริงๆแล้วผมอาจจะยังไม่รู้จักคำว่า “นิยาย” ได้อย่างกระจ่างแจ้ง

เมื่อได้มาอ่านหนังสือเล่มนี้ประกอบกับทบทวนเกี่ยวกับสิ่งที่ตัวเองรู้มา ก็พบว่าหนั้งสือเล่มนี้ทำให้ผมรู้ว่าตัวเอง “ไม่รู้อะไรบ้าง” เกี่ยวกับนิยาย

นอกเหนือจากความรู้ที่ได้รับแล้ว หนังสือเล่มนี้ยังอ่านสนุกอีกด้วย ประกอบกับบทสัมภาษณ์สั้นๆของนักเขียนนิยายไทย เราได้รับรู้มุมมองและความคิดของนักเขียนท่านนั้นๆ ผมคิดว่าหนังสือเล่มนี้น่าจะได้รับความสนใจจากห้องสมุดประชาชนทั่วประเทศและตามโรงเรียนด้วย และถ้ามีโอกาสพิมพ์ซ้ำก็น่าจะทำเป็นปกแข็ง

นี่เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผมเท่านั้นนะครับ

ปีกัสโซ่พูดว่า “ศิลปะที่เกิดจากการสร้างสรรค์นั้น แท้จริงแล้วเกิดขึ้นระหว่างศิลปินกำลังสร้างงาน ระหว่างจิตกรกำลังระบายสีรูปภาพ และนั่นเป็นสิ่งที่สำคัญมากยิ่งกว่าสิ่งที่ตั้งใจจะทำแต่แรก และผลงานของทั้งสองสิ่งนั้นย่อมไม่เหมือนกัน”

คำพูดประโยคนี้ก็คงใช้ได้กับการเขียนนิยาย เช่นกัน เพราะนิยายก็ถือว่าเป็นวรรณศิลป์


ผมมาเที่ยวบ้านทุ่งดาวของพิบูลศักดิ์ครั้งนี้ สิ่งหนึ่งที่ผมเห็นความเปลี่ยนแปลงก็คือสีน้ำที่เขาเขียน ผมไม่ใช่นักวิจารณ์ศิลปะที่จะวิจารณ์ภาพเขียนสีน้ำได้ แต่จากการที่ได้เห็นกันมานาน เห็นรูปสีน้ำของเขามานาน จนมาถึงวันนี้ผมอยากพูดว่าผมชอบสีน้ำของเขามากกว่าแต่ก่อนนี้ และเห็นถึงความก้าวไปข้างหน้าอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะเรื่องการใช้สี

เขาขวนขวายที่จะเรียนรู้ สิ่งที่สอนเขามากที่สุดก็คือการลงมือทำ และจากนั้นยังเรื่องการเปิดใจกว้างที่จะรับฟังคำตำหนิวิจารณ์จากผู้ที่รู้มากกว่าแล้วเก็บคำนั้นมาแก้ไข นี่ต่างหากที่เรียกว่าการเรียนรู้ที่แท้จริง

เขาเล่าให้ฟังว่าตอนแสดงงานภาพเขียนครั้งหนึ่งในเมืองหลวง มีศิลปินรุ่นพี่คนหนึ่งเอ่ยปากวิจารณ์จุดบกพร่องในรูปของเขาต่อหน้าผู้คนมากมาย เขายอมรับว่าตอนนั้นเขารู้สึกไม่พอใจที่ศิลปินรุ่นพี่คนนั้นพูดต่อหน้าคนมากมายในงานแสดง แต่รูปนั้นก็ถูกซื้อไปในราคาสูงพอสมควร ถึงแม้เวลาผ่านไปแล้วเขาก็เก็บคำวิจารณ์นำกลับมาพิจารณาในการทำงานครั้งต่อไป เขาพบว่าเพื่อนรุ่นพี่คนนั้นพูดถูก ในที่สุดเขาก้แก้ไขข้อบกพร่องนั้นได้ และรู้สึกขอบคุณเพื่อนรุ่นพี่คนนั้นอยู่ในใจ ถึงแม้ท่าทีเขาในตอนนั้นจะไม่ค่อยน่ารักนัก

เมื่อคราวมีเพื่อนศิลปินรุ่นน้องมาเยี่ยมเยียนบ้าน และมองเห็นข้อด้อยบางด้านในการเขียนรูปของเขา และพูดทำนองว่าข้อด้อยข้อนี้จะหลบหรือจะแก้ไขดี ถ้าหลบก็จะต้องหลบอยู่เรื่อย ถ้าหากแก้ไขถึงแม้จะต้องใช้เวลาอยู่บ้างเมื่อทำสำเร็จแล้วเราก็ไม่ต้องหลบหลีกอีก นี่เขาก็ถือว่าเป็นคำชี้แนะที่มีประโยชน์ในการทำงานที่เขารัก

ช่วงที่เราได้อยู่ด้วยกัน เราได้สนทากันคราวละนานๆ ในความรู้สึกของผมถึงแม้โดยวัยแล้วเขาจะเป็นรุ่นพี่ผม แต่ผมยังรู้สึกว่าเขามีความเป็นเด็กหนุ่มช่างฝันแฝงอยู่ในตัวเขาเสมอ อาการยินดีและลิงโลดเมื่อทำงานศิลปะได้อย่างที่ตัวเองต้องการจะเผยออกมา บางครั้งความเหงาเศร้าของเขาออกมาทางบทเพลง ไม่ว่าจะเป็นการเปล่งออกมาหรือเขียนมันขึ้นแล้วใส่ทำนอง

เรารู้จักกันมายี่สิบกว่าปีแล้ว ผมรู้จักเขาจากผลงานก่อน ผมหลงใหลแม่ม่ฮ่องสอนจนกระทั่งถึงขั้นหอบผ้าหอบผ่อนไปอยู่ที่นั่นก็เพราะได้อ่าน “สู่อ้อมแขนแผ่นดินลานนา” ของเขา หลงใหลบทกวีจาก บทกวีจากภูเขา ทั้งๆที่ยังอ่านบทกวีไม่แตก ตอนที่ไปอยู่แม่ฮ่องสอนผมก็พกบทกวีเล่มนี้ไปด้วย (นั่นเป็นเวลา 26 ปีผ่านมาแล้ว) แต่ตอนที่ผมเดินทางเข้าแม่อ่องสอนเขาเดินทางเข้าเมืองกรุงไปแล้ว
และวันหนึ่งผมก็ได้พบกับเขาที่เมืองหลวง บังเอิญเหลือเกินเขาเป็นเพื่อนกับคุณปกรณ์ พงศ์วราภา หรือ กรณ์ ไกรลาส ซึ่งเป็นเจ้านายของผมในตอนนั้น
จากนั้นก็รู้จักกันเรื่อยมา ห่างบ้างใกล้ชิดบ้าง ตามแต่โอกาส แต่ไม่เคยลืมเลือน

สำหรับวันนี้ผมต้องขอขอบคุณที่เปิดโอกาสให้ผมมานั่งอยู่ที่บ้านของเขา และใช้โต๊ะทำงานของเขาเขียนเรื่องราวเหล่านี้อย่างมีความสุข

ต้องยอมรับสมญานาม “เจ้าชายโรแมนติค” ของพิบูลศักดิ์ ละครพลนั้นไม่ใช่ได้มาลอยๆหรือโชคช่วยแต่อย่างใด ไม่ใช่แค่เขียนเรื่องโรแมนติคเท่านั้น แต่มันเป็นทั้งชีวิตของเขาทีเดียว

ที่บ้านผมมีผลงานสีน้ำเล็กๆของเขาอยู่สามสี่ชิ้น ทั้งที่เคยอุดหนุนไว้ตอนแสดงงานและเขาเคยมอบให้ในช่วงที่เดินทางด้วยกัน ผมนำไปส่กรอบเรียบร้อยแล้ว มาครั้งนี้เขาก็มอบให้ผมอีกรูปหนึ่ง เป็นภาพทุ่งนาข้างบ้านที่มองผ่านหน้าต่างออกไปก็เห็น



ถึงแม้มันอาจจะไม่ใช่รูปที่สวยหรือที่ดีที่สุดของเขา .แต่ผมก็ยินดีและมีความสุขที่ได้เป็นเจ้าของภาพนี้ ไม่ใช่เป็นเพราะรูปสวยหรือไม่ แต่เป็นความสุขที่เกิดจากได้รับจากความรู้สึกเต็มใจให้

----------------------------------






ซ้าย - พิมพ์ครั้งแรก ขวา - พิมพ์ครั้งที่ 2 (ล่าสุด)






บทกวีจากภูเขา อ่านทีไรคิดถึงแม่ฮ่องสอน






สีน้ำ โดย พิบูลศักดิ์ ละครพล




 

Create Date : 28 กันยายน 2549
7 comments
Last Update : 28 กันยายน 2549 14:03:05 น.
Counter : 1091 Pageviews.

 

Enjoy reading ; )
Plz go on writing kha : )

 

โดย: nobody IP: 202.57.189.4 28 กันยายน 2549 14:05:36 น.  

 

สวยค่ะสวย ถึงไม่ได้สวยขนาดหัวใจละลาย แต่รู้สึกสบายตาสบายใจเมื่อมองดู

หนูคิดว่า งานศิลปะที่สวยงามและมีค่าคือ งานที่ผู้สร้างมีความสุขและพอใจกับชิ้นงานของตัวเอง ไม่สมควรจะมีการเปรียบเทียบจับผิดกันจริงจัง แม้แต่รูปเขี่ยๆของเด็กๆ ถ้าเขาวาดมาจากหัวใจและชื่นชมกับมัน บางทีมันสวยและให้ความรู้สึกบริสุทธิ์กว่าภาพที่ผู้ใหญ่พยายามสร้างขึ้นตามหลักการเสียอีก

 

โดย: ตะเบบูญ่า IP: 58.136.85.68 28 กันยายน 2549 17:13:32 น.  

 

หนังสือน่าอ่านนะคะ

 

โดย: rebel 28 กันยายน 2549 20:39:01 น.  

 

อ่านบล๊อกพ่อพเยียทีไร อุ่นใจทุกที
ระยะนี้ต้องขยันเช็คบล๊อกพ่อพเยียบ่อยๆ
เพราะคิดว่าเจ้าของบล๊อกสะดวกใช้เนท
แน่ๆเลย

 

โดย: แม่น้องนิก IP: 4.232.144.195 29 กันยายน 2549 5:39:21 น.  

 

จำได้ว่าเคยชอบ บทกวีจากภูเขา และถนนสีแดง ของพิบูลศักดิ์ มาก ๆ เมื่อวัยเยาว์ กระทั่งฝันอยากจะไปอยู่ที่แม่ฮ่องสอนเช่นเดียวกัน นี่ต้องเรียกว่างานเขียนของพิบูลศักดิ์มีมนต์เสน่ห์จริง ๆ ที่ทำให้คนอ่าน (หลายคน-เท่าที่เคยคุยกับคนอื่น) อยากไปอยู่ที่แม่ฮ่องสอน

เคยได้ไปดูงานแสดงภาพเขียนสีน้ำของพิบูลศักดิ์ที่ร้านหนังสือเดินทางเมื่อหลายปีก่อน มีหลายรูปที่ชอบเหมือนกัน

ที่ดีใจที่สุดก็คือ เคยได้รับโปสการ์ดใบเล็ก ๆ เป็นภาพเขียนสีน้ำพร้อมลายมือยุ่ง ๆ บอกเล่าเรื่องราวหลังโปสการ์ดจากคุณพิบูลศักดิ์ เมื่อตอนที่พี่เขาส่งคืนหนังสือที่ยืมไปเพื่อใช้เป็นต้นฉบับ เป็นปลื้มไปหลายวัน ในฐานะคนอ่านหนังสือ ก็ย่อมดีใจ (จนออกนอกหน้า) ที่นักเขียนคนโปรดส่งโปสการ์ดมาขอบคุณที่ให้ยืมหนังสือ แม้จะเป็นความสุขเล็ก ๆ แต่ก็ประทับใจนะ

คุณพ่อพเยีย...ท่าทางจะได้เรื่อง (นิยาย) ในไม่ช้าไม่นานนี้ซะแล้ว เพราะดูเหมือนไฟฝันกำลังกรุ่นได้อุณหภูมิที่เหมาะสม

 

โดย: hnon IP: 202.28.180.201 29 กันยายน 2549 13:33:04 น.  

 

เธญเธขเธฒเธเน„เธ”เน‰เธฃเธฒเธขเธŠเธทเนˆเธญเธ™เธฑเธเน€เธ‚เธตเธขเธ™เน„เธ—เธข เธ‚เธญเธซเธ™เนˆเธญเธขเธ„เธฑเธš

 

โดย: เธเธฒเธ™ IP: 203.113.33.9 25 มกราคม 2551 21:16:08 น.  

 

ถ้าพี่ย้อนมาอ่านก็จะเจอ
แต่ถ้าไำม่ย้อนมา
ก็จะไม่เจอ
ลงชื่อไว้วันที่มาแอบอ่าน

 

โดย: ตาพรานบุญ IP: 117.47.104.218 24 กันยายน 2551 19:17:13 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


พ่อพเยีย
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]







ด้วยความยินดี...
หากมีผู้ใดละเมิด
โดยนำภาพถ่าย,บทความ
หรือข้อเขียนต่างๆ
ใน Blog นี้ไปใช้
ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใด
สามารถทำได้เลยทันที
โดยไม่ต้องขออนุญาต
เป็นลายลักษณ์อักษร

เว้นเสียแต่ว่า…
ถ้านำไปพิมพ์จำหน่าย
กรุณาจ่ายค่าลิขสิทธิ์ด้วย

อ่านเรื่องของ "ปะการัง" ที่นี่



โหลดเพลง คลิปวีดีโอ นิยาย การ์ตูน


www.buzzidea.tv
Friends' blogs
[Add พ่อพเยีย's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.