รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2552
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
22 มิถุนายน 2552
 
All Blogs
 

Tell How - Tell Why - Tell Result

ถ่าท่านเป็นผู้สนใจในธรรมปฏิบัติและได้อ่าน ได้ยินได้ฟังในสถานที่ต่าง ๆ การถ่ายทอดธรรมจะมีด้วยกัน 3 ลักษณะด้วยกัน กล่าวคือ

ลักษณะที่ 1 Tell How
ผู้ถ่ายทอดจะถ่ายทอดถึงแต่วิธีการปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงทางแห่งการพ้นทุกข์
เขาจะบอกแก่ผู้อื่นถึง "วิธีการปฏิบัติ " เป็นส่วนใหญ่ จะบอกเล่าถึงอย่างอื่นบ้าง เป็น่ส่วนน้อย

ลักษณะที่ 2 Tell why
แบบที่ 2 นี้จะเหมือนแบบที่ 1 แต่จะบอกถึงเหตุผลว่า ทำไมต้องปฏิบัติอย่างนี้ด้วย ผู้ที่ถ่ายทอดแบบที 2 นี้จะหายากมาก ยากกว่าแบบที่ 1 เสียอีก เพราะส่วนใหญ๋จะไม่บอกถึงเหตุผล
เท่าที่ผมได้อ่าน ได้ยิน ได้ฟังมาส่วนมากเกือบ 100 % จะบอกว่า ทำไปเดียวรู้เอง ไม่บอกเหตุผลว่า ทำไม ซึ่งคนในสมัยปัจจุบัน เขาจะทำอะไร ต้องรู้เหตุผลก่อน ถึงจะทำได้ดี แต่เมื่อไม่ได้รับคำตอบเรื่องเหตุผล การปฏิบัติของเขาก็จะเต็มไปด้วยความลังเลสงสัย ซึ่งล้วนเป็นปัญหาต่อความเจริญก้าวหน้าในการปฏิบัติ

สำหรับคนรุ่นเก่า การไม่บอกเหตุผล เป็นสิ่งทียอมรับได้ แต่คนรุ่นใหม่ ไม่เป็นเช่นนั้น และคนถ่ายทอดธรรมส่วนมากก็มาจากคนรุ่นเก่า
ความขัดแย้งในส่วนลึกของจิตใจของผู้รับการถ่ายทอด จึงเกิดอยู่เสมอมา

ลักษณะที่ 3 Tell Result
เท่าที่ผมเห็นมา ผู้ถ่ายทอดแบบที่ 3 จะมีมากที่สุด และคนส่วนใหญ่ ก็มักชอบฟังที่สุดด้วย ซึ่งในความเห็นส่วนตัวของผม การถ่ายทอดแบบที่ 3 จะให้ความรู้ด้านด้านสัจจธรรมเป็นความจำแก่ผู้รับการถ่ายทอด แต่จะไม่ให้ความรู้ที่จะเข้าถึงสัจจธรรมแก่ผู้รับการถ่ายทอด

ผู้รับการถ่ายทอดที่ไม่เคยรู้เรื่องสภาวะธรรมมาก่อน เมื่อได้ฟัง ก็มักจะตีความเข้าข้างความเห็นแห่งตนเอง ซึ่งการตีความนี้ ไม่มีทางที่จะตรงกับสภาวะธรรมตามความเป็นจริงได้เลยเพราะไม่เคยพบมาด้วยตนเอง
เมื่อได้ยินได้ฟังมาแล้ว ก็นำมาถกเถียงกันเองในหมู่ผู้ฟัง ว่าที่ถูกต้องเป็นอย่างนี้นะ แกนะผิด ฉันนะถูก เป็นวิวาทะอยู่เสมอ ๆ ในสังคมชาวพุทธ
ซึ่งล้วนแต่ไม่ก่อให้เกิดประโบชน์ใด ๆ แก่ผู้ถกเถียง นอกจากจะสร้างอัตตาตัวตนเองให้ใหญ่โตมากขึ้นกว่าเก่า

เมื่อแพ้ก็เจ็บแค้น หาทางแก้เจ็บแค้นอยู่ร่ำไป
เมือชนะก็ลำพองใจ หัวใจพองโตมีความสุขบนความเจ็บแค้นของอีกฝ่ายหนึ่ง โดยที่ไม่รู้ตัวเองเลยว่า ได้ก่อเวรขึ้นแล้ว

......
ถ้าท่านได้บทความธรรมใด ๆ ท่านแยกแยะออกหรือไม่ว่า เป็นลักษณะใดที่ผู้ถ่ายทอดกำลังถ่ายทอดมายังท่าน
ผมจะบอกท่านว่า ท่านอย่าเพียงชอบแบบใด ท่านสมควรมองว่า ท่านได้ประโยชน์อะไรกับการถ่ายทอดนั้น

อย่าเพียงฟังเศรษฐีพูดถึงความสุขจากสิ่งของที่เขามี ที่เขาหาได้
แต่จงฟังเศรษฐีบอกวิธีการหาเงินของเขา เรียนรู้จากเขา
แล้วท่านจะเป็นเศรษฐีด้วยตนเองแบบเขา




 

Create Date : 22 มิถุนายน 2552
4 comments
Last Update : 29 มกราคม 2555 19:42:00 น.
Counter : 892 Pageviews.

 

สังคมเราเต็มไปด้วยเหตุผล บางคนต้องการเห็นต้องการรู้ "ผล" แต่ไม่สนใจที่จะสร้าง "เหตุ"

เก้าก็ได้รับคำสั่งสอนมาหลายแบบ มีทั้งแบบที่สอนว่า ทำไปเถอะ ไม่ต้องสนใจว่าจะเกิดอะไร แต่ขอให้ได้สร้างเหตุ และคำสอนเหล่านี้มักจะมาจากครูบาอาจารย์ ส่วนตัวแล้วจะชอบแนวคำสอนแบบนี้มากกว่า ยิ่งเป็นคนชอบอ่านธรรมะของหลวงปู่ชา ท่านก็จะบอกเสมอว่า เราปลูกต้นมะม่วงอยู่ มีหน้าที่แค่พรวนดิน รดน้ำ ให้ปุ๋ย ไม่ได้ทำให้มันออกใบ ออกดอก ออกผล แต่มะม่วงมันโตของมันเอง ถึงเวลามันก็ให้ผลเอง

ส่วนคำสอนแบบที่บอกให้เห็นผลเสียก่อน มันก็มีส่วนดีอยู่บ้างตรงที่สร้างความมั่นใจให้กับนักปฏิบัติแบบ "คนรุ่นใหม่" ถ้าจะบอกคือคนหัวสมัยใหม่ ที่ต้องรู้ให้ได้ก่อนว่า ถ้าฉันทำแบบนี้แล้ว ฉันต้องได้แบบนี้ ผลก็คือ มันมีการคิดเอาเองก่อน คาดคะเนว่า นี่ต้องใช่นะ เดี๋ยวฉันทำไปถึงตรงนี้แล้ว ต้องได้แบบนี้ ...ก็เคยประสบกับตัวเองเหมือนกันค่ะ เพราะว่า เราเหมือนถูกโปรแกรมในความจำว่า ถ้าทำแบบนี้แล้ว ต้องเป็นแบบนี้ มันเลยกลายเป็นข้อเสียนะคะเก้าว่า.. เพราะเราจะคอยตั้งหน้าตั้งตารอผลลัพธ์ แล้วก็ expect ว่า เนี่ยต้องใช่แน่เลย

ส่วนที่บอกว่า ผลมันทำให้มาถกเถียงกัน อันนี้จริงนะคะ เห็นอยู่บ่อยไปในห้องศาสนาน่ะ 555

 

โดย: kaoim IP: 58.10.90.226 22 มิถุนายน 2552 7:53:04 น.  

 

เข้ามาอ่านค่ะ

 

โดย: 12ปันนา IP: 58.9.233.50 22 มิถุนายน 2552 18:17:44 น.  

 

มาแสดงความเห็นด้วยครับ

นานจิตตัง จริตของคนมีต่างกัน แม้เกิดมาอยู่ในครอบครัว
เดียวกัน เลี้ยงดูเหมือน
แต่มันต่างกันที่แต่ละคน สะสมความห็นมาไม่เหมือนกันในภพชาติที่ผ่านมา

ผมว่าอย่างนั้นน่ะ

เท่าที่อ่านผมยังไม่แน่ใจเหมือนกันว่าผมเองอยู่ลักษณะไหน

อิอิ

แต่ก็








ครับ

 

โดย: อัสติสะ 22 มิถุนายน 2552 20:42:53 น.  

 

ผมจำเป็นต้องปิดการเขียนของท่านผู้อ่าน เนื่องจากกฏหมายอินเตอร์เนท
ที่อาจมีสิ่งผิดกฏหมายใส่เข้ามาใน blog

ท่านที่จะสนทนา หรือ ถามคำถาม ขอให้ส่ง email ถึงผมได้ที่
asknamasikarn@gmail.com

หรือสำหรับสมาชิก pantip จะส่งมาทางหลังไมค์ก็ได้เช่นกัน

 

โดย: นมสิการ 29 มกราคม 2555 19:42:21 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.