สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ

ความรู้เรื่องการฝังเข็มและการเตรียมตัว

ความเป็นมา .. การฝังเข็ม


วิชาฝังเข็มมีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ อันยาวนานนับพันปี จากหลักฐานทางโบราณคดียุคหินใหม่ ที่ขุดค้นพบเข็มที่ฝนมาจากแท่งหิน ในลักษณะ รูปร่างต่าง ๆ เช่น เข็มกลม เข็มสามเหลี่ยม และเข็ม รูปร่างคล้ายมีดสั้นนั้น ทำให้เป็นที่ยอมรับว่า การฝังเข็มมีต้นกำเนิดมาจากสังคมบุรพากาลจีนมาเป็นเวลายาวนาน ไม่ต่ำกว่า 4 พันปีมาแล้ว สันนิษฐานว่ามนุษย์ เรารู้จักนำเอาเข็มมาใช้รักษาโรค คงจะอาศัยการสังเกตว่า ในยามเจ็บป่วยนั้นเมื่อกดนวด หรือใช้วัตถุแข็ง เช่น หิน, กระดูก, กิ่งไม้ กดแทงลงบนส่วนของร่างกายที่รู้สึกเจ็บปวด หรือไม่สบาย จะทำให้อาการเจ็บป่วยนั้นทุเลาลงได้ เมื่อรู้จัก "ตำแหน่ง" หรือ "จุด" ที่กดนวด กดแทงแล้ว ทำให้อาการเจ็บป่วยทุเลาลงได้ เช่นนี้ จึงได้มีการยอมรับและถ่ายทอดต่อกันมาเป็นวิธีการรักษาโรคอย่างหนึ่ง กระทั่งภายหลังจึงมีการสร้างประดิษฐ์เครื่องมือสำหรับใช้กดแทงจุดโดยเฉพาะ ซึ่งจากการขุดพบหลุมฝังศพหลิมเซิ่ง ที่มณฑลเหอเป่ย ประเทศจีน ค้นพบหลักฐานยืนยันว่า เมื่อ 2000 ปี ก่อนนั้นได้มีการประดิษฐ์เข็มที่ทำจากเงินและทองคำนำเอามาใชัฝังรักษาโรคแล้ว

การสรุปประสบการณ์ ความชัดเจนจากการใช้ฝังเข็มฝังรักษาอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ นั้น ได้รับการสรุปเป็นระบบทฤษฎีเป็นวิชาฝังเข็ม เฉพาะออกมาเป็นเวลานานถึง 2000 ปีก่อนแล้ว ในหนังสือหวงชู ที่พบในหลุมฝังศพ หม่าหวังตุย เมืองฉางชา มณฑลหูหนาน ประเทศจีน ซ่งมีอายุนานถึง 700 ปี ก่อน ค.ศ. บันทึกว่าคนเรามี "เส้นจิงแขนขา 11 เส้น" "เส้น ยินหยาง 11 เส้น" พร้อมทั้งอธิบายถึงอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ ร่วมถึงวิธีการรักษาด้วยการฝังเข็ม และการใชัสมุนไพรรมยาอย่างละเอียดลออแล้ว ต่อมาพบทฤษฎีเส้นลมปราณอันเป็นทฤษฎีรากฐานสำคัญของวิชาฝังเข็ม ได้รับการสรุปเป็นทฤษฎีอย่างสมบูรณ์ในหนังสือเน่ยจิง

ภายหลังจากการสถาปนาก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในเดือนตุลาคม ปี ค.ศ.1949 เป็นต้นมา วิชาฝังเข็มได้รับการฟื้นฟู และการสนับสุนให้มีากรค้นคว้าวิจัยในแง่มุมทงวิทยาศาสตร ์และการแพทย์สมัยใหม่อย่างกว้างขวางนับจากปี ค.ศ.1949 ถึงปี ค.ศ. 1977 มีบทความวิจัยเกี่ยวกับวิชาฝังเข็มตีพิมพ์ เผยแพร่มากถึง 8000 กว่าชิ้น มีการค้นคิดเทคนิค จุดใหม่ ๆ เพิ่มเติม ตลอดจนการประดิษฐ์ เครื่องมือทางไฟฟ้า เพื่อนำเอามาประยุกต์ใช้ในการฝังเข็ม ทั้งแง่ของเครื่องมือวิจัย และเครื่องมือรักษาโรค อีกเป็นจำนวนมาก

เดิมวิชาฝังเข็มยังไม่เป็นที่ยอมรับและแพร่หลายในประเทศสหรัฐอเมริกา ตราบกระทั่งภายหลังจากการเดินทางเยือนประเทศจีนของประธานาธิบดีนิกสัน ในปี ค.ศ. 1972 ผลสำเร็จของการฝังเข็มชาแทนยาสลบในการผ่าตัด สร้างความประหลาดใจเป็นอย่างยิ่งแก่ชาวอเมริกัน และก่อให้เกิดความตื่นตัว ในวงการแพทย์ของสหรัฐอเมริกา หลังจากนั้นเพียงไม่กี่เดือน ศูนย์ฝังเข็ม (Acupuncture Center) แห่งแรกในสหรัฐอเมริกา ก็ได้รับการก่อตั้งขึ้นที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. และในรัฐอื่น ๆ อีกหลายแห่งในเวลาต่อมา

ความสนใจในวิชาฝังเข็ม ในปัจจุบันนี้เป็นที่แพร่หลายไปเกือบทั่วโลก ขณะนั้นมีอย่างน้อย 116 ประเทศ ที่มีการสอนวิชาฝังเข็ม ปี ค.ศ. 1982 คณะกรรมการองค์การอนามัยโลกประจำภาคพื้นเอเชียแพซิฟิค ได้จัดการประชุมเกี่ยวกับวิชาฝังเข็ม และได้มีการก่อตั้งสมาพันธ์วิชาฝังเข็มแห่งโลกขึ้น ณ กรุงปักกิ่ง เมื่อ ปี ค.ศ. 1987 การค้นคว้าวิจัยทั้งในแง่วิทยาศาสตร์พื้นฐานและในทางคลินิกเกี่ยวการฝังเข็มได้ดำเนินไปอย่างกว้างขวาง



สถานกรณ์ฝังเข็มในประเทศอังกฤษ



วารสารวงการยา ปี พ.ศ. 2543 ประจำเดือน กรกฎาคม อ้างถึงวารสาร BMJ ว่ากระทรวงสาธารณสุขอังกฤษ สุรปเมื่อเร็ว ๆ นี้ว่า การรักษาด้วยการฝังเข็มนั้นควรได้รับการขยายการให้บริการให้กว้างขวางไปอีก ตามสถานบริการของกระทรวงและโดยเฉพาะในในแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป ควรได้รับการฝึกอบรมให้สามารถรักษาด้วยการฝังเข็มได้บ้าง และจากการวิจัยนานสองปี ของแพทยสภาอังกฤษพบว่า การรักษาด้วยการฝังเข็มเป็นที่ยอมรับแล้วว่าได้ผลดีในการรักษาอาการปวดหลัง ปวดฟัน คลื่นไส้ อาเจียน และปวดศีรษะ ไมเกรน

สถานการณ์ฝังเข็มในประเทศสหรัฐอเมริกา


มีรายงานว่าชาวอเมริกัน ฝังเข็มปีละประมาณ 1 ล้านคน และสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (NIH) ได้สรุปเกี่ยวกับเรื่องฝังเข็มในวารสาร JAMA ปี ค.ศ. 1998 กล่าวว่าการฝังเข็มเป็นการรักษาที่ใช้แพร่หลายในประเทศสหรัฐอเมริกา และสรุปว่าการฝังเข็มอาจจะมีประโยชน์ในบทบาทการรักษาร่วม หรือแพทย์ทางเลือกในโรคเหล่านี้ คือ ปวดศีรษะ , ปวดท้อง ประจำเดือน , อัมพาตจากหลอดเลือดสมอง, เสพติดยา, ปวดข้อ อักเสบ, ปวดกล้ามเนื้อ (myofascial pain) , โรคข้อเสื่อม, ปวดหลัง , โรคหอบ, โรคเส้นประสาทมีเดียถูกดทับบริเวณข้อมือ



การฝังเข็มรักษาโรคอะไรได้บ้าง ?


แนวคิดที่ถือเป็นแก่นกลางของการแพทย์แผนโบราณจีนนั้นได้แก่ แนวคิดเกี่ยวกับ "สมดุลแห่งชีวิต" นั่นคือว่า

การที่ชีวิตของคน ๆ หนึ่งจะดำรงอยู่ได้อย่างปกติสุขนั้น จะต้องดำรงอยู่ในสภาวะที่สมดุลระหว่างร่างกายของคนผู้นั้นกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และระหว่างระบบอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่งกายของผู้นั้นได้วย หากมีปัจจัยเหตุใดเหตุหนึ่งมาทำลายความสำดุลในการดำรงชีวิตของร่างกายนั้นกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อม มันจะนำไปสู่การเสียสมดุลของระบบอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย และก็จะทำให้ร่างกายเกิดการเจ็บป่วยขึ้นมาได้

ในขณะเดียวกัน การเสียสมดุลของระบบอวัยวะภายในร่างกายเองก็จะยิ่งทำให้ร่างกาย ไม่สามารถปรับตัวให้สมดุลกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และหากไม่ได้รับการแก้ไข ชีวิตก็จะถึงจุดดับสิ้นไปในที่สุด

ตามทฤษฎีการแพทย์จีนนั้น เชื่อว่า


"............ภายในร่างกายของคนเรา จะมีเลือดและลมปราณซึ่งได้รับมาจากพ่อแม่โดยกำเนิด ไหลหมุนเวียนไปตามเส้นลมปราณต่าง ๆ ที่กระจายอยู่ทั่วทั้งร่างกาย เป็นพลังงานผลักดันใหอวัยวะต่าง ๆ สามารถเคลื่อนไหวทำงานได้ และมีการทำงานที่ประสานสอดคล้องกันเป็นอย่างดี ร่างกายจึงสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปกติ

เมื่อมีเหตุใดเหตุหนึ่งทำให้การไหลเวียนของเลือดลมปราณติดขัด อวัยวะต่าง ๆ ก็จะทำงานผิดปกติไป หากความผิดปกตินั้นไม่สามารถปรับแก้ไขกลับคืนมาได้ ร่างกายก็จะเกิดการเสียสมดุลกับธรรมชาติ แล้วมีอาการของโรคภัยไข้เจ็บเกิดขึ้น ......."

บรรพบุรุษชาวจีนในยุคโบราณได้ค้นพบว่า การใช้เข็มปักลงไปยังจุดบางตำแหน่งในร่างกาย สามารถกระตุ้นลมปราณให้ไหลเวียนต่อไปได้ โดยไม่ติดขัด จึงทำให้อวัยวะที่ทำงานผิดปกติไปนั้นกลับคืนสู่สภาพปกติ สามารถขจัดปัจจัยที่ก่ออันตรายแก่ร่างกายออกไป จากนั้นความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นก็จะหายไปได้

ตามแนวคิดของการแพทย์แผนโบราณจีนนั้น การฝังเข็มมีฤทธิ์ในการรักษาโรค 3 ประการ คือ


1. แก้ไขการไหลเวียนของเลือดลมปราณที่ติดขัด
2. ปรับการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายให้อยู่ในสมดุล
3. กระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย เพื่อกำจัดเหตุปัจจัยที่เป็นอันตรายออกไปจากร่างกาย

ในช่วง 200 กว่าปีที่ผ่านมานั้น อันเป็นยุคที่อารยธรรมการแพทย์แผนตะวันตกได้แก้วหนาและแพร่หลายไปทั่วโลก แนวคิดการแพทย์แผนโบตราณดังกล่าวข้างต้นถือว่าเป็นเรื่องที่ "ไม่เป็นวิทยาศาสตร์และไร้เหตุผล" ทำให้วิชาการฝังเข็มได้รับความนิยมลดน้อยลงมาโดยตลอด

อย่างไรก็ตามในช่วงครึ่งศตวรรณที่ผ่านมานี้ วิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ได้เจริญก้าวหน้ามากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความก้าวหน้าในทางวิทยาศาสตร์ระบบประสาท (neuroscience) และการค้นคว้าเกี่ยวกับการฝังเข็มในเชิงวิทยาศาสตร์ก็ได้ค่อย ๆ พิจสูจน์ให้เห็นแล้วว่า แนวคิดที่ชาวจีนได้เสนอเอาไว้ตั้งแต่โบราณนั้น เป็นสิ่งที่ถูกต้องโดยพื้นฐาน

จากการศึกษาพบว่า เมื่อปักเข็มลงบนร่างกาย มันสามารถกระตุ้นทำให้หลอดเลือดบริเวณนั้นขยายตัว ทำให้การไหลเวียนของเลือดเป็นไปได้สะดวกขึ้น ภาวะเลือดคั่งของบริเวณนั้นึงลดลง ช่วยทำให้มีสารอาหารและออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงเนื้อเยื่อบริเวณนั้นเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน ก็ทำให้สารของเสียที่คั่งค้างบริเวณนั้นลดน้อยลง ทำให้เนื้อเยื่อบริเวณที่มีการบาดเจ็บ ได้รับการซ่อมแซมให้กลับคืนสู่สภาพปกติได้

ในกรณีที่มีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อลายตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เมื่อปักเข็มลงไปลึกจนถึงชั้นกล้ามเนื้อแล้วกระตุ้นด้วยวิธีที่เหมาะสมกล้ามเนื้อที่หดเกร็งก็จะมีการคลายตัวออกมาได้ ฤทธิ์ของการฝังเข็มในข้อนี้มีประโยชน์มาก ในการรักษาอาการเจ็บปวดจากกล้ามเนื้อที่หดเกร็งอยู่เสมอ ดังเช่น ในกรณีของการปวดแขนขา ปวดต้นคอ ปวดหลัง ปวดบั้นเอว เป็นต้น

วิธีการรักษาทางกายภาพบำบัด (Physiotherapy) หลาย ๆ อย่าง เช่น การนวด การประคบด้วยความร้อน การใช้คลื่นความถี่สูงอุลตราซาวนด์ ก็มีฤทธิ์ช่วยให้มีการไหลเวียนของเลือดดีขึ้น หรือมีการคลายตัวของกล้ามเนื้อเฉพาะบริเวณนั้นคลายกับการฝังเข็มเหมือนกัน

แต่ว่าการฝังเข็มมีข้อที่เดินกว่าตรงที่ มันสามารถคลายกล้ามเนื้อมัดที่อยู่ลักได้ดีกว่า และสามารถปักเข็มเลือกคลายกล้ามเนื้อเฉพาะบริเวณใดบริเวณหนึ่งตามที่ต้องการก็ได้

การฝังเข็มไม่เพียงแต่ จะช่วยทำให้หลอดเลือดบริเวณที่ปักเข็มขยายตัวเท่านั้น แต่หลอดเลือดฝอยทั่วร่างกายก็จะมีการขยายตัวอย่างเหมาะสมอีกด้วย ทำให้เนื้อเยื่อทั่วร่างกายได้รับสารอาหารและขจัดของเสียที่คั่งค้างได้ดีกว่า

เตรียมตัวก่อนไปฝังเข็ม?


กระบวนการรักษาโรคนั้น เป็ฯกระบวนการของสัมพันธภาพที่เกิดขึ้นระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย ซึ่งความสัมพันธ์นี้ไม่ควรเป็นลักษณะของ “การสั่งทำ” แพทย์และผู้ปวยควรสร้างความสัมพันธ์ในลักษณะของ “ความร่วมมือ” กันมากกว่า ผลการรักษาของโรคหนึ่ง ๆ จะดีหรือไม่อย่างไรนั้น จึงขึ้นอยู่กับว่า แพทย์และผู้ป่วยจะสามารถประสานร่วมมือกันได้ดีเพียงใดอีกด้วย

เวชกรรมฝังเข็มกล่าวสำหรับคนไทยเราแล้ว ยังนับเป็นเรื่องแปลกใหม่ ดังนั้นเมื่อจะไปรักษาย่อมมีความกังวลใจและความหวาดกลัวเกิดขึ้นไม่รู้ว่าควรจะเตรียมปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง? ทำให้การประสานร่วมมือในการรักษาไม่ราบรื่น ผลการรักษาจึงอาจไม่ดีเท่าที่ควร

ดังนั้น ก่อนไปฝังเข็ม ผู้ป่วยก็ควรต้องมีการเตรียมตัวด้วย



1. เตรียมใจไปรักษา


ผู้ป่วยรายหนึ่งเปนโรคกระดูกสันหลังเสื่อม มีอาการปวดหลังเรื้อรังมานานหลายปี ตะเวนไปรักษากินยาสารพัดแต่อาการไม่ทุเลา บังเอิญมีญาติคุยเรื่องฝังเข็มให้ฟังและพาผู้ป่วยมาพบแพทย์ เมื่อแพทย์ตรวจดุแล้ว จึงแนะนำให้รักษาด้วยการฝังเข็ม แต่ผู้ป่วยกลัวเจ็บมาก ขณะที่นอนบนเตียง เมื่อแพทย์จะลงมือปักเข็ม ผู้ป่วยก็ร้องเสียงดังลั่นด้วยความกลัว กล้ามเนื้อเกร็งไปหมดทั้งตัว จนกระทั่งแพทย์หมดปัญญาที่จะปักเข็มได้ สุดท้ายจึงต้องยกเลิกการรักษาไป

การฝังเข็มนั้นเป็ฯการรักษาที่มีลักษณะเป็น “หัตถการ” ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วยหวาดกลัวดิ้นไปมาโดยเฉพาะถ้าเป็นเด็ก แพทย์ก็จะปักเข็มได้ไม่ถนัดหรือผิดพลาด ผลการรักษาย่อมไม่ดีอย่างแน่นอน หรือกระทั่งอาจเกิดอันตรายขึ้นได้

ผู้ป่วยที่มารักษาฝังเข็ม จึงควรมาด้วยความมั่นใจต่อการรักษา มิใช่มาด้วยความกังวล หวดวิตก บางคนกลัวเข็มเสียจริง ๆ กระทั่งเข็มฉีดยาก็ยังกลัวหรือแค่เห็นก็หวาดเสียว บางคนหน้าซีดใจสั่นหรือกระทั่งเป็นลมไปเลยก็มี ผู้ป่วยเหล่านี้ไม่ควรจะรักษาด้วยการฝังเข็ม เพราะผลการรักษามักจะไม่ค่อยดีเสมอ

แพทย์เวชกรรมฝังเข็มที่ดีจึงควรอธิบายให้ผู้ป่วยและญาติเข้าใจถึงเป้าหมาย วิธีการ ข้อดีข้อเสียของการรักษาให้ชัดเจนพอสมควร จะช่วยลดความกังวลของผู้ป่วยและญาติได้มากทีเดียว

2. สวมใส่เสื้อผ้าให้เหมาะสม


ในการฝังเข็ม ตำแหน่งจุดปักเข็มบางครั้งจะอยู่บริเวณใต้ร่มผ้า ผู้ป่วยจึงควรสวมใส่เนื้อผ้าที่เป็นชุดแยกส่วนระหว่างเสื้อกับกระโปรงหรือกางเกง เสื้อผ้าที่สวมใส่ไม่ควรรัดแน่นเกินไปเพื่อสะดวกในการถลกพับ แขนเสื้อและปลายขากางเกงควรให้หบวมหรือกว้างพอที่จะพักสุงขึ้นมาหรือข้อศอกหรือข้อเข่าได้ ในกรณีที่ต้องปักเข็มบริเวณไหล่หรือต้นคอก็ควรเลือกสวมเสื้อที่มีคอกว้าง

ผู้ป่วยที่เป็นโรคอัมพาต ควรสวมเสื้อแขนกุดและกางเกงขาสั้นจะทำให้แพทย์ปักเข็มได้สะดวกง่ายดายขึ้น


โดยทั่วไปแล้วควรจัดให้ผู้ป่วยฝังเข็มในท่านอนเสมอ เพราะผู้ป่วยสามารถผ่อนคลายในขณะฝังเข็มได้ดีกว่า และยังช่วยป้องกันภาวะ “เวียนศีรษะหน้ามืด” ที่อาจเกิดได้ง่ายในรายที่วิตกหวาดกลัวมาก

3. รับประทานอาการให้พอเหมาะ


โดยทั่วไปแล้ว ผู้ป่วยที่มาฝังเข็มควรรับประทานอาการมาก่อนประมาณ 1-2 ชั่วโมง และไม่ควรรับประทานอาหารมากจนเกินไป หากเพิ่งรับประทานอาหารอิ่มมาใหม่ ๆ หรือรับประทานมากเกินไป อาหารยังคงค้างอยู่ในกระเพาะอาหารมาก เมื่อมาฝังเข็มซึ่งต้องนอนเป็นเวลานาน ๆ ถึง 20 นาที อาจทำให้รู้สึกอึดอัด โดยเฉพาะในท่านอนคว่ำผู้ป่วยอาจทนไม่ได้ นอกจากนี้ หากต้องปักเข็มบริเวณหน้าท้อง ถ้ากระเพาะอาหารบรรจุอาหารจนพองโตมาก ๆ อาจทำให้เกิดอันตายจากการปักเข็มทะลุเข้าไปในช่องท้องหรือกระเพาะอาหารได้ง่าย

ตรงกันข้าม ไม่ควรมารักษาในขณะที่กำลังหิวจัด เนื่องจากผู้ป่วยอาจเกิดอาการ “หน้ามืดเป็นลม” ได้ง่ายเมื่อกระตุ้เข็มแรง ๆ ทั้งนี้เพราะว่าร่างกายอาจขาดพลังงานที่จะเอามาใช้เผาพลาญ ในขณะที่ระบบประสาทและฮอร์โมนกำลังถูกกระตุ้นจากการฝังเข็ม

4. ทำความสะอาดร่างกายให้เรียบร้อย


การฝังเป็นมเป็นหัตถการที่ต้องใช้วัตถุแหลมคมปักผ่านผิวหนังลงไปในร่างกาย ผู้ป่วยจึงควรมีสภาพร่างกายที่สะอาด เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อโรคให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ก่อนมาฝังเข็ม หากผู้ป่วยสามารถอาบน้ำสระผมมาก่อนได้นั่นก็จะดีที่สุด หรืออย่างน้อยก็อย่าให้ส่วนของร่างกายบริเวณที่ต้องปักเข็มนั้นสกปรกจนเกินไปก็ถือว่าใช้ได้เหมือนกัน ผู้ป่วยบางคนมาฝังเข็ม ทั้ง ๆ ที่เท้ายังมีโคลนติดอยู่เลย เช่นนี้ก็ควรล้างเท้าให้สะอาดเสียก่อน เพราะอาจทำให้เชื้อโรคเข้าไปในร่งกายได้ง่าย

ผู้ป่วยที่ต้องรักษาด้วยการปักเข็มศีรษะ ควรตัดผมให้สั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้ นอกจากนี้ ไม่ควรใช้เยลหรือครีมทาผมที่เหนียวเหนอะหนะหรือถ้าหากไม่ใช้เลยจะดีที่สุด เพื่อสะดวกแก่แพทย์ในการปักเข็มเช่นกัน

ผู้ป่วยสตรีที่กำลังมีประจำเดือนมานั้น สามารถปักเข็มรักษาได้ โดยไม่มีอันตรายอะไรเลย การที่ไม่นิยมฝังเข็มในช่วงนี้คงเป็นเรื่องของความไม่สะดวกหรือความกระดากอายมากกว่า

5. สงบกายและใจในขณะรักษา


เมื่อแพทย์ปักเข็มลงบนผิวหนัง ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บเล็กน้อยคล้ายกับถูกมดกัด เมื่อแพทย์ปักถึงตำแหน่งจุด ผู้ป่วยจะรู้สึกตื้อ ๆ หรือหนัก ๆ หรือชา เล็กน้อย เมื่อแพทย์เริ่มทำการกระตุ้นหมุนปั่นเข็ม ก็จะรู้ตื้อ ๆ หรือหนัก ๆ หรือชาเล็กน้อย เมื่อแพทย์เริ่มทำการกระตุ้นหมุนปั่นเข็ม ก็จะรู้สึกตื้อหรือหนักชามากขึ้น ในบางครั้ง ความรู้สึกดังกล่าวอาจจะแผ่เคลื่อนที่ออกไปตามแนวเส้นลมปราณก็ได้ หากเกิดความรู้สึกเช่นนี้ มักจะมีผลการรักษาดีเสมอ

ในกรณีที่ใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า ผู้ป่วยจะรู้สึกว่า กล้ามเนื้อบริเวณที่ปักเข็ม มีการเต้นกระตุกเบา ๆ เป็นจังหวะตามกระแสไฟฟ้าที่กระตุ้น

โดยทั่วไปแล้ว ในระหว่างการฝังเข็มผู้ป่วยไม่ควรมีอาการเจ็บปวดหรือชามากจนเกินไป หากรู้สึกเจ็บปวดมากหรือมีอาการชามาก ๆ หรือรู้สึกเหมือนถูก “ฟฟ้าซ๊อต” ควรรีบบอกแพทย์ทันที เพราะเข็มอาจจะไปแทงถูกเส้นเลือดหรือเส้นประสาท หรือตำแหน่งของเข็มไม่ถูกต้อง หรือตั้งความแรงของกระแสไฟฟ้าจากเครื่องกระตุ้นไม่เหมาะสมก็ได้

“ในระหว่างรักษา หากมีอาการผิดปกติหรือไม่สบายใด ๆ เกิดขึ้น เช่น แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก หรือมืด รู้สึกวิงเวียนศีรษะเหมือนจะเป็นลม ให้รีบบอกแพทย์ผู้รักษาหรือผู้ช่วยแพทย์ทันที”

ขณะที่มีเข็มปักคาร่างกายนั้น ควรนั่งหรือนอนนิ่ง ๆ ไม่ควรขยับเคลื่อนไหวส่วนของร่างกายที่มีเข็มปักคาอยู่ เพราะอาจทำให้เข็มงอหรือหักคาเนื้อได้ ยกเว้นการขยับตัวเล็ก ๆ น้อย ๆ ยังสามารถทำได้ แต่ร่ากายส่วนอื่น ๆ ที่ไม่มีเข็มปักอยู่นั้น สามารถขยับเคลื่อนไหวได้ตามสบาย

การฝังเข็มนั้นเป็ฯการกระตุ้นระบบประสาทเพื่อรปับการทำงานของอวัยวะระบบต่าง ๆ ให้สู่สภาพสมดุล ถ้าหากมีสิ่งใดมารบกวนระบบประสาทมากไปในขณะที่กำลังกระตุ้น กลไกการปรับสมดุลของการฝังเข็มก็ย่อมจะถูกกระทบกระเทือนไปด้วย

ระหว่างที่ปักเข็มรักษา ผู้ป่วยควรอยู่ในสภาพที่สงบผ่อนคลายอาจหลับตาและหายใจเข้าออกช้า ๆ ให้เป็นจังหวะสม่ำเสมอ เพื่อช่วยทำให้จิตใจสงบสบาย ในสมัยโบราณที่ชาวจีนรักษาด้วยการฝังเข็มนั้น จึงมักมีการฝึกเดินลมปราณหายใจร่วมไปด้วย ก็มีเหตุผลเช่นนี้นั่นเอง

ถ้าอยู่ในสภาพภายในห้องฝังเข็มมีบรรยากาศที่วุ่นวาย อึกทึกครึกโครม ผู้ป่วยนอนอยู่ในสภาวะที่ตืนตระหนก วิตกกังวล เจ็บปวดหรือหวาดกลัว ผลการรักษาก็มักจะออกมาไม่ค่อยดี

ในระหว่างที่ปักเข็มกระตุ้นอยู่นั้น ผู้ป่วยบางคนอาจรู้สึกง่วงนอน เนื่องจาก การฝังเข็มสามารถกระตุ้นให้ร่างกายมีการหลั่ง สารเอนดอร์ฟีน (endorphins) เกิดขึ้น สารนี้มีฤทธิ์คล้ายมอร์ฟีนช่วยลดความเจ็บปวดและช่วยกล่อมประสาทให้รู้สึกเคลิบเคลิ้ม เมื่อรักษาไปหลาย ๆ ครั้ง ผู้ป่วยบางคนจะพบว่าตนเองนอนหลับได้ง่ายขึ้นหรือหลับสนิทขึ้น และจิตใจก็จะสดชื่นแจ่มใสมากขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย

จากการสำรวจพบว่า มีชาวอเมริกันจำนวนไม่น้อยทีเดียที่ไปฝังเข็มด้วยเหตุผลเพื่อกระตุ้นร่างกายและจิตใจให้สดชื่น ทั้งท ๆ ที่พวกเข้าไม่ได้เจ็บป่วยด้วยโรคอะไรเลยก็มี ซึ่งอาจจะเป็นเพราะฤทธิ์ดังกล่าวนี่เอง

6. การปฏิบัติตัวหลังการรักษา


หลังจากปักเข็มกระตุ้นครบเวลาตามกำหนด ซึ่งใช้เวลาประมาณ 20-30 นาทีแล้ว แพทย์ก็จะถอนเข็มออก บางครั้งอาจมีเลือดออกเล็กน้อย ตรงจุดที่ปักเข็มเหมือนกับเวลาไปฉีดยา เนื่องจากเข็มอาจปักไปถูกเส้นเลือดฝอยเล็ก ๆ เมื่อใช้สำลีกดเอาไว้สักครู่ เลือกก็จะหยุดได้เอง

หลังเสร็จสิ้นจากการรักษา โดยทั่วไปแล้วไม่มีข้อห้ามเป็นพิเศษอะไรเลย ผู้ป่วยสามารถรับประทานอาการ อาบน้ำ ทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ได้ตามปกติ ยกเว้นในกรณ๊ที่ติดเข็มคาใบหู เวลาอาบน้ำต้องระมัดระวังมิให้ใบหูเปียกน้ำ

โดยทั่วไปแล้วหลังจากฝังเข็ม ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องกลับไปนอนพักที่บ้านแต่อย่างไร สามารถขับรถหรือกลับไปทำงานได้ เว้นแต่บางคนอาจมีอาการอ่อนเพลียได้บ้างหลังจากฝังเข็ม เมื่อนอนพักแล้วก็จะหายไปได้

7. การรักษาอื่น ๆ ร่วมกับการฝังเข็ม


ผู้ป่วยที่มารักษาฝังเข็ม อาจมีโรคประจำตัวอย่างอื่นอยู่แล้ว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไขมันในเลือดสูง โรคถุงลมโป่งพอง ฯลฯ ซึ่งมักจะต้องมียารับประทานรักษาอยู่เป็นประจำ หรือมีอาการรักษาอื่น ๆ เช่น กายภาพบำบัด ร่วมอยู่ด้วย

โดยทั่วไปแล้วการรักษาด้วยการฝังเข็ม มักสามารถจะรับประทานยาหรือใช้การรักษาอื่น ๆ ร่วมไปด้วยได้ โดยไม่มีข้อห้ามอะไร

อย่างไรก็ตามมีข้อสังเกตว่า การฝังเข็มอาจช่วยบรรเทาอาการโรคได้ด้วย เช่น ผู้ป่วยโรความดันโลหิตสูงที่มาฝังเข็มรักษาโรคอัมพาตของตนเอง อาจมีความดันโลหิตลดลงมาได้ในระหว่างรักษา ในกรณีเช่นนี้ก็ต้องปรับลดขนายาลงมาด้วย แต่ผู้ป่วยไม่ควรยหุดยาเหล่านั้นเองโดยพลการ

8. ข้อห้ามและข้อควรระวังสำหรับการฝังเข็ม


1. ผู้ป่วยที่ตื่นเต้นหวาดกลัวต่อการรักษามากเกินไป ทั้ง ๆ ที่ได้พยายามอย่างเต็มที่แล้วก็ยังควบคุมจิตใจตนเองไม่ได้

2. ผู้ป่วยที่เหน็ดเหนื่อยหลังออกกำลังกายหนัก

3. สตรีตั้งครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงใกล้คลอด เพราะว่าผู้ป่วยเหล่านี้มักจะไม่สามารถทนนอนหรือนั่งเป็นเวลานาน ๆ ได้ การนอนหงายจะทำให้มดลูกและทารกในครรภ์กดทับหลอดเลือดดำใหญ่ในช่องท้อง อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการช๊อกเป็นลมได้ ส่วนท่านอนคว่ำก็ไม่เหมาะสมกับสตรีขณะตั้งครรภ์ เพราะจะกดทับทารกในครรภ์และก่อให้เกิดความอึดอัดไม่สบายแก่มารดา

4. ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด เมื่อเลือดออกแล้วหยุดยาก เช่น โรคฮีโมฟีเลีย เป็นต้น ถ้าจำเป็นต้องรักษาควรระมัดระวังเป็นพิเศษ การปักเข็มหรือการกระตุ้นเข็ม แพทย์จะต้องทำอย่างนุ่นนวลระวังมิให้เข็มปักโดนเส้นเลือดใหญ่ หลังจากถอนเข็ม ต้องกดห้ามเลือดให้นานกว่าผู้ป่วยทั่ว ๆ ไป

5. ทารกเด็กเล็ก ผู้ป่วยโรคจิตที่ไม่สามารถให้ความร่วมมือในการรักษาได้

6. ผู้ป่วยโรคหัวใจที่มีเครื่องกระตุ้นการเต้นหัวใจ (pacemaker) ติดอยู่ในร่างกาย ห้ามรักษาโดยเครื่องกระตุ้นเข็มด้วยไฟฟ้า เพราะอาจรบกวนการทำงานของเครื่อง ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะจนเกิดอันตรายร้ายแรงได้ อย่างไรก็ตาม ในกรณีเช่นนี้ ยังคงสามารถปักเข็มกระตุ้นโดยวิธีการหมุนปั่นด้วยมือได้

“ข้อห้าม” ดังกล่าวเหล่านี้ มิใช่เป็นข้อห้ามอย่างสมบูรณ์เด็ดขาด ตัวอย่างเช่น การปักเข็มในผู้ป่วยโรคจิตก็อาจทำได้เหมือนกัน หรือกรณีเด็กเล็กที่ให้ความร่วมมือในการรักษาก็สามารถรักษาได้เช่นกัน ขอเพียงแต่เข้าใจถึงเหตุผลที่จะทำให้เกิดอันตราย เมื่อตั้งอยู่บนพื้นฐานของความระมัดระวัง เราก็อาจพลิกแพลงปักเข็มให้แก่ผู้ป่วยเหล่านี้ก็ได้





ขอบคุณข้อมูลจาก
//www.thaiacupuncture.net/public




 

Create Date : 20 มกราคม 2554
22 comments
Last Update : 20 มกราคม 2554 9:34:13 น.
Counter : 3952 Pageviews.

 

มารับความรู้ใส่สมองค่า อิ อิ

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

 

โดย: ลงสะพาน...เลี้ยวขวา 20 มกราคม 2554 9:32:16 น.  

 

 

โดย: กะว่าก๋า 20 มกราคม 2554 10:07:59 น.  

 

สวัสดีสายๆครับคุณหมอ

 

โดย: panwat 20 มกราคม 2554 10:25:51 น.  

 

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...


สุข สดชื่น แจ่มใส ในวันพฤหัสบดีจ้าคุณกบ

 

โดย: หอมกร 20 มกราคม 2554 15:10:53 น.  

 

ขอบคุณที่นำเรื่องดีๆมาให้ความรู้

 

โดย: อนันต์ครับ 20 มกราคม 2554 21:35:00 น.  

 

คนที่จะฝังเข็มได้นี่คงต้องชำนาญมากๆ เลยนะคะคุณกบ อยากรู้จังว่าเคยฝังพลาดบ้างเปล่า ฮี่ๆ

สบายดีน๊า คิดถึงจังเลย

 

โดย: น้ำฝน ❤ (CeciLia_MaLee ) 21 มกราคม 2554 3:09:38 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับคุณกบ





 

โดย: กะว่าก๋า 21 มกราคม 2554 5:51:19 น.  

 

สวัสดีค่ะ คุณกบ..

ปอป้าไม่สบายสองสามวัน เลยไม่ได้เข้าบล๊อก
แต่เดิมมีโรค SLE ประจำกายอยู่แล้ว
มาระยะหลังปวดศีรษะไมเกรนมาก ๆ
สองวันที่ผ่านมา ทำอะไรไม่ได้เลยค่ะ เอาแต่นอนอย่างเดียว

วันนี้ ถือว่าเป็นโชคดีสองเด้งของปอป้า
เพราะหนึ่ง น้องจะมารับไปฝังเข็มรักษาไมเกรน
สอง ได้มาอ่านบทความที่นี่ ทำให้เตรียมตัวเตรียมใจได้ถูก

ปอป้า ต้องขอบคุณ คุณกบมาก ๆ นะคะ
ที่กรุณาหาข้อมูลมาให้ทุกครั้งที่ปอป้าถาม

ขอบคุณเป็นอย่างมากค่ะ
ปอป้าโหวตให้เรียบร้อยแล้ว..นะคะ

ขอให้คุณกบมีความสุข มีสุขภาพแข็งแรง ตลอดไป..นะคะ


 

โดย: พรหมญาณี 21 มกราคม 2554 9:47:56 น.  

 

อ้อมแอ้มขอฝากบล็อค
ให้เพื่อนๆดูแลหน่อยนะค่ะ
วันเสาร์นี้อ้อมแอ้มจะขึ้นเชียงใหม่ค่ะ
ไปเป็นตากล้องถ่ายภาพรับปริญญาเอก
ให้กับน้องๆที่มช.ค่ะรับ 24 ม.ค.นี้
และจะเอาหนังสือธรรมะไปบริจาค
ตามโครงการณ์ของคุณกะว่าก๋า
ก่อนไป..อ้อมแอ้มเลี้ยงOishi Dilivery
แก่แม่เจ้าโว๊ยและน้องๆค่ะ
แม่ชอบทานอาหารญี่ปุ่น/ปลาแซลมอนมาก

 

โดย: คนผ่านทางมาเจอ 21 มกราคม 2554 11:26:54 น.  

 

เพื่อนก็เคยฝังค่ะ แต่เราไม่กล้าเลยไอ้ของมีคมเนี่ย

 

โดย: tuk-tuk@korat 21 มกราคม 2554 15:14:35 น.  

 


เกศสุริยง
สร้างกริตเตอร์
| .postjung.com">ฟังเพลง
สวัสดียามค่ำค่ะคุณกบ

 

โดย: เกศสุริยง 21 มกราคม 2554 22:05:54 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับคุณกบ





 

โดย: กะว่าก๋า 22 มกราคม 2554 6:14:14 น.  

 

มาชวนไปฟังเพลงเก่า ๆ เพราะ ๆ แต่ลึกซึ้งครับ

เพลงที่ชื่อ "อุษาสวาท"

ดูซิว่า จะมีความหมายลุ่มลึกลึกซึ้งสักแค่ไหน....




ครูสุรัฐ พุกกะเวศ ผู้ประพันธ์คำร้องเพลง "อุษาสวาท"

 

โดย: ลุงแว่น 22 มกราคม 2554 15:15:11 น.  

 

ขอบคุณที่เอาขนมไปฝาก
แต่ถ้าเป็นขนมหวาน ขอไม่รับเพราะ
เดี๋ยวน้ำตาลขึ้น

 

โดย: ยายเก๋า (ชมพร ) 22 มกราคม 2554 20:51:30 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับคุณกบ







 

โดย: กะว่าก๋า 23 มกราคม 2554 5:50:31 น.  

 

 

โดย: นู๋หญิงจ๋า 23 มกราคม 2554 10:07:54 น.  

 

สวัสดีครับน้องกบ

มารายงานตัวสั้นๆ ว่าถึงบ้านแล้วครับ

 

โดย: ปลายแป้นพิมพ์ 23 มกราคม 2554 10:42:07 น.  

 

br/>เชิญไปชม ฟ้อนที่เป็นสัญลักษณ์ ของงานครบรอบเมือง เชียงใหม่๗๐๐ปี เกศสุริยง
สร้างกริตเตอร์

แวะมาเยี่ยมเยียนค่ะ ระลึกถึงเสมอนะคะคุณกบ

 

โดย: เกศสุริยง 23 มกราคม 2554 11:23:26 น.  

 

..สวัสดีค่ะพี่กบ..แวะเข้ามา good night ..ค่ะ.. สบายดีนะคะ.. ช่วงนี้อ๋อยุ่งจัง.. แล้วจาแวะมาเยี่ยมใหม่นะคะ..

 

โดย: อ๋อซ่าส์ 23 มกราคม 2554 22:28:48 น.  

 

เคยฝังเข็มอยู่ครั้งหนึ่ง ทีแรกคิดว่ามันจะเจ็บ แต่พอทำแล้วไม่เจ็บเลยนะค่ะ

ตอนนั้นปวดหลังมาก ๆ มีคนแนะนำให้ไปฝังเข็มที่วัดอะไรน้อออแถวเยาวราชนะค่ะ

หายเป็นปริดทิ้งเลย

 

โดย: ความเจ็บปวด 24 มกราคม 2554 0:07:20 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับคุณกบ






 

โดย: กะว่าก๋า 24 มกราคม 2554 6:52:02 น.  

 

ผมทำงานทุกวัน
ไมไ่ด้ออกจากบ้านเลยมา 5 วันแล้วครับคุณกบ 555

ขอบคุณคุณกบด้วยนะครับ
หนังสือเดินทางมาถึงเรียบร้อยแล้วครับ


 

โดย: กะว่าก๋า 24 มกราคม 2554 12:08:19 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
 
มกราคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
20 มกราคม 2554
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.