สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ
ผู้ใหญ่สมาธิสั้น

lozocatlozocat



คุณเป็นแบบนี้หรือเปล่า?

- ขับรถหลงทาง โดยเฉพาะลงทางด่วนผิดบ่อย
- เมื่อมีการประชุม คุณมักจะนำออกนอกประเด็น จำข้อมูลผิด มองข้ามเนื้อหาหลักที่ประชุมกันอยู่
- ขณะทำกิจกรรมกับคนหมู่มากที่ต้องนั่งนานๆ เช่น การเรียนหนังสือ การดูคอนเสิร์ต คุณมักต้องเปลี่ยนที่นั่งอยู่บ่อยครั้งเพราะรู้สึกไม่สบาย
- เขินอายบ่อยๆ เมื่อสนทนากับผู้อื่นเพราะไม่ได้ใส่ใจคำพูดของอีกฝ่ายหนึ่ง
- ลืมของใช้ส่วนตัวไว้ตามสถานที่ต่างๆ เป็นต้น

หากสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นเกิดขึ้นกับคุณบ่อยครั้ง นอกจากจะส่งผลกระทบโดยตรงกับคุณ ยังทำให้ความสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัวหรือเพื่อนร่วมงานแย่ลงไปด้วย นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันของคุณโดยตรง ทำให้การทำงานไม่สำเร็จตามวัตถุประสงค์ ซึ่งส่งผลกระทบให้

- บางคนถูกมองว่าเป็นคนขาดความรับผิดชอบและผัดวันประกันพรุ่ง
- หัวหน้ามักต่อว่าเกี่ยวกับการทำงานว่าไม่มีประสิทธิภาพ
- เป็นผู้บริหารร้อยโครงการ คิดเร็ว เปลี่ยนแปลงเร็ว มีอารมณ์หงุดหงิดง่าย
- เป็นคนใจร้อน ไม่สามารถรอคอย เช่น การยืนต่อแถวยาวๆ ได้
- อ่านหนังสือมักผิดพลาด มักสะกดคำหรือคิดเลขผิดบ่อยๆ
- บางคนอาจมีอาการทำอะไรเชื่องช้าไปทุกอย่าง

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นแค่ส่วนหนึ่งของโรคสมาธิสั้น อาการของโรคสมาธิสั้นจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ ส่วนการรักษาโรคสมาธิสั้นให้ได้ผลดีนั้นต้องเริ่มตั้งแต่วัยเด็กเล็กโดยเฉพาะเด็กก่อนวัยเรียนถึงวัยรุ่นตอนปลาย ทำได้โดยการสังเกตพฤติกรรม โดยที่พ่อแม่หรือครูจะเป็นคนที่สามารถสังเกตเห็นว่าเด็กซนอยู่ไม่นิ่งและมีผลการเรียนที่แย่ลง

อย่างไรก็ดีผู้ใหญ่ที่เป็นโรคสมาธิสั้นหากได้รับการวินิจฉัยที่เร็วและได้รับการรักษาก็จะทำให้ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ไม่ยากลำบาก

ผู้ใหญ่ป่วยเป็นโรคสมาธิสั้นมากน้อยแค่ไหน?

มีผู้กล่าวไว้ว่า ผู้ใหญ่ที่มีอาการสมาธิสั้นเริ่มต้นมาจากเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นมาก่อน โดยมีความชุกอยู่ที่1-2 % ซึ่งพบว่าครึ่งหนึ่งของเด็กสมาธิสั้นมักมีอาการอยู่ไม่นิ่ง จนกระทั่งโตเป็นผู้ใหญ่แล้วอาการก็ยังคงปรากฏอยู่ถึง 30-80 %

รู้ได้อย่างไรว่าป่วยเป็นโรคสมาธิสั้น

แพทย์จะทำการวินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็นโรคสมาธิสั้นหรือไม่จากหลักเกณฑ์ดังนี้

1. DSM-IV และ ICD-10 ที่ใช้วินิจฉัยสมาธิสั้นในเด็กนั้น ต้องใช้การสังเกตอาการแสดงออก พฤติกรรมและการซักประวัติโดยแพทย์ ซึ่งประวัติจะได้จากพ่อแม่และครู ตั้งแต่เด็กก่อนวัยเรียน อย่างไรก็ดีอาการที่เห็นได้ชัดเจนและทำให้คิดถึงโรคสมาธิสั้นมากขึ้น เช่น ความไม่เอาใจใส่ อาการหุนหันพลันแล่น ความไม่รอบคอบ และการขาดสมาธิ เป็นต้น

2. เกณฑ์มาตรฐานยูท่า Paul Wender และทีมงาน ได้พัฒนาเกณฑ์การวินิจฉัยโรคสมาธิสั้นเพื่อเป็นประโยชน์ในการวางแผนการรักษาสมาธิสั้นในผู้ใหญ่ โดยเกณฑ์นี้ได้มาจากการซักประวัติอาการแสดงของโรคสมาธิสั้นในเด็กและในผู้ใหญ่ ซึ่งโดยสรุปแล้วจะต้องพบลักษณะอาการแสดง 2 อาการดังต่อไปนี้

* ความไวของกล้ามเนื้อต่อสิ่งกระตุ้นและความวิตกกังวลภายในใจ (hyperactivity)

- ไม่สามารถผ่อนคลายและทำกิจกรรมที่อยู่กับที่ได้นานๆ เช่น การนั่งอ่านหนังสือหรือการดูโทรทัศน์
- มีอาการวิตกกังวลและความรู้สึกกังวลที่มีอยู่ในใจซึ่งไม่สามารถแสดงออกมาอย่างชัดเจนได้

* การขาดความเอาใจใส่ (inattention) เช่น การไม่สนใจผู้ร่วมสนทนา การอ่านหนังสือแต่จับใจความไม่ได้ เป็นต้น และสิ่งที่เห็นได้ชัดในชีวิตประจำวันคือ มักขี้ลืม วางของผิดที่เสมอๆ
นอกจากนี้ยังพบอาการได้อย่างน้อยสองข้อ อันได้แก่

- ความบกพร่องทางอารมณ์ มีอารมณ์แปรปรวนต่อกันหลายชั่วโมงในหลายวัน มีความรู้สึกเบื่อหน่ายและไม่พอใจอย่างไม่มีเหตุผล
- การทำงานไม่ประสบความสำเร็จ เช่น ขาดระเบียบวินัย ไม่สามารถแก้ไขปัญหาหรือจัดการเรื่องเวลาได้ และไม่สามารถจดจ่อกับหน้าที่นานๆ ได้
- มีปัญหาทางด้านอารมณ์ มักจะโมโหง่ายและระเบิดออกมา
- อารมณ์หุนหันพลันแล่น มักตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ อย่างรวดเร็วและเปลี่ยนแปลงทันที มีพฤติกรรมต่อต้านความคิดและขาดความคิดไตร่ตรองอย่างรอบคอบ
- มีความอดทนอดกลั้นต่ำและไม่สามารถทนต่อความเครียดหรือแรงกดดันได้ รู้สึกวิตกกังวล สับสน หรือรู้สึกโกรธที่ไม่สามารถจัดการกับปัญหาและต้องเผชิญกับสิ่งที่เข้ามากระตุ้นในแต่ละวัน

ความผิดปกติอื่นๆ ที่อาจเกิดร่วมกันได้กับผู้ใหญ่ที่เป็นโรคสมาธิสั้น

Shokin และทีมงานได้สำรวจผู้ใหญ่อายุ 19-65 ปี จำนวน 56 คน พบว่าผู้ใหญ่สมาธิสั้นมีความวิตกกังวลมากที่สุดถึง 53 % และหันไปติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และติดยาเสพติดถึง 34 % และ 30 % ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีอารมณ์เก็บกดและรู้สึกหดหู่เท่าๆ กับอารมณ์ตื่นเต้นสลับกับอารมณ์ซึมเศร้าถึง 25 % แต่จากผลการสำรวจก็พบว่ามี 14 % เป็นโรคสมาธิสั้นอย่างเดียวโดยไม่มีโรคร่วมอื่นๆ แต่อย่างไรก็ดีการวินิจฉัยโรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่ต้องประเมินด้วยความระมัดระวังและต้องประเมินโดยจิตแพทย์เท่านั้น

ในการประเมินโรคแพทย์จะใช้การซักประวัติจากผู้ป่วยและญาติ โดยใช้คำถามเจาะลึก ตัวอย่างคำถามเช่น
“เมื่อเป็นเด็ก อาการเริ่มเมื่อใด” โรคสมาธิสั้นในเด็กมักแสดงอาการเมื่ออายุน้อยกว่า 7 ปี
“มีระดับความรุนแรงของโรคมากน้อยแค่ไหน”
“บ่อยแค่ไหนที่ไม่สามารถรับมือกับโรคหรือควบคุมพฤติกรรมได้” เกิดขึ้นอย่างน้อยสองสถานการณ์ในสถานที่อันได้แก่ บ้าน โรงเรียน สนามเด็กเล่น หรือที่ทำงาน
“ประวัติครอบครัวว่ามีใครที่เป็นโรคสมาธิสั้นหรือไม่”
“การตรวจระดับสติปัญญา (IQ)” ซึ่งจะพบว่ามีระดับสติปัญญาปกติ
การสังเกตและการบันทึกพฤติกรรมอย่างต่อเนื่องจะช่วยให้การประเมินความรุนแรงของโรคและการวางแผนการรักษาทำได้ดีมากยิ่งขึ้น

ผลกระทบของสมาธิสั้นต่อชีวิตของผู้ป่วย

- ในวัยเด็กถึงวัยรุ่นตอนปลาย จะมีปัญหาการขาดความเอาใจใส่ต่อการเรียน
- ส่วนในวัยผู้ใหญ่ก็จะมีผลต่อการทำงาน การดำรงชีวิตประจำวัน และความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นๆ

ผู้ใหญ่ที่เป็นโรคสมาธิสั้นจะถูกเบี่ยงเบนความสนใจได้ง่าย ชอบออกนอกเรื่องและมองข้ามในรายละเอียด การพูดโพล่งเมื่อฟังคำถามยังไม่จบ ไม่รู้จักการรอคอย และการทำอะไรรุนแรงก้าวร้าวต่อตนเองหรือบุคคลอื่น สิ่งเหล่านี้ย่อมส่งผลให้ผู้ที่เป็นโรคสมาธิสั้นไม่ได้รับการยอมรับจากสังคม ซึ่งจะส่งผลให้กลายเป็นคนขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ไม่ประสบความสำเร็จในงาน และมักเก็บตัวจนกลายเป็นผู้ที่มีโรคซึมเศร้า จนเกิดความรู้สึกอยากฆ่าตัวตายในที่สุด แต่การช่วยเหลือสามารถทำได้ถ้าพบภาวะสมาธิสั้นตั้งแต่เด็ก การรักษาต้องทำอย่างต่อเนื่องและอาศัยการร่วมมือจากหลายฝ่าย กล่าวโดยสรุปคือ สมาธิสั้นสามารถรักษาได้

แม้ว่าอาการสมาธิสั้นจะอยู่ติดตัวไปตลอดชีวิต แต่การได้รับการรักษาหรือการช่วยเหลือที่รวดเร็วและเพียงพอ จากทั้งครอบครัว ผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งการส่งเสริมให้บุคคลที่มีภาวะสมาธิสั้นตระหนักรู้และเข้าใจศักยภาพของตนเอง จะช่วยให้เขามีชีวิตที่มีความสุขและประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก

หลังจากเรียนรู้ถึงลักษณะและอาการของโรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่กันไปในฉบับที่แล้ว คราวนี้เรามาเรียนรู้วิธีการรักษากันต่อดีกว่า

การรักษาโรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่

1. การรักษาด้วยยา ถือว่าเป็นวิธีการรักษาโรคสมาธิสั้นอย่างแรกที่แพทย์มักจะเลือกใช้ โดยยารักษาโรคสมาธิสั้นที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นยาที่ใช้ทั้งในเด็กและในผู้ใหญ่ ได้แก่

- ยากระตุ้นจิตประสาท (psychostimulant) กลุ่ม methylphenidate ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีสมาธิในการทำงานและการเรียนดีขึ้น แต่มีผลข้างเคียงที่พบบ่อยคือ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ใจสั่น นอนไม่หลับ หงุดหงิด น้ำหนักตัวลดลง

- ยาต้านซึมเศร้า เช่น imiprimine, buspirone ถูกใช้เป็นยาขนานที่สองในการรักษา

- ยาลดอาการเปลี่ยนแปลงอารมณ์ที่รวดเร็ว เช่น ยากลุ่ม propanalol มีประโยชน์ในการช่วยลดความถี่ในการระเบิดอารมณ์ที่รุนแรง

- ยากลุ่มคลายกังวล เช่น fluoxetine

2. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยนักจิตวิทยา ซึ่งจะใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการก้าวร้าวรุนแรง ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้

3. การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อม (psychosocial intervention) โดยการฝึกทักษะทางสังคม เพื่อให้รู้จักสังเกตอารมณ์ของผู้อื่น รู้จักรอคอย รับฟัง เอาใจเขามาใส่ใจเรา เพื่อลดปัญหาการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น และเพื่อให้สามารถทำงานในหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความชำนาญในงานที่ทำ ไม่มีอารมณ์เครียดจนเกินไป อันจะนำไปสู่สุขภาพจิตที่ดี ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการดำรงชีวิต

แต่ไม่ว่าจะเลือกรักษาด้วยวิธีการใด ผู้ใหญ่ที่เป็นสมาธิสั้นจะต้องรับรู้ว่าตัวเองกำลังมีปัญหานี้อยู่ และต้องได้รับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือนักจิตวิทยา โดยในขั้นการรักษาก็ต้องได้รับความร่วมมือและความเข้าใจจากครอบครัว และผู้ใกล้ชิดไม่ว่าจะเป็นพ่อ แม่ ญาติ พี่น้อง เพื่อน สามีหรือภรรยาด้วย เช่น ไม่ควรตำหนิ ด่าว่า เมื่อเขาทำอะไรผิดพลาด เพราะกำลังใจเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ใหญ่สมาธิสั้นต้องการจากคนรอบข้าง

อาการดีได้ เพียงเปลี่ยนวิธีปฏิบัติตัว

นอกจากการรักษาทางการแพทย์แล้ว การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือวิธีการปฏิบัติตัวง่าย ๆ ต่อไปนี้ ก็จะช่วยให้ผู้ใหญ่ที่มีสมาธิสั้นใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและมีคุณภาพมากขึ้น รวมถึงมีอาการดีขึ้นอีกด้วย

1. พยายามฝึกอารมณ์ของตนเอง เช่น ไม่ควรดีใจหรือเสียใจเร็วเกินไป หรือหากมีอารมณ์โกรธ ควรจัดการกับความโกรธด้วยการระบายออกมา โดยอาจจะใช้วิธีการตะโกนเสียงดังๆ หากอยู่ในห้องคนเดียว หรือใช้วิธีการหลีกเลี่ยงสถานการณ์ก็ได้

2. จัดตารางเวลาว่าจะทำอะไรเมื่อไร เช่น ถ้าต้องมีการเดินทางไปไหน ก็ควรวางแผนการเดินทางไว้ล่วงหน้า และควรมีแผนที่ติดตัวไว้ตลอดเวลา เพื่อคอยกระตุ้นเตือนว่าเราจะขับรถไปที่ไหน

3. จัดวางสิ่งของเครื่องใช้ให้เป็นที่เป็นทาง เพื่อป้องกันการลืมทรัพย์สินและของมีค่าทิ้งไว้ตามที่ต่างๆ

4. ทำประโยชน์ให้กับตนเองและช่วยเหลือผู้อื่นบ้าง เพื่อสร้างความภาคภูมิใจและทำให้รู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า

5. หลีกเลี่ยงสถานที่ ๆ มีผู้คนมากๆ เช่น อาจต้องเลือกทำงานในห้องทดลอง หรือเขียนหนังสือ ซึ่งสามารถทำเงียบๆ คนเดียวได้ เพราะอาจจะประสบความสำเร็จเหมือนอย่างโทมัส อัลวา เอดิสัน ผู้ใหญ่สมาธิสั้น ที่เฝ้าทำการทดลองหลอดไฟเป็นหมื่นๆ ครั้งจนกระทั่งประสบความสำเร็จกลายเป็นนักวิทยาศาสตร์ระดับโลก

6. พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ เพราะการพักผ่อนที่เพียงพอจะช่วยให้อาการหงุดหงิดลดลง และช่วยทำให้โรคสมาธิสั้นมีอาการดีขึ้น

7. เลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับโรค

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง

อาหารหวาน ผู้ใหญ่ที่สมาธิสั้นควรหลีกเลี่ยงหรือควรจำกัดอาหารประเภทน้ำตาลและคาเฟอีน เพราะการรับประทานทานอาหารหวานจะกระตุ้นพฤติกรรมให้ตื่นตัวมากกว่าปกติและกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าว เพราะอาหารหวานทำให้เกิดกระบวนการเผาผลาญพลังงานเกินกว่าที่ร่างกายจะควบคุมได้ แม้แต่เด็กปกติที่รับประทานอาหารหวานมากจนเกินไปก็มักจะแสดงอาการสมาธิสั้นได้

อาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสี ควรรับประทานอาหารที่มีใยอาหารด้วย เพราะการรับประทานแต่อาหารหวาน เช่น ช็อกโกแลต น้ำอัดลม น้ำผลไม้ และรับประทานอาหารที่มีใยอาหารน้อยจะทำให้ระดับกลูโคสเปลี่ยนแปลงขึ้นๆ ลงๆ ทำให้สมาธิ ความสนใจ การแสดงออกทางพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไม่คงที่ด้วยเพราะอาการสมาธิสั้นมักมีความไวต่อระดับน้ำตาลในเลือดมากเป็นพิเศษ

อาหารที่ควรเลือกรับประทาน

อาหารที่ไม่ผ่านการย้อม ขัดสี ได้แก่ ข้าวซ้อมมือ จมูกข้าวต่างๆ ข้าวโอ๊ต ถั่วแขก ถั่วเหลืองและผัก โดยควรรับประทานทั้งในอาหารหลักและอาหารว่าง เพื่อการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในเลือดจะได้เป็นไปอย่างช้าๆ รวมถึงควรรับประทานธัญพืชและถั่วร่วมกับผลไม้หรือคาร์โบไฮเดรตกับโปรตีนอย่างละครึ่ง

อาหารที่มีกรดไขมันจำเป็น เช่น โอเมก้า ซึ่งสามารถช่วยลดอาการสมาธิสั้นและความวิตกกังวลลงได้

อาหารที่มีแร่ธาตุสังกะสีและแมกนีเซียม ซึ่งมีอยู่ในอาหารประเภท เนื้อสัตว์ อาหารทะเล ตับ ไข่แดง นม ถั่ว และธัญพืชด้วย เพราะวิตามินและแร่ธาตุที่ผู้เป็นโรคสมาธิสั้นพบว่าขาดบ่อยที่สุดคือ แมกนีเซียม ซึ่งมีผลทำให้เด็กอยู่ไม่สุข วิตกกังวล กระวนกระวาย และคลื่นไส้
อย่างไรก็ดี แต่ละคนอาจจะต้องได้รับการประเมินว่าตัวเองต้องการสารอาหารอะไร และต้องรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างน้อย 3-6 มื้อต่อวันจึงจะเป็นผลดี

8. การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดพลังงานส่วนเกินออกไป และช่วยให้ร่างกายหลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน ซึ่งส่งผลให้เกิดอารมณ์ที่มีความสุข ด้วยเหตุนี้ คนที่มีสมาธิสั้นจึงควรออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 -2 ชั่วโมง

ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ อาการสมาธิสั้นล้วนแล้วแต่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตเช่นเดียวกัน แต่ยังไม่สาย หากหาทางแก้ไขตั้งแต่วันนี้


กรอบสวยๆ จากคุณ lozocat
ข้อมูลจาก
//www.healthtodaythailand.com/


lozocatlozocat



Create Date : 07 มกราคม 2555
Last Update : 7 มกราคม 2555 19:33:56 น. 4 comments
Counter : 1874 Pageviews.

 
อรุณสวัสดิ์ครับคุณกบ








โดย: กะว่าก๋า วันที่: 8 มกราคม 2555 เวลา:5:57:35 น.  

 
อ๊ะเด๋วขอแอดเฟซหน่อยจ้ะ Noknali นะคะกบ ขอบคุณสำหรับคำอวยพรBDหลานด้วยจ้า


โดย: แม่อ้วนคนสวย วันที่: 8 มกราคม 2555 เวลา:9:16:41 น.  

 
นิมิตตํ สาธุรูปานํ กตญฺญูกตเวทิตา
ความกตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายของคนดี

เป็นคนดี มีความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ ตลอดไป...นะคะ





โดย: พรหมญาณี วันที่: 8 มกราคม 2555 เวลา:13:35:08 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ครับคุณกบ








โดย: กะว่าก๋า วันที่: 9 มกราคม 2555 เวลา:6:05:10 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
มกราคม 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
7 มกราคม 2555
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.