สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ
คลายกังวลด้วย การตรวจความผิดปกติของทารกในครรภ์

ไม่ว่าจะครรภ์แรกหรือครรภ์ที่ 2, 3 , 4 สำหรับแม่ ทุกครั้งที่ตั้งครรภ์ นอกจากความตื่นเต้นยินดี มักจะมีความกังวลอยู่ด้วย และสิ่งที่ทำให้แม่เป็นกังวลมากที่สุด คือ กลัวลูกจะมีความผิดปกตินั่นเอง การตรวจความผิดปกติของทารกในครรภ์จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่แม่ทุกคนควรใส่ใจ ซึ่งปัจจุบันสามารถทำได้ในหลายโรงพยาบาล

ฉบับนี้เราจึงเดินทางมาพูดคุยกับรองศาสตราจารย์ ดอกเตอร์ นายแพทย์บุญศรี จันทร์รัชชกูล สูติ-นรีแพทย์ คลินิกสูติ-นรีเวช โรงพยาบาลปิยะเวท เกี่ยวกับเรื่องนี้ คุณหมอให้ความรู้ว่า

“ความผิดปกติของทารกในครรภ์นั้นมีหลายอย่างครับ เช่น ความพิการแต่กำเนิด ปากแหว่ง เพดานโหว่ ลิ้นหัวใจพิการ ทารกหัวบาตร (ศีรษะบวมน้ำ) ภาวะไม่มีสมอง และไม่มีกระโหลกศีรษะ รวมทั้งโครโมโซมผิดปกติ พบได้ร้อยละ 2 - 3 ของหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งภาวะผิดปกติเหล่านี้มักก่อให้เกิดความพิการแต่กำเนิด รวมทั้งการสูญเสียชีวิตของทารก

...ปัจจัยที่มีผลต่อความผิดปกติของทารกในครรภ์นั้นอาจจะทราบสาเหตุหรือไม่ทราบสาเหตุก็ได้ โดยพบว่าประมาณ 1 ใน 4 เกิดจากสาเหตุทางพันธุกรรม ซึ่งสารทางพันธุกรรมที่อยู่ภายในเซลล์เรียกว่า โครโมโซม โดยมนุษย์จะมีโครโมโซม 23 คู่ (46 แท่ง) โครโมโซมจะเป็นตัวกำหนดลักษณะต่างๆ ของทารก เช่น รูปร่าง หน้าตา สติปัญญา เพศ เป็นต้น ในกรณีที่โครโมโซมผิดปกติ เช่น มีการขาดหายไปหรือเพิ่มขึ้นของโครโมโซม อาจทำให้ทารกมีความผิดปกติทางร่างกาย หรือสติปัญญาได้ ซึ่งโครโมโซมมันจะเรียงตามขนาด ไล่ตั้งแต่เบอร์ 1 ใหญ่สุด ไปจนเบอร์ 22 เล็กสุด ส่วนเบอร์ 23 เป็นโครโมโซมเพศ และส่วนใหญ่โครโมโซมใหญ่ๆ ที่ผิดปกติ เด็กก็มักจะไม่รอด เสียชีวิตก่อน โครโมโซมที่ผิดปกติที่เราพบ ส่วนใหญ่จึงเป็นโครโมโซมหลังๆ เช่น โครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง ทำให้เกิดความผิดปกติของร่างกายและสมอง ที่เรียกว่า กลุ่มอาการดาวน์ แต่ทั้งนี้ ความผิดปกติของโครโมโซมก็ไม่จำเป็นต้องเท่ากัน เด็กบางคนที่เป็นดาวน์ซินโดรม รูปร่างอาจจะปกติทุกอย่าง แต่สติปัญญาของเขาอาจจะด้อยลงไปนิดนึง หรือบางคนสติปัญญาด้อยด้วย รูปร่างอาจจะผิดปกติด้วยก็ได้”

ประโยชน์ของการตรวจความผิดปกติ

“หนึ่งคือ ทำให้รู้ว่าทารกในครรภ์มีความผิดปกติหรือไม่ สอง ถ้ารู้ว่าทารกในครรภ์ผิดปกติ จะมีแนวทางในการแก้ไขอย่างไร และสาม ถ้าทารกมีความผิดปกติ จะวางแผนการตั้งครรภ์อย่างไร การตรวจความผิดปกติของทารกในครรภ์จึง ควรตรวจตั้งแต่แรกเลยที่รู้ว่าตั้งครรภ์ อย่างแรกเลยเพื่อดูก่อนว่าการตั้งครรภ์อยู่ในมดลูกหรือไม่ ถ้าการตั้งครรภ์อยู่ในมดลูก ก็ดูเรื่องความผิดปกติอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นต่อไป

...ซึ่งความผิดปกติในทารกมีหลายอย่าง ตั้งแต่ความผิดปกติในโครโมโซม อันนี้สาเหตุหลักเลยคืออายุแม่ โดยเฉพาะแม่ที่อายุเกิน 35 ปี หรือบังเอิญมีโรคทางพันธุกรรม สองคือ ความผิดปกติทางโครงสร้าง สามคือ ความผิดปกติที่เกิดจากการทำงานของอวัยวะบางอย่างซึ่งบางอย่างตรวจได้ บางอย่างตรวจไม่ได้ คือต้องเข้าใจก่อนว่า การตรวจนั้นเราสามารถตรวจได้เกือบหมด แต่ยังไงก็ไม่มีร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะเมื่อไหร่ที่ทารกมีความผิดปกติมากๆ ส่วนใหญ่จะแท้งไปก่อน ขณะที่ทารกที่สามารถตั้งครรภ์ต่อไปได้ ความพิการจะค่อนข้างต่ำ แต่ทั้งนี้ ผิดปกติที่อยู่กับทารกจนกระทั่งคลอด หลายอย่างก็แก้ไขได้ หลายอย่างก็แก้ไขไม่ได้ มันขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยด้วย”

ใครบ้างควรรับการตรวจหาโครโมโซมของทารก

“หนึ่งคือ มารดาที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป นับถึงวันกำหนดคลอดบุตร เนื่องจากโอกาสที่ทารกในครรภ์เกิดภาวะกลุ่มอาการดาวน์สูงขึ้นตามอายุ โดยทั่วไปทารกที่คลอดจากมารดาอายุน้อยกว่า 35 ปี มีโอกาสเป็นกลุ่มอาการดาวน์ประมาณ 1 ใน 800 คน ในขณะที่มารดาที่อายุ 35 ปีมีโอกาสคลอดทารกที่เป็นกลุ่มอาการดาวน์ ประมาณ 1 ใน 350 คน และถ้ามารดาอายุสูงขึ้นยิ่งมีโอกาสเกิดภาวะนี้สูงขึ้นด้วยตามลำดับ

...สอง มารดาที่เคยคลอดทารกที่มีโครโมโซมผิดปกติรวมทั้งทารกที่มีความพิการหลายอย่างโดยไม่ทราบสาเหตุในครรภ์ก่อน
...สาม มารดาหรือบิดาที่มีความผิดปกติของโครโมโซมที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมไปยังทารกได้
...และสี่ มารดาที่มีผลตรวจเลือดคัดกรองกลุ่มอาการดาวน์ผิดปกติ”

ควรเริ่มตรวจเมื่อใด

“สามารถเริ่มตรวจได้ตั้งแต่สามเดือนแรกของการตั้งครรภ์ ตั้งแต่เรื่องดาวน์ซินโดรม ความผิดปกติของโครโมโซมบางอย่าง โดยใช้การอัลตร้าซาวด์ร่วมกับการเจาะเลือด ทารกจะสร้างอวัยวะเสร็จภายในแปดสัปดาห์ เพียงแต่ยังเล็กและยังไม่ได้พัฒนาเต็มที่ หลังแปดสัปดาห์ทารกจึงมีแขนขา ประมาณห้าหกถึงสัปดาห์ก็เริ่มเห็นหัวใจแล้ว สมมติถ้าเราตรวจช่วงห้าหกสัปดาห์ ถ้าเมื่อไหร่ตรวจเจอหัวใจ ประมาณเก้าสิบเปอร์เซ็นต์ เด็กก็น่าจะรอด ดันั้น คำแนะนำคือ เมื่อทราบว่าตนเองตั้งครรภ์ ก็ควรมาตรวจเมื่ออายุครรภ์ก่อน 3 เดือน”

การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง

“ในปัจจุบันมีการตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของทารกในครรภ์หลายวิธี ขึ้นอยู่กับอายุครรภ์ขณะนั้นด้วย ตั้งแต่การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง หรือที่เรียกว่า อัลตร้าซาวด์ การตรวจวิธีนี้มีความปลอดภัยสูง และสามารถทำได้บ่อยครั้งเท่าที่ต้องการ ซึ่งปัจจุบันพัฒนาการของเครื่องอัลตราซาวด์ก้าวหน้าเป็นอย่างมาก จาก 2 มิติ พัฒนาสู่ 3 และ 4 มิติ ทำให้ความละเอียดในการตรวจวินิจฉัยได้ดีขึ้น และชัดเจนขึ้นอย่างมาก การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงไม่ได้มีประโยชน์เพียงการดูเพศและดูการเจริญเติบโตของทารกเท่านั้น ยังสามารถใช้ตรวจวินิจฉัยภาวะต่างๆ ได้อีกด้วย เพื่อให้การรักษาขณะทารกอยู่ในครรภ์และเตรียมการรักษาหลังคลอด โดยมีวัตถุประสงค์แตกต่างกันในแต่ละไตรมาส

...โดยในไตรมาสแรก จะทำการตรวจอัลตราซาวด์ในช่วงอายุครรภ์ 11 - 13 สัปดาห์ เป็นการตรวจเพื่อยืนยันอายุครรภ์ โดยการวัดความยาวตั้งแต่ศีรษะถึงกระดูกก้นกบ ทำให้ทราบกำหนดวันคลอดที่แน่นอนในมารดาที่จำประจำเดือนไม่ได้ และยังสามารถใช้ตรวจคัดกรองทารกกลุ่มอาการดาวน์ โดยการวัดความหนาของต้นคอทารก และดูกระดูกบริเวณดั้งจมูกของทารก ร่วมกับการตรวจสารชีวเคมีในเลือดมารดา ทำให้เพิ่มความแม่นยำในการวินิจจัยทารกกลุ่มอาการดาวน์ได้อีกด้วย

...สำหรับในไตรมาสที่ 2 จะตรวจตั้งแต่อายุครรภ์ 18 - 22 สัปดาห์ เพื่อยืนยันอายุครรภ์ในมารดาที่มาฝากครรภ์ช้า และไม่ได้รับการตรวจตั้งแต่ในไตรมาสแรก สามารถตรวจอวัยวะต่างๆ เช่น สมอง กระดูกสันหลัง หัวใจ ตับ ไต ตรวจดูตำแหน่งรกและปริมาณน้ำคร่ำ อีกทั้งยังสามารถตรวจการไหลเวียนโลหิตของเส้นเลือดที่มาเลี้ยงมดลูกซึ่งเชื่อมต่อมายังทารก ซึ่งหากพบความผิดปกติก็อาจทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์หรือครรภ์เป็นพิษและภาวะทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ได้ ส่วนในกรณีที่มารดามีประวัติคลอดก่อนกำหนดในครรภ์ก่อน เราสามารถวัดความยาวของปากมดลูกในช่วงอายุครรภ์นี้ เพื่อทำนายในการที่จะเกิดการคลอดก่อนกำหนดซ้ำ เพื่อให้การป้องกันไม่ให้เกิดภาวะคลอดก่อนกำหนด

...การตรวจในไตรมาสที่ 3 จะทำในช่วงอายุครรภ์ 28 - 32 สัปดาห์ เพื่อตรวจดูพัฒนาการของทารกในครรภ์ และที่สำคัญคือ สามารถตรวจดูอัตราการเจริญเติบโตของทารก ซึ่งโดยปกติภาวะทารกเติบโตช้าจะเกิดในช่วงนี้ ถ้าสามารถให้การวินิจฉัยและรักษาได้ทันท่วงทีก็จะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนของทารก และยังช่วยลดโอกาสการเป็นเบาหวาน โรคหัวใจ และความดันโลหิตสูงของทารกหลังคลอดได้อีกด้วย การทำอัลตราซาวด์ในช่วงนี้ยังสามารถตรวจการเจริญเติบโตของกระดูกของทารกได้ ซึ่งจะเป็นการวินิจฉัยความผิดปกติของกระดูก เช่น คนแคระ กระดูกบางผิดปกติ แขน-ขาสั้น มือหรือเท้าอยู่ในท่าผิดปกติ เช่น เท้าปุก

...ดังนั้น การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงเพียงครั้งเดียว อาจไม่สามารถวินิจฉัยความผิดปกติของทารกในครรภ์ได้ ควรได้รับการตรวจติดตามเป็นระยะ โดยเฉพาะในกรณีที่พบความผิดปกติของทารก”

อัลตร้าซาวด์บ่อยๆ มีอันตรายหรือไม่

“อย่างไรก็ดี การทำอัลตร้าซาวด์ คนเข้าใจผิดเยอะนะ คือต้องเข้าใจว่า การตรวจความผิดปกติในครรภ์ดูจากอัลตร้าซาวด์ 2 มิติอย่างเดียว อัลตร้าซาวด์ 3 มิติหรือ 4 มิติจะเห็นแต่ภายนอก ไม่สามารถเห็นได้ว่าหัวใจ กระเพาะ ลำไส้เป็นอย่างไร และควรทำช่วงอายุครรภ์18 – 22 สัปดาห์ ตรงนี้พ่อแม่บางคนเข้าใจผิด คิดว่าอยากประหยัด ไหนๆ แล้วก็มาดูทีเดียวตอนอายุ 28 สัปดาห์ก็ได้ แบบนี้ผิด เพราะเด็กส่วนใหญ่หลัง 22 สัปดาห์กระดูกจะหนา ทำให้ดูอวัยวะยาก ดังนั้น ถ้าจะมาอัลตร้าซาวด์ แนะนำให้มาดูทันทีที่รู้ว่าตั้งครรภ์ หรือมาก่อนอายุครรภ์ 14 สัปดาห์ เพื่อหนึ่ง ดูอายุครรภ์ที่แน่นอนก่อน เพราะผู้หญิงบางคนประจำเดือนมาไม่แน่นอน ทำให้นับวันกำหนดคลอดไม่ได้ สอง ดูดาวน์ซินโดรม หลังจากนั้นถ้าปกติดี อายุครรภ์สัก 18 – 22 สัปดาห์ก็มาดูว่าอวัยวะครบไหม ถ้าอวัยวะครบดี ก็มาดูอีกครั้งตอนอายุครรภ์ 28 – 32 สัปดาห์ ว่าการเจริญเติบโตเป็นอย่างไร มาดูความผิดปกติของกระดูก เป็นต้น

...และถามว่า การตรวจอัลตร้าซาวด์มีความผิดพลาดไหม ตอบได้ว่าการแพทย์ไม่มีอะไรร้อยเปอร์เซ็นต์หรอกครับ ทุกอย่างผิดพลาดได้ สาเหตุหลักๆ เลย หนึ่งคือ อวัยวะของทารกไม่ได้สร้างเสร็จสมบูรณ์ในท้อง ความผิดปกติจึงอาจเกิดตอนหลังคลอดก็ได้ สอง อวัยวะบางอย่างมันเล็กมาก บางอย่างเรามองไม่เห็น อย่างนิ้วถ้าเด็กไม่กางมา เราก็มองไม่เห็น หรือหัวใจถ้าเล็กกว่าครึ่งเซน ก็มองไม่เห็น สาม อวัยวะของเด็กในท้องกับนอกท้องไม่เหมือนกัน การดูอัลตร้าซาวด์เป็นการดูโครงสร้าง ไม่ได้ดูการทำงาน ผมจะเจอคำถามบ่อยว่าเด็กโตมาจะฉลาดหรือโง่ ซึ่งมันไม่เกี่ยวเลย ปกติที่ดูคือ ถ้าเห็นเด็กมีกระเพาะปัสสาวะ ก็แสดงว่าไตเค้าทำงาน ถ้าเห็นเด็กกางมือ ขยับแขนขาได้ ก็แสดงว่าระบบของเขาทำงาน

...ที่สำคัญที่สุดคือ คนมาตรวจช้า อย่างแขนนี่ดูยากมาก หลัง 6 เดือนเด็กจะนอนตะแคง เราดูจากข้างนี้มาก็มองไม่เห็น ต้องดูตอนช่วง 5 เดือน เด็กจะขยับเยอะ และพื้นที่มีให้ขยับ ก็จะมองเห็นได้ง่าย เรื่องนี้คนไม่เข้าใจเยอะนะ ผมจะบอกคนไข้ว่าการอัลตร้าซาวด์เป็นการวินิจฉัย เหมือนกับคุณไม่สบาย คุณก็ต้องไปเจาะเลือด บอกได้แค่นี้ล่ะ ที่เหลือก็ต้องขึ้นกับพ่อแม่ด้วย อย่างฉลาดหรือโง่ ขึ้นอยู่ที่พ่อแม่ด้วย กรรมพันธุ์ด้วย การเลี้ยงดูด้วย มีปัจจัยหลายๆ อย่างมาเกี่ยวข้อง

...อีกคำถามคือ อัลตร้าซาวด์บ่อยๆ เป็นอันตรายไหม ตอบได้ว่าไม่เป็นอันตราย เพราะมันเป็นคลื่นเสียง เหมือนเราไปเดินตลาด เสียงเยอะแยะเลย อย่างเด็กแฝดนี่ก็ต้องดูบ่อย เพราะฟังเสียงหัวใจ เราก็ไม่รู้เสียงหัวใจใคร ไม่รู้ว่าลูกคนไหนดิ้น”

การตรวจสารชีวเคมีในเลือดมารดาขณะตั้งครรภ์

“ปัญหาที่สำคัญที่แม่ตั้งครรภ์มักจะหวั่นวิตกเสมอก็คือ ทารกกลุ่มอาการดาวน์ ซึ่งเป็นภาวะที่ทารกมีความผิดปกติทางร่างกายหรือสติปัญญา โดยโอกาสเสี่ยงมากขึ้นในแม่ตั้งครรภ์อายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป แต่จากสถิติพบว่าทารกกลุ่มอาการดาวน์พบมากในแม่ตั้งครรภ์อายุน้อยกว่า 35 ปี เนื่องจากไม่ได้รับการตรวจคัดกรอง การตรวจสารชีวเคมีในเลือดมารดาขณะตั้งครรภ์จึงมีประโยชน์ ในกรณีที่มารดาไม่ต้องการเสี่ยงต่อการแท้งบุตร ปัจจุบันการคัดกรองทารกกลุ่มอาการดาวน์สามารถทำได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 11 - 14 สัปดาห์ โดยใช้การตรวจสารเคมีในเลือดมารดาขณะตั้งครรภ์ ซึ่งมีประสิทธิภาพในการตรวจพบความผิดปกติสูงถึงร้อยละ 94 - 96 โดยทำการตรวจในไตรมาสแรก และไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์ นอกจากใช้ตรวจหาความเสี่ยงในการเกิดทารกกลุ่มอาการดาวน์ หรือ Trisomy 21 แล้ว ยังสามารถตรวจหาความเสี่ยงทารกกลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ดหรือ Trisomy 18 และกลุ่มอาการผิดปกติในระบบประสาท ศีรษะและไขสันหลังของทารกในครรภ์ได้อีกด้วย โดยหากพบความเสี่ยงสูงจะแนะนำทำการตรวจหาโครโมโซมต่อไป”

การเจาะตรวจน้ำคร่ำ

“เป็นวิธีที่นิยมและใช้มากที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากทำได้ง่าย อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งต่อมารดาและทารกในครรภ์ต่ำ ให้ผลที่มีความแม่นยำสูง การเจาะนํ้าครํ่าเพื่อตรวจหาโครโมโซมเป็นกระบวนการนำนํ้าครํ่าที่อยู่รอบตัวของทารกในโพรงมดลูกออกมา เพื่อทำการตรวจหาโครโมโซมของทารก โดยเริ่มจากการตรวจอัลตราซาวด์ เพื่อหาตำแหน่งที่เหมาะสม จากนั้นใช้เข็มขนาดเล็กแทงผ่านผิวหนังบริเวณหน้าท้องและมดลูกเข้าไปในถุงนํ้าครํ่า แล้วใช้กระบอกฉีดยาดูดเอานํ้าครํ่าออกมาประมาณ 15 - 20 ซีซี ซึ่งเป็นปริมาณเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปริมาณนํ้าครํ่าที่มีอยู่ในครรภ์ขณะนั้น (ประมาณ 180 - 200 ซีซี) อายุครรภ์ที่เหมาะสมในการเจาะน้ำคร่ำคือ 15 - 20 สัปดาห์ ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ คือ การแท้งบุตร พบได้ร้อยละ 0.5 - 1 ของการเจาะนํ้าครํ่า ส่วนภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ พบได้น้อย เช่น เลือดออก การติดเชื้อ ถุงนํ้าครํ่ารั่ว เป็นต้น”

การตัดชิ้นเนื้อจากรก

“เป็นวิธีการตัดหรือดูดเนื้อรกบางส่วน เนื่องจากทารกและรกเจริญพัฒนามาจากเซลล์เนื้อเยื่อเดียวกันจึงมีลักษณะทางพันธุกรรมคล้ายคลึงกัน ทำให้ตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของทารกได้ โดยจะกระทำในระยะที่รกเริ่มเกาะแน่นพอที่จะไม่เกิดการแท้ง อายุครรภ์ที่เหมาะสมคือ 10 - 13 สัปดาห์ ภาวะแทรกซ้อนเช่นเดียวกับการเจาะน้ำคร่ำ โดยพบได้ร้อยละ 0.5”

การเจาะเลือดจากสายสะดือทารกในครรภ์

“เป็นการใช้เข็มเจาะเลือดทารกในครรภ์บริเวณสายสะดือผ่านทางหน้าท้องมารดา โดยอาศัยการตรวจอัลตร้าซาวน์ชี้นำปลายเข็ม แล้วส่งตัวอย่างเลือดไปห้องปฎิบัติการ เพื่อตรวจวินิจฉัยความผิดปกติทางโครโมโซมโดยเฉพาะกลุ่มอาการดาวน์ การตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อแต่กำเนิด ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ คือ เลือดออก พบได้ร้อยละ 50 ทารกเสียชีวิตพบได้ร้อยละ 1.4”

ถ้าผลโครโมโซมของทารกผิดปกติจะทำอย่างไรต่อไป

“ถ้าผลโครโมโซมของทารกผิดปกติ แพทย์จะให้คำปรึกษาแก่คุณแม่และสามีถึงผลการตรวจและความผิดปกติของทารกที่อาจเกิดขึ้นได้ ทั้งแนวทางการรักษาและทางเลือกในการดูแลการตั้งครรภ์ต่อไป โดยขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของคุณแม่และสามีเป็นสำคัญ แพทย์ผู้ให้คำปรึกษาจะดูแลต่อไปตามความเหมาะสม กรณีผลโครโมโซมของทารกปกติก็ไม่ได้ยืนยันว่าทารกจะปกติ สมบูรณ์แข็งแรง เพราะความผิดปกติบางอย่างของทารกไม่ได้เกิดจากโครโมโซมผิดปกติเพียงอย่างเดียว อาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ได้อีกด้วย”

ข้อแนะนำ

“การตรวจพวกนี้มันตรวจง่าย ไม่เจ็บ ไม่ได้มีผลต่อทารกในครรภ์ และไม่ต้องเตรียมตัวอะไร อย่างอัลตร้าซาวด์ เดินมาแล้วนอนเฉยๆ ปลุกขึ้นมาก็เสร็จแล้ว เจาะเลือดก็ไม่มีอะไร ไม่ต้องงดน้ำงดอาหาร มาถึงก็เจาะเลือด เพียงแค่รู้ว่าจะมาเมื่อไหร่เท่านั้น

…ที่แนะนำคือ ทุกคนที่ตั้งครรภ์ควรสละเวลาไปดู เรามีเวลาเดือนนึงไปหาหมอ ก็ดูหน่อยว่าลูกผิดปกติหรือไม่ เพราะอย่างตรวจดาวน์ ถ้ามาเกิน 14 สัปดาห์ ก็เจาะตรวจไมได้แล้ว หรืออัลตร้าซาวด์ ถ้ามาเกิน 22 สัปดาห์ อยากตรวจอะไรก็ตรวจไม่แน่นอนแล้ว ยิ่งถ้ารู้ว่าตัวเองมีปัจจัยเสี่ยง อย่างโรคไต เบาหวาน ความดัน หรือครรภ์ก่อนมีปัญหา ก็ควรไปแพทย์ทันทีที่รู้ว่าตั้งครรภ์ แล้วให้แพทย์ตรวจดูให้ตั้งแต่ตอนนี้ดีกว่า”





ขอบคุณข้อมูลจาก
รศ.ดร.นพ.บุญศรี จันทร์รัชชกูล
//motherandchild.in.th/content/view/766/113/1/2/


Create Date : 26 พฤษภาคม 2554
Last Update : 26 พฤษภาคม 2554 10:18:27 น. 8 comments
Counter : 37842 Pageviews.

 
เข้ามาขอบคุณครับ ขอให้มีความสุขทุกๆ วัน เช่นกันครับ

^_^


โดย: นายแว่นธรรมดา วันที่: 26 พฤษภาคม 2554 เวลา:10:34:24 น.  

 
คุณกบขราาาาาาาา

เค็งผ่านช่วงนี้มาแว้ววววววว
นอกจากจะมีอีก 1 คน เด๊ยวถามคนข้าง ๆ ก่อนน่ะ อิ อิ


โดย: ลงสะพาน...เลี้ยวขวา วันที่: 26 พฤษภาคม 2554 เวลา:10:48:43 น.  

 

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...


แวะมาทักกันจ้าคุณกบ



โดย: หอมกร วันที่: 26 พฤษภาคม 2554 เวลา:11:41:10 น.  

 
แวะมาทักทายค่ะ
เม้นท์ที่ 2 น่ะ มีผู้หญิงอีกสักคนก็ดีเหมือนกันนะ ลองถามคนข้าง ๆ ดูซิว่าโอเคป่ะ


โดย: เนินน้ำ วันที่: 26 พฤษภาคม 2554 เวลา:12:23:54 น.  

 


สวัสดีตอนบ่ายค่ะคุณกบ


โดย: ภูผา กะ วาริน วันที่: 26 พฤษภาคม 2554 เวลา:13:57:48 น.  

 

มาเยี่ยมชม มาทักทายครับ

มาอ่านบทความที่มีประโยชน์ในบล็อกนี้ครับ

เอ ... ว่าแต่ จขบ. สนใจเรื่องทารกในครรภ์แบบนี้ แสดงว่า จขบ. กำลังจะเป็นคุณแม่มือใหม่ใช่อ่ะป่าวครับ?

อิอิ


โดย: อาคุงกล่อง วันที่: 26 พฤษภาคม 2554 เวลา:20:51:55 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ครับคุณกบ









โดย: กะว่าก๋า วันที่: 27 พฤษภาคม 2554 เวลา:5:41:56 น.  

 
สวัสดีครับหมอกบ
..........................
ผมเลยวัยตั้งครรภ์ซะแล้วสิครับ
อิอิ


โดย: panwat วันที่: 27 พฤษภาคม 2554 เวลา:9:47:27 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2554
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
26 พฤษภาคม 2554
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.