สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ
หูไม่ได้ยิน..จะให้ทำอย่างไร

ปัญหาหนึ่งของผู้ป่วย และอาจถือเป็นปัญหาของคนรอบข้างด้วยเหมือนกัน คือ การที่ผู้ป่วยมีความสามารถในการรับเสียงแย่ลง พูดง่าย ๆ ก็คือ หูอื้อหรือหูตึงนั่นเอง และเนื่องจากเป็นภาวะที่ค่อยเป็นค่อยไป ทำให้ในบางครั้งคนรอบข้างผู้ป่วยอาจมีปัญหาได้จากการที่ต้องตะโกนสื่อสารกันเป็นเวลานาน เช่น เสียงแหบ เป็นต้น

ภาวะหูอื้อหรือหูตึง หมายถึงภาวะที่ความสามารถในการรับเสียงแย่ลง มีการให้ระดับความรุนแรงของการเสียการได้ยิน ดังนี้

0-25 dB
ปรกติ
ไม่ลำบากในการรับฟังคำพูด

26-40 dB
หูตึงน้อย
ไม่ได้ยินเสียงกระซิบ

41-55 dB
หูตึงปานกลาง
ไม่ได้ยินเสียงพูดปรกติ

56-70 dB
หูตึงมาก
ไม่ได้ยินเสียงพูดที่ดังมาก

71-90 dB
หูตึงรุนแรง
ได้ยินไม่ชัด แม้ต้องตะโกน

> 90
หูหนวก
ตะโกนหรือใช้เครื่องขยายเสียงก็ไม่ได้ยิน

การที่คนเราสามารถรับเสียง อาศัยกลไก 2 ส่วน คือ

1. ส่วนนำเสียงและขยายเสียง ได้แก่ หูชั้นนอกและหูชั้นกลาง คลื่นเสียงจากภายนอกผ่านเข้าไปในช่องหู จะไปกระทบแก้วหู มีการส่งต่อและขยายเสียงไปยังส่วนของหูชั้นในต่อไป ถ้ามีความผิดปรกติเกิดขึ้น ทำให้เกิดภาวะหูตึงได้ สาเหตุมักเกิดจากความผิดปกติของ
- หูชั้นนอก เช่น ขี้หูอุดตัน, เยื่อแก้วหูทะลุ, หูชั้นนอกอักเสบ, เนื้องอกของหูชั้นนอก
- หูชั้นกลาง เช่น หูชั้นกลางอักเสบ, น้ำขังอยู่ในหูชั้นกลาง (otitis media with effusion), ท่อยูสเตเซียน (ท่อที่เชื่อมต่อระหว่างหูชั้นกลางและโพรงหลังจมูก) ทำงานผิดปกติ, โรคหินปูนในหูชั้นกลาง (otosclerosis)

2. ส่วนประสาทรับเสียง ได้แก่ ส่วนของหูชั้นในไปจนถึงสมอง ซึ่งเป็นส่วนที่เรารับรู้และเข้าใจเสียงต่าง ๆ ความผิดปรกติบริเวณนี้ ส่วนใหญ่ทำให้เกิดภาวะหูตึง หูหนวกถาวร และบางโรคทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ สาเหตุมักเกิดจากความผิดปกติของ
- หูชั้นใน สาเหตุที่พบได้บ่อยสุด คือประสาทหูเสื่อมจากอายุ นอกจากนั้นการเสื่อมของเส้นประสาทหู อาจเกิดจากการได้รับเสียงที่ดังมาก ในระยะเวลาสั้น ๆ ทำให้เส้นประสาทหูเสื่อมเฉียบพลัน (acoustic trauma) เช่น ได้ยินเสียงปืน เสียงระเบิด หรือเสียงประทัด, การได้รับเสียงที่ดังปานกลางในระยะเวลานาน ๆ ทำให้ประสาทหูเสื่อมแบบค่อยเป็นค่อยไป (noise-induced hearing loss) เช่น อยู่ในโรงงาน อยู่ในคอนเสิร์ตที่มีเสียงดังมาก ๆ, การใช้ยาที่มีพิษต่อประสาทหู (ototoxic drug) เป็นระยะเวลานาน เช่น salicylate, aminoglycoside, quinine, aspirin, การบาดเจ็บของกะโหลกศีรษะ แล้วมีผลกระทบกระเทือนต่อหูชั้นใน (labyrinthine concussion), การติดเชื้อของหูชั้นใน (labyrinthitis) เช่น จากซิฟิลิส, ไวรัสเอดส์, การผ่าตัดหูแล้วมีการกระทบกระเทือนต่อหูชั้นใน, มีรูรั่วติดต่อระหว่างหูชั้นกลางและหูชั้นใน (perilymphatic fistula), โรคมีเนีย (Meniere’s syndrome) หรือน้ำในหูไม่เท่ากัน
- สมอง โรคของเส้นเลือด เช่น เส้นเลือดในสมองตีบ, เลือดออกในสมองจากไขมันในเลือดสูง, ความดันโลหิตสูง, เนื้องอกในสมอง (เนื้องอกของเส้นประสาทหู และ/หรือประสาทการทรงตัว)
- สาเหตุอื่น ๆ เช่น โรคโลหิตจาง, โรคแพ้ภูมิตัวเอง (autoimmune disease), โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว, โรคเกล็ดเลือดสูงผิดปกติ, โรคที่มีระดับยูริกในเลือดสูง, โรคไต, โรคเบาหวาน, ความดันโลหิตต่ำ หรือสูง, ไขมันในเลือดสูง โรคเหล่านี้สามารถทำให้หูอื้อได้

การวินิจฉัย

อาศัยการซักประวัติ สาเหตุต่าง ๆ ที่เป็นไปได้ ที่ทำให้เกิดหูอื้อ, การตรวจหูชั้นนอก ช่องหู แก้วหู หูชั้นกลาง และบริเวณรอบหู, การตรวจเลือด เพื่อหาความผิดปกติของเคมีในเลือด, การตรวจปัสสาวะ, การตรวจการได้ยิน เพื่อยืนยัน และประเมินระดับความรุนแรงของการเสียการได้ยิน, การตรวจคลื่นสมองระดับก้านสมอง และการถ่ายภาพรังสี เช่น เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์สมองหรือกระดูกหลังหู ตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และการฉีดสารรังสีเข้าหลอดเลือด

การรักษาหูอื้อ

รักษาตามสาเหตุ ซึ่งแบ่งเป็นการรักษาด้วยยา และการผ่าตัด อย่างไรก็ตามหูอื้อที่เกิดจากพยาธิสภาพของหูชั้นใน, เส้นประสาทหู, และระบบประสาทส่วนกลาง โดยเฉพาะประสาทหูเสื่อม มักจะรักษาไม่หายขาด ยกเว้นสาเหตุดังกล่าวเป็นสาเหตุที่รักษาได้ นอกจากนั้นถ้าเกิดจากประสาทหูเสื่อม ควรหาสาเหตุหรือปัจจัยที่จะทำให้หูเสื่อมเร็วกว่าผิดปกติ เพื่อหาทางชะลอความเสื่อมนั้นด้วย ส่วนประสาทหูเสื่อมบางรายไม่ทราบสาเหตุ หรือทราบสาเหตุแต่เป็นสาเหตุที่รักษาไม่ได้ อาจหายเองก็ได้หรือจะเป็นอยู่ตลอดชีวิตก็ได้
1. แพทย์จะอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจว่าสาเหตุของหูอื้อเกิดจากอะไร เป็นอันตรายหรือไม่ และจะหายหรือไม่
2. ถ้าหูอื้อไม่มากยังพอได้ยินเสียง ไม่รบกวนคุณภาพชีวิตประจำวันมากนัก คือยังพอสื่อสารกับผู้อื่นได้ หรือเป็นเพียงหูข้างเดียว อีกข้างยังดีอยู่ ไม่จำเป็นต้องรักษา เพียงแต่ทำใจยอมรับ
3. ถ้าหูอื้อมากไม่ค่อยได้ยินเสียง โดยเฉพาะถ้าเป็น 2 ข้าง และรบกวนคุณภาพชีวิตประจำวันมาก คือไม่สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้ เกิดจากสาเหตุที่ไม่สามารถแก้ไขได้แล้ว ควรฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินด้วยการใช้เครื่องช่วยฟัง, ยาที่อาจทำให้การได้ยินดีขึ้นบ้าง คือ
- ยาขยายหลอดเลือด เพื่อเพิ่มเลือดไปเลี้ยงหูชั้นในมากขึ้น
- ยาบำรุงประสาทหู
4. ถ้าหูอื้อ เกิดจากประสาทหูเสื่อม ควรป้องกันไม่ให้ประสาทหูเสื่อมมากขึ้น โดย
- หลีกเลี่ยงเสียงดัง
- ถ้าเป็นโรคเบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, ไขมันในเลือดสูง, โรคไต, โรคกรดยูริกในเลือดสูง, โรคซีด โรคเลือด ต้องควบคุมโรคให้ดี
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีพิษต่อประสาทหู เช่น aspirin, aminoglycoside, quinine
- หลีกเลี่ยงอุบัติเหตุ หรือการกระทบกระเทือนบริเวณหู
- หลีกเลี่ยงการติดเชื้อของหู หรือการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน
- ลดอาหารเค็ม หรือเครื่องดื่มบางประเภทที่มีสารกระตุ้นประสาท เช่น กาแฟ, ชา, เครื่องดื่ม น้ำอัดลม (สารคาเฟอีน), งดการสูบบุหรี่ (สารนิโคติน)
- พยายามออกกำลังกายสม่ำเสมอ ลดความเครียด วิตกกังวล
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

ดังนั้นหูอื้อ อาจมีสาเหตุจากประสาทหูเสื่อมจากอายุ ซึ่งไม่มีอันตรายร้ายแรงใดๆ หรือมีสาเหตุจากโรคที่อันตราย เช่น เนื้องอกของสมองหรือเส้นประสาทก็ได้ หูอื้ออาจหายได้ หรืออาจอยู่กับผู้ป่วยตลอดชีวิตก็ได้ ดังนั้นอย่านิ่งนอนใจดีกว่า เมื่อมีอาการหูอื้อควรปรึกษาแพทย์หู คอ จมูกเพื่อหาสาเหตุแต่เนิ่นๆ.






ขอบคุณข้อมูลจาก
รศ.นพ. ปารยะ อาศนะเสน
ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล




Create Date : 03 มิถุนายน 2554
Last Update : 3 มิถุนายน 2554 10:31:04 น. 9 comments
Counter : 1158 Pageviews.

 
สุกรานิ อสาธูนิ อตฺตโน อหิตานิ จ
ยํ เว หิตญฺจ สาธุญฺจ ตํ เว ปรมทุกฺกรํ

กรรมไม่ดีและไม่เป็นประโยชน์แก่ตน ทำได้ง่าย
ส่วนกรรมใดดีและเป็นประโยชน์ กรรมนั้นแลทำได้ยากอย่างยิ่ง

มีความสุขกับความสำเร็จในการทำสิ่งที่ยากได้ ตลอดไป...นะคะ





โดย: พรหมญาณี วันที่: 3 มิถุนายน 2554 เวลา:10:30:20 น.  

 
เอาขนมมาฝากค่ะ



โดย: เนินน้ำ วันที่: 3 มิถุนายน 2554 เวลา:11:12:00 น.  

 


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 3 มิถุนายน 2554 เวลา:13:23:20 น.  

 
แวะมาขอบคุณที่แนะนำการอัฟเกรดบล๊อกทำให้ได้เป็นสมาชิกแบบสมบูรณ์แบบเสียที..ว่างเว้นห่างหายไปนาน..จนเกือบลืมหน้าตาบล๊อกของตัวเองเลยทีเดียว


โดย: รุ่งฤดี วันที่: 3 มิถุนายน 2554 เวลา:14:05:37 น.  

 
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...
แวะมาทักทายยามเย็น สบายดีนะคะคุณกบ


โดย: เกศสุริยง วันที่: 3 มิถุนายน 2554 เวลา:20:33:55 น.  

 
อ่านน่ากลัวเหมือนกันเนอะ คุณกบ

แต่เวลาคนที่บ้านพูด เค็งมักไม่ค่อยได้ยิน กร๊ากกกกกกกกก

จัดมาตามคำขอ



โดย: ลงสะพาน...เลี้ยวขวา วันที่: 4 มิถุนายน 2554 เวลา:3:38:22 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ครับคุณกบ







โดย: กะว่าก๋า วันที่: 4 มิถุนายน 2554 เวลา:5:29:53 น.  

 
หมิงหมิงชอบโรงเรียนนะครับ
แต่จะร้องตอนที่แม่ไปส่งแล้วกลับนี่ล่ะครับ 555


โดย: กะว่าก๋า วันที่: 4 มิถุนายน 2554 เวลา:8:01:17 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ครับคุณกบ







โดย: กะว่าก๋า วันที่: 5 มิถุนายน 2554 เวลา:6:15:22 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2554
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
3 มิถุนายน 2554
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.