สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ
เมื่อใบหน้ากระตุกครึ่งซีก

หน้าตาคนเราถือเป็นส่วนสำคัญของร่างกายที่ทุกคนต่างทำให้ใบหน้าของตนดูงามเป็นที่น่าพบเห็น แต่มีบางคนที่ประสบภาวะใบหน้ากระตุกครึ่งซีก ทำให้รู้สึกไม่มั่นใจเสียบุคลิก แล้วจะทำอย่างไรเรามีคำตอบให้คุณค่ะ

รู้จักอาการ

ภาวะใบหน้ากระตุกครึ่งซีก เป็นโรคที่พบมากในชาวเอเชียสาเหตุยังไม่มีใครทราบแน่ชัด พบได้ทั้งหญิงชายโดยเฉลี่ยอายุประมาณ 20 - 60 ปี คนไข้จะเริ่มด้วยอาการเหมือนตาเขม่น อาจจะมีการกระตุกของกล้ามเนื้อบริเวณใต้ลูกตาข้างใดข้างหนึ่ง จากนั้นอาจเป็นมากขึ้นจนทำให้เกิดการกระตุกที่มุมปากและในที่สุดจะมีการกระตุกทั้งซีกบริเวณใบหน้าจนทำให้ตาตี่หรือตาหลิ่ว และปากเบี้ยวเป็นพัก ๆ

สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้มีภาวะใบหน้ากระตุกครึ่งซีกเป็นมากขึ้น ได้แก่

1. อดนอน
2. เครียด วิตกกังวล
3. ใช้สายตามากติดต่อกันระยะเวลานาน

การวินิจฉัย

แพทย์จะซักประวัติและตรวจร่างกายตามปกติ โดยไม่จำเป็นต้องตรวจค้นด้วยวิธีพิเศษทางคอมพิวเตอร์สแกนสมอง หรือตรวจด้วยแม่เหล็กไฟฟ้าของสมองแต่อย่างใด เพราะการตรวจด้วยวิธีดังกล่าวมักจะไม่พบพยาธิสภาพหรือข้อบ่งชี้ว่าคนไข้เหล่านี้เกิดอาการด้วยพยาธิสภาพใด

อันตรายหรือไม่

หลายคนกังวลว่าโรคนี้เกิดจากเนื้องอกของสมองหรือเป็นความผิดปกติที่ร้ายแรง แต่โดยทั่วไปคนไข้กลุ่มใบหน้ากระตุกครึ่งซีกจะไม่มีอาการของโรครุนแรงเป็นอันตรายถึงชีวิต ดังนั้นถือว่าเป็นภาวะที่ไม่รุนแรง แต่มีข้อเสียคือ ผู้ป่วยจะเกิดความรำคาญ หรือไม่มั่นใจเมื่อต้องอยู่ในสังคมจนเกิดเป็นปมด้อยได้

แม้ในปัจจุบันจะไม่รู้ว่าสาเหตุแน่ชัด แต่มีข้อสันนิษฐานว่าอาจจะมีหลอดเลือดบริเวณก้านสมองที่ผิดปกติไปแตะอยู่บนประสาทสมองคู่ที่ 7 ซึ่งเป็นประสาทที่มาควบคุมกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าตลอดเวลา จึงทำให้มีการปล่อยกระแสไฟฟ้ามากเกินไป ทำให้เกิดใบหน้ากระตุกครึ่งซีก อย่างไรก็ตาม พบว่าคนไข้บางรายไม่เคยมีพยาธิสภาพของหลอดเลือดผิดปกติดังกล่าวมาแตะบริเวณเส้นประสาทเลย และยิ่งกว่านั้นคนไข้จำนวนหนึ่งที่ได้รับการผ่าตัดแยกหลอดเลือดที่มาแตะบนประสาทสมองคู่ที่ 7 นี้ออกไปแล้วอาจทำให้หายชั่วคราว แต่คนไข้เกินกว่าครึ่ง มักกลับมาเป็นอีกภายหลังการผ่าตัด 3 - 5 ปี ดังนั้นการแก้ปัญหาโดยวิธีดังกล่าวจึงเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการรักษา

ประเทศไทยมีการรักษาอย่างไร

คนไข้จะได้รับการบำบัดรักษาหลายวิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค

1. ยา อาจใช้ยากลุ่มออกฤทธิ์กล่อมประสาทบำบัดรักษาได้เช่นกัน แต่ผลข้างเคียงค่อนข้างสูง ผู้ป่วยจะง่วงนอน และไม่สามารถปฏิบัติภารกิจประจำวันได้ ขณะเดียวกันผลของการควบคุมการกระตุกของกล้ามเนื้อใบหน้าพบว่ามีประสิทธิผลเพียงร้อยละ 30 เท่านั้น

2. ฉีดสารโบทูลินัม ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่สร้างจากเชื้อแบคทีเรีย Clostidium botulinum ซึ่งขณะนี้เป็นวิธีการรักษาที่ดีที่สุด ออกฤทธิ์โดยสกัดกั้นกระแสไฟฟ้าที่ส่งออกมาจากปลายประสาทมายังบริเวณ presynaptic site ของกล้ามเนื้อใบหน้าโดยตรง ทำให้ไม่สามารถหลั่งสาร acetyl choline ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทออกมาได้

ดังนั้นคำสั่งที่มายังกล้ามเนื้อจึงลดปริมาณลง มีผลให้การกระตุกของกล้ามเนื้อลดลง อย่างไรก็ตาม วิธีดังกล่าวเป็นการรักษาตามอาการ ผู้ป่วยต้องมาฉีดสารโบทูลินัมทุก ๆ 3 - 6 เดือน ตามระยะเวลาของยาที่ออกฤทธิ์ ซึ่งการรักษาโดยวิธีนี้ได้ผลราวร้อยละ 85

3. วิธีรักษาอื่น ๆ เช่น การผ่าตัด ถือเป็นวิธีที่มีความเสี่ยงสูง เพราะอาจเกิดผลแทรกซ้อน เช่น หูหนวก ปากเบี้ยว มีเลือดออกที่ก้านสมอง เลือดออกในสมองน้อยจนทำให้หมดสติ เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต เกิดภาวะเจ้าชายนิทรา หรือเสียชีวิต เพราะตำแหน่งของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 อยู่ใกล้กับก้านสมองและสมองน้อย ซึ่งเป็นตำแหน่งสำคัญของสมองนั่นเอง แม้การรักษาด้วยวิธีนี้จะได้ผลราวร้อยละ 85 แต่ราวร้อยละ 50 อาจมีอาการเกิดซ้ำได้อีกหลังผ่าตัดแล้ว 5 ปี

แต่ไม่ว่าจะรักษาด้วยวิธีใด อย่าเพิ่งกังวลเกินไป เพราะหากทำจิตใจให้สบาย พักผ่อนเพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รวมทั้งลดการใช้สายตาและความกังวลลงได้ อาการก็จะค่อย ๆ ทุเลาลง




ขอบคุณข้อมูลจาก
ศ.นพ.นิพนธ์ พวงวรินทร์
ภาควิชาอายุรศาสตร์
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล




Create Date : 30 มกราคม 2554
Last Update : 30 มกราคม 2554 10:56:36 น. 15 comments
Counter : 2214 Pageviews.

 
สวัสดีวันหยุดครับคุณกบ


โดย: ลุงกล้วย วันที่: 30 มกราคม 2554 เวลา:11:07:51 น.  

 
ขอบคุณมากๆนะค่ะ
ได้ความรู้มากขึ้นเยอะเลยค่ะ ^^
มีช่วงนึงที่ตาขวากระคุกบ่อยมาก บริเวณใต้ตาค่ะ
แต่ว่าตอนนี้อาการหายไปแล้ว ^^


โดย: Nepster วันที่: 30 มกราคม 2554 เวลา:11:43:02 น.  

 







โดย: นู๋หญิงจ๋า วันที่: 30 มกราคม 2554 เวลา:12:17:26 น.  

 
beautiful sunday krub


โดย: ถปรร วันที่: 30 มกราคม 2554 เวลา:13:11:59 น.  

 
..สวัสดีค่ะพี่กบ..อิจฉาคนได้เที่ยวเหนือจัง..อากาศยังเย็นสบายอยู่ใช่มั๊ยคะ..

..ช่วงนี้อ๋อ..งานใหม่เริ่มเข้าเพียบแล้วค่ะ..พักด้ายแป๊บเดียว ช่วงปีใหม่..555


โดย: อ๋อซ่าส์ วันที่: 30 มกราคม 2554 เวลา:20:29:47 น.  

 
ขอโทษที่ไม่ได้มาคุยด้วยเลย
เพิ่งเข้าบ้านค่ะ




โดย: nart (sirivinit ) วันที่: 30 มกราคม 2554 เวลา:20:49:55 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับคุณกบ


โดย: ปลายแป้นพิมพ์ วันที่: 31 มกราคม 2554 เวลา:4:45:18 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ครับคุณกบ









โดย: กะว่าก๋า วันที่: 31 มกราคม 2554 เวลา:6:16:43 น.  

 
สิตมโต สเว เสยโย
คนมีสติ เป็นผู้ประเสริฐทุกวัน

มีความสุขกับการเป็นผู้ประเสริฐ ตลอดไป..นะคะ




โดย: พรหมญาณี วันที่: 31 มกราคม 2554 เวลา:13:29:19 น.  

 





แวะมาทักทาย ตอนใกล้ค่ำค่ะ


โดย: นู๋หญิงจ๋า วันที่: 31 มกราคม 2554 เวลา:18:25:18 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ครับคุณกบ







โดย: กะว่าก๋า วันที่: 1 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:6:20:07 น.  

 
ทีหลังถ้าเกิดตาเขม่นขึ้นมา ป้ามดก็เริ่มเสียวแล้วสิ


โดย: ป้ามด วันที่: 1 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:9:23:12 น.  

 







โดย: นู๋หญิงจ๋า วันที่: 1 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:12:02:37 น.  

 
นตฺถิ พาเล สหายตา
ความเป็นเพื่อนไม่มีในคนพาล

อยู่อย่างมีความสุข ด้วยการไม่คบคนพาล...นะคะ



ปอป้า ขอลาบล๊อก
เดินสายปฏิบัติธรรมและท่องเที่ยว เป็นเวลา ๕ วัน..นะคะ




โดย: พรหมญาณี วันที่: 1 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:15:15:59 น.  

 
ตอนนี้เป็นอยู่ค่ะ...

กำลังอยู่ในระหว่างการตัดสินใจว่า...จะผ่าตัด หรือยอมรับสภาพที่เป็นอยู่ค่ะ


โดย: แม่ลูกสองหัวใจสะออน วันที่: 3 มีนาคม 2554 เวลา:9:30:48 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
 
มกราคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
30 มกราคม 2554
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.