สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ
เมื่อแพทย์...นัดมาทดสอบการรับกลิ่น

ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับการรับกลิ่น เช่น รับกลิ่นได้น้อยลง(hyposmia)หรือไม่ได้กลิ่น(anosmia)เมื่อมาปรึกษาแพทย์ นอกจากแพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และส่องกล้องตรวจในโพรงจมูกแล้ว แพทย์จะแนะนำให้มีการประเมินสมรรถภาพการรับกลิ่นของผู้ป่วยด้วย

การประเมินสมรรถภาพการรับกลิ่น ทำเพื่อ....

1.ประเมินว่าผู้ป่วยมีความผิดปกติของการรับกลิ่นจริงหรือไม่ และทราบถึงความรุนแรงของความผิดปกติของการรับกลิ่นนั้น
2.ตรวจหาผู้ป่วยที่อาจแกล้งมีปัญหาเกี่ยวกับการรับกลิ่น เพื่อประโยชน์บางอย่าง
3.อาจช่วยในการวินิจฉัยแยกโรคของระบบประสาทบางชนิด ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการรับกลิ่นร่วมด้วย
4.ติดตามผลของการรักษาโรคที่มีความผิดปกติของการรับกลิ่น ทั้งการให้ยาและการผ่าตัด
5.ให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของการรับกลิ่น เพื่อที่จะสามารถเข้าใจถึงความผิดปกตินั้น และปรับตัวได้หากไม่สามารถรักษาได้
6.ช่วยคิดค่าตอบแทน ในกรณีที่ผู้ป่วยมีความผิดปกติของการรับกลิ่นจากการทำงานหรืออุบัติเหตุ

การประเมินสมรรถภาพการรับกลิ่น แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ

1.การวัดระดับความสามารถในการดมกลิ่น(measurement of odorant detection)เป็นการวัดระดับความเข้มข้นของกลิ่นที่น้อยที่สุด (threshold level)ที่สามารถกระตุ้นเส้นประสาทรับกลิ่น(เส้นประสาทสมองคู่ที่ 1)ของผู้ป่วย ซึ่งเรียกว่า smell detection threshold(SDT)สารที่นำมาทดสอบการรับกลิ่นที่นิยมใช้คือ phenyl ethyl alcohol(PEA)ซึ่งมีกลิ่นเหมือนกลิ่นกุหลาบ และกระตุ้นเส้นประสาทสมองคู่ที่ 1 โดยไม่กระตุ้นเส้นประสาทสมองคู่ที่ 5

ผู้ทำการทดสอบจะเตรียมขวดที่มีสาร PEAที่มีความเข้มข้นต่างกัน ตั้งแต่ความเข้มข้นต่ำสุดไปสูงสุดและมีขวดเปล่า ซึ่งไม่มีกลิ่นอยู่หลังฉากกั้น(เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยเห็น)ผู้ทำการทดสอบจะให้ผู้ป่วยดมกลิ่นในขวดทีละชุด(คู่)(ชุดหนึ่งจะมี 2 ขวด คือขวดที่มีกลิ่น และขวดไม่มีกลิ่น) ขณะผู้ป่วยดมกลิ่นดังกล่าว ผู้ป่วยต้องถือกระดาษทิชชู่ปิดปากไว้ เพื่อไม่ให้กลิ่นและลมหายใจ ผ่านเข้าทางปาก(retro nasal breathing)วางข้อศอกทั้งสองข้างลงบนโต๊ะ และไม่หายใจออกลงในขวด(เพื่อลดการปนเปื้อน)

โดยก่อนทดสอบ ผู้ทำการทดสอบจะให้ผู้ป่วยหายใจออก แล้วกลั้นหายใจไว้ ผู้ทำการทดสอบจะเอาขวดทดสอบการรับกลิ่นไปไว้ที่ใต้จมูก วางปากขวดบนกระดาษทิชชูที่ปิดปาก แล้วกระดกขวดให้ปากขวดครอบจมูกของผู้ป่วยโดยไม่ให้แตะจมูก เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้สาร PEA เปื้อนจมูก และบอกให้ผู้ป่วยสูดกลิ่น เมื่อผู้ป่วยสูดแล้วให้กลั้นหายใจไว้ ผู้ทำการทดสอบเอาขวดออกแล้วให้หายใจปกติได้ อย่าหายใจออกลงไปในขวดเพราะอาจทำให้สารในขวดปนเปื้อนได้

ผู้ป่วยจะต้องเลือกว่าระหว่างขวดใบที่ 1 และใบที่ 2 ใบไหนมีกลิ่นแรงกว่าแล้วบอกผู้ทำการทดสอบ(ขวดใดเป็นสาร PEA)ถ้าผู้ป่วยไม่รู้สึกว่าขวดใดขวดหนึ่งมีกลิ่นแรงกว่า หรือไม่ได้กลิ่นเลยทั้ง 2 ขวด ผู้ป่วยต้องเดาเลือกเอาขวดใดขวดหนึ่ง เพื่อคำนวณผลทางทางสถิติ

ถ้าผู้ป่วยตอบถูก ผู้ทำการทดสอบจะใช้สาร PEAที่เจือจางกว่าเดิม คือลดความเข้มข้นของสาร PEA ลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งได้ความเข้มข้นที่น้อยที่สุด(threshold level)ที่ผู้ป่วยสามารถดมกลิ่นและบอกได้ถูกว่าขวดใดเป็นสาร PEA แต่ถ้าผู้ป่วยตอบผิดผู้ทำการทดสอบจะใช้ PEA ที่มีความเข้มข้นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งถ้าใช้ความเข้มข้นสูงสุดแล้วผู้ป่วยยังไม่สามารถดมกลิ่นได้ จึงเรียกว่าจมูกไม่ได้กลิ่น(anosmia)

ค่า SDT ที่ได้ แปรผลดังนี้
> -2 = จมูกไม่ได้กลิ่น(anosmia)
-2 ถึง > -3.5 = จมูกรับกลิ่นได้น้อยลง มาก(severe hyposmia)
-3.5 ถึง >-4.5 = จมูกรับกลิ่นได้น้อยลง ปานกลาง(moderate hyposmia)
-4.5 ถึง > -6.5 = จมูกรับกลิ่นได้น้อยลง เล็กน้อย(mild hyposmia)
£ -6.5 = จมูกรับกลิ่นได้ปกติ (normosmia)

2.การวัดความสามารถในการแยกแยะ และบอกว่าเป็นกลิ่นใด(measurement of odor identification)เป็นการเลือกกลิ่นต่าง ๆ ที่ผู้ป่วยคุ้นเคย ควรที่จะสามารถบอกได้มาทดสอบในรูปแบบต่าง ๆ กัน เช่น ใส่สารให้กลิ่นในขวดแล้วให้ผู้ป่วยดม บอกว่าเป็นกลิ่นอะไร(odorant naming test)หรือใช้ชุดทดสอบสำเร็จรูป ซึ่งมีตัวเลือกให้เลือกว่าแต่ละกลิ่นเป็นกลิ่นอะไร(multiple-choice odorant identification test) การทดสอบชนิดนี้ต่างกับการวัดระดับความสามารถในการดมกลิ่นวิธีแรกคือ ต้องใช้ความเข้มข้นของกลิ่นที่มาก หรือแรงกว่าระดับความเข้มข้นของกลิ่นที่น้อยที่สุด ที่สามารถกระตุ้นเส้นประสาทรับกลิ่นของผู้ป่วย(suprathreshold level)




ขอบคุณข้อมูลจาก
รศ.นพ. ปารยะ อาศนะเสน
ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล





Create Date : 15 มิถุนายน 2554
Last Update : 15 มิถุนายน 2554 9:24:32 น. 6 comments
Counter : 1052 Pageviews.

 
อจฺเจนติ กาลา ตรยนฺติ รตฺติโย วโยคุณา อนุปุพฺพํ ชหนฺติ
กาลย่อมล่วงไป ราตรีย่อมผ่านไป ชั้นแห่งวัยย่อมละลำดับไป

มีความสุขกับเวลาอันมีค่าของตน ตลอดไป...นะคะ




โดย: พรหมญาณี วันที่: 15 มิถุนายน 2554 เวลา:12:39:04 น.  

 
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...
มาส่งคุณกบ เข้านอนค่ะฝันดีมากมายนะคะ


โดย: เกศสุริยง วันที่: 15 มิถุนายน 2554 เวลา:22:21:49 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ครับคุณกบ







โดย: กะว่าก๋า วันที่: 16 มิถุนายน 2554 เวลา:5:52:37 น.  

 
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...


สวัสดีเช้าวันพฤหัสบดี
อีกวันหนึ่งของการเดินทางในชีวิตค่ะคุณกบ


โดย: ดอกฝิ่นในสายลมหนาว วันที่: 16 มิถุนายน 2554 เวลา:7:03:17 น.  

 
ไม่ได้มาหาคุณกบ นานนนนนนนนนมากกกกกกกก
ขอโทษนะค่า
เพราะปวดหลังอย่างแรงงงงงงง

คุณกบ สบายดีป่ะ
เด๊ยวต้องลองทดสอบกลิ่นตะเอง ก่อนน่ะ 5555555


โดย: ลงสะพาน...เลี้ยวขวา วันที่: 16 มิถุนายน 2554 เวลา:9:37:03 น.  

 
ชยํ เวรํ ปสวติ ทุกฺขํ เสติ ปราชิโต อุปสนฺโต ชยปราชยํ

ผู้แพ้ย่อมก่อเวร ผู้พ่ายย่อมอยู่เป็นทุกข์
ผู้ละความแพ้และความพ่ายเสีย มีใจสงบระงับ นั่นแหละเป็นสุข

มีความสุขกับการเป็นผู้ละความแพ้และความพ่าย ตลอดไป...นะคะ




โดย: พรหมญาณี วันที่: 16 มิถุนายน 2554 เวลา:11:12:56 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2554
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
15 มิถุนายน 2554
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.