สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ
โรคปลอกประสาทอักเสบ



หากคุณมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นเป็นประจำทุกวัน ได้แก่ มีปัญหาเรื่องกระเพาะปัสสาวะและลำไส้ เช่น ปัสสาวะไม่ออก กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ท้องผูก อ่อนเพลีย ปวดอย่างรุนแรงเป็นเวลานาน มีปัญหาการมองเห็น เช่น เห็นภาพซ้อน ตามัว มีปัญหาการแยกแยะสิ่งต่างๆ การทรงตัว การกลืนและการพูด แขนขาอ่อนแรง รวมถึงมีอารมณ์แปรปรวน อาการเหล่านี้กำลังบอกเป็นนัยว่า ถึงเวลาต้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาโรคเอ็มเอสกันแล้ว

ความเป็นมา

โรคเอ็มเอส หรือโรคมัลติเพิล สเคลอโรซิส (Multiple Sclerosis : MS) หรือที่ภาษาไทยเรียกว่าโรคปลอกประสาทอักเสบ เชื่อว่าเป็นที่รู้จักกันตั้งแต่ปี ค.ศ.1838 จากภาพวาดการตรวจศพซึ่งมีลักษณะทางพยาธิเหมือนโรคเอ็มเอส แต่ถูกบันทึกอาการของโรคอย่างเป็นทางการ เมื่อปี ค.ศ.1868 โดย Professor Jean-Martin Charcot อายุรแพทย์ทางด้านประสาทและผู้เชี่ยวชาญพยาธิวิทยาด้านกายวิภาคศาสตร์ ชาวฝรั่งเศส ซึ่งท่านได้บันทึกไว้ว่า พบผู้ป่วยเพศหญิง มีอาการสั่น พูดอ้อแอ้ กลอกตาผิดปกติ และภายหลังการเสียชีวิตผลการชันสูตรศพพบว่ามีรอยแผลเป็น (scar) ที่บริเวณประสาทส่วนกลาง ซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นแข็ง (plaques) จำนวนมาก (multiple) จากลักษณะอาการที่พบจึงเป็นที่มาของชื่อโรคว่า “Multiple Sclerosis”

สาเหตุการเกิดโรค

โรคเอ็มเอสเกิดจากเยื่อกั้นระหว่างหลอดเลือดและระบบประสาทถูกทำลาย โดยเกิดในช่วงระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งประกอบด้วยสมอง ไขสันหลังและเส้นประสาทตา ผลที่ตามคือ แมคโครฟาจ (macrophage) และทีเซลล์ (T-cell) ซึ่งเป็นเซลล์ที่อยู่ในเม็ดเลือดขาว ทำหน้าที่คอยดักจับเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในกระแสเลือด จะเข้าไปทำลายเซลล์สมอง เพราะคิดว่าเป็นเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอม เพราะไม่เคยพบมาก่อนในหลอดเลือด ฉะนั้นด้วยลักษณะของการเกิดของโรค โรคเอ็มเอสจึงถูกจัดอยู่ในกลุ่มของโรค “ออโตอิมมูน” (autoimmune disease) คือโรคที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำลายเซลล์ตัวเอง

ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรค

โรคเอ็มเอสเกิดจากหลายปัจจัยด้วยกัน ได้แก่ พันธุกรรม สิ่งแวดล้อม รวมถึงเชื้อไวรัส โดยพบว่าผู้ที่มีประวัติว่ามีญาติพี่น้องเป็นโรคเอ็มเอส มีโอกาสจะเป็นโรคเอ็มเอสมากขึ้นร้อยละ 20 เมื่อเปรียบเทียบกับคนปกติ นอกจากนี้การสูบบุหรี่ก็มีผลต่อการเกิดโรคเอ็มเอส นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ป่วยโรคเกาท์ และผู้ที่มีระดับกรดยูริกต่ำก็มีโอกาสเป็นโรคเอ็มเอสมากกว่าคนทั่วไป

กลุ่มเสี่ยง

โรคเอ็มเอสมักพบในกลุ่มหนุ่มสาวและคนวัยทำงาน อายุตั้งแต่ 20-40 ปี แต่พบน้อยในคนที่มีอายุต่ำกว่า 12 ปี และมากกว่า 55 ปีขึ้นไป นอกจากนี้ยังพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายถึง 2 เท่า

สำหรับพื้นที่ที่พบโรคเอ็มเอสมากมักเป็นแถบที่มีความเจริญทางอุตสาหกรรม ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ยุโรป และพื้นที่ยิ่งไกลจากเส้นศูนย์สูตรมากก็ยิ่งพบมากขึ้น ขณะที่ประเทศแถบเส้นศูนย์สูตรจึงพบผู้ป่วยน้อย สำหรับประเทศไทยแม้ว่าจะพบผู้ป่วยโรคเอ็มเอสไม่มากนัก แต่ก็ถือว่าเป็นโรคที่มีความรุนแรงและหากปล่อยไว้นานก็อาจจะพิการได้ร้อยละ 50

ประเภทของโรคเอ็มเอส

โดยทั่วไปมีการแบ่งโรคเอ็มเอสออกเป็น 5 ประเภทดังน
ี้
1. โรคเอ็มเอสชนิดที่เป็นๆ หายๆ (relapsing-remitting MS : RR-MS) โดยพบมากที่สุดถึงร้อยละ 80 ผู้ป่วยที่เป็นโรคเอ็มเอสประเภทนี้จะมีอาการดีขึ้นจนดูเหมือนหายแล้ว แต่หลังจากนั้นก็จะกลับมาเป็นอีก ซึ่งในช่วงที่หายดีอาจทิ้งช่วงกินเวลาเป็นเดือน หรือเป็นปีก็ได้ ไม่แน่นอน

2. โรคเอ็มเอสแบบการดำเนินโรคค่อยๆ รุดหน้าในภายหลัง (secondary progressive MS : SP-MS) มักเกิดหลังจากเป็น RR-MS ในช่วงแรกแล้ว หลังจากนั้นจะเข้าสู่ระยะ SP-MS ในภายหลัง โดยร้อยละ 40-60 ของผู้ป่วย RR-MS จะเข้าสู่ระยะ SP-MS ใน 15-20 ปีต่อมา ซึ่งอาการของโรคจะเพิ่มระดับความรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว จะกลับมาดีขึ้นหรือไม่ดีขึ้นก็ได้

3. โรคเอ็มเอสแบบการดำเนินโรครุดหน้าตั้งแต่ระยะแรก (primary progressive MS : PP-MS) เป็นประเภทที่พบได้น้อย คือประมาณร้อยละ 10 ของผู้ป่วยโรคเอ็มเอสทั้งหมด โดยผู้ป่วยจะค่อยๆ มีอาการเลวลงตั้งแต่เริ่มแรก และค่อยๆ สูญเสียสมรรถภาพการทำงานเรื่อยๆ โดยจะไม่พบอาการที่เลวลงอย่างเฉียบพลัน หรือกลับมาดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จะพบเพียงอาการที่ค่อยๆ เลวลงทีละน้อย

4. โรคเอ็มเอสชนิดที่มีทั้งการดำเนินโรครุดหน้าและมีลักษณะของการกลับเป็นซ้ำ (progressive relapsing MS : PR-MS) เป็นประเภทที่พบน้อยมากเพียงร้อยละ 3-5 การดำเนินของโรคจะเร็วมาก จากนั้นก็จะกลับมาดีขึ้น แล้วก็จะมีอาการอีกและเริ่มรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว

5. โรคเอ็มเอสชนิดไม่ร้ายแรง (Benign MS) ซึ่งมีลักษณะเฉพาะเหมือนกับชื่อของโรค ผู้ป่วยจะมีอาการเพียงเล็กน้อย เหมือนในช่วงระยะเริ่มแรกที่มีการกำเริบ อาจมีอาการเพียงแค่ครั้งเดียวในชีวิต และสามารถฟื้นฟูกลับมาได้เกือบสมบูรณ์ บางครั้งระยะเวลากว่าจะมีการกำเริบเป็นครั้งที่ 2 อาจจะกินเวลาถึง 20 ปี การดำเนินโรคเป็นไปช้ามาก

การวินิจฉัย

สำหรับการวินิจฉัยโรคเอ็มเอส ของแพทย์เฉพาะทางประกอบด้วยหลายวิธี คือ

1. การซักประวัติ โดยแพทย์ทางประสาทวิทยาจะทำการซักประวัติ เพื่อวินิจฉัยแยกโรคเอ็มเอส จากโรคอื่นๆ
เพราะโรคเอ็มเอสสามารถเลียนแบบโรคอื่นได้ทุกโรค การซักประวัติเพื่อวินิจฉัยแยกโรคที่มีอาการคล้ายกันจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก

2. การทดสอบทางประสาทวิทยา เช่น สอบถามประวัติอาการในอดีต ตรวจการทำงานของตา การทรงตัว การรับสัมผัส และปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ (reflex action) เป็นต้น

3. การใช้เครื่องเอ็มอาร์ไอตรวจสแกน ซึ่งจะทำให้สามารถมองเห็นภาพของสมองหรือไขสันหลังตำแหน่งที่เยื่อไมอีลินถูกทำลายและมีการสลายตัวเห็นเป็นรอยแผลเป็น

4. การทดสอบทางสรีระวิทยาไฟฟ้าของสมองที่เรียกว่า "Evoked potentials" คือการตรวจสอบความเร็วจากสิ่งกระตุ้น เป็นต้นว่า เสียงหรือภาพที่ส่งไปยังสมอง หรือความเร็วของการสั่งการจากสมองไปยังอวัยวะอื่นๆ ว่ามีความล่าช้ากว่าปกติหรือไม่อย่างไร

5. การเจาะไขสันหลังที่เรียกว่า "Lumbar puncture" เพื่อดูดเอาน้ำเลี้ยงสมองและไขสันหลัง (cerebrospinal fluid) ไปตรวจ เพื่อพิสูจน์ว่าเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีจำนวนมากขึ้นหรือไม่ ซึ่งเป็นสัญญาณบอกว่ามันทำงานมากขึ้นเกิดปฏิกิริยาเล่นงานโจมตีประสาทส่วนกลาง

การรักษา

โรคเอ็มเอสเป็นโรคที่รักษาไม่หาย แพทย์จึงรักษาตามอาการของโรคในขณะนั้น โดยมุ่งหวังให้เกิดทุพพลภาพน้อยที่สุด อย่างไรก็ดีไม่ได้หมายความว่าสุดท้ายผู้ป่วยทุกคนต้องทุพพลภาพ เพราะประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยโรคเอ็มเอสสามารถทำงานต่อไปได้จนเกษียณ เพียงแต่ต้องการกำลังใจและข้อมูลที่จะช่วยให้สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้ ซึ่งปัจจุบันก็มีหลายองค์กรที่ทำหน้านี้อยู่ หากสนใจสามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ //www.thaims.com, //www.ms.com, //www.mssociety.org.uk

การป้องกันโรคเอ็มเอส

เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดของโรคเอ็มเอสอย่างแน่ชัดจึงยังไม่ทราบวิธีที่จะป้องกัน ดังนั้นการดูแลสุขภาพตัวเอง ทั้งใจและกาย รวมถึงการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารให้ถูกสุขลักษณะ ไม่เครียด ซึ่งจะทำให้ภูมิต้านทานร่างกายอ่อนแอ น่าจะเป็นวิธีการป้องกันโรคเอ็มเอสที่ได้ผลดีที่สุด






ข้อมูลจาก//www.healthtodaythailand.com/
กรอบสวยๆ จากคุณ lozocat








Create Date : 04 ธันวาคม 2554
Last Update : 4 ธันวาคม 2554 8:08:23 น. 2 comments
Counter : 937 Pageviews.

 
มาเก็บความรู้อีกแล้วค่ะ

รูปในกล่องคอมเม้นท์สวยหวานจังเลย


โดย: เนินน้ำ วันที่: 4 ธันวาคม 2554 เวลา:16:22:28 น.  

 


สวัสดีตอนค่ำค่ะ..พี่กบ มาส่งความคิดถึงค่ะ



โดย: nootikky วันที่: 4 ธันวาคม 2554 เวลา:19:47:35 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2554
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
4 ธันวาคม 2554
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.