ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
 
พฤศจิกายน 2550
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
21 พฤศจิกายน 2550
 
All Blogs
 

วิทยาศาสตร์กับการลอยกระทง

วิทยาศาสตร์กับการลอยกระทง

อย่างที่นักเรียนรู้จักความหมายของวิทยาศาสตร์ว่า เป็นวิชาที่จะอธิบายการเกิดปรากฏการณ์ตามธรรมชาติต่างๆ ที่เกิดขึ้น บอกสาเหตุของการเกิด ผลของการเกิด เรามาลองดูว่า ประเพณีการลอยกระทงมีวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องอย่างไรบ้าง ผมจะลองยกตัวอย่างให้เห็นเพื่อให้เกิดแนวคิดให้คุณไปค้นคว้าต่อไปนะครับ

1. กระทงลอยน้ำ เริ่มจากสิ่งนี้ก่อนก็แล้วกัน เพราะหัวใจหลักของการลอยกระทงก็คือการลอย เพราะคำว่า "ลอยกระทง" หมายถึงเราต้องทำกระทงให้ลอยน้ำให้ได้ ประเพณีของไทยก็จะสอนเราว่า กระทงทำมาจากต้นกล้วยแล้วประดับตกแต่งให้สวยงามตามแต่ใครจะมีจินตนาการ กำลังความคิด ระยะเวลา และการตั้งใจทำ ถ้าหากทำแล้วสวยงาม คนทำก็ชื่นใจ ทีนี้มาว่าการลอย กระทงจะลอยน้ำได้ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของกระทง(วิทยาศาสตร์ใช้คำว่า มวล) และปริมาตรของกระทง ถ้าหากนำค่าของน้ำหนักกระทงมาหารปริมาตรของกระทงแล้วมีค่าน้อยกว่า 1 กระทงนั้นก็จะลอยน้ำได้ แต่ถ้าทำให้กระทงนั้นหนักมากในขณะที่ปริมาตรน้อย เมื่อหาค่าออกมามากกว่า 1 กระทงนั้นก็จะจมน้ำลงไป อดลอยกระทง เราก็เลยจะเห็นว่า เวลาเขาทำกระทงเขามักจะใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบาเป็นหลัก คงกลัวมันจะจมกระมัง

2. ลอยแต่คว่ำ หลายคนประสบกับปัญหาทำกระทงขึ้นมาแล้วมันเกิดคว่ำ แต่ไม่จมลงในน้ำ นั่นเพราะเกิดจากความสมดุลนั่นเอง ความสดดุลของกระทงก็คือ จุดศูนย์ถ่วง ในทางวิทยาศาสตร์ อธิบายง่ายๆ ว่า จุดศูนย์ถ่วงของกระทงนั้น เป็นเหมือนจุดรวมน้ำหนักทั้งหมดของกระทง ถ้าจุดศูนย์ถ่วงนั้นอยู่ที่ขอบกระทง กระทงของเราก็จะตะแคงด้านขอบนั้นลงเราก็จะเห็นกระทงคว่ำลง ถ้าจุดศูนย์ถ่วงอยู่ที่ด้านบนส่วนที่เราตกแต่ง เมื่อมันคว่ำก็จะตีลังกากลับด้านทันที แต่ถ้าจุดศูนย์ถ่วงอยู่ในฐานกระทงพอดี มันก็จะลอยไปได้ด้วยดี ข้อนี้ต้องคำนึงถึงความสมดุลของน้ำหนักแต่ละด้านของกระทงเป็นหลักล่ะครับ

3. การไหลไปตามลำน้ำ มีความเป็นวิทยาศาสตร์ตรงส่วนที่เป็นการเคลื่อนที่ของแรงของน้ำ นั่นคือเมื่อน้ำเคลื่อนที่ไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ โมเลกุลของน้ำก็จะเคลื่อนที่ไป เมื่อเราวางกระทงลงบนโมเลกุลของน้ำ(วางลงน้ำ)น้ำจึงพากระทงไปด้วยนั่นเอง ถ้าเราไปวางในน้ำนิ่ง กระทงก็ไม่ไปอยู่แล้ว ข้อนี้หลายคนบอก ใครๆ ก็รู้ แต่ถามว่ารู้แล้วอธิบายได้หรือเปล่าว่าวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องอย่างไร ประเด็นอยู่ตรงนี้ต่างหาก

4. ความเร็วของกระทง กระทงที่ไหลไปตามน้ำไม่ว่าจะด้วยแรงของน้ำเอง หรือมือคนผลักให้ไหลก็ตาม ล้วนต้องมีความเร็วทั้งนั้น แต่ความเร็วนั้นจะมากหรือน้อย (กระทงจะลอยไปเร็วหรือช้า)ขึ้นอยู่กับ แรงสองแรง นั่นคือ แรงส่งกับแรงต้าน แรงส่งก็คือแรงจากมือคน แรงของน้ำที่ไหลแรงหรือเฉื่อย ส่วนแรงต้านก็คือน้ำหนักของกระทงและกระแสน้ำ หรือปริมาณของน้ำในส่วนที่มันจม อธิบายว่า ถ้าน้ำไหลแรงและกระทงมีส่วนที่จมน้อย(กระทงเบา)กระทงนั้นก็เคลื่อนที่ได้เร็วกว่ากระทงหนักและมีกระแสน้ำไหลเอื่อยๆ คงไม่ต้องจดจำอะไรนะครับ รู้ๆ กันอยู่แล้ว

5. การย่อยสลายของกระทง ปกติการย่อยสลายก็จะเกิดกับซากอินทรียวัตถุ(ซากสิ่งมีชีวิต)อยู่แล้ว โดยการดำรงชีวิตของจุลินทรีย์ (เปรียบเทียบให้มันเว่อร์ๆ ก็เหมือนภูเขาสูงๆต่ำๆ เป็นเหมือนซากสัตว์ชนิดหนึ่ง ตัวคนเราเป็นจุลินทรีย์ชนิดหนึ่ง เมื่อเราดำรงชึวิตที่ต้องทำมาหากินบนภูเขาเราอาจจะมีการทำลายภูเขา ขุดเจาะ หรืออะไรก็ตามแต่ ในที่สุดสภาพภูเขาก็จะไม่เหลือให้เห็นเป็นรูปร่างเหมือนเดิม และในขณะที่เราดำรงชีวิตอยู่ก็จะมีการขยายพันธุ์ขับถ่ายของเสียตามธรรมชาติ ถ้าปริมาณของของเสียนั้นมากมายก็จะส่งกลิ่นเหม็นออกมา )เราก็จะเห็นว่าซากสิ่งมีชีวิตจะเปลี่ยนสภาพไปและเกิดการเน่าเหม็น ซึ่งเกิดจากจุลินทรีย์ทั้งนั้นส่วนจะเป็นชนิดไหนนั้นก็ค้นคว้ากันต่อไป

6. ประทัดและดอกไม้ไฟ เป็นสิ่งที่มักจะพบเห็นเกือบทุกงาน และทั้งๆ ที่มีข่าวออกมาเป็นประจำว่า ประทัดระเบิดทำให้นิ้วมือขาดหายไป หรือบาดเจ็บ แต่ก็ยังมีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นบ่อย จนเป็นเสมือนว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องของตัวใครตัวมัน ไม่เกิดกับฉันฉันก็ไม่สน แต่เมื่อเกิดขึ้นมากลับมาร้องขอความสงสารขอความเห็นใจ ตอนที่เตือนทำเป็นไม่สน แบบนี้ผมมักจะสมน้ำหน้าเสียด้วยซ้ำ มาว่ากันเรื่องประทัดและดอกไม้ไฟกันดีกว่า ทั้งประทัดและดอกไม้ไฟนั้น ทำมาจากสารเคมีติดไฟได้ และมีแรงดันมากในตัวประทัด ทำให้ประทัดนั้นเกิดเสียงดังและกระจายตัวเร็ว ฉะนั้นสิ่งที่อยู่บริเวณรอบๆ ประทัดที่จุดแล้วแตกนั้นก็จะได้รับแรงดันไปโดยปริยาย ไม่ว่าจะเป็นมือ หรืออะไรก็ตามที่ไม่สามารถทนแรงดันได้ก็ต้องมีการชำรุดเสียหายไปตามธรรมดา รู้อย่างนี้ถ้ายังเล่นอย่างไม่ระมัดระวังก็ช่วยไม่ได้ ส่วนดอกไม้ไฟก็จะไม่เน้นให้เกิดเสียงเหมือนประทัด แต่เน้นสีสันความสวยงามก็ของการลุกไหม้ของไฟ ซึ่งจะมีแร่ธาตุหลายชนิดที่ให้สีแตกต่างกันไป และมีกรรมวิธีทำที่ละเอียดอ่อนสลับซับซ้อน เราทำเองไม่ได้ ส่วนที่ผลิตนั้นก็ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะถ้าเกิดระเบิดก็หมายถึงความเจ๊งของโรงงานนั้น เพราะมันกลายเป็นเชื้อเพลิงที่ดี สร้างความเสียหายได้มาก ดังข่าวที่เราอาจจะเคยได้ยินมาแล้ว ที่ดังๆ เช่น เชียงใหม่ มีแขนขาดปลิวตกไปบ้านคนอื่น และตายจำนวนมาก

7. ดวงจันทร์ เกือบลืมเสียสนิทเลย "วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำก็นองเต็มตลิ่ง ..." ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี เป็นประเพณีการลอยกระทง ดวงจันทร์จะเต็มดวง น้ำขึ้นมา ส่วนสาเหตุการเลือกช่วงเวลานี้ทำการลอยกระทงนั้น ผมไม่รู้ แต่ผมคิดหาสาเหตุว่าทำไมไม่เลือกช่วงเวลาอื่นๆ เพราะจันทร์เต็มดวง น้ำก็ต้องขึ้นทุกครั้ง แต่ถ้ามาคิด ถึงประเพณีนี้ น่าจะเกี่ยวกับฤดูกาลด้วย เช่น เป็นไปได้ไหมว่า เดือนมกราคม - เมษายนก็เป็นหน้าแล้ว น้ำไม่ค่อยมี พฤษภาคม - ตุลาคม หรือเผลอๆ ก็ปลายเดือน 11 ฝนก็ยังไม่หยุดแน่นอน แต่ช่วงปลายปี ไม่มีฝนและยังมีน้ำมากอยู่ แถมยังถือเป็นการขอขมาสิ่งที่ทำไม่ดีกับแม่น้ำมาตลอดทั้งปี เลยเลือกเดือน 12 นี้ และจะได้ขอพร(คนไทยขี้เกียจ มีแต่ขอไม่หัดทำให้เกิดด้วยตนเอง)ในวันขึ้นปีใหม่ ดวงจันทร์เต็มดวงเป็นปรากฏการณ์ที่ดวงจันทร์หมุนโคจรรอบโลกในจังหวะโลกมองเห็นดวงจันทร์ที่รับแสงจากดวงอาทิตย์นั้นเต็มดวงที่สุด เราจึงมองเห็นดวงจันทร์ได้เต็มดวง ส่วนดวงจันทร์ก็ดึงดูดโลก(โลกก็ดึงดูดดวงจันทร์)ส่วนที่เป็นน้ำมันไหลได้ ก็เลยป่องไปหาดวงจันทร์เราก็เลยเห็นน้ำมีปริมาณมากขึ้น ใครที่อยู่ชายฝั่งก็เรียก น้ำขึ้น นั่นเอง ในแง่ของหนุ่มสาวมันก็ช่างโรแมนติกเสียด้วยสิ พอล่ะ

8. ต้นกล้วย ส่วนที่ทำเป็นกระทง ทำไมต้องเลือกกล้วย ไม่เลือกพืชหรือของอย่างอื่น คงเพราะว่า กล้วยมีปลูกกันทุกบ้านและหาง่ายไม่ต้องซื้อขาย สามารถนำมากระทงได้ทุกบ้าน และอีกอย่างกล้วยมีช่องว่างในลำต้นทำให้ลอยน้ำได้ และสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ เพราะเป็นสิ่งมีชีวิต แต่ปัจจุบันนี้ เราไม่จำเป็นต้องใช้กล้วยทำกระทงเสมอไปเพราะสภาพปัจจุบันไม่เป็นเหมือนอดีต เช่น คลองน้ำแคบลง การระบายน้ำไม่ดี คลองตื้นเขิน จำนวนกระทงมากขึ้น ถ้าหากให้ต้นกล้วยไปย่อยสลายตามธรรมชาติเองก็เกรงว่าจะช้าและทำให้น้ำเน่าเหม็นเพิ่มขึ้น และคลองก็ตื้นขึ้น อาจจะส่งผงให้การระบายน้ำติดขัดอีก การเก็บกวาดก็ทำได้ยาก เพราะหนักเอาการ แต่ถ้าเปลี่ยนเป็นของที่เบาก็เก็บง่าย ทำรีไซเคิลก็ได้ด้วย น้ำก็ไม่เน่า เราคงต้องดูความเหมาะสมของแต่ละท้องที่ ส่วนจะเลือกแบบไหนขึ้นอยู่กับผู้นำท้องถิ่นนั้นๆ






 

Create Date : 21 พฤศจิกายน 2550
2 comments
Last Update : 28 มิถุนายน 2553 14:16:11 น.
Counter : 10724 Pageviews.

 

สวัสดีครับ ปีนี้ไปลอยกระทงที่ไหนกันครับ ขอให้มีความสุข สนุกกันทั่วหน้าเลยนะครับ

 

โดย: No more 11 พฤศจิกายน 2551 1:31:03 น.  

 

สุขสุนต์ วัน ลอยกระทง นะครับ

happy loykrathong day

 

โดย: lifestyle-note 11 พฤศจิกายน 2551 10:25:13 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.