"ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้หรือในโลกอื่น หรือรัตนะใดอันประณีตในสวรรค์ ทรัพย์และรัตนะนั้นเสมอด้วยพระตถาคตย่อมไม่มี พระพุทธเจ้าแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยการกล่าวคำจริงนี้ ขอความสวัสดีจงมี....." "พระไตรปิฏก เป็นตาที่วิเศษยิ่ง, เป็นหูที่วิเศษยิ่ง, เป็นจมูกที่วิเศษยิ่ง, เป็นลิ้นที่วิเศษยิ่ง, เป็นกายที่วิเศษยิ่ง, เป็นใจที่วิเศษยิ่ง, เป็นครู-อาจารย์ที่วิเศษยิ่ง, เป็นพ่อ-แม่ที่วิเศษยิ่ง, เป็นมิตรและเข็มทิศที่วิเศษยิ่ง, เป็นแผนที่และป้ายบอกทางที่วิเศษยิ่ง, เป็นแสงสว่างส่องทางสู่นิพพานที่วิเศษยิ่ง"จากวัดสามแยก
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2554
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
9 กรกฏาคม 2554
 
All Blogs
 
หลวงปู่เกษม แสดงธรรม หงุดหงิดลูกศิษย์ไม่ยอมยกระดับ ๒๓ เมษายน ๒๕๕๔

ชุดที่ ๐๘๓ แสดงธรรม "หงุดหงิดลูกศิษย์ไม่ยอมยกระดับ" (๒๓ เมษายน ๒๕๕๔)
เนื้อหา บางส่วนจากการแสดงธรรมชุดนี้
๑. ผู้บำเพ็ญสลัดกังวลไม่หลุด ไปนิพพานไม่ได้
๒. ได้รู้คำสอนของพระพุทธเจ้า... ไม่เสียชาติเกิด
๓. วัดเป็นสถานที่ทำบุญ คฤหัสถ์ต้องยำเกรง
๔. ทำความสกปรกในวัดมีโทษมาก
๕. ภิกษุใช้สิ่งของโยมเพื่อเอาใจ... เป็นการประทุษร้ายเขา
ฯลฯ
หลวงปู่เกษม หงุดหงิดลูกศิษย์ 1/4

หลวงปู่เกษม หงุดหงิดลูกศิษย์ 2/4

หลวงปู่เกษม หงุดหงิดลูกศิษย์ 3/4

หลวงปู่เกษม หงุดหงิดลูกศิษย์ 4/4

พระที่หล่อรูป หล่อเหรียญ....พระพุทธเจ้าบอกว่าอันตราย (กลหวิวาทสุตตนิทเทสที่ ๑๑)เล่มน้ำเงิน66/153/14 เล่มแดง66/145/1
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 153


ความถือว่าของเราจึงไม่มี ความว่า เมื่อความปรารถนาไม่มี ไม่ปรากฏ
ไม่เข้าไปได้อยู่ ความถือว่าของเราจึงไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้ คือ
ความถือว่าของเราเหล่านั้น อันพระสมณะละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว
ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
เมื่อความปรารถนาไม่มี ความถือว่าของเราจึงไม่มี.

ว่าด้วยมหาภูตรูป ๔
[๔๙๖] คำว่า รูป ในคำว่า เมื่อรูปไม่มี ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง
ได้แก่มหาภูตรูป ๔ อุปาทายรูปของมหาภูตรูป ๔. คำว่า เมื่อรูปไม่มี
คือรูปย่อมไม่มีโดยเหตุ ๔ อย่าง คือโดยการรู้ โดยการพิจารณา โดย
การละ โดยการก้าวล่วง.
รูปไม่มีโดยการรู้อย่างไร พระสมณะย่อมรู้รูป คือย่อมรู้ ย่อม
เห็นว่า รูปหมดทุกอย่าง ชื่อว่ารูป ได้แก่มหาภูตรูป ๔ อุปาทายรูปของ
มหาภูตรูป ๔ รูปไม่มีโดยการรู้อย่างนี้.
รูปไม่มีโดยการพิจารณาอย่างไร พระสมณะครั้นรู้รูปอย่างนี้แล้ว
จึงพิจารณารูป คือพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค
เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นของลำบาก เป็นอาพาธ เป็นอย่างอื่น
เป็นของชำรุด เป็นเสนียด เป็นอุบาทว์ เป็นภัย เป็นอุปสรรค เป็นของ
หวั่นไหว เป็นของแตกพัง เป็นของไม่ยั่งยืน เป็นของไม่มีที่ซ่อนเร้น
เป็นของไม่มีที่พึ่ง เป็นของว่าง เป็นของเปล่า เป็นของสูญ เป็นอนัตตา
เป็นโทษ เป็นของมีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา เป็นของไม่มีแก่น-
สาร เป็นมูลแห่งความลำบาก เป็นดังเพชฌฆาต เป็นของปราศจากความ
เจริญ เป็นของมีอาสวะ เป็นของอันเหตุปัจจัยปรุงแต่ง เป็นเหยื่อแห่งมาร
เป็นข้องมีชาติเป็นธรรมดา เป็นของมีชราเป็นธรรมดา เป็นของมีพยาธิ
เป็นธรรมดา เป็นของมีมรณะเป็นธรรมดา เป็นของมีความโศก ความ
รำพัน ความเจ็บกาย ความเจ็บใจและความแค้นใจเป็นธรรมดา เป็นของ
มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา เป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ เป็นของดับไป
เป็นของชวนให้หลงแช่มชื่น เป็นอาทีนพ เป็นนิสสรณะ รูปไม่มีโดย
การพิจารณาอย่างนี้


ความหมายของ"มิจฉาธรรม" (มิจฉัตตสูตร)เ่ล่มน้ำเงิน38/339/14เล่มแดง38/340/1
๓. มิจฉัตตสูตร
ภิกษุอาศัยมิจฉัตตะ ๑๐ จึงพลาดจากสวรรค์และมรรคผล
[๑๐๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยมิจฉัตตะ จึงมีการ
พลาดจากสวรรค์และมรรคผล ไม่มีการบรรลุสวรรค์และมรรคผล เพราะ
อาศัยมิจฉัตตะอย่างไร จึงมีการพลาดจากสวรรค์และมรรคผล ไม่มีการ
บรรลุสวรรค์และมรรคผล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความเห็นผิด
ย่อมมีความดำริผิด ผู้มีความดำริผิด ย่อมมีวาจาผิด ผู้มีวาจาผิด ย่อม
มีการงานผิด ผู้มีการงานผิด ย่อมมีการเลี้ยงชีพผิด ผู้มีการเลี้ยงชีพผิด
ย่อมมีความพยายามผิด ผู้มีความพยายามผิด ย่อมมีความระลึกผิด ผู้มี
ความระลึกผิด ย่อมมีความตั้งใจผิด ผู้มีความตั้งใจผิด ย่อมมีความรู้ผิด
ผู้มีความรู้ผิด ย่อมมีความหลุดพ้นผิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัย
มิจฉัตตะอย่างนี้แล จึงมีการพลาดจากสวรรค์และมรรคผล ไม่มีการบรรลุ
สวรรค์และมรรคผล
จบมิจฉัตตสูตรที่ ๓


ได้เรียนธรรมวินัยนี้...มีค่ามากกว่าสมบัติใดๆ(เรื่องสุปปพุทธกุฏฐิ)เล่มน้ำเงิน41/195/9 เล่มแดง41/162/6
ด้วยพระพุทธแก่เรา, อย่าเลยด้วยพระธรรมแก่เรา, อย่าเลยด้วยพระ-
สงฆ์แก่เรา." ลำดับนั้น สุปปพุทธกุฏฐินั้น กล่าวกะท้าวสักกะนั้นว่า
"ท่านเป็นใคร ?"
สักกะ. เราเป็นท้าวสักกะ.
สุปปพุทธะ. ท่านผู้อันธพาล ผู้ไม่มียางอาย, ท่านเป็นผู้ไม่สมควร
จะพูดกับเรา. ท่านพูดกะเราว่า เป็นคนเข็ญใจ เป็นคนขัดสน เป็น
คนกำพร้า.' เราไม่ใช่คนเข็ญใจ ไม่ใช่คนขัดสนเลย เราเป็นผู้ถึงความ
สุข มีทรัพย์มาก,
"ทรัพย์เหล่านี้คือ ทรัพย์คือศรัทธา ๑, ทรัพย์
คือศีล ๑, ทรัพย์คือหิริ ๑, ทรัพย์คือโอตตัปปะ ๑,
ทรัพย์คือสุตะ ๑, ทรัพย์คือจาคะ ๑, ปัญญาแล
เป็นทรัพย์ที่ ๗, ย่อมมีแก่ผู้ใด จะเป็นหญิงก็ตาม
เป็นชายก็ตาม, บัณฑิตทั้งหลายกล่าวบุคคลนั้นว่า
' เป็นคนไม่ขัดสน.' ชีวิตของบุคคลนั้นไม่ว่างเปล่า.๑"
เพราะเหตุนั้น อริยทรัพย์มีอย่าง ๗ นี้ มีอยู่แก่ชนเหล่าใดแล,
ชนเหล่านั้น อันพระพุทธเจ้าทั้งหลาย หรือพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย
ย่อมไม่กล่าวว่า เป็นคนจน.'

ที่มา: //www.samyaek.com




Create Date : 09 กรกฎาคม 2554
Last Update : 6 เมษายน 2556 22:01:37 น. 0 comments
Counter : 958 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Budratsa
Location :
พิจิตร Switzerland

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




สวัสดีค่ะ ยินดีต้อนรับทุกๆคนค่ะ
"ดูก่อนอานนท์ บางทีพวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ปาพจน์ (พุทธพจน์) มีพระศาสดาล่วงแล้ว พระศาสดาของพวกเราไม่มี ข้อนี้พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น ธรรมก็ดี วินัยก็ดีอันใดอันเราแสดงแล้ว ได้บัญญัติไว้แล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาแห่งพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา" เล่มที่ ๑๓ : พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ หน้าที่ ๓๒๐
Friends' blogs
[Add Budratsa's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.