"ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้หรือในโลกอื่น หรือรัตนะใดอันประณีตในสวรรค์ ทรัพย์และรัตนะนั้นเสมอด้วยพระตถาคตย่อมไม่มี พระพุทธเจ้าแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยการกล่าวคำจริงนี้ ขอความสวัสดีจงมี....." "พระไตรปิฏก เป็นตาที่วิเศษยิ่ง, เป็นหูที่วิเศษยิ่ง, เป็นจมูกที่วิเศษยิ่ง, เป็นลิ้นที่วิเศษยิ่ง, เป็นกายที่วิเศษยิ่ง, เป็นใจที่วิเศษยิ่ง, เป็นครู-อาจารย์ที่วิเศษยิ่ง, เป็นพ่อ-แม่ที่วิเศษยิ่ง, เป็นมิตรและเข็มทิศที่วิเศษยิ่ง, เป็นแผนที่และป้ายบอกทางที่วิเศษยิ่ง, เป็นแสงสว่างส่องทางสู่นิพพานที่วิเศษยิ่ง"จากวัดสามแยก
Group Blog
 
<<
กันยายน 2556
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
21 กันยายน 2556
 
All Blogs
 
ช่วยกันตักเตือน มหาเถรสมาคม ด้วย โดยหลวงปู่เกษม อาจิณณสีโล 22 มิ.ย. 2556

เนื้อหา บางส่วนจากการแสดงธรรม ชุดนี้
      ๑.   พระพุทธเจ้าไม่ประพฤติทั้งกาย วาจา ใจ
      ๒.   พระภิกษุห้ามรับเงิน-ทอง โดยประการทั้งปวง
      ๓.   พระมหาเถระ คือ หัวหน้าในการล่วงละเมิดพระวินัย
      ๔.   อำมาตย์ผู้มีเวทมนต์สามารถทำลายกองทัพข้าศึกก็ได้
      ๕.   ตราชูในพุทธศาสนาฝ่ายภิกษุ ภิกขุณี อุบาสก อุบาสิกา
     ฯลฯ



-พระพุทธเจ้าไม่ประพฤติทั้งกาย วาจา ใจ(อ.สังคีติสูตร)เล่ม16หน้า303 ,19/397
-พระภิกษุห้ามรับเงิน-ทอง โดยประการทั้งปวง(โกสิยวรรคสิกขาบทที่8)เล่ม3หน้า940
-วิธีสละเงิน-ทอง ของภิกษุแบบถูกต้องหมดจด(สมถขันธกะ)เล่ม8หน้า600
-อำมาตย์ผู้มีเวทมนต์สามารถทำลายกองทัพข้าศึกก็ได้(ปัพพโตปมสูตร)เล่ม24หน้า524
-เรื่องเงิน-ทอง ไม่ควรแก่สมณะสาวกของพระพุทธเจ้า(เรื่องนายบ้านชื่อมณีจูฬกะ)เล่ม9หน้า535
-ตราชูในพุทธศาสนาฝ่ายภิกษุ ภิกขุณี อุบาสก อุบาสิกา(อายจนวรรค)เล่ม33หน้า466
-พระมหาเถระ คือ หัวหน้าในการล่วงละเมิดพระวินัย(ตติยอนาคตสูตร)เล่ม36หน้า195

-พระพุทธเจ้าไม่ประพฤติทั้งกาย วาจา ใจ(อ.สังคีติสูตร)เล่ม16หน้า303 ,19/397

การที่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว จะไม่พึงมีทุจริตนั้น ไม่ใช่ของน่าอัศจรรย์.แม้แต่ดำรงอยู่ในภูมิแห่งพระโพธิสัตว์ ทรงประกอบความเพียรอยู่ ๖ ปี พระองค์ก็มิได้มีทุจริต.แม้เมื่อเหล่าเทวดาเกิดความสงสัยขึ้นอย่างนี้ว่า "หนังท้องติดกระดูกสันหลัง(อย่างนี้)พระสมณโคดม  ถึงแก่การดับสูญ (เสียละกระมัง)"เมื่อถูกมารใจบาป กล่าวอยู่ว่า "สิทธัตถะ ท่านจะต้องมาลำบากลำบนทำไมท่านสามารถที่จะเสวยโภคสมบัติไปด้วย สร้างบุญกุศลไปด้วยได้"ดังนี้แม้เพียงความคิดว่า "เราจัก(กลับไป)เสวยโภคสมบัติ"ก็ไม่เกิด.
ครั้นแล้ว มารก็ติดตามพระผู้มีพระภาคเจ้าในเวลาที่ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ถึง ๖ ปี ในเวลาที่ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว อีก ๑ ปี ก็มิได้เห็นโทษผิดอันหนึ่งอันใด จึงกล่าวความข้อนี้ไว้ แล้วหลบไป ว่า
"เราติดตามพระผู้มีพระภาคเจ้าไปทุกย่างก้าว
ตลอดเวลา ๗ ปี ก็มิได้เห็นข้อบกพร่องใด ๆ ของ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า   ผู้มีพระสติไพบูลย์นั้นเลย"

อีกประการหนึ่ง พึงทราบความไม่มีทุจริตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ด้วยอำนาจแห่งพุทธธรรม ๑๘   ประการ.อันว่าพุทธธรรม ๑๘ ประการ ดังนี้ พระตถาคตไม่มีกายทุจริต ๑ ไม่มีวจีทุจริต ๑ ไม่มีมโนทุจริต ๑ พุทธญาณไม่มีอะไรติดขัดในอดีต ๑ พุทธญาณไม่มีอะไรติดขัดในอนาคต พุทธญาณไม่มีอะไรติดขัดในปัจจุบัน ๑ กายกรรมทั้งปวงของพระผู้มีพระภาคเจ้า คล้อยตามพระญาณ ๑ วจีกรรมทั้งปวงของพระผู้มีพระภาคเจ้า คล้อยตามพระญาณ ๑ มโนกรรมทั้งปวงของพระผู้มีพระภาคเจ้า คล้อยตามพระญาณ ๑ ไม่มีความเสื่อมฉันทะ ๑ ไม่มีความเสื่อมวิริยะ ๑ ไม่มีความเสื่อมสติ ๑ ไม่มีการเล่น   ๑ ไม่มีการวิ่ง ๑ ไม่มีความพลาดพลั้ง ๑ ไม่มีความผลุนผลัน ๑ ไม่มีพระทัยที่ไม่ขวนขวาย ๑ ไม่มีอกุศลจิต ๑.

เล่ม303หน้า397
ได้ยินว่า แม้อุตตรมาณพ คิดว่า "เราจักเห็นโทษไรๆ ที่ไม่น่ายินดีในกายทวาร และวจีทวารของพระตถาคตเจ้า." แล้วติดตามอยู่ ๗ เดือน ก็ไม่ได้เห็นแม้เท่ากับเล็นหรือว่าอุตตรมาณพนี้เป็นมนุษย์ จักเห็นโทษอะไรที่ไม่น่ายินดี ในกายทวารและวจีทวารของพระตถาคตเจ้าผู้เป็นพระพุทธเจ้า ถึงแม้เทวปุตตมาร ก็ติดตามตั้งแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระโพธิสัตว์เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ แสวงหาอยู่ตลอด ๖ ปี ก็ไม่ได้เห็นโทษไรๆ ที่ไม่น่ายินดี โดยที่สุดแม้เพียงความปริวิตกทางใจ.มารคิดแล้วว่า ถ้าว่าเราจักเห็นอกุศลแม้เพียงเหตุที่พระโพธิสัตว์นั้นตรึกแล้ว  ในเพราะโทษนั้นนั่นแหละเราจักตีพระโพธิสัตว์นั้นที่ศีรษะแล้วหลีกไป." มารนั้นไม่ได้เห็นแล้วตลอด ๖ ปี ติดตามพระโพธิสัตว์ผู้เป็นพระพุทธเจ้าอีก ๑ ปี ก็ไม่ได้เห็นโทษไรๆ จึงไหว้แล้วในเวลาเป็นที่ไป จึงกล่าวคาถานี้ว่า

"ข้าแต่พระโคดมผู้เป็นมหาวีระ มีปัญญามาก ผู้รุ่งเรืองด้วยพระฤทธิ์ด้วยยศ ผู้ทรงก้าวล่วงเวรภัยทั้งปวง ข้าพระองค์ขอถวายบังคมพระบาท"ดังนี้ แล้วหลีกไป.

-อำมาตย์ผู้มีเวทมนต์สามารถทำลายกองทัพข้าศึกก็ได้(ปัพพโตปมสูตร)เล่ม24หน้า524

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระราชากษัตริย์  ผู้ได้มูรธาภิเษกแล้ว ผู้เมาแล้วเพราะความเมาในความเป็นใหญ่ ผู้ถูกความกำหนัดในกามรุมแล้ว ผู้ถึงความมั่นคงในชนบท ผู้ชำนะปฐพีมณฑลอันใหญ่แล้วครอบครองอยู่ ทรงทำการรบด้วยทัพม้าแม้เหล่าใด ฯลฯ รบด้วยทัพรถแม้เหล่าใดฯลฯ รบด้วยทัพทหารเดินเท้าแม้เหล่าใด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อมรณะครอบงำอยู่ก็ไม่ใช่วิสัยที่จะทำการรบด้วยทัพทหารเดินเท้าแม้เหล่านั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญในราชสกุลนี้ มหาอำมาตย์มีผู้มนต์ ซึ่งสามารถจะใช้มนต์ทำลายข้าศึกที่ยกมา ก็มีอยู่เหมือนกัน...

-พระภิกษุห้ามรับเงิน-ทอง โดยประการทั้งปวง(โกสิยวรรคสิกขาบทที่8)เล่ม3หน้า940 

ทอง-เงิน ไม่ควรถวายภิกษุ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ พระบัญญัติ :
อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่งทอง-เงิน
หรือ ยินดีทอง-เงิน อันเขาเก็บไว้ให้ก็ดี เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
(ต้องอาบัตินิสสัคคีย์ ต้องสละสิ่งของนั้นออกไป จึงจะพ้นโทษได้)

นิสสัคคิยปาจิตตีย์ /1 ตัว (โทษที่ทำความดีให้ตกไป ต้องสละ)
ตกโรรุวนรก 1 ชั่วอายุคือ 4,000 ปีของชั้นนี้ 1 ปีในชั้นนี้ เท่ากับ 210,240 ล้านปีมนุษย์
4,000 ปีในชั้นนี้ เท่ากับ 840,960,000 ล้านปีมนุษย์ 
โยมที่ร่วมทำผิดกับพระเพราะถวาย
สิ่งของที่ผิดพระวินัย เปรียบเหมือน การสนับสนุนโจรให้มีกำลัง ให้กระทำผิด
ก็มีโทษต้องตกนรกขุมเดียวกับพระ แต่จะได้รับโทษเบากว่า

-พระเถระเป็นหัวน้าในการทำลายพระธรรมวินัย (ตติยอนาคตสูตร) เล่ม36หน้า195

ว่าด้วยภัยในอนาคต ๕ ประการ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต ๕ ประการนี้ ยังไม่บังเกิดในปัจจุบัน แต่จะบังเกิดในกาลต่อไป
ภัยในอนาคต ๕ ประการเป็นไฉน คือ
ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา จักให้อุปสมบทกุลบุตรเหล่าอื่น จักไม่สามารถแนะนำแม้กุลบุตรเหล่านั้นในอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา แม้กุลบุตรเหล่านั้น ก็จักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา ก็จักให้อุปสมบทกุลบุตรเหล่าอื่น จักไม่สามารถแนะนำแม้กุลบุตรเหล่านั้นในอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา แม้กุลบุตรเหล่านั้นก็จักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา เพราะเหตุดังนี้แล การลบล้างวินัยย่อมมีเพราะการลบล้างธรรม การลบล้างธรรมย่อมมีเพราะการลบล้างวินัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๑

ในอนาคต ภิกษุทั้งหลาย จักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา จักให้นิสัยแก่กุลบุตรเหล่าอื่น จักไม่สามารถแนะนำแม้กุลบุตรเหล่านั้นในอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา แม้กุลบุตรเหล่านั้นก็จักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา ก็จักให้นิสัยแก่กุลบุตรเหล่าอื่น จักไม่สามารถแนะนำแม้กุลบุตรเหล่านั้นในอธิศีล อธิจิต อธิปัญญาแม้กุลบุตรเหล่านั้นก็จักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา เพราะเหตุดังนี้แล การลบล้างวินัยย่อมมีเพราะการลบล้างธรรม การลบล้างธรรมย่อมมีเพราะการลบล้างวินัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๒

ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา เมื่อแสดงอภิธรรมกถา เวทัลลกถา หยั่งลงสู่ธรรมที่ผิดก็จักไม่รู้สึก เพราะเหตุดังนี้แล การลบล้างวินัยย่อมมีเพราะการลบล้างธรรมการลบล้างธรรมย่อมมีเพราะการลบล้างวินัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๓

ในอนาคต ภิกษุทั้งหลาย จักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา พระสูตรต่างๆ ที่ตถาคตได้ภาษิตไว้ เป็นสูตรลึกซึ้ง มีอรรถลึกซึ้งเป็นโลกุตระ ประกอบด้วยสุญญตาธรรม เมื่อพระสูตรเหล่านั้นอันบุคคลแสดงอยู่ก็จักไม่ฟังด้วยดี จักไม่เงี่ยโสตลงสดับ จักไม่ตั้งจิตเพื่อรู้ จักไม่ใฝ่ใจในธรรมเหล่านั้นว่าควรศึกษาเล่าเรียน แต่ว่าสูตรต่าง ๆ ที่นักกวีแต่งไว้ ประพันธ์เป็นบทกวี มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะสละสลวย เป็นพาหิรกถา เป็นสาวกภาษิต เมื่อพระสูตรเหล่านั้น อันบุคคลแสดงอยู่ ก็จักฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักตั้งจิตเพื่อรู้ จักฝักใฝ่ใจในธรรมเหล่านั้นว่า ควรศึกษาเล่าเรียน เพราะเหตุดังนี้แล การลบล้างวินัยย่อมมีเพราะการลบล้างธรรม การลบล้างธรรมย่อมมีเพราะการลบล้างวินัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๔

ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิตไม่อบรมปัญญา ภิกษุผู้เถระก็จักเป็นผู้มักมาก มีความประพฤติย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในความล่วงละเมิด ทอดธุระในความสงัด จักไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง ประชุมชนรุ่นหลังก็จักถือเอาภิกษุเหล่านั้นเป็นตัวอย่าง แม้ประชุมชนนั้นก็จักเป็นผู้มักมาก มีความประพฤติย่อหย่อน เป็นหัวหน้าใน ความล่วงละเมิด ทอดธุระในความสงัด จักไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง เพราะเหตุดังนี้แล การลบล้างวินัยย่อมมีเพราะการลบล้างธรรม การลบล้างธรรมย่อมมี เพราะการลบล้างวินัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๕

-วิธีสละเงิน-ทอง ของภิกษุแบบถูกต้องหมดจด(สมถขันธกะ)เล่ม8หน้า600

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  หากอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้รับรื้อฟื้นเป็นปาจิตตีย์ที่รื้อฟื้น หากได้การแสดงนั้นอย่างนี้ นั่นเป็นความดี หากไม่ได้ ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้า
ภิกษุผู้แก่กว่า นั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า 
 "ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าต้องอาบัติชื่อนี้ ข้าพเจ้าแสดงคืนอาบัตินั้น..“
 ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมว่า
"ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อนี้รูปนี้ระลึกเปิดเผย ทำให้ตื้น แสดงอาบัติ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว ข้าพเจ้าพึงรับ อาบัติของภิกษุมีชื่อนี้.. แล้วพึงกล่าวว่าเธอเห็นหรือ
ภิกษุผู้แสดงพึงกล่าวว่า "ขอรับ ผมเห็น"
ภิกษุผู้รับพึงกล่าวว่า "ท่านพึงสำรวมต่อไป"

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  นี้เรียกว่าอธิกรณ์ระงับแล้ว ระงับด้วยอะไร ?
ด้วยสัมมุขาวินัยกับปฏิญญาตกรณะ ในสัมมุขาวินัยนั้น มีอะไรบ้าง? มีความพร้อมหน้าสงฆ์  ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย  ความพร้อมหน้าบุคคล...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้รับรื้อฟื้นเป็นปาจิตตีย์ที่รื้อฟื้น ผู้ให้ฉันทะติเตียน  เป็นปาจิตตีย์ที่ติเตียน.

-ตราชูในพุทธศาสนาฝ่ายภิกษุ ภิกขุณี อุบาสก อุบาสิกา(อายจนวรรค)เล่ม33หน้า466

สูตรที่  ๑
[๓๗๕]๑๒๙.ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผ้มีศรัทธา เมื่ออ้อนวอนโดยชอบ พึงอ้อนวอนอย่างนี้ว่า ขอเราจงเป็นเช่นพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสารีบุตรและภิกษุโมคคัลลานะนี้ เป็นตราชูมาตรฐานของภิกษุสาวกของเรา.

สูตรที่ ๒
[๓๗๖]๑๓๐.ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นางภิกษุณีผู้มีศรัทธา เมื่ออ้อนวอนโดยชอบ พึงอ้อนวอนอย่างนี้ว่า ขอเราจงเป็นเช่นภิกษุณีเขมาและอุบลวรรณาเถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีเขมาและภิกษุณีอุบลวรรณานี้ เป็นตราชูมาตรฐานของภิกษุณีสาวิกาของเรา.

สูตรที่  ๓

[๓๗๗]๑๓๑.ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้มีศรัทธา เมื่ออ้อนวอนโดยชอบ พึงอ้อนวอนอย่างนี้ว่า ขอเราจงเป็นเช่นจิตตคฤหบดีและหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีเถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตตคฤหบดีและหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีนี้ เป็นตราชูมาตรฐานของอุบาสกสาวกของเราแล.

สูตรที่  ๔
[๓๗๘]๑๓๒.ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาผู้มีศรัทธา เมื่ออ้อนวอนโดยชอบ พึงอ้อนวอนอย่างนี้ว่า ขอเราจงเป็นเช่นอุบาสิกาขุชชุตตราและนางเวฬุกัณฏกีนันทมารดาเถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอุบาสิกาขุชชุตตราและนางเวฬุกัณฏกีนันทมารดา เป็นตราชูมาตรฐานของอุบาสิกาสาวิกาของเรา.

-เรื่องเงิน-ทอง ไม่ควรแก่สมณะสาวกของพระพุทธเจ้า(เรื่องนายบ้านชื่อมณีจูฬกะ)เล่ม9หน้า535

เรื่องนายบ้านชื่อมณีจูฬกะ

[๖๓๗]ท่านทั้งหลาย สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่เวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อเก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ชนทั้งหลายนั่งประชุมกันในราชบริษัท ภายในราชสำนัก ได้ยากถ้อยคำนี้ขึ้นสนทนาในระหว่างว่า ทองและเงินย่อมควรแก่พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรย่อมยินดีทองและเงิน  พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรย่อมรับทองและเงิน ก็คราวนั้น นายบ้านชื่อ มณีจูฬกะ นั่งอยู่ในบริษัทนั้นด้วย เขาได้กล่าวกะบริษัทนั้นว่า นาย พวกท่านอย่าได้พูดอย่างนั้น ทองและเงินไม่ควรแก่พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรไม่ยินดีทองและเงิน พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรไม่รับทองและเงิน พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรมีแก้วและทองอันวางเสียแล้ว ปราศจากทองและเงิน นายบ้านชื่อมณีจูฬกะสามารถชี้แจงให้บริษัทนั้นเข้าใจ ครั้นแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมนั่ง ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ชนทั้งหลายนั่งประชุมกันในราชบริษัทภายในราชสำนัก ได้ยกถ้อยคำนี้ขึ้นสนทนาในระหว่างว่า  ทองและ.เงินควรแก่พระสมณะเธอสายพระศากยบุตร  พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรยินดีทองและเงิน พระมณะเชื้อสายพระสากยบุตรรับทองและเงิน เมื่อชนทั้งหลายพูดอย่างนี้แล้ว ข้าพระพุทธเจ้าได้พูดกะบริษัทนั้นว่า นาย พวกท่านอย่าได้พูดเช่นนี้ ทองและเงินไม่ควรแก่พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรไม่ยินดีทองและเงิน พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรไม่รับทองและเงิน พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรมีแก้วและทองอันวางเสียแล้ว ปราศจากทองและเงิน ข้าพระพุทธเจ้าสามารถชี้แจงให้บริษัทนั้นเข้าใจได้ เมื่อข้าพระพุทธเจ้าพยากรณ์อย่างนี้ ชื่อว่ากล่าวคล้อยตามพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคำเท็จชื่อว่าพยากรณ์ธรรมอันสมควรแก่ธรรม และสหธรรมิกบางรูป ผู้กล่าวตามวาทะ ย่อมไม่ถึงฐานะที่ควรติเตียนหรือ พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า  เอาละ นายบ้าน เธอพยากรณ์อย่างนี้ ชื่อว่ากล่าวคล้อยตามเรา ชื่อว่าไม่กล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ ชื่อว่า พยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม  และสหธรรมิกบางรูปผู้กล่าวตามวาทะย่อมไม่ถึงฐานะที่ควรติเตียน ดูก่อนนายบ้าน  ทองและเงินไม่ควรแก่สมณะเชื้อสายพระศากยบุตรโดยแท้ สมณะเชื้อสายพระศากยบุตรไม่ยินดีทองและเงิน  สมณะเชื้อสายพระศากยบุตรไม่รับทองและเงิน  สมณะเชื้อสายพระศากยบุตรมีแก้วและทองอันวางเสียแล้ว ปราศจากทองและเงิน  ทองและเงินควรแก่ผู้ใด แม้กามคุณทั้งห้าก็ควรแก่ผู้นั้น กามคุณทั้งห้าควรแก่ผู้ใด เธอพึงจำผู้นั้นไว้โดยส่วน เดียวว่า มีปกติมิใช่สมณะ  มีปกติมิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร เราจะกล่าวอย่างนี้ว่า ผู้ต้องการหญ้า พึงแสวงหาหญ้า ผู้ต้องการไม้ พึงแสวงหาไม้  ผู้ต้องการเกวียน พึงแสวงหาเกวียน ผู้ต้องการบุรุษ พึงแสวงหาบุรุษ แต่เราไม่กล่าวโดยปริยายไรๆ ว่า สมณะพึงยินดี พึงแสวงหาทองและเงิน.

ข้าพเจ้าผู้มีวาทะอย่างนี้ กล่าวสิ่งไม่เป็นธรรม ว่าไม่เป็นธรรม สิ่งเป็นธรรมว่าเป็นธรรม สิ่งไม่เป็นวินัย ว่าไม่เป็นวินัย สิ่งเป็นวินัย ว่าเป็นวินัย เขาหาว่า ด่า บริภาษอุบาสกอุบาสิกา ผู้มีศรัทธาเลื่อมใสทำให้ไม่เลื่อมใส.

ที่มา : วัดป่าสามแยก ศึกษาพระธรรมวินัย เบิกบุญ โอนบุญ อกหัก โดนของ ธรรมะ ธรรมทาน คลายเครียด เจริญรุ่งเรือง //www.samyaek.com

หัวข้อพระไตรปิฏก ที่ทางวัดสามแยกคัดเอาหัวข้อย่อๆ ให้ดาวโหลดขึ้นมาไว้ เพื่ออ่านเทียบเคียงพระไตรปิฎกทั้ง 91 เล่ม (พระวัดสามแยกยกหัวข้อสำคัญเพื่อเป็นแนวทางอ่านพระไตรปิฏกทั้ง91เล่ม)
//www.samyaek.com/board2/index.php?topic=3230.msg19459#msg19459

-ศึกษาพระไตรปิฏกและอรรถกถาแปลชุด91เล่ม ของมหามกุฏราชวิทยาลัย //www.thepalicanon.com/palicanon/

-เสียงอ่านพระไตรปิฏกชุด91เล่ม //www.dharmatarzan.com/




Create Date : 21 กันยายน 2556
Last Update : 3 ตุลาคม 2556 15:29:29 น. 1 comments
Counter : 946 Pageviews.

 
ขณะนี้ วันเสาร์เวลาประเทศไทย 21:00 น.มีการถ่ายทอดสดไปทั่วโลก เทศน์โดยหลวงปู่เกษม อาจิณณสีโล จากสำนักสงฆ์ป่าสามแยก

ดูได้ที่
=> //www.samyaek.com

หรือ สามารถดูทางช่องสำรอง:
=> //live.samyaek.com/


โดย: Budratsa วันที่: 21 กันยายน 2556 เวลา:21:02:39 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Budratsa
Location :
พิจิตร Switzerland

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




สวัสดีค่ะ ยินดีต้อนรับทุกๆคนค่ะ
"ดูก่อนอานนท์ บางทีพวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ปาพจน์ (พุทธพจน์) มีพระศาสดาล่วงแล้ว พระศาสดาของพวกเราไม่มี ข้อนี้พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น ธรรมก็ดี วินัยก็ดีอันใดอันเราแสดงแล้ว ได้บัญญัติไว้แล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาแห่งพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา" เล่มที่ ๑๓ : พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ หน้าที่ ๓๒๐
Friends' blogs
[Add Budratsa's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.