"ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้หรือในโลกอื่น หรือรัตนะใดอันประณีตในสวรรค์ ทรัพย์และรัตนะนั้นเสมอด้วยพระตถาคตย่อมไม่มี พระพุทธเจ้าแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยการกล่าวคำจริงนี้ ขอความสวัสดีจงมี....." "พระไตรปิฏก เป็นตาที่วิเศษยิ่ง, เป็นหูที่วิเศษยิ่ง, เป็นจมูกที่วิเศษยิ่ง, เป็นลิ้นที่วิเศษยิ่ง, เป็นกายที่วิเศษยิ่ง, เป็นใจที่วิเศษยิ่ง, เป็นครู-อาจารย์ที่วิเศษยิ่ง, เป็นพ่อ-แม่ที่วิเศษยิ่ง, เป็นมิตรและเข็มทิศที่วิเศษยิ่ง, เป็นแผนที่และป้ายบอกทางที่วิเศษยิ่ง, เป็นแสงสว่างส่องทางสู่นิพพานที่วิเศษยิ่ง"จากวัดสามแยก
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2556
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
25 สิงหาคม 2556
 
All Blogs
 
ประเทศไทยไม่ร่มเย็น ไม่เป็นสุข โดยหลวงปู่เกษม อาจิณณสีโล 25พ.ค. 2556

เนื้อหา บางส่วนจากการแสดงธรรม ชุดนี้
      ๑.   ฟังเสียงเพลงก็บรรลุธรรมได้ ถ้าเบื่อหน่าย
      ๒.   ห้ามพระภิกษุ หุงต้มอาหารกินเอง
      ๓.   พระโพธิ์สัตว์ชาติสุดท้าย เลือกเวลา-สถานที่เกิดได้
      ๔.   ดุด่าเพื่อมุ่งธรรม เพื่อให้เป็นคนดี ไม่ต้องอาบัติ
      ๕.   เทวดารอเวลากินเหล้าจากเครืออาสาวดี
     ฯลฯ

-ฟังเสียงเพลงก็บรรลุธรรมได้ ถ้าเบื่อหน่าย(อ.สุภาษิตสูตร)เล่ม47หน้า417
-ห้ามพระภิกษุ หุงต้มอาหารกินเอง(เภสัชชขันธกะ)เล่ม7หน้า82-84,หน้า134-135
-พระโพธิ์สัตว์ชาติสุดท้าย เลือกเวลา-สถานที่เกิดได้(พรรณารัตนจักมนกัณฑ์)เล่ม73หน้า144
-พระถูกต้องกายหญิง แม้ไม่กำหนัดต้องอาบัติทุกกฏ(สังฆาฑิเสสสิกขาบทที่2)เล่ม3หน้า172-173
-ดุด่าเพื่อมุ่งธรรม เพื่อให้เป็นคนดี ไม่ต้องอาบัติ(มุสาวาทวรรคสิกขาบทที่2)เล่ม4หน้า127
-เทวดารอเวลากินเหล้าจากเครืออาสาวดี(อ.อสังกชาดก)เล่ม59หน้า56
-เทวดาตายเพราะความโกรธก็มี(พรหมชาลสูตร)เล่ม11หน้า26
-อานุญาติให้รุกรานภิกษุณีผู้จัดแจงสิ่งไม่ควร(ปาฏิเทสนียะสิกขาบทที่2)เล่ม4หน้า861
-พระสูตรที่แสดงให้เห็นว่า พุทธไปเทศน์จักรวาลอื่น(ปริสสูตร)เล่ม37หน้า611-612
-ตระกูล 500 ที่ชอบใจพระเทวฑัตก็ไปนรกด้วยกัน(อ.เภทสูตร)เล่ม45หน้า128
-พระพุทธเจ้าสอนให้ภรรยารับผิดชอบสามีให้ดีๆ(อัคคหสูตร)เล่ม36หน้า72

-ฟังเสียงเพลงก็บรรลุธรรมได้ ถ้าเบื่อหน่าย(อ.สุภาษิตสูตร)เล่ม47หน้า417

วาจาประกอบด้วยองค์ ๔ เหล่านี้ แม้หากว่านับเนื่องด้วยภาษาของชาวมิลักขะ (คนป่าเถื่อน)หรือนับเนื่องด้วยภาษาของหญิงรับใช้และนักขับร้องแม้ดังนั้นก็เป็นวาจาสุภาษิตได้เหมือนกัน เพราะนำโลกิยสุขและโลกุตรสุขมาให้.เมื่อหญิงรับใช้ผู้ดูแลข้าวกล้าที่ข้างทางในเกาะสีหลขับเพลงขับเกี่ยวด้วยชาติ ชรา พยาธิ และมรณะด้วยภาษาสีหล ภิกษุผู้บำเพ็ญวิปัสสนาประมาณ ๖๐ รูป เดินไปตามทางได้ยินเข้าก็บรรลุพระอรหัต ณ ที่นั้นเอง นี่เป็นตัวอย่าง. อนึ่ง ภิกษุผู้เริ่มวิปัสสนาชื่อติสสะไปใกล้สระปทุม เมื่อหญิงรับใช้เด็ดดอกปทุมในสระปทุมขับเพลงขับนี้ว่า

ปาตผุลฺล โกกนท สูริยาโลเกน ตชฺชียเต
เอว มนุสฺสตฺตคตา สตฺตา ชราภิเวเคน มิลายนฺติ

ดอกบัวบานในเวลาเช้า ถูกแสง
อาทิตย์แผดเผาย่อมเหี่ยวแห้ง สัตว์ทั้งหลาย
ผู้ถึงความเป็นมนุษย์ก็เหมือนอย่างนั้น ย่อม
เหี่ยวแห้งไปด้วยอำนาจของเรา ดังนี้.

ภิกษุนั้นก็บรรลุพระอรหัต.

-ดุด่าเพื่อมุ่งธรรม เพื่อให้เป็นคนดี ไม่ต้องอาบัติ(มุสาวาทวรรคสิกขาบทที่2)เล่ม4หน้า127

อานาปัตติวาร

[๒๕๔]  ภิกษุมุ่งอรรถ๑ ภิกษุมุ่งธรรม๑  ภิกษุมุ่งสั่งสอน๑  ภิกษุวิกลจริต๑  ภิกษุมีจิตฟุ้งซ่าน๑  ภิกษุกระสับกระส่ายเพราะเวทนา๑  ภิกษุอาทิกัมมิกะ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.

-เทวดารอเวลากินเหล้าจากเครืออาสาวดี(อ.อสังกชาดก)เล่ม59หน้า56

เถาวัลย์ชื่ออาสาวดี มีอยู่ที่จิตรลดาวัน ในเทวโลกชั้นดาวดึงส์ น้ำทิพย์เกิดขึ้นภายในผลของมัน เทพยดาทั้งหลายดื่มน้ำนั้นครั้งเดียว นอนเมาอยู่บนที่นอนทิพย์ถึง ๔ เดือน แต่เถาอาสาวดีนั้น หนึ่งพันปี จึงจะออกผลพวกเทพบุตรที่เป็นนักเลงสุรา คิดว่า พวกเราจักได้ผลจากเถาอาสาวดีนี้จึงยับยั้งความกระหายในการดื่มน้ำทิพย์ไว้ พากันไปดูเถานั้นเนืองๆ ว่ายังปลอดภัยอยู่หรือ? ตลอดพันปี.


-พระโพธิ์สัตว์ชาติสุดท้าย เลือกเวลา-สถานที่เกิดได้(พรรณารัตนจักมนกัณฑ์)เล่ม73หน้า144

ครั้งนั้น พระมหาสัตว์ แม้ถูกเทวดาทั้งหลายทูลวอนขอ ก็มิได้ประทานปฏิญญาคำรับรองแก่เทวดาทั้งหลาย แต่ทรงตรวจดู มหาวิโลกนะ ๕ คือกำหนดกาล ทวีป ประเทศ ตระกูลพระชนมายุของพระชนนี บรรดามหาวิโลกนะ ๕ นั้น ทรงตรวจดูกาลก่อนว่า เป็นกาลสมควร หรือยังไม่เป็นกาลสมควร.ในกาลนั้น อายุกาล [ของสัตว์]สูงกว่าแสนปีขึ้นไป ยังไม่ชื่อว่ากาล. เพราะเหตุไร.เพราะทุกข์มีชาติชรามรณะเป็นต้นไม่ปรากฏ ก็ธรรมดาพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ที่ชื่อว่าพ้นจากไตรลักษณ์ ไม่มีเลย.เมื่อพระพุทธเจ้าเหล่านั้นตรัสว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ดังนี้ สัตว์ทั้งหลายย่อมไม่เชื่อว่า  พระพุทธเจ้าเหล่านั้นตรัสเรื่องอะไร แต่นั้น การตรัสรู้ก็ไม่มีเมื่อการตรัสรู้นั้นไม่มี คำสั่งสอนก็ไม่เป็นนิยยานิกกะนำสัตว์ออกจากทุกข์ เพราะฉะนั้น กาลนั้น จึงไม่เป็นกาลสมควร.แม้อายุกาล [ของสัตว์]ต่ำกว่าร้อยปีก็ยังไม่เป็นกาลสมควร เพราะเหตุไร เพราะกาลนั้น สัตว์ทั้งหลายมีกิเลสหนาแน่น และโอวาทที่ประทานแก่สัตว์ทั้งหลายที่มีกิเลสหนาแน่น ไม่อยู่ในฐานะควรโอวาท เพราะฉะนั้นกาลแม้นั้น ก็ไม่เป็นกาลสมควร. อายุกาลอย่างต่ำตั้งแต่แสนปีลงมา อย่างสูงตั้งแต่ร้อยปีขึ้นไป ชื่อว่า กาลสมควร.บัดนี้มนุษย์ทั้งหลายมีอายุร้อยปี เพราะเหตุนั้น ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ทรงเห็นว่าเป็นกาลที่ควรบังเกิด

-พระสูตรที่แสดงให้เห็นว่า พุทธไปเทศน์จักรวาลอื่น(ปริสสูตร)เล่ม37หน้า611-612

๑๖.ปริสสูตร

[๑๖๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๘ จำพวกนี้ ๘ จำพวกเป็นไฉน คือ บริษัทกษัตริย์ ๑ บริษัทพราหมณ์ ๑ บริษัทคฤหบดี ๑ บริษัทสมณะ ๑ บริษัทเทวดาชั้นจาตุมมหาราช ๑ บริษัทเทวดา
ชั้นดาวดึงส์ ๑ บริษัทมาร ๑ บริษัทพรหม ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราเข้าไปหาบริษัทกษัตริย์หลายร้อยบริษัท ย่อมรู้ดีว่า แม้ในบริษัทนั้นเราเคยนั่งประชุมด้วย เคยสนทนาปราศรัยด้วย  เคยสนทนาธรรมด้วย ในบริษัทกษัตริย์นั้น กษัตริย์เหล่านั้นมีวรรณเช่นใด เราก็มีวรรณเช่นนั้น กษัตริย์เหล่านั้นมีเพียงเช่นใด เราก็มีเสียงเช่นนั้นเราชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหารร่าเริงด้วยธรรมีกถาและเมื่อเรากำลังพูดอยู่ บริษัทกษัตริย์เหล่านั้นย่อมไม่รู้ ใครหนอนี่เป็นเทวดาหรือมนุษย์พูดอยู่ ครั้นเราชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทานให้อาจหาญร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้วหายไป เมื่อเราหายไปแล้วกษัตริย์เหล่านั้นก็ไม่รู้ว่า ใครหนอนี้ เป็นเทวดาหรือมนุษย์หายไปแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเข้าไปหาบริษัทพราหมณ์หลายร้อยบริษัท ฯลฯ บริษัทคฤหบดี ฯลฯ บริษัทสมณะ ฯลฯ บริษัทเทวดาชั้นจาตุมมหาราช ฯลฯ บริษัทเทวดาชั้นดาวดึงส์ ฯลฯ บริษัทมาร ฯลฯ บริษัทพรหมหลายร้อย บริษัท ย่อมรู้ดีว่า แม้ในนริษัทพรหมนั้น เราเคยนั่งประชุมด้วย เคยสนทนาปราศรัยด้วย เคยสนทนาธรรมด้วย ในบริษัทพรหมนั้น พรหมเหล่านั้นมีวรรณเช่นใด เราก็มีวรรณเช่นนั้น พรหมเหล่านั้นมีเสียงเช่นใดเราก็มีเพียงเช่นนั้น เราชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญร่าเริงด้วยธรรมีกถา และเมื่อเรากำลังพูดอยู่ พรหมเหล่านั้นก็ไม่รู้ว่า ใครหนอนี่ เป็นเทวดาหรือมนุษย์พูดอยู่ ครั้นเราชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้วหายไปและเมื่อเราหายไปแล้ว พรหมเหล่านั้นก็ไม่รู้ว่า ใครหนอนี่ เป็นเทวดาหรือมนุษย์หายไปแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  บริษัท ๘ จำพวกนี้แล.

จบ  ปริสสูตรที่  ๑๖

-พระถูกต้องกายหญิง แม้ไม่กำหนัดต้องอาบัติทุกกฏ(สังฆาฑิเสสสิกขาบทที่2)เล่ม3หน้า172-173

วินีตวัตถุในสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๒

พึงทราบวินิจฉัย ในวินีตวัตถุทั้งหลายต่อไปนี้:-
สองบทว่า
มาตุยา มานุปฺเปเมน ความว่า ย่อมจับต้องกายของมารดาด้วยความรักฉันมารดา.ในเรื่องลูกสาวและพี่น้องสาว ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.ในพระบาลีนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าปรับอาบัติทุกกฏ เหมือนกันทั้งนั้น แก่ภิกษุผู้จับต้อง ด้วยความรักอาศัยเรือนว่า ผู้นี้เป็นมารดาของเรา นี้เป็นธิดาของเรา นี้เป็นพี่น้องสาวของเรา เพราะขึ้นชื่อว่าผู้หญิงแม้ทั้งหมด จะเป็นมารดาก็ตาม เป็นธิดาก็ตาม เป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ทั้งนั้น.

ก็เมื่อภิกษุระลึกถึงพระอาญานี้ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ถ้าแม้นว่าเห็นมารดาถูกกระแสน้ำพัดไป ไม่ควรจับต้องด้วยมือเลย.แต่ภิกษุผู้ฉลาดพึงนำเรือ หรือแผ่นกระดาน หรือท่อนกล้วย หรือท่อนไม้เข้าไปให้เมื่อเรือเป็นต้นนั้นไม่มี แม้ผ้ากาสาวะนำไปวางไว้ข้างหน้า แต่ไม่ควรกล่าวว่า จงจับที่นี้.เมื่อท่านจับแล้ว พึงสาวมาด้วยทำในใจว่า เราสาวบริขารมา.ก็ถ้ามารดากลัว พึงไปข้างหน้าๆ แล้วปลอบโยนว่า อย่ากลัวถ้ามารดาถูกน้ำพัดไปรีบขึ้นคอ หรือจับที่มือของภิกษุผู้เป็นบุตร ภิกษุอย่าพึงสลัดว่า หลีกหนีไป หญิงแก่ พึงส่งไปให้ถึงบก.เมื่อมารดาติดหล่มก็ดี ตกลงไปในบ่อก็ดี มีนัยเหมือนกันนี้.อธิบายว่า ภิกษุพึงฉุดขึ้น แต่อย่าพึงจับต้องเลย.

-เทวดาตายเพราะความโกรธก็มี(พรหมชาลสูตร)เล่ม11หน้า26

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีเทวดาชื่อว่ามโนปโทสิกะ.เทวดาพวกนั้นมักเพ่งโทษกันและกันเกินขอบเขต.เมื่อเทวดาพวกนั้นเพ่งโทษกันและกันเกินขอบเขต ย่อมคิดมุ่งร้ายกันและกัน เมื่อต่างคิดมุ่งร้ายกันและกัน จึงลำบากกายลำบากใจ พากันจุติจากหมู่นั้น.

-อานุญาติให้รุกรานภิกษุณีผู้จัดแจงสิ่งไม่ควร(ปาฏิเทสนียะสิกขาบทที่2)เล่ม4หน้า861

พระบัญญัติ

๑๔๓.๒.อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายรับนิมนต์ฉันในสกุล ถ้าภิกษุณีมายืนสั่งเสียอยู่ในที่นั้นว่า จงถวายแกงในองค์นี้ จงถวายข้าวในองค์นี้ภิกษุทั้งหลายนั้นพึงรุกรานภิกษุณีนั้นว่า "น้องหญิง เธอจงหลีกไปเสียตลอดเวลาภิกษุฉันอยู่" ถ้าภิกษุแม้รูปหนึ่งไม่กล่าวออกไป เพื่อจะรุกรานภิกษุณีว่า น้องหญิง เธอจงหลีกไปเสีย ตลอดเวลาที่ภิกษุฉันอยู่ ภิกษุเหล่านั้นพึงแสดงคืนว่า แน่ะเธอ พวกฉันต้องธรรมที่น่าติ ไม่เป็นที่สบาย ควรจะแสดงคืน พวกฉันแสดงคืนธรรมนั้น.

เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์  จบ

-ห้ามพระภิกษุ หุงต้มอาหารกินเอง(เภสัชชขันธกะ)เล่ม7หน้า82-84,หน้า134-135

พุทธประเพณี

พระตถาคตทั้งหลายทรงทราบอยู่ ย่อมตรัสถามก็มี ทรงทราบอยู่ ย่อมไม่ตรัสถามก็มี ทรงทราบกาลแล้วตรัสถาม ทรงทราบกาลแล้วไม่ตรัสถามพระตถาคตทั้งหลาย ย่อมตรัสถามสิ่งที่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ตรัสถามสิ่งที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ในสิ่งที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ พระองค์ทรงกำจัดด้วยข้อปฏิบัติ.

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมสอบถามภิกษุทั้งหลายด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ จักทรงแสดงธรรมอย่างหนึ่ง จักทรงบัญญัติสิกขาบทแก่พระสาวกทั้งหลายอย่างหนึ่ง.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ ยาคูนี้ได้มาแค่ไหน ?

ท่านพระอานนท์กราบทูลเรื่องนั้นให้ทรงทราบทันที.

ทรงตำหนิท่านพระอานนท์

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนอานนท์ การกระทำของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร  มิใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ดูก่อนอานนท์ ไฉนเธอจึงได้พอใจในความมักมากเช่นนี้เล่า ดูก่อนอานนท์ อามิสที่เก็บไว้ในภายในที่อยู่ เป็นอกัปปิยะ แม้ที่หุงต้มในภายในที่อยู่ ก็เป็นอกัปปิยะแม้ที่หุงต้มเอง ก็เป็นอกัปปิยะ.การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส...ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายดังต่อไปนี้:-

พระพุทธบัญญัติห้ามอามิสที่เป็นอันโตวุตถะเป็นต้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันอามิสที่เก็บไว้ในภายในที่อยู่ ที่หุงต้มในภายในที่อยู่ และที่หุงต้มเอง รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อามิส ถ้าเก็บไว้ในภายในที่อยู่ หุงต้มในภายในที่อยู่ และหุงต้มเอง ถ้าภิกษุฉันอามิสนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ ๓ ตัว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อามิส ถ้าเก็บไว้ในภายในที่อยู่ หุงต้มในภายในที่อยู่แต่ผู้อื่นหุงต้ม ถ้าภิกษุฉันอามิสนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อามิส ถ้าเก็บไว้ในภายในที่อยู่ แต่หุงต้มในกายนอกและหุงต้มเอง ถ้าภิกษุฉันอามิสนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อามิส ถ้าเก็บไว้ในภายนอก แต่หุงต้มในภายในและหุงต้มเอง ถ้าภิกษุฉันอามิสนั้น ต้ออาบัติทุกกฏ ๒ ตัว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อามิส ถ้าเก็บไว้ในภายในที่อยู่ แต่หุงต้นในกายนอก และผู้อื่นหุงต้ม ถ้าภิกษุฉันอามิสนั้น ต้องอาบัติทุกกฏตัวเดียว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อามิส ถ้าเก็บไว้ในภายนอก หุงค้มในภายใน แค่ผู้อื่นหุงต้ม ถ้าภิกษุฉันอามิสนั้น ต้องอาบัติทุกกฏตัวเดียว

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อามิส ถ้าเก็บไว้ในภายนอก หุงต้มในภายนอกแต่หุงต้มเอง ถ้าภิกษุฉันอามิสนั้น ต้องอาบัติทุกกฏตัวเดียว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อามิส ถ้าเก็บไว้ในภายนอก หุงต้มในภายนอกและผู้อื่นหุงต้ม ถ้าภิกษุฉัน อามิสนั้นและ ไม่ต้องอาบัติ.

หน้า134-135

พระพุทธบัญญัติห้ามภัตตาหารบางชนิด

[๘๑]ก็โดยสมัยนั้นแล พระนครเวสาลีมีภิกษาหารมาก มีข้าวกล้างอกงาม บิณฑบาตก็หาง่าย ภิกษุสงฆ์จะยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยการถือบาตรแสวงหาก็ทำได้ง่าย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับหลีกเร้นอยู่ในที่สงัดทรงพระปริวิตกอย่างนี้ว่า ภัตตาหารที่เราอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลาย เมื่อคราวอัตคัดอาหารมีข้าวกล้าน้อย  บิณฑบาตได้ฝืดเคือง คืออาหารที่เก็บไว้ภายในที่อยู่  ๑ อาหารที่หุงต้มภายในที่อยู่ ๑ อาหารที่หุงต้มเอง ๑ อาหารที่จับต้องแล้วรับประเคนใหม่ ๑  อาหารที่ทายกนำมาจากที่นิมนต์นั้น ๑ อาหารที่รับประเคนฉันในปุเรภัต ๑  อาหารที่เกิดในป่าและเกิดในสระบัว ๑ ภัตตาหารเหล่านั้น  ภิกษุทั้งหลายยังฉันอยู่ทุกวันนี้หรือหนอ ?

ครั้นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่ประทับพักเร้น แล้วรับสั่งถามพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ ภัตตาหารที่เราอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลาย เมื่อคราวอัตคัดอาหาร มีขาวกล้าน้อย บิณฑบาตได้ฝืดเคือง คืออาหารทีเก็บไว้ภายในที่อยู่ ๑ อาหารที่หุงต้มภายในที่อยู่ ๑ อาหารที่หุงต้มเอง ๑ อาหารที่จับต้องแล้วรับประเคนใหม่ ๑  อาหารที่ทายกนำมาจากที่นิมนต์นั้น ๑ อาหารที่รับประเคนฉันในปุเรภัต ๑ อาหรที่เกิดในป่าและเกิดในสระบัว ๑  ภัตตาหารเหล่านั้น ภิกษุทั้งหลายยังฉันอยู่ทุกวันนี้หรือ ?
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า  ยังฉัน อยู่พระพุทธเจ้าข้า.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น   แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภัตตาหารที่เราอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายเมื่อคราวอัตคัดอาหาร มีข้าวกล้าน้อยบิณฑบาตได้ฝืดเคือง คืออาการที่เก็บไว้ภายในที่อยู่๑ อาหารที่หุงต้มภายในที่อยู่ ๑ อาหารที่หุงต้มเอง ๑ อาหารที่จับต้องแล้วรับประเคนใหม่ ๑ อาหารที่ทายกนำมาจากที่นิมนต์นั้น ๑ อาหารที่รับประเคนฉันในปุเรภัต ๑ อาหารที่เกิดในป่าและเกิดในสระบัว ๑ ภัตตาหารเหล่านั้น เราห้ามจำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันอาหารที่เก็บไว้ภายในที่อยู่ อาหารที่หุงต้มภายในที่อยู่ อาหารที่หุงต้มเอง อาหารที่จับต้องแล้วรับประเคนใหม่รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนอาหารที่ทายกนำมาจากที่นิมนต์นั้น อาหารที่รับประเคนฉันในปุเรภัต อาหารที่เกิดในป่าและเกิดในสระบัว ยังไม่เป็นเคน ภิกษุฉันเสร็จ ห้ามภัตแล้ว ไม่พึงฉัน รูปใดฉัน พึงปรับอาบัติตามธรรม.

ที่มา : วัดป่าสามแยก ศึกษาพระธรรมวินัย เบิกบุญ โอนบุญ อกหัก โดนของ ธรรมะ ธรรมทาน คลายเครียด เจริญรุ่งเรือง //www.samyaek.com

หัวข้อพระไตรปิฏก ที่ทางวัดสามแยกคัดเอาหัวข้อย่อๆ ให้ดาวโหลดขึ้นมาไว้ เพื่ออ่านเทียบเคียงพระไตรปิฎกทั้ง 91 เล่ม (พระวัดสามแยกยกหัวข้อสำคัญเพื่อเป็นแนวทางอ่านพระไตรปิฏกทั้ง91เล่ม)
//www.samyaek.com/board2/index.php?topic=3230.msg19459#msg19459

-ศึกษาพระไตรปิฏกและอรรถกถาแปลชุด91เล่ม ของมหามกุฏราชวิทยาลัย //www.thepalicanon.com/palicanon/

-Facebook พุทธพจน์ //www.facebook.com/login.php?next=http%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2Fgroups%2FBuddhaspeech

-Download free พระไตรปิฏกพร้อมหัวข้อธรรมสำหรับ apple ipad & iphone & Android ดูรายละเอียดได้ที่เวบ //www.tripitaka91.com 

****หมายเหตุ "แสดงธรรมวันอาสาฬหบูชา ปี 2555" (//youtu.be/l52iDWt3V5Q ) นาทีที่ 6:01:55 ..เป็นต้นไป หลวงปู่ท่านได้พูดถึง ทนายชนอณุพงศ์ ชัยธนาวิรัตน์ ท่านใดมีปัญหาด้านกฏหมาย,คดีความต่างๆ ปรึกษาได้ที่ ทนายชนอณุพงศ์ ชัยธนาวิรัตน์ ที่เมล์ pasponglawyer@hotmail.com ,เบอร์โทรที่ 0818060981 , 0867809391 ****




Create Date : 25 สิงหาคม 2556
Last Update : 25 สิงหาคม 2556 16:29:40 น. 2 comments
Counter : 1055 Pageviews.

 
ทุกๆ วันเสาร์เวลาประเทศไทย โดยประมาณ 20:30 น.มีการถ่ายทอดสดไปทั่วโลก เทศน์โดยหลวงปู่เกษม อาจิณณสีโล จากสำนักสงฆ์ป่าสามแยก

ดูได้ที่
=> //www.samyaek.com

หรือ สามารถดูทางช่องสำรอง:
=> //live.samyaek.com/


โดย: Budratsa วันที่: 25 สิงหาคม 2556 เวลา:16:30:55 น.  

 
...แจกฟรี...CD พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด 91 เล่ม ของมหามกุฏราชวิทยาลัย และDVD จากการแสดงธรรมของหลวงปู่เกษม อาจิณณสีโล ได้ที่www.samyaek.com คลิกที่กระดาน "แจกสื่อธรรม" หากท่านใดยังไม่ได้สมัครสมาชิก ใช้
Username : Media
Password : 123456
........................................

หรือ ติดต่อเจ้าของบล็อก มีทั้ง91เล่ม แล้วให้ดาวโหลดเอง จะส่งผ่านเมล์ไปให้ ท่านใดสนใจติดต่อที่เจ้าของบล็อก จะฝากเมล์ไว้ที่ช่องคอมเม้นต์หรือส่งเมล์หาเจ้าของบล็อก (เมล์ในProfile) โปรดระบุว่า "ขอพระไตรปิฏกชุด 91 เล่ม"

ยินดีในบุญกับท่านที่ต้องการศึกษาพระธรรมของพระพุทธเจ้าด้วยค่ะ


โดย: Budratsa วันที่: 25 สิงหาคม 2556 เวลา:16:32:37 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Budratsa
Location :
พิจิตร Switzerland

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




สวัสดีค่ะ ยินดีต้อนรับทุกๆคนค่ะ
"ดูก่อนอานนท์ บางทีพวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ปาพจน์ (พุทธพจน์) มีพระศาสดาล่วงแล้ว พระศาสดาของพวกเราไม่มี ข้อนี้พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น ธรรมก็ดี วินัยก็ดีอันใดอันเราแสดงแล้ว ได้บัญญัติไว้แล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาแห่งพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา" เล่มที่ ๑๓ : พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ หน้าที่ ๓๒๐
Friends' blogs
[Add Budratsa's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.