"ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้หรือในโลกอื่น หรือรัตนะใดอันประณีตในสวรรค์ ทรัพย์และรัตนะนั้นเสมอด้วยพระตถาคตย่อมไม่มี พระพุทธเจ้าแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยการกล่าวคำจริงนี้ ขอความสวัสดีจงมี....." "พระไตรปิฏก เป็นตาที่วิเศษยิ่ง, เป็นหูที่วิเศษยิ่ง, เป็นจมูกที่วิเศษยิ่ง, เป็นลิ้นที่วิเศษยิ่ง, เป็นกายที่วิเศษยิ่ง, เป็นใจที่วิเศษยิ่ง, เป็นครู-อาจารย์ที่วิเศษยิ่ง, เป็นพ่อ-แม่ที่วิเศษยิ่ง, เป็นมิตรและเข็มทิศที่วิเศษยิ่ง, เป็นแผนที่และป้ายบอกทางที่วิเศษยิ่ง, เป็นแสงสว่างส่องทางสู่นิพพานที่วิเศษยิ่ง"จากวัดสามแยก
Group Blog
 
<<
กันยายน 2555
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
29 กันยายน 2555
 
All Blogs
 
พระระภิกษุต้องย่ำยีลาภ ยศ สรรเสริญ โดยหลวงปู่เกษม อาจิณณสีโล7 ก.ค.2555

เนื้อหา บางส่วนจากการแสดงธรรมชุดนี้
      ๑. เป็นพระภิกษุต้องย่ำยี ลาภ ยศ สรรเสริญ
      ๒. ยินดีในรูปร่างว่าสวยงาม เป็นอกุศลธรรมอันลามก
      ๓. "ไฟนรก"ไม่สามารถมองดูได้ด้วยตาเปล่า
      ๔. ท่านพระยายมราช จะพูดจาไพเราะกับสัตว์นรก
      ๕. ด่าพระพุทธเจ้าอย่างหนัก แต่หลุดพ้นได้เพราะสำนึกผิด
     ฯลฯ

เป็นพระภิกษุต้องย่ำยี ลาภ ยศ สรรเสริญ (ลาภสักการสังยุต) เล่ม26หน้า639

สุทธกสูตร ว่าด้วยลาภสักการะเป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรม

   ข้าพเจ้าได้ฟังมาอย่างนี้ :-สมัยหนึ่ง  พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า.

     พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายลาภสักการะ และความสรรเสริญ ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่าเพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักละลาภสักการะและความสรรเสริญที่เกิดขึ้นแล้วเสีย และลาภสักการะและความสรรเสริญที่บังเกิดขึ้นแล้ว จักครอบงำจิตของเราทั้งหลายตั้งอยู่ไม่ได้เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.

ยินดีในรูปร่างว่าสวยงาม เป็นอกุศลธรรมอันลามก(อ.มหาราหุโลวาทสูตร) เล่ม20หน้า288

แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดำเนินไปเบื้องหน้าก็ทรงดำริว่า บัดนี้ราหุลมีร่างกายสมบูรณ์ด้วยผิวเนื้อและโลหิตแล้ว.  เป็นเวลาที่จิตฟุ้งซ่านไปในรูปารมณ์เป็นต้นอันน่ากำหนัด. ราหุลยังกาลให้ล่วงไปเพราะเป็นผู้มักมากหรือหนอ. ครั้นแล้วพร้อมกับทรงคำนึงได้ทรงเห็นจิตตุปบาทของราหุลนั้น ดุจเห็นปลาในน้ำใสและดุจเห็นเงาหน้าในพื้นกระจกอันบริสุทธิ์. ก็ครั้นทรงเห็นแล้วได้ทรงทำพระอัธยาศัยว่า ราหุลนี้เป็นโอรสของเรา เดินตามหลังเรา มาเกิดฉันทราคะอันอาศัยเรือนเพราะอาศัยอัตภาพว่า เรางาม  ผิวพรรณของเราผ่องใส. ราหุลแล่นไปในที่มิใช่น่าดำเนิน ไปนอกทาง เที่ยวไปในโคจร ไปยังทิศที่ไม่ควรไปดุจคนเดินทางหลงทิศ. อนึ่งกิเลสของราหุลนี้เติบโตขึ้นในภายในย่อมไม่เห็นแม้ประโยชน์ตน แม้ประโยชน์ผู้อื่น  แม้ประโยชน์ทั้งสองตามความเป็นจริง.จากนั้นจักถือปฏิสนธิในนรกบ้าง ในกำเนิดเดียรัจฉานบ้าง ในปิตติวิสัยบ้าง ในครรภ์มารดาอันคับแคบบ้าง  เพราะเหตุนั้นจักตกไปในสังสารวัฏอันไม่รู้เบื้องต้นที่สุด.

พระมหากัสสปะเถระ บำเพ็ญเพียรเพียง7วัน(ประวัติพระมากัสสปะเถระ) เล่ม32หน้า303

 ในสมัยนั้นมหาปฐพีนี้แม้ไม่มีจิตใจก็ไหวจนถึงน้ำรองแผ่นดินเหมือนจะกล่าวว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ทรงทำสิ่งที่ทำได้ยาก จีวรที่พระองค์ห่มแล้ว ชื่อว่าเคยได้ประทานแก่พระสาวกไม่มี (คือไม่เคยมีการประทานจีวรที่ทรงห่มแล้วแก่สาวก) ข้าพระองค์ไม่อาจรองรับคุณของพระองค์ได้. แม้พระเถระก็มิได้กระทำเหย่อหยิ่งว่า เดี๋ยวนี้เราได้จีวรสำหรับใช้สอยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย สิ่งที่เราจะพึงทำให้ยิ่งขึ้นไปในบัดนี้ยังจะมีอยู่หรือ จึงได้สมาทานธุดงค์คุณ ๑๓ข้อในสำนักของพระพุทธเจ้านั่นแหละ  เป็นปุถุชนเพียง ๗ วันในอรุณที่ ๘ ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยสูตรทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กัสสปเปรียบเหมือนพระจันทร์เข้าไปสู่ตระกูลทั้งหลาย หลีกกาย หลีกใจจากอกุศลธรรมทั้งหลายเป็นผู้ใหม่อยู่เสมอ ไม่คนองในตระกูลทั้งหลาย. ครั้นมาภายหลังทรงกระทำกัสสปสังยุตนี้แหละให้เป็นเหตุเกิดเรื่อง จึงทรงสถาปนาพระเถระไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้วยพระดำรัสว่า มหากัสสปเป็นยอดของภิกษุทั้งหลายผู้ถือธุดงค์และสอนเรื่องธุดงค์ ในศาสนาของเรา.

"ไฟนรก"ไม่สามารถมองดูได้ด้วยตาเปล่า(เรื่องนายจุนทสูกริก) เล่ม40หน้า171

อเวจีนรกร้อนยิ่งกว่าไฟธรรมดา

ขึ้นชื่อว่าความเร่าร้อนในอเวจี ย่อมเป็นความร้อนที่สามารถทำลายนัยน์ตาของผู้ยืนดูอยู่ในที่ประมาณ ๑๐๐ โยชน์ได้. สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดังนี้ว่า

"ความเร่าร้อนในอเวจี แผ่ไปตลอด ๑๐๐ โยชน์โดยรอบ ตั้งอยู่ทุกเมื่อ.๑และเพราะเหตุที่ความเร่าร้อนในอเวจีนั้น มีประมาณยิ่งกว่าความเร่าร้อนของไฟโดยปกติ พระนาคเสนเถระจึงกล่าวอุปมานี้ไว้ว่า "มหาบพิตรแม้หินประมาณเท่าเรือนยอด อันบุคคลทุ่มไปในไฟนรกย่อมถึงความย่อยยับได้โดยขณะเดียวฉันใด ส่วนสัตว์ที่เกิดในนรกนั้นเป็นประหนึ่งอยู่ในครรภ์มารดา จะย่อยยับไปเพราะกำลังแห่งกรรมเหมือนฉันนั้น หามิได้.

แม้จะเป็นเปรตก็สามารถบรรลุธรรมได้(อ.โปสาลมาณวกปัญหานิทเทส) เล่ม67หน้า357

วินิปาติกะ (ผู้ตกไปในอบาย)บางพวก คือเวมานิกเปรตเหล่าอื่นมีอาทิอย่างนี้ คือยักษิณีผู้เป็นมารดาของปุนัพพสุ กษิณีผู้เป็นมารดาของปิยังกระ ยักษิณีผู้เป็นมิตรของปุสสะผู้ยินดีในธรรม พ้นจากอบาย ๔. ร่างกายของเวมานิกเปรตเหล่านั้นต่าง ๆ กันด้วยสี มีผิวขาว ดำ ผิวทอง และสีนิลเป็นต้น ด้วยลักษณะมีผอม อ้วน เตี้ย สูง. แม้สัญญาก็ต่างกันด้วยสามารถแห่งติเหตุกะ  ทุเหตุกะและอเหตุกะ เหมือนของมนุษย์ทั้งหลาย. แต่เวมานิกเปรตเหล่านั้นไม่มีศักดิ์มากเหมือนทวยเทพ มีศักดิ์น้อยเหมือนคนจนหาของกินและเครื่องปกปิดได้ยาก ถูกทุกข์บีบคั้นอยู่. บางพวกได้รับทุกข์ในข้างแรม ได้รับสุขในข้างขึ้น. เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า วินิปาติกะ เพราะตกไปจากการสะสมความสุข. แต่เวมานิกเปรตที่เป็นติเหตุกะ ย่อมเป็นผู้บรรลุธรรมได้ดุจการบรรลุธรรมของยักษิณีผู้เป็นมารดาของปิยังกระเป็นต้น.

เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้ จะเกิดความสว่างไปถึงโลกันตนรก(ปฐมอัจฉริยสูตร) เล่ม35หน้า336-337

  ปฐมอัจฉริยสูตรว่าด้วยความอัศจรรย์  ๔  ในพระตถาคตเจ้า

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ความอัศจรรย์ไม่เคยมี ๔ ประการย่อมปรากฏ  เพราะความปรากฏแห่งพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๔ ประการเป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด พระโพธิสัตว์จุติจากชั้นดุสิต มีสติมปชัญญะ เสด็จลงสู่ครรภ์พระมารดา เมื่อนั้น แสงสว่างอันโอฬารหาประมาณมิได้ ย่อมปรากฏในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก  พรหมโลกในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย แม้ในโลกันตริกนรกอันโล่งโถง ไม่มีอะไรปิดบัง มืดมิดมองไม่เห็นอะไร  ซึ่งแสงสว่างแห่งพระจันทร์และพระอาทิตย์ที่มีฤทธิ์มีอานุภาพมากอย่างนั้นส่องไม่ถึง แต่แสงสว่างอันยิ่ง หาประมาณมิได้ ย่อมปรากฏแม้ในโลกันตริกนรกนั้น ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย แม้พวกสัตว์ที่เกิดในนรกนั้น ย่อมจำกันและกันได้ด้วยแสงสว่างนั้นว่า ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่าแม้สัตว์เหล่าอื่นผู้เกิดในที่นี้ก็มี  (ไม่ใช่มีแต่เรา)  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  นี้เป็นความอัศจรรย์ไม่เคยมีข้อที่ ๑  ย่อมปรากฏ  เพราะความปรากฏแห่งพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า.

อีกประการหนึ่ง เมื่อใด พระโพธิสัตว์มีสติสัมปชัญญะ ประสูติจากครรภ์พระมารดา ฯลฯ  ดูก่อนพระภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความอัศจรรย์ไม่เคยมีข้อที่ ๒ ย่อมปรากฏ เพราะความปรากฏแห่งพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า.

อีกประการหนึ่ง เมื่อใด พระตถาคตตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความอัศจรรย์ไม่เคยมีข้อที่ ๓ ย่อมปรากฏเพราะความปรากฏแห่งพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า.

อีกประการหนึ่ง เมื่อใด พระตถาคตประกาศอนุตรธรรมจักร เมื่อนั้นแสงสว่างอย่างยิ่ง หาประมาณมิได้ ย่อมปรากฏในโลกพร้อมทั้งเทวโลกมารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย แม้ในโลกันตริกนรกอันโล่งโถง ไม่มีอะไรปิดบัง มืดมิดมองไม่เห็นอะไร ซึ่งแสงสว่างแห่งพระจันทร์และพระอาทิตย์ที่มีฤทธิ์มีอานุภาพมากอย่างนั้นส่องไม่ถึง แต่แสงสว่างอย่างยิ่ง หาประมาณมิได้ ย่อมปรากฏแม้ในโลกันตริกนรกนั้น ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย แม้พวกสัตว์ที่เกิดในนรกนั้น ย่อมจำกันและกันได้ด้วยแสงสว่างนั้นว่า ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า แม้สัตว์เหล่าอื่นผู้เกิดในที่นี้ก็มี  (ไม่ใช่มีแต่เรา)ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความอัศจรรย์ไม่เคยมีข้อที่ ๔ ย่อมปรากฏ เพราะความปรากฏแห่งพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความอัศจรรย์ไม่เคยมี ๔ ประการนี้ ย่อมปรากฏ เพราะความปรากฏแห่งพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า.

ท่านพระยายมราช จะพูดจาไพเราะกับสัตว์นรก(ทูตสูตร)เล่ม34หน้า148

 ว่าด้วยเทวทูต  ๓ จำพวก

  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  เทวทูต ๓ นี้ ๓ คืออะไรบ้าง คือบุคคลลางคนในโลกน  ประพฤติทุจริตด้วยกาย... ด้วยวาจา... ด้วยใจ  บุคคลนั้น ครั้นประพฤติทุจริตด้วยกาย ... ด้วยวาจา... ด้วยใจแล้ว    เพราะกายแตกตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก นิรยบาลทั้งหลาย ต่างก็จับบุคคลนั้นที่แขนไปแสดงแก่พญายมว่า  ข้าแต่เทวะ บุรุษผู้นี้เป็นคนไม่เกื้อกูลมารดา... บิดา... สมณะ.. พราหมณ์  ไม่อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในสกุล ขอพระองค์จงลงทัณฑ์แก่บุรุษนี้เถิด.

-พญายมซักไซ้ไล่เลียง เทวทูตที่หนึ่ง กะบุรุษนั้นว่า  ดูก่อนพ่อเจ้าไม่ได้เห็นเทวทูตที่หนึ่ง ซึ่งปรากฏอยู่ในหมู่มนุษย์หรือ.
-บุรุษนั้นตอบว่า  ไม่ได้เห็น  เจ้าข้า.
-พญายม. เจ้าไม่ได้เห็นหรือ  ในหมู่มนุษย์ หญิงหรือชายที่แก่แล้วมีอายุ  ๘๐ ปีบ้าง ๙๐ ปีบ้าง ๑๐๐ ปีบ้าง เป็นคนชราหลังโกง ค่อม กรานไม้เท้าเดินงกเงิ่น กระสับกระส่าย  สิ้นความเป็นหนุ่มสาวแล้ว ฟันหัก ผมหงอกเกรียน หัวล้าน ตัวเป็นเกลียวตกกระ.
-บุรุษนั้น. ได้เห็น เจ้าข้า.
-พญายม. เจ้าน่ะ เป็นผู้ใหญ่รู้เดียงสาแล้ว ไม่ได้คำนึงบ้างหรือว่าถึงตัวเราก็มีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงความแก่ไปได้ มาเราจะทำความดีด้วยกายวาจาใจเถิด.

บำเพ็ญเพียรอย่างเด็ด แม้จะตายก็ไม่หวั่นไหว(ประวัติประวัติพระทัพพมัลลบุตร) เล่ม32หน้า423-424

    ครั้งพระปทุมุตตระพุทธเจ้า พระเถระนี้เกิดในครอบครัวในกรุงหงสวดี เจริญวัยแล้วไปวิหารฟังธรรมโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุไว้ในตำแหน่งเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้มีหน้าที่จัดเสนาสนะ กระทำกุศลกรรมปรารถนาตำแหน่งนั้น พระศาสดาทรงพยากรณ์แล้วกระทำกุศลจนตลอดชีพ เวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ เมื่อครั้งศาสนาของพระกัสสปทศพล เสื่อมแล้ว จึงบวชแล้ว ครั้งนั้น คนอื่นอีก ๖ คน กับภิกษุนั้นรวมเป็นภิกษุ ๗ รูป มีจิตเป็นอันเดียวกันเห็นบุคคลเหล่าอื่น ๆ นั้น ไม่กระทำความเคารพในพระศาสดาจึงปรึกษากันว่า ในครั้งนี้เราจะทำอย่างไร กระทำบำเพ็ญสมณธรรมในที่สมควรส่วนหนึ่ง จักการทำที่สุดทุกข์ได้ จึงผูกบันไดขึ้นยอดภูเขาสูง กล่าวว่า ผู้ที่รู้กำลังจิตของตน จงผลักบันไดให้ตกไป ผู้ที่ยังมีความเดือดร้อนในภายหลังอยู่เถิด จึงพร้อมใจกันผลักบันไดให้ตกไป กล่าวสอนซึ่งกันและกันว่า อาวุโสท่านจงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด นั่งในที่ที่ชอบใจ เริ่มบำเพ็ญสมณธรรม บรรดาภิกษุทั้ง ๗ นั้น พระเถระรูปหนึ่ง บรรลุพระอรหัตในวันที่ ๕ คิดว่ากิจของเราเสร็จแล้ว เราจักทำอะไรในที่นี้ จึงไปนำบิณฑบาตมาแต่อุตตรกุรุทวีปด้วยอิทธิฤทธิ์ กล่าวว่า อาวุโสท่านทั้งหลายจงฉันบิณฑบาตนี้ หน้าที่ภิกษาจารเป็นของข้าพเจ้า ท่านทั้งหลายจงบำเพ็ญสมณธรรมเถิด อาวุโส พวกเราผลักบันไดให้ตกไปได้พูดกันอย่างนี้มิใช่หรือว่า พูดกระทำให้แจ้งซึ่งธรรมก่อน ผู้นั้นจงไปนำภิกษามา ภิกษุนอกนี้ฉันภิกษาที่ท่านนำมาแล้วจักกระทำสมณธรรม ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่าอาวุโส ไม่ต้อง พระเถระกล่าวว่า

ท่านทั้งหลายได้แล้วด้วยเหตุอันมีในก่อนแห่งตน แม้กระผมทั้งหลายสามารถอยู่ก็จักกระทำที่สุดแห่งวัฏฏะได้ นิมนต์ไปเถิดท่าน พระเถระเมื่อไม่อาจยังภิกษุเหล่านั้นให้เข้าใจกันได้ ฉันบิณฑบาตในที่ที่เป็นผาสุกแล้วก็ไป ในวันที่ ๗ พระเถระอีกองค์หนึ่งบรรลุอนาคามิผล จุติจากอัตภาพนั้นไปบังเกิดในพรหมโลกชั้นสุทธาวาส.

เพราะเป็นโทษของวัฏฏะ ทุกคนจึงควรให้อภัยกัน(เรื่องพระติสสะเถระฯ) เล่ม41หน้า391-392

ตาสามเณรแตกเพราะอาจารย์

พระเถระกล่าวว่า "ถ้ากระนั้น  จงอยู่ในที่อยู่ของฉันเถิด, การอยู่ในที่อาคันตุกะลำบาก" พาสามเณรนั้นแลเข้าไปสู่เสนาสนะแล้ว. ก็พระเถระเป็นปุถุชน พอนอนเท่านั้น ก็หยั่งลงสู่ความหลับ. สามเณรคิดว่า "วันนี้เป็นวันที่ ๓ ของเรา ผู้อยู่ในเสนาสนะเดียวกันกับพระอุปัชฌาย์; ถ้าเราจักนอนหลับ, พระเถระพึงต้องสหไสยาบัติ, เราจะนั่งอย่างเดียว   ยังกาลให้น้อมล่วงไป." สามเณรนั่งคู้บัลลังก์ใกล้เตียงของพระอุปัชฌาย์เทียว ยังราตรีให้น้อมล่วงไปแล้ว. พระเถระลุกขึ้นในเวลาใกล้รุ่ง คิดว่า "ควรให้สามเณรออก" จึงจับพัดที่วางอยู่ข้างเตียง เอาปลายใบพัดตีเสื่อลำแพนของสามเณรแล้ว ยกพัดขึ้นเบื้องบนกล่าวว่า"สามเณรจงออกไปข้างนอก"  ใบพัดกระทบตา. ตาแตกแล้ว ทันใดนั้นนั่นเอง  สามเณรนั้น กล่าวว่า  " อะไร ? ขอรับ" เมื่อพระเถระกล่าวว่า "เจ้าจงลุกขึ้น  ออกไปข้างนอก."  ก็ไม่กล่าวว่า  " ตาของผมแตกแล้ว ขอรับ" ปิด(ตา) ด้วยมือข้างหนึ่งออกไปแล้ว. ก็แลในเวลาทำวัตร สามเณรไม่นั่งนิ่งด้วยคิดว่า "ตา   ของเราแตกแล้ว."

กุมตาด้วยมือข้างหนึ่ง ถือกำไม้กวาดด้วยมือข้างหนึ่ง กวาดเวจกุฎีและที่ล้างหน้าและตั้งน้ำล้างหน้าไว้แล้วกวาดบริเวณ. สามเณรนั้นเมื่อถวายไม้ชำระฟันแก่พระอุปัชฌาย์  ได้ถวายด้วยมือเดียว.

อาจารย์ขอโทษศิษย์
ครั้งนั้น  พระอุปัชฌาย์กล่าวกะสามเณรนั้นว่า "สามเณรนี้ไม่ได้สำเหนียกหนอ, จึงได้เพื่อถวายไม้ชำระฟันแก่อาจารย์และอุปัชฌาย์ด้วยมือเดียว."

สามเณร.  ผมทราบ ขอรับ ว่า  'นั่นไม่เป็นวัตร,' แต่มือข้างหนึ่งของผม ไม่ว่าง
พระเถระ. อะไร ? สามเณร.
สามเณรนั้นบอกความเป็นไปนั้นแล้วจำเดิมแต่ต้น.
พระเถระพอฟังแล้วมีใจสลด กล่าวว่า " โอ กรรมหนักอันเราทำแล้ว"  กล่าวว่า"จงอดโทษแก่ฉัน สัตบุรุษ, ฉันไม่รู้ข้อนั้น, ขอจงเป็นที่พึ่ง" ดังนี้แล้ว  ประคองอัญชลี  นั่งกระโหย่งใกล้เท้าของเด็กอายุ ๗  ขวบ. 

  ลำดับนั้นสามเณรบอกกะพระเถระนั้นว่า "กระผมมิได้พูดเพื่อต้องการเหตุนั้นขอรับ, กระผมเมื่อตามรักษาจิตของท่าน  จึงได้พูดแล้วอย่างนี้, ในข้อนี้โทษของท่านไม่มี, โทษของผมก็ไม่มี,  นั่นเป็นโทษของวัฏฏะเท่านั้น.......

เศรษฐีขี้เหนียวเกิดเป็นหมา( อ.สุภสูตร) เล่ม12หน้า223

มีเรื่องเล่าว่า ไม่ไกลจากกรุงสาวัตถี มีบ้านชื่อตุทิคาม เพราะเขาเป็นคนใหญ่โตในบ้านตุทิคาม จึงมีชื่อว่า โตเทยยะ เขามีทรัพย์สมบัติประมาณ  ๔๕  โกฏิ  แต่เขาเป็นคนตระหนี่เป็นอย่างยิ่ง เขาคิว่า ชื่อว่า ความไม่สิ้นเปลืองแห่งโภคสมบัติ ย่อมไม่มีแก่ผู้ให้ แล้วเขาก็ไม่ให้อะไรแก่ใคร ๆ เขาสอนบุตรว่า "คนฉลาด ควรดูความสิ้นไปของยาหยอดตา การก่อจอมปลวก การสะสมน้ำผึ้ง แล้วพึงครองเรือน" เมื่อเขาให้บุตรสำเหนียกถึงการไม่ให้อย่างนี้แล้ว ครั้นตายไปก็ไปเกิดเป็นสุนัขอยู่ที่เรือนหลังนั้นเอง สุภมาณพผู้เป็นบุตร รักสุนัขนั้นมาก ให้กินอาหารเหมือนกับตน อุ้มนอนบนที่นอนอย่างดี.

ครั้นวันหนึ่ง เมื่อสุภมาณพออกจากบ้านไป พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปบิณฑบาต ณ เรือนหลังนั้น สุนัขเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงเห่าเดินเข้าไปใกล้พระองค์ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะสุนัขนั้นว่า ดูก่อนโตเทยยะ แม้เมื่อก่อนเจ้าสุนัข แม้บัดนี้เจ้าก็ยังเห่าเรา จักไปอเวจีมหานรก. สุนัขฟังดังนั้น มีความเดือดร้อนจึงนอนบนขี้เถ้าระหว่างเตาไฟ. พวกมนุษย์ไม่สามารถจะอุ้มไปให้นอนบนที่นอนได้. สุภมาณพกลับมาถึงถามว่า ใครนำสุนัขนี้ลงจากที่นอน.
พวกมนุษย์ต่างบอกว่า ไม่มีใครดอก แล้วเล่าเรื่องราวให้ฟัง.
สุภมาณพได้ฟังแล้วโกรธว่า บิดาของเราบังเกิดในพรหมโลก แต่พระสมณโคดมหาว่า บิดาของเราเป็นสุนัข ท่านนี้พูดอะไร  ปากเสีย  ใครจะท้วงติงพระผู้มีพระภาคเจ้าว่าพูดเท็จจึงไปยังวิหาร ถามเรื่องราวกะพระองค์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสแก่สุภมาณพเหมือนอย่างนั้น แล้วตรัสความจริงว่าดูก่อนสุภมาณพ ทรัพย์ที่บิดาของเจ้ายังไม่ได้บอกมีอีกไหม. สุภมาณพทูลว่าพระโคดม หมวกทองคำมีค่าหนึ่งแสน รองเท้าทองคำมีค่าหนึ่งแสน ถาดทองคำมีค่าหนึ่งแสน กหาปณะหนึ่งแสนมีอยู่. พระโคดมตรัสว่า เจ้าจงไปให้สุนัขบริโภคข้าวมธุปายาสมีน้ำน้อย แล้วอุ้มไปนอนบนที่นอน พอได้เวลาสุนัขหลับไปหน่อยหนึ่ง จงถามดู สุนัขจักบอกทุกสิ่งทุกอย่างแก่เจ้า  ทีนั้นแหละเจ้าก็จะรู้ว่าสุนัขนั้นคือบิดาของเรา. สุภมาณพได้กระทำตามนั้น. สุนัขบอกหมดทุกสิ่งทุกอย่าง เขารู้แน่ว่าสุนัขนั้นคือบิดาของเรา จึงเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้า ไปทูลถามปัญหา ๑๔  ข้อ กะพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจบปัญหา เขาขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นสรณะ  ท่านกล่าวความข้อนั้นหมายถึงสุภมาณพโตเทยยบุตร....

เศรษฐีขี้เหนียวเกิดเป็นคนพิการเฝ้าบ้าน(เรื่องอานนทเศรษฐี )เล่ม41หน้า182

อานนทเศรษฐีสั่งสอนบุตรให้ตระหนี่

ได้ยินว่า ในกรุงสาวัตถี เศรษฐีชื่ออานนท์  มีสมบัติประมาณ๘๐ โกฏิ (แต่) เป็นคนตระหนี่มาก. อานนท์เศรษฐีนั้น  ให้พวกญาติประชุมกันทุกกึ่งเดือนแล้ว กล่าวสอนบุตร (ของตน) ผู้ชื่อว่ามูลสิริใน ๓ เวลาอย่างนี้ว่า " เจ้าอย่าได้ทำความสำคัญว่า ' ทรัพย์ ๔๐ โกฏินี้มาก,'  เจ้าไม่ควรให้ทรัพย์ที่มีอยู่, ควรยังทรัพย์ใหม่ให้เกิดขึ้น, เพราะเมื่อบุคคลทำกหาปณะแม้หนึ่ง ๆ ให้เสื่อมไป ทรัพย์ย่อมสิ้นด้วยเหมือนกัน;เพราะเหตุนั้น

บุคคลผู้ฉลาด พึงเห็นความสิ้นแห่งยาสำหรับหยอด (ตา) ความก่อขึ้นแห่งตัวปลวกทั้งหลายและการประมวลมาแห่งตัวผึ้งทั้งหลาย พึงอยู่ครองเรือน.

อานนท์เศรษฐีตายไปเกิดในตระกูลคนจัณฑาลโดยสมัยอื่นอีก อานนท์เศรษฐีนั้นไม่บอกขุมทรัพย์ใหญ่ ๕  แห่งของตนแก่บุตร  อาศัยทรัพย์ มีความหม่นหมองเพราะมลทิน คือความตระหนี่ ทำกาละแล้ว, ถือปฏิสนธิในท้องของหญิงจัณฑาลคนหนึ่งในจำพวกจัณฑาลพันตระกูล ที่อยู่อาศัยในบ้านใกล้ประตูแห่งหนึ่ง แห่งพระนครนั้นนั่นเอง.... 
     
   ทารกนั้น ได้มีมือและเท้า นัยน์ตา หู จมูก และปากไม่ตั้งอยู่ในที่ตามปกติ. ทารกนั้น ประกอบด้วยความวิกลแห่งอวัยวะเห็นปานนั้นได้มีรูปน่าเกลียดเหลือเกิน ดุจปิศาจคลุกฝุ่น. แม้เมื่อเป็นเช่นนี้ มารดาก็ไม่ละบุตรนั้น. จริงอยู่ มารดาย่อมมีความเยื่อใยเป็นกำลังในบุตรที่อยู่ในท้อง. นางเลี้ยงทารกนั้นอยู่โดยฝืดเคือง, ในวันที่พาเขาไป ไม่ได้อะไร ๆ  เลย, ในวันที่ให้เขาอยู่บ้านแล้วไปเองนั่นแล จึงได้ค่าจ้าง.

ด่าพระพุทธเจ้าอย่างหนัก แต่หลุดพ้นได้เพราะสำนึกผิด(อักโกสกสูตร)เล่ม25หน้า201-205

ว่าด้วยพระพุทธเจ้าไม่รับคำด่าของพราหมณ์

  สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระวิหารเวฬุวันอันเป็นที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต กรุงราชคฤห์.
อักโกสกภารทวาชพรหมณ์ได้สดับมาว่า ได้ยินว่า
พราหมณภารทวาชโคตรออกจากเรือบวชเป็นบรรพชิต ในสำนักของพระสมณโคดมแล้ว ดังนี้ก็โกรธ ขัดใจ  เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ด่าบริภาษพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยวาจาอันหยาบคาย มิใช่ของสัตบุรุษ..

เมื่ออักโกสกภารทวาชพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะอักโกสกภารทวาชพราหมณ์ว่า ดูก่อนพราหมณ์ ท่านย่อมสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน มิตรและอำมาตย์ ญาติสาโลหิต ผู้เป็นแขกของท่าน ย่อมมาบ้างไหม.

อักโกสกภารทวาชพราหมณ์ตอบว่า พระโคดมผู้เจริญ มิตรและอำมาตย์ ญาติสาโลหิต ผู้เป็นแขกของข้าพระองค์ย่อมมาเป็นบางคราว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ ท่านย่อมสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านจัดของเคี้ยวของบริโภคหรือของดื่มต้อนรับมิตรและอำมาตย์ ญาติสาโลหิต ผู้เป็นแขกเหล่านั้นบ้างหรือไม่.

อ.  พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์จัดของเคี้ยวของบริโภคหรือของดื่มต้อนรับมิตรและอำมาตย์ ญาติสาโลหิต ผู้เป็นแขกเหล่านั้นบ้างในบางคราว.
พ. ดูก่อนพราหมณ์ ก็ถ้าว่ามิตรและอำมาตย์ ญาติสาโลหิต ผู้เป็นแขกเหล่านั้นไม่รับ ของเคี้ยวของบริโภคหรือของดื่มนั้นจะเป็นของใคร.
อ.  พระโคดมผู้เจริญ ถ้าว่ามิตรและอำมาตย์ ญาติสาโลหิต ผู้เป็นแขกเหล่านั้นไม่รับ ของเคี้ยวของบริโภคหรือของดื่มนั้น ก็เป็นของข้าพระอย่างเดิม.
พ. ดูก่อนพราหมณ์ ข้อนี้ก็อย่างเดียวกัน ท่านด่าเราผู้ไม่ด่าอยู่ ท่านโกรธเราผู้ไม่โกรธอยู่ ท่านหมายมั่นเราผู้ไม่หมายมั่นอยู่ เราไม่รับเรื่องมีการด่าเป็นต้นของท่านนั้น ดูก่อนพราหมณ์  เรื่องมีการด่าเป็นต้นนั้นก็เป็นของท่านผู้เดียว ดูก่อนพราหมณ์ เรื่องมีการด่าเป็นต้นนั้นก็เป็นของท่านผู้เดียว แล้วตรัสต่อไปว่า ดูก่อนพราหมณ์ ผู้ใดด่าตอบบุคคลผู้ด่าอยู่ โกรธตอบบุคคลผู้โกรธอยู่ หมายมั่นตอบบุคคลผู้หมายมั่นอยู่ ดูก่อนพราหมณ์ ผู้นี้เรากล่าวว่า ย่อมบริโภคด้วยกัน ย่อมการทำตอบกัน เรานั้นไม่บริโภคร่วม ไม่กระทำตอบด้วยท่านเป็นอันขาด ดูก่อนพราหมณ์ เรื่องมีการด่าเป็นต้นนั้นเป็นของท่านผู้เดียว ดูก่อนพราหมณ์ เรื่องมีการด่าเป็นต้นนั้นเป็นของท่านผู้เดียว.
อ.  บริษัทพร้อมด้วยพระราชา ย่อมทราบพระโคดมผู้เจริญ อย่างนี้ว่าพระสมณโคดมเป็นพระอรหันต์ ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น ไฉนพระโคดมผู้เจริญจึงยังโกรธอยู่เล่า.
  พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

  "ผู้ไม่โกรธ  ฝึกฝนตนแล้ว  มีความเป็นอยู่สม่ำเสมอ หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้ตอบสงบ คงที่อยู่ ความโกรธแล้ว ผู้นั้นเป็นผู้ใดโกรธตอบบุคคลผู้โกรธ แล้วผู้นั้นเป็นผู้ลามก กว่าบุคคลนั้นแหละ เพราะการโกรธตอบนั้น บุคคลไม่โกรธตอบบุคคลผู้โกรธแล้ว ชื่อว่าย่อมชนะสงครามอันบุคคลชนะได้โดยยาก ผู้ใดรู้ว่าผู้อื่นโกรธแล้วเป็นผู้มีสติสงบเสียได้ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมประพฤติประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย คือแก่ตนและแก่บุคคลอื่น เมื่อผู้นั้นรักษาประโยชน์อยู่ทั้งสองฝ่าย คือของตนและของบุคคลอื่น ชนทั้งหลายผู้ไม่ฉลาดในธรรมย่อมสำคัญบุคคลนั้นว่า เป็นคนเขลาดังนี้".

   เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเจ้าอย่างนี้แล้ว อักโกสกภารทาวชพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระโคดมผู้เจริญทรงประกาศพระธรรมโดยปริยายเป็นอันมากเปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำเปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยคิดว่า คนมีจักษุย่อมเห็นรูปฉฉะนั้น ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ พระธรรม  และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ  ขอข้าพระองค์พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบทในสำนักของพระโคดมผู้เจริญ.

อักโกสกภารทวาชพราหมณ์ได้บรรพชาได้อุปสมบทแล้วในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ท่านอักโกสกภารทวาชะอุปสมบทแล้วไม่นานแล หลีกไปอยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีจิตมั่นคงอยู่ ไม่นานเท่าไรนัก ก็กระทำให้แจ้งซึ่งคุณวิเศษยอดเยี่ยมเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบมีความต้องการ ด้วยปัญญาเป็นเครื่องรู้ยิ่งเองในปัจจุบันนี้เข้าถึงอยู่ ได้ทราบว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแลกิจที่จะต้องทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็แหละท่านพระอักโกสกภารทวาชะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย ดังนี้.

-วัดป่าสามแยก ศึกษาพระธรรมวินัย เบิกบุญ โอนบุญ อกหัก โดนของ ธรรมะ ธรรมทาน คลายเครียด เจริญรุ่งเรือง //www.samyaek.com 

-เวบพี่ดาบต้น //www.piyavat.com




Create Date : 29 กันยายน 2555
Last Update : 3 พฤศจิกายน 2555 17:56:35 น. 1 comments
Counter : 1713 Pageviews.

 
ขณะนี้เวลา 20:37 น.กำลังมีถ่ายทอดสดจากสำนักสงฆ์ป่าสามแยก

วันนี้ วันเสาร์ ที่ 29 กันยายน 2555 ทุกๆ วันเสาร์เวลาประเทศไทย โดยประมาณ 20:30 น.มีการถ่ายทอดสดไปทั่วโลก เทศน์โดยหลวงปู่เกษม อาจิณณสีโล จากสำนักสงฆ์ป่าสามแยก

รับชมได้ที่
ดูวีดีโอช่องที่ 1 (สำหรับผู้ที่อินเตอร์เน็ทช้า: 56k)
www.samyaek.com

ดูวีดีโอช่องที่ 2 (สำหรับผู้ที่อินเตอร์เน็ทเร็ว: 212k)
www.samyaek.com/?channel=2

สำหรับท่านที่มีปัญหาดูถ่ายทอดสดไม่ได้
www.samyaek.com/board2/index.php?topic=2303.0

การใช้ iPad, iPhone, iPod touch ดูถ่ายทอดสด
www.samyaek.com/board2/index.php?topic=5531.0

วิธีใช้ Tablet ตระกูล Android ดูถ่ายทอดสด
www.samyaek.com/board2/index.php?topic=5512.0

สมาชิกท่านใดมีปัญหาในการรับชม
(ปัญหาอันเกิดจากคอมพิวเตอร์ของท่านเอง)

หากได้แก้ไขตามลิงค์ต่างๆ ข้างต้นแล้ว ก็ยังไม่สามารถรับชมได้
ให้ท่านติดต่อสอบถามได้ที่ คุณชัยณรงค์ รัตนเกษมสุข (เม้ง)
Dtac : 081-554-1699 , AIS 081-935-1651
e-mail : macmagic99@hotmail.com


โดย: Budratsa วันที่: 29 กันยายน 2555 เวลา:20:38:56 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Budratsa
Location :
พิจิตร Switzerland

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




สวัสดีค่ะ ยินดีต้อนรับทุกๆคนค่ะ
"ดูก่อนอานนท์ บางทีพวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ปาพจน์ (พุทธพจน์) มีพระศาสดาล่วงแล้ว พระศาสดาของพวกเราไม่มี ข้อนี้พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น ธรรมก็ดี วินัยก็ดีอันใดอันเราแสดงแล้ว ได้บัญญัติไว้แล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาแห่งพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา" เล่มที่ ๑๓ : พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ หน้าที่ ๓๒๐
Friends' blogs
[Add Budratsa's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.