"ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้หรือในโลกอื่น หรือรัตนะใดอันประณีตในสวรรค์ ทรัพย์และรัตนะนั้นเสมอด้วยพระตถาคตย่อมไม่มี พระพุทธเจ้าแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยการกล่าวคำจริงนี้ ขอความสวัสดีจงมี....." "พระไตรปิฏก เป็นตาที่วิเศษยิ่ง, เป็นหูที่วิเศษยิ่ง, เป็นจมูกที่วิเศษยิ่ง, เป็นลิ้นที่วิเศษยิ่ง, เป็นกายที่วิเศษยิ่ง, เป็นใจที่วิเศษยิ่ง, เป็นครู-อาจารย์ที่วิเศษยิ่ง, เป็นพ่อ-แม่ที่วิเศษยิ่ง, เป็นมิตรและเข็มทิศที่วิเศษยิ่ง, เป็นแผนที่และป้ายบอกทางที่วิเศษยิ่ง, เป็นแสงสว่างส่องทางสู่นิพพานที่วิเศษยิ่ง"จากวัดสามแยก
Group Blog
 
<<
กันยายน 2555
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
7 กันยายน 2555
 
All Blogs
 
ให้ร้ายผู้ทรงศีล จะประสบความพินาศ โดยหลวงปู่เกษม อาจิณณสีโล 16 มิ.ย.2555

เนื้อหา บางส่วนจากการแสดงธรรมชุดนี้
      ๑. ศีลของปุถุชนย่อมขาดด้วยเหตุ 5 ประการ
      ๒. ท้าวมหาพรหมอายที่จะตอบคำถามภิกษุไม่ไ้ด้
      ๓. เมื่อจักรวาลพินาศ สัตว์ทั้งหลายจะไปอยู่พรหมโลก
      ๔. ธรรมที่พระพุทธเจ้าประกาศ สัตว์มีปัญญาย่อมสะดุ้ง
      ๕. พวกเทวดาฝ่ายมาร ย่อมส่งเสริมให้คนทำบาปกรรม
     ฯลฯ

ศีลของปุถุชนย่อมขาดด้วยเหตุ 5ประการ (อ.มิคสาลาสูตร) เล่ม38หน้า242

    ศีลของปุถุชนย่อมขาดด้วยเหตุ  ๕ ประการ คือ ต้องอาบัติปาราชิก, ลาสิกขา, เข้ารีดเดียรถีย์, บรรลุพระอรหัต, ตาย.

พระเจ้าปุกกุสาติเคยเป็นพระและตายคาความเพียร (เรื่องพระทารุจีริยะ) เล่ม41หน้า427

  บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุผู้บรรลุพระอรหัตปรินิพพานแล้ว, ภิกษุผู้เป็นอนาคามีบังเกิดในพรหมโลก,ภิกษุ  ๕ รูปนอกนี้ไม่อาจยังคุณวิเศษให้บังเกิดได้ ผ่ายผอมแล้วกระทำกาละในวันที่  ๗  บังเกิดในเทวโลกในพุทธุปบาทกาลนี้ จุติจากเทวโลกนั้นแล้ว บังเกิดในเรือนแห่งตระกูลนั้นๆ.

บรรดาคนเหล่านั้น คนหนึ่งได้เป็นพระราชา พระนามว่า ปุกกุสาติ, คนหนึ่งได้เป็นพระกุมารกัสสป, คนหนึ่งได้เป็นพระทารุจีริยะ,คนหนึ่งได้เป็นพระทัพพมัลลบุตร, คนหนึ่งได้เป็นปริพาชกชื่อสภิยะแล.

พระโสดาบันที่ชอบอยู่ในวัฏฏะนานๆมี 7องค์(อ.เอกาภิญญาสูตร)เล่ม31หน้า35

จริงอยู่ พระโสดาบันบางท่านยังมีอัธยาศัยในวัฏฏะ  ชอบวัฏฏะจึงท่องเที่ยวอยู่ในวัฏฏะนั่นแหละอยู่ร่ำไป. อนาถปิณฑิกเศรษฐี  วิสาขาอุบาสิกา จุลลรถเทพบุตร มหารถเทพบุตร  อเนกวรรณเทพบุตร  ท้าวสักกเทวราช  นาคทัตตเทพบุตร ท่านเหล่านี้เท่านี้แหละ. ยังมีอัธยาศัยในวัฏฏะ ชอบวัฏฏะ ต้องชำระเทวโลกหกชั้นตั้งแต่ต้น  แล้วดำรงอยู่ในชั้นอกนิฏฐพรหมโลก  จึงจะปรินิพพานท่านเหล่านี้  ไม่ถือเอาในกรณีนี้. ไม่ใช่แต่ท่านเหล่านี้เท่านั้น ผู้ที่ท่องเที่ยวอยู่ในมนุษย์เท่านั้น ครบเจ็ดครั้งแล้ว  จึงสำเร็จเป็นพระอรหันต์ก็ดี ผู้ที่เกิดในเทวโลกแล้วเที่ยวไปเที่ยวมาแต่ในเทวโลกเท่านั้นจนครบเจ็ดครั้ง แล้วจึงจะสำเร็จเป็นพระอรหันต์ก็ดี  แม้ท่านพวกนี้  ก็ไม่ถือเอาในที่นี้   แต่ในที่นี้ถือเอาแต่ผู้ที่บางทีก็ท่องเที่ยวไปในมนุษย์ บางทีก็ในเทวดาแล้วสำเร็จเป็นพระอรหันต์เท่านั้น.

ท้าวมหาพรหมอายที่จะตอบคำถามภิกษุไม่ไ้ด้ (เกวักสูตร) เล่ม12หน้า234

   ดูก่อนเกวัฏฏะ ลำดับนั้น ภิกษุได้เข้าไปหามหาพรหมแล้วกล่าวว่า มหาภูตรูป  ๔  คือ  ปฐวีธาตุ  อาโปธาตุ  เตโชธาตุ วาโยธาตุ เหล่านี้ย่อมดับไม่มีเหลือในที่ไหน  เมื่อภิกษุกล่าวอย่างนี้แล้ว ท้าวมหาพรหม  ได้กล่าวตอบว่า  ข้าพเจ้าเป็นพรหม  เป็นมหาพรหม  เป็นผู้ใหญ่ยิ่ง........ เป็นบิดาของหมู่สัตว์ทั้งหลาย. ดูก่อนเกวัฏฏะ แม้ครั้งที่  ๒  ภิกษุนั้นก็ได้กล่าวกะท้าวมหาพรหมว่า  ข้าพเจ้ามิได้ถามท่านอย่างนั้นว่า ท่านเป็นพรหม.....ข้าพเจ้าถามท่านว่ามหาภูตรูป ๔.... ย่อมดับไม่มีเหลือในที่ไหน  ต่างหาก.  แม้ครั้งที่ ๒ท้าวมหาพรหมก็ได้ตอบภิกษุอย่างนั้น แม้ครั้งที่  ๓ ภิกษุก็ได้กล่าวกะท้าวมหาพรหมว่า ข้าพเจ้ามิได้ถามอย่างนั้น   ข้าพเจ้าถามว่า มหาภูตรูป ๔ ย่อมดับไม่มีเหลือในที่ไหนต่างหาก.

    ลำดับนั้นท้าวมหาพรหมจับแขนภิกษุนั้นนำไป ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกล่าวกะภิกษุนั้นว่า ท่านภิกษุ พวกเทวดาพรหมกายิกาเหล่านี้  รู้จักข้าพเจ้าว่า อะไร ๆ  ที่พรหมไม่รู้  ไม่เห็น ไม่เข้าใจไม่แจ่มแจ้ง  เป็นอันไม่มี  เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่ตอบต่อหน้าเทวดาเหล่านั้นว่า  แม้ข้าพเจ้าก็ไม่ทราบที่ดับไม่มีเหลือแห่งมหาภูตรูป ๔  คือ ปฐวีธาตุอาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ  เหล่านี้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นแล การที่ท่านละเลยพระผู้มีพระภาคเจ้าเสียแล้ว เที่ยวแสวงหาในภายนอก เพื่อพยากรณ์ปัญหานี้  เป็นอันท่านทำผิดพลาดแล้ว  ท่านจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลถามปัญหานี้เถิด  พระองค์ทรงพยากรณ์แก่ท่านอย่างใด ท่านพึงทรงจำข้อนั้นไว้.

เมื่อจักรวาลพินาศ สัตว์ทั้งหลายจะไปอยู่พรหมโลก(อ.ธรรมสูตร)เล่ม45หน้า626

 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสงไขยกัป เหล่านี้มี ๔, คือ สังวัฏฎกัป(ระยะกาลที่จักรวาลเริ่มถูกทำลาย  ด้วยไฟ  น้ำ หรือลม ทุกสิ่งในจักรวาลสลายไปสู่ธาตุเดิม ย่อยไปไม่มีเหลือ) ๑  สังวัฏฏัฏฐายีกัป (ระยะกาลที่ไม่มีอะไร ไปจนถึงเริ่มกำเนิดของและสิ่งต่าง ๆ)  ๑ วิวัฏฏกัป (ระยะกาลเริ่มก่อตัวขึ้นใหม่ ของสิ่งทั้งหลาย  จนถึงทุกสิ่งในจักรวาลเจริญเต็มที่)๑ วิวัฏฏัฏฐายีกัป (ระยะกาลที่จักรวาลสมบูรณ์จนถึงเริ่มเสื่อมสลายอีก)๑  อสังไขยกัปเหล่านั้น ย่อมเป็นอันพระองค์ทรงกำหนดถือเอาแล้ว.  ในอสังไขยกัป ๔  อย่างเหล่านั้น สังวัฏฏกัป มี ๓ คือ เตโชสังวัฏฏกัป ๑ อาโปสังวัฏฏกัป ๑ วาโยสังวัฏฏกัป ๑.
  เขตแห่งสังวัฏฏกัปมี ๓  คือ  ชั้นอาภัสสรพรหม ๑ สุภกิณหพรหม ๑ เวหัปผลพรหม ๑. เวลาที่กัปพินาศด้วยไฟ ไฟไหม้ต่ำกว่าชั้นอาภัสสรพรหม เวลาที่กัปพินาศด้วยน้ำ  ย่อมทำลายต่ำกว่าชั้นสุภกิณหพรหม เวลาที่กัป  พินาศด้วยลม ลมพัดทำลายต่ำกว่าชั้นเวหัปผลพรหม. แต่ว่าโดยพิสดารแล้ว แสนแห่งจักรวาล ย่อมพินาศร่วมกันหมด.

พกพรหมมีความเห็นลามก สำคัญตนว่าเป็นอมตะ (พกสูตร) เล่ม25หน้า140

พกสูตร ว่าด้วยพระพุทธเจ้าโปรดพกพรหม

     สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ  อยู่  ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี  กรุงสาวัตถี.ก็สมัยนั้นแล พกพรหมได้เกิดทิฐิอันชั่วช้าเห็นปานดังนี้ว่า ฐานะแห่งพรหมนี้ เที่ยง ยั่งยืน ติดต่อกัน คงที่ มีความไม่เคลื่อนไหวเป็นธรรมดา ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุปบัติ  ก็แหละอุบายเป็นเครื่องออกไปอันยิ่งอย่างอื่นจากฐานะแห่งพรหมนี้ไม่มี.

ครั้งนั้นแล  พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความปริวิตกแห่งใจของพกพรหมด้วยพระทัยแล้ว ทรงหายไปในพระเชตวันวิหารแล้วได้ปรากฏในพรหมโลกนั้น เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังพึงเหยียดออกซึ่งแขนที่คู้เข้า  หรือคู้เข้าซึ่งแขนที่เหยียดออก ฉะนั้น.

   พกพรหมได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังเสด็จมาแต่ไกลทีเดียว ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์  ขอพระองค์จงเสด็จมาเถิด ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์   พระองค์เสด็จมาดีแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ นานเทียวแลพระองค์ได้กระทำปริยายเพื่อการเสด็จมา ณ พรหมโลกนี้  ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์  ก็ฐานะแห่งพรหมนี้ เที่ยง ยั่งยืน  ติดต่อกัน คงที่ มีความไม่เคลื่อนไหวเป็นธรรมดา  ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย  ไม่จุติ  ไม่อุปบัติก็อุบายเป็นเครื่องออกไปอันยิ่งอย่างอื่นจากฐานะแห่งพรหมนี้ไม่มี.

   เมื่อพกพรหมกล่าวเช่นนี้แล้ว  พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้กะพกพรหมว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พกพรหมนั้นถึงความโง่เขลาแล้วหนอท่านผู้เจริญทั้งหลาย พกพรหมนั้นถึงความโง่เขลาแล้วหนอ พกพรหมกล่าวฐานะแห่งพรหมที่เป็นของไม่เที่ยงเลยว่าเที่ยง กล่าวฐานะแห่งพรหมที่เป็นของไม่ยั่งยืนเลยว่ายั่งยืน  กล่าวฐานะแห่งพรหมที่เป็นของไม่ติดต่อกันเลยว่าติดต่อกัน  กล่าวฐานะแห่งพรหมที่เป็นของไม่คงที่เลยว่าคงที่  กล่าวฐานะแห่งพรหมที่เป็นของความเคลื่อนไหวเป็นธรรมดาทีเดียวว่า มีความไม่เคลื่อนไหวเป็นธรรมดา และกล่าวฐานะแห่งพรหมอันเป็นที่เกิด แก่ ตาย เป็นที่จุติและอุปบัติแห่งตนว่า ฐานะแห่งพรหมนี้ ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย  ไม่จุติ ไม่อุปบัติ ก็แหละย่อมกล่าวอุบายเป็นเครื่องออกไปอันยิ่งอย่างอื่นซึ่งมีอยู่ว่าไม่มี ดังนี้.

เทวดาจะไม่ช่วยผู้ไม่มีบุญ (สังขพราหมณ์ชาดก) เล่ม59หน้า813

นางเทพธิดาได้ฟังคำของพระโพธิสัตว์นั้นแล้ว  มีจิตยินดี เนรมิตเรือขึ้นลำ ๑ ซึ่งแล้วไปด้วยแก้ว ๗ ประการ เรือลำนั้นยาว ๘ อุสภะ กว้าง ๔ อุสภะ ลึก ๒ วา มีเสากระโดง ๓ เสา แล้วไปด้วยแก้วอินทนิล มีสายระโยงระยาง แล้วไปด้วยทอง มีรอกกว้านแล้วไป ด้วยเงิน  มีหางเสือ แล้วไปด้วยทอง เทวดาเอารัตนะ ๗ ประการ มาบรรทุกเต็มเรือ แล้วอุ้มพราหมณ์ขึ้นบนเรือที่ประดับแล้ว แต่มิได้เหลียวแลบุรุษอุปัฏฐากของพระโพธิสัตว์เลย  พราหมณ์ได้ให้ส่วนบุญที่ตนได้การทำไว้แก่อุปัฏฐาก อุปัฏฐากก็รับอนุโมทนา ทันใดนั้น เทวดาก็อุ้มอุปัฏฐากนั้นขึ้นเรือด้วย ลำดับนั้น เทวดาก็นำเรือไปสู่โมลินีนครขนทรัพย์ขึ้นเรือนพราหมณ์ แล้วจึงไปยังที่อยู่ของตน.

พวกเทวดาฝ่ายมาร ย่อมส่งเสริมให้คนทำบาปกรรม (ตติยปาราชิกกัณฑ์) เล่ม2หน้า255

           ภิกษุเหล่านั้นสนทนากันว่า พระผู้พระภาคเจ้าทรงแสดงอสุภกถา  ทรงพรรณนาคุณแห่งอสุภกรรมฐาน  ทรงสรรเสริญคุณแห่งการเจริญอสุภกรรมฐาน ทรงพรรณนาคุณแห่งอสุภสมาบัติเนือง ๆ โดยอเนกปริยายดังนี้  แล้วพากันประกอบความเพียรในการเจริญอสุภกรรมฐาน หลายอย่างหลายกระบวนอยู่ภิกษุเหล่านั้น อึดอัด ระอา เกลียดชังร่างกายของตน ดุจสตรีรุ่นสาวหรือบุรุษรุ่นหนุ่ม พอใจในการกแต่งกาย อาบน้ำสระเกล้า  มีซากศพงู  ซากศพสุนัข  หรือซากศพมนุษย์มาคล้องอยู่ที่คอ  พึงอึดอัด  สะอิดสะเอียน เกลียดชังฉะนั้น  จึงปลงชีวิตตนเองบ้าง วานกันและกันให้ปลงชีวิตบ้าง บางเหล่าก็เข้าไปหามิคลัณฑิกสมณกุตตก์ กล่าวอย่างนี้ว่า  พ่อคุณ  ขอท่านได้ปลงชีวิตพวกฉันที  บาตรจีวรนี้จักเป็นของท่าน  ครั้งนั้นมิคลัณฑิกสมณกุตตก์  อันภิกษุ  คนโกนผมไว้จุก  นุ่งผ้ากาสาระผืนหนึ่ง  ห่มผืนหนึ่ง  ทำนองเป็นตาเถน.

 ทั้งหลายวางด้วยบาตรจีวร  จึงปลงชีวิตภิกษุเป็นอันมากแล้ว  ถือดาบเปื้อนเลือดเดินไปทางแม่น้ำวัคคุมุทา  ขณะเมื่อมิคลัณฑิกสมณกุตตก์ กำลังล้างดาบที่เปื้อนเลือดนั้น อยู่ ได้มีความรำคาญ  ความเดือดร้อนว่า  ไม่ใช่ลาภของเราหนอลาภของเราไม่มีหนอ เราได้ชั่วแล้วหนอ เราไม่ได้ดีแล้วหนอ  เราสร้างบาปไว้มากจริงหนอ เพราะเราได้ปลงชีวิตภิกษุทั้งหลาย   ซึ่งเป็นผู้มีศีล   มีกัลยาณธรรม ขณะนั้นเทพดาคนหนึ่งผู้นับเนืองในหมู่มาร เดินมาบนน้ำมิได้แตกได้กล่าวคำนี้กะเขาว่า ดีแล้ว  ดีแล้ว ท่านสัตบุรุษ เป็นลาภท่าน ๆ ได้ดีแล้ว ท่านได้สร้างสมบุญไว้มาก  เพราะท่านได้ช่วยส่งคนที่ยังข้ามไม่พ้น ให้ข้ามพ้นได้

ครั้นมิคลัณฑิกสมณกุตตก์  ได้ทราบว่าเป็นลาภของเรา เราได้ดีแล้ว เราได้สร้างสมบุญไว้มาก เพราะเราได้ช่วยส่งคนที่ยังข้ามไม่พ้น ให้ข้ามพ้น ได้   ดังนี้จึงถือดาบอั้นคม จากวิหารเข้าไปสู่วิหาร จากบริเวณเข้าไปสู่บริเวณ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ใครยังข้ามไม่พ้น ข้าพเจ้าจะช่วยส่งให้ข้ามพ้น บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุเหล่าใด ยังไม่ปราศจากราคะ ความกลัว ความหวาดเสียวความสยอง ย่อมมีแก่ภิกษุเหล่านั้นในเวลานั้น  ส่วนภิกษุเหล่าใดปราศจากราคะแล้ว ความกลัว ความหวาดเสียว ความสยอง   ย่อมไม่มีแก่ภิกษุเหล่านั้นในเวลานั้น ครั้งนั้นมิคลัณฑิกสมณกุตตก์ ปลงชีวิตภิกษุเสียวันละ ๑ รูปบ้าง๒ รูปบ้าง ๓ รูปบ้าง ๔ รูปบ้าง.................๖๐  รูปบ้าง.

ธรรมที่พระพุทธเจ้าประกาศ สัตว์มีปัญญาย่อมสะดุ้ง (สีหสูตร) เล่ม27หน้า172-173

[๑๕๖]  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน  เมื่อพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า  ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ  เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งซึ่งโลก ทรงเป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่าทรงเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงเบิกบานแล้วเป็นผู้จำแนกธรรม เสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระองค์ทรงแสดงธรรมว่า รูปเป็นดังนี้ เหตุเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นดังนี้  ความดับแห่งรูปเป็นดังนี้ เวทนาเป็นดังนี้ ฯลฯ สัญญาเป็นดังนี้ ฯลฯ สังขารเป็นดังนี้ ฯลฯ วิญญาณเป็นดังนี้ เหตุเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้เทวดาทั้งหลายที่มีอายุยืนมีวรรณะงาม มากด้วยความสุข ซึ่งดำรงอยู่ได้นานในวิมานสูงได้สดับธรรมเทศนาของพระตถาคตแล้ว โดยมากต่างก็ถึงความกลัวความสังเวช ความสะดุ้ง ว่าพ่อมหาจำเริญทั้งหลายเอ๋ย นัยว่าเราทั้งหลาย เป็นผู้ไม่เที่ยงแท้ แต่ได้เข้าใจว่าเที่ยง เราทั้งหลายเป็นผู้ไม่ยั่งยืนเลย แต่ได้เข้าใจว่ายั่งยืน เราทั้งหลายเป็นผู้ไม่แน่นอนเลย แต่ได้เข้าใจว่าแน่นอน พ่อมหาจำเริญทั้งหลาย.ได้ทราบว่า  ถึงพวกเราก็เป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่แน่นอน นับเนื่องแล้วในกายตน.  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ตถาคตมีฤทธิ์ศักดานุภาพยิ่งใหญ่กว่าโลก กับทั้งเทวโลกเช่นนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา  ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบแล้ว  จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า

 เมื่อใด พระพุทธเจ้า ผู้เป็นศาสดาหาบุคคลเปรียบมิได้ ตรัสรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งแล้ว ทรงประกาศธรรมจักร  คือ ความเกิดพร้อมแห่งกายตน  ความดับแห่งกายตน  และอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐ อันให้ถึงความสงบทุกข์ แก่สัตว์โลกกับทั้งเทวโลก. เมื่อนั้น แม้ถึงเทวดาทั้งหลายผู้มีอายุยืน  มีวรรณะงาม  มียศ  ก็กลัว  ถึงความสะดุ้ง ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า พวกเราไม่เที่ยง ไม่ล่วงพ้นกายตนไปได้ ดังนี้ เพราะได้สดับถ้อยคำของพระอรหันต์ผู้หลุดพ้น ผู้คงที่เหมือนหมู่มฤคสะดุ้งต่อพญาสีหมฤคราช ฉะนั้น.

อปัณณกธรรม ที่บุคคลถือไว้ดี ย่อมละเหตุอกุศล ซึ่งสมาทานไว้ดีทั้งกาย วาจา ใจ (อปัณณสูตร) เล่ม20หน้า228

อปัณณกธรรมที่บุคคลถือไว้ดี

     ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสมณพราหมณ์เหล่านั้น บุรุษผู้รู้แจ้ง ย่อมเห็นตระหนักชัดว่า ถ้าโลกหน้ามีอยู่จริงเมื่อเป็นอย่างนี้ ท่านบุรุษบุคคลนี้ เมื่อตายไป จักเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ อนึ่ง โลกหน้าอย่าได้มีจริง คำของท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้นจงเป็นคำจริงเมื่อเป็นอย่างนั้น ท่านบุรุษบุคคลนี้  ก็เป็นผู้อันวิญญูชนสรรเสริญในปัจจุบันว่า เป็นบุรุษบุคคลมีศีล มีสัมมาทิฏฐิ เป็นอัตถิกวาทะ ถ้าโลกหน้ามีจริง ความยึดถือของท่านบุรุษบุคคลนี้อย่างนี้ เป็นความมีชัยในโลกทั้งสอง คือในปัจจุบัน วิญญูชนสรรเสริญ เมื่อตายไป จักเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ ด้วยประการฉะนี้ อปัณณกธรรมที่ผู้นั้นถือไว้ดี สมาทานดีนี้ ย่อมแผ่ไปโดยส่วนสอง ย่อมละเหตุแห่งอกุศลเสีย ด้วยประการฉะนี้.

พระพุทธเจ้าอธิบายประเภทต่างๆของเวทนา (อัฏฐสตปริยายสูตร) เล่ม29หน้า52

อักฐสตปริยายสูตร ว่าด้วยพระพุทธองค์ทรงแสดงประแห่งเวทนา

 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมปริยายอันมีปริยาย ต่างๆ ๑๐๘ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังธรรมปริยายนั้น ก็ธรรมปริยายอันมีปริยาย  ๑๐๘  เป็นไฉน. 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  โดยปริยายหนึ่งเรากล่าวเวทนา ๒ ก็มี โดยปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา ๓ ก็มี โดยปริยายหนึ่ง  เรากล่าวเวทนา ๑๘ ก็มี  โดยปริยายหนึ่ง  เรากล่าวเวทนา๓๖ มี โดยปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา ๑๐๘ ก็มี.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๒คือ เวทนาทางกาย ๑ เวทนาทางใจ ๑     

เวทนา ๓ คือ สุขเวทนา.ทุกขเวทนา ๑ อทุกขมสุขเวทนา ๑ 

เวทนา ๕ คือ สุขินทรีย์๑ทุกขินทรีย์๑ โสมนัสสินทรีย์๑ โทมนัสสินทรีย์๑  อุเบกขินทรีย์๑

เวทนา ๖ คือ จักขุสัมผัสสชาเวทนา๑ โสตสัมผัสสชาเวทนา ๑  ฆานสัมผัสสชาเวทนา ๑ ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา๑ กายสัมผัสสชาเวทนา๑  มโนสัมผัสสชาเวทนา ๑

เวทนา ๑๘ คือ เวทนาที่สหรคตด้วยโสมนัส ๖ เวทนาที่สหรคตด้วยโทมนัส ๖ เวทนาที่สหรคตด้วยอุเบกขา ๖

เวทนา ๓๖ คือ เคหสิตโสมนัส ๖ เนกขัมมสิตโสมนัส ๖ เคหสิตโทมนัส  ๖ เนกขัมมสิตโทมนัส ๖ เคหสิอุเบกขา ๖ เนกขัมมสิตอุเบกขา ๖.

เวทนา ๑๐๘ คือ เวทนาที่เป็นอดีต ๓๖ ที่เป็นอนาคต ๓๖ ที่เป็นปัจจุบัน ๓๖ .

พระสารีบุตรไปฉันอาหารที่บ้านถูกแม่ด่าบ่อยๆ(เรื่องพระสารีบุตรเถระ)เล่ม43หน้า465

เรื่องพระสารีบุตรเถระ  พระเถระสละทรัพย์ออกบวช

ได้ยินว่า ในกาลนั้นพระเถระเที่ยวไปบิณฑบาตกับด้วยภิกษุ ๕๐๐รูป  ได้ไปยังประตูเรือนของมารดา ในบ้านนาลกะ.ครั้งนั้น นางนิมนต์ให้ท่านนั่งแล้ว อังคาสอยู่ ด่าว่า " ผู้เจริญท่านไม่ได้ของเคี้ยวที่เป็นเดน และน้ำข้าวที่เป็นเดน ก็สมควรจะกินน้ำข้าวที่ติดอยู่ทางหลังกระบวย ในเรือนของคนอื่น, ท่านสละทรัพย์  ๘๐โกฏิบวชเสียได้, ท่านให้เราฉิบหายแล้ว, บัดนี้ท่านจงบริโภคเถิด."  นางพลางถวายภัตแม้แก่ภิกษุทั้งหลาย กล่าวว่า " บุตรของเราถูกท่านทั้งหลายทำให้เป็นคนรับใช้ของตนแล้ว, บัดนี้ พวกท่านจงบริโภคเถิด," พระเถระรับภิกษาแล้วได้ตรงไปยังวิหารทีเดียว.

วัดป่าสามแยก ศึกษาพระธรรมวินัย เบิกบุญ โอนบุญ อกหัก โดนของ ธรรมะ ธรรมทาน คลายเครียด เจริญรุ่งเรือง //www.samyaek.com




Create Date : 07 กันยายน 2555
Last Update : 3 พฤศจิกายน 2555 17:57:23 น. 1 comments
Counter : 1423 Pageviews.

 
ทุกๆ วันเสาร์เวลาประเทศไทย โดยประมาณ 20:30 น. มีการถ่ายทอดสดไปทั่วโลก เทศน์โดยหลวงปู่เกษม อาจิณณสีโล จากสำนักสงฆ์ป่าสามแยก

รับชมได้ที่
ดูวีดีโอช่องที่ 1 (สำหรับผู้ที่อินเตอร์เน็ทช้า: 56k)
www.samyaek.com

ดูวีดีโอช่องที่ 2 (สำหรับผู้ที่อินเตอร์เน็ทเร็ว: 212k)
www.samyaek.com/?channel=2

สำหรับท่านที่มีปัญหาดูถ่ายทอดสดไม่ได้
www.samyaek.com/board2/index.php?topic=2303.0

การใช้ iPad, iPhone, iPod touch ดูถ่ายทอดสด
www.samyaek.com/board2/index.php?topic=5531.0

วิธีใช้ Tablet ตระกูล Android ดูถ่ายทอดสด
www.samyaek.com/board2/index.php?topic=5512.0


โดย: Budratsa วันที่: 7 กันยายน 2555 เวลา:19:35:13 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Budratsa
Location :
พิจิตร Switzerland

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




สวัสดีค่ะ ยินดีต้อนรับทุกๆคนค่ะ
"ดูก่อนอานนท์ บางทีพวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ปาพจน์ (พุทธพจน์) มีพระศาสดาล่วงแล้ว พระศาสดาของพวกเราไม่มี ข้อนี้พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น ธรรมก็ดี วินัยก็ดีอันใดอันเราแสดงแล้ว ได้บัญญัติไว้แล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาแห่งพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา" เล่มที่ ๑๓ : พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ หน้าที่ ๓๒๐
Friends' blogs
[Add Budratsa's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.