"ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้หรือในโลกอื่น หรือรัตนะใดอันประณีตในสวรรค์ ทรัพย์และรัตนะนั้นเสมอด้วยพระตถาคตย่อมไม่มี พระพุทธเจ้าแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยการกล่าวคำจริงนี้ ขอความสวัสดีจงมี....." "พระไตรปิฏก เป็นตาที่วิเศษยิ่ง, เป็นหูที่วิเศษยิ่ง, เป็นจมูกที่วิเศษยิ่ง, เป็นลิ้นที่วิเศษยิ่ง, เป็นกายที่วิเศษยิ่ง, เป็นใจที่วิเศษยิ่ง, เป็นครู-อาจารย์ที่วิเศษยิ่ง, เป็นพ่อ-แม่ที่วิเศษยิ่ง, เป็นมิตรและเข็มทิศที่วิเศษยิ่ง, เป็นแผนที่และป้ายบอกทางที่วิเศษยิ่ง, เป็นแสงสว่างส่องทางสู่นิพพานที่วิเศษยิ่ง"จากวัดสามแยก
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2554
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
11 กรกฏาคม 2554
 
All Blogs
 
หลวงปู่เกษม แสดงธรรม "ไม่มีวัตถุอื่นใด แทนพระพุทธเจ้าได้" (๑๕, ๒๓ และ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๔)

ชุดที่ ๐๘๔ แสดงธรรม "ไม่มีวัตถุอื่นใด แทนพระพุทธเจ้าได้" (๑๕, ๒๓ และ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๔)
เนื้อหา บางส่วนจากการแสดงธรรมชุดนี้
     ๑. ธรรมเนียมการล้างกระดูกเป็นของเลว
     ๒. คำสอนพระพุทธเจ้า... ผู้เรียนน้อยเข้าใจได้ยาก
     ๓. สงฆ์ต้องตั้งกติกาในวัดเพื่อผู้มาบริโภค... ไม่บาป
     ๔. ชาวพุทธที่ขัดกับพุทธะชื่อว่า... ตกต่ำ
     ๕. ไม่มีใครบันดาลให้เข้าใจธรรมพระพุทธเจ้าได้

หลวงปู่เกษม ไม่มีอะไรแทนพุทธะได้ 1/8

หลวงปู่เกษม ไม่มีอะไรแทนพุทธะได้ 2/8

หลวงปู่เกษม ไม่มีอะไรแทนพุทธะได้ 3/8

หลวงปู่เกษม ไม่มีอะไรแทนพุทธะได้ 4/8

หลวงปู่เกษม ไม่มีอะไรแทนพุทธะได้ 5/8

หลวงปู่เกษม ไม่มีอะไรแทนพุทธะได้ 6/8

หลวงปู่เกษม ไม่มีอะไรแทนพุทธะได้ 7/8

หลวงปู่เกษม ไม่มีอะไรแทนพุทธะได้ 8/8

อธิบายกุศล 56 (กามาวจรกุศล) เ่ล่มน้ำเงิน75/211/6,เล่มแดง75/197/7
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 211


จิตตุปปาทกัณฑ์
กุศลธรรม
กามาวจรมหากุศลจิต  ๘
จิตดวงที่  ๑
ปทภาชนีย์
[๑๖]   ธรรมเป็นกุศล  เป็นไฉน ?
กามาวจรกุศลจิต   สหรคตด้วยโสมนัส๑   สัมปยุตด้วยญาณ๒ มีรูปเป็น
อารมณ์  หรือ  มีเสียงเป็นอารมณ์   มีกลิ่นเป็นอารมณ์   มีรสเป็นอารมณ์  มี
โผฏฐัพพะเป็นอารมณ์  มีธรรมเป็นอารมณ์  หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ  เกิดขึ้น
ในสมัยใด  ผัสสะ  เวทนา   สัญญา   เจตนา   จิต   วิตก   วิจาร   ปีติ   สุข
เอกัคคตา   สัทธินทรีย์   วิริยินทรีย์   สตินทรีย์   สมาธินทรีย์   ปัญญินทรีย์
มนินทรีย์   โสมนัสสินทรีย์   ชีวิตินทรีย์   สัมมาทิฏฐิ   สัมมาสังกัปปะ  สัมมาวายามะ
สัมมาสติ   สัมมาสมาธิ    สัทธาพละ   วิริยพละ  สติพละ   สมาธิพละ   ปัญญาพละ
หิริพละ   โอตตัปปะ   อโลภะ   อโทสะ   อโมหะ   อนภิชฌา   อัพยาปาทะ
(สัมมาทิฏฐิ  หิริ  โอตตัปปะ) กายปัสสัทธิ  จิตตปัสสัทธิ  กายลหุตา  จิตตลหุตา
กายมุทุตา   จิตตมุทุตา    กายกัมมัญญตา    จิตตกัมมัญญตา    กายปาคุญญตา
จิตตปาคุญญตา   กายุชุกตา    จิตตุชุกตา   สติสัมปชัญญะ     สมถะ  วิปัสสนา
ปัคคาหะ   อวิกเขปะ.   มีในสมัยนั้น    หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด
มีอยู่ในสมัยนั้น.สภาวธรรมเหล่านี้  ชื่อว่า   ธรรมเป็นกุศล.
๑.  เกิดร่วมกับโสมนัสเวทนา  ๒.  ประกอบด้วยปัญญา


การพึ่งพระรัตนตรัยอย่างถูกต้อง..มีอานิสงค์มาก (เรื่องปุโรหิตชื่ออัคคิทัต)เล่มน้ำเงิน42/346/17,เล่มแดง42/294/7
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 346


พระธรรม  พระสงฆ์  ว่าเป็นที่พึ่ง    ย่อมพ้นจากทุกข์ในวัฏฏะทั้งสิ้นได้ "
ดังนี้แล้ว  ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
" มนุษย์เป็นอันมาก ถูกภัยคุกคามแล้ว  ย่อม
ถึงภูเขา    ป่า   อาราม   และรุกขเจดีย์ว่าเป็นที่พึ่ง;
สรณะนั่นแลไม่เกษม,  สรณะนั่นไม่อุดม,  เพราะ
บุคคลอาศัยสรณะนั่น    ย่อมไม่พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้.
ส่วนบุคคลใดถึงพระพุทธ     พระธรรม    และพระสงฆ์
ว่าเป็นที่พึ่ง   ย่อมเห็นอริยสัจ ๔    (คือ)      ทุกข์
เหตุให้เกิดทุกข์  ความก้าวล่วงทุกข์    และมรรค
มีองค์  ๘  อันประเสริฐ   ซึ่งยังสัตว์ให้ถึงความสงบ
แห่งทุกข์   ด้วยปัญญาชอบ;  สรณะนั่นแลของ

บุคคลนั้นเกษม,  สรณะนั่นอุดม,  เพราะบุคคลอาศัย
สรณะนั่น  ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้.


ยกหนี้ให้ลูกหนี้....ไ้ด้บุญมาก (มหาขันธกวรรณนา)เล่มน้ำเงิน6/264/5,เล่มแดง6/288/18
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 264


ดังนี้  ชื่อว่า   ทาสยืมไม่ควรให้เขาบวช.   บุรุษใดเป็นทาสไม่มีนาย   บุรุษแม้
นั้นอันภิกษุให้เป็นไทก่อนจึงควรให้บวช.     ภิกษุไม่ทราบให้บรรพชาหรืออุป-
สมบทแล้ว   จึงทราบภายหลัง   ควรทำให้เป็นไทเหมือนกัน.   และเพื่อประกาศ
เนื้อความข้อนี้   พระโบราณาจารย์ทั้งหลาย   จึงกล่าวเรื่องนี้ว่า:-
ดังได้ยินมา  นางกุลทาสีคนหนึ่ง  กับบุรุษคนหนึ่ง  หนีจากอนุราธบุรี
ไปอยู่ในโรหนชนบท    มีบุตรคนหนึ่ง.    บุตรนั้นในเวลาที่บรรพชาอุปสมบท
แล้ว   เป็นภิกษุลัชชีมักรังเกียจ.   ภายหลังวันหนึ่ง   เธอถามมารดาว่า   อุบายสิกา
พี่น้องชายหรือพี่น้องหญิงของท่านไม่มีหรอกหรือ ?   ฉันจึงไม่เห็นญาติไร ๆ เลย
มารดาตอบว่า  พ่อคุณ  ฉันเป็นกุลทาสิ ในอนุราธบุรี  หนีมาอยู่ที่นี่กับบิดาของ
คุณ   ภิกษุผู้มีศีล  ได้ความสังเวชว่า   ได้ยินว่าบรรพชาของเราไม่บริสุทธิ์   จึง
ถามมารดาถึงชื่อและโคตรของสกุลนั้นแล้วมายังอนุราธบุรี   ได้ ยืนที่ประตูเรือน
ของสกุลนั้น.   เธอถึงเขาบอกว่า   นิมนต์โปรดข้างหน้าเถิดเจ้าข้า ?.   ก็ยังไม่เลย
ไป.   พวกเขาจึงพากันมาถามว่า   มีธุระอะไรขอรับ  ?    เธอจึงถามว่า   นางทาสี
ชื่อนี้ของพวกท่านซึ่งหนีไปมีไหม  ?  มีขอรับ   ฉันเป็นบุตรนางทาสี  นั้น  ถ้าพวก
ท่านอนุญาตให้ฉัน    ฉันจะบวช    พวกท่านเป็นนายของฉัน.    พวกเขาเป็นผู้
รื่นเริงยินดี   ยกเธอเป็นไทว่า   บรรพชาของท่านบริสุทธิ์ขอรับ    แล้วนิมนต์
ให้อยู่ในมหาวิหารบำรุงด้วยปัจจัย  ๔  พระเถระอาศัยสกุลนั้นอยู่เท่านั้น ได้บรรลุ
พระอรหัต.
อรรถกถาทาสวัตถุกถา  จบ


รูปทั้งหลาย...เป็นของร้อน (อาทิตตปริยายสูตร)เล่มน้ำเงิน6/105/8,เล่มแดง6/61/5
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 105


อาทิตตปริยายสูตร
[๕๕]   ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่   ณ  ตำบลอุรุเวลา  ตามพระ-
พุทธาภิรมย์แล้ว   เสด็จจาริกไปโดยมรรคาอันจะไปสู่ตำบลคยาสีสะ   พร้อมด้วย
ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่  ๑๐๐๐ รูป  ล้วนเป็นปุราณชฎิล  ได้ยินว่า  พระองค์ประทับ
อยู่ที่ตำบลคยาสีสะใกล้แม่น้ำคยานั้น    พร้อมด้วยภิกษุ  ๑๐๐๐ รูป.
ณ ที่นั้น  พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย  ว่าดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน   ก็อะไรเล่าชื่อว่า   สิ่งทั้ง
ปวงเป็นของร้อน   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย    จักษุเป็นของร้อน   รูปทั้งหลายเป็น
ของร้อน  วิญญาณอาศัยจักษุเป็นของร้อน  สัมผัสอาศัยจักษุเป็นของร้อน  ความ
เสวยอารมณ์เป็นสุขเป็นทุกข์  หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์  ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัส
เป็นปัจจัยแม้นั้นก็เป็นของร้อน   ร้อนเพราะอะไร   เรากล่าวว่า    ร้อนเพราะไฟ
คือราคะ   เพราะไฟคือโทสะ   เพราะไฟคือโมหะ   ร้อนเพราะความเกิด   เพราะ
ความแก่และความตาย   ร้อนเพราะความโศก     เพราะความรำพัน    เพราะทุกข์
กาย   เพราะทุกข์ใจ   เพราะความคับแค้น.
โสตเป็นของร้อน   เสียงทั้งหลายเป็นของร้อน. . .
ฆานะเป็นของร้อน  กลิ่นทั้งหลายเป็นของร้อน . . .
ชิวหาเป็นของร้อน  รสทั้งหลายเป็นของร้อน. . .
กายเป็นของร้อน  โผฏฐัพพะทั้งหลายเป็นของร้อน. . .
มนะเป็นของร้อน    ธรรมทั้งหลายเป็นของร้อน    วิญญาณอาศัยมนะ
เป็นของร้อน  สัมผัสอาศัยมนะเป็นของร้อน   ความเสวยอารมณ์เป็นสุข   เป็น
ทุกข์   หรือมิใช่ทุกข์มิใช่สุข   ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย  แม้นั้นก็เป็น
ของร้อน   ร้อนเพราะอะไร   เรากล่าวว่า   ร้อนเพราะไฟคือราคะ   เพราะไฟคือ

โทสะ   เพราะไฟคือโมหะ   ร้อนเพราะความเกิด   เพราะความแก่และความตาย
ร้อนเพราะความโศก  เพราะความรำพัน  เพราะทุกข์กาย  เพราะทุกข์ใจ   เพราะ
ความคับแค้น .

ที่มา: //www.samyaek.com




Create Date : 11 กรกฎาคม 2554
Last Update : 6 เมษายน 2556 22:12:06 น. 0 comments
Counter : 1028 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Budratsa
Location :
พิจิตร Switzerland

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




สวัสดีค่ะ ยินดีต้อนรับทุกๆคนค่ะ
"ดูก่อนอานนท์ บางทีพวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ปาพจน์ (พุทธพจน์) มีพระศาสดาล่วงแล้ว พระศาสดาของพวกเราไม่มี ข้อนี้พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น ธรรมก็ดี วินัยก็ดีอันใดอันเราแสดงแล้ว ได้บัญญัติไว้แล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาแห่งพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา" เล่มที่ ๑๓ : พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ หน้าที่ ๓๒๐
Friends' blogs
[Add Budratsa's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.