"ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้หรือในโลกอื่น หรือรัตนะใดอันประณีตในสวรรค์ ทรัพย์และรัตนะนั้นเสมอด้วยพระตถาคตย่อมไม่มี พระพุทธเจ้าแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยการกล่าวคำจริงนี้ ขอความสวัสดีจงมี....." "พระไตรปิฏก เป็นตาที่วิเศษยิ่ง, เป็นหูที่วิเศษยิ่ง, เป็นจมูกที่วิเศษยิ่ง, เป็นลิ้นที่วิเศษยิ่ง, เป็นกายที่วิเศษยิ่ง, เป็นใจที่วิเศษยิ่ง, เป็นครู-อาจารย์ที่วิเศษยิ่ง, เป็นพ่อ-แม่ที่วิเศษยิ่ง, เป็นมิตรและเข็มทิศที่วิเศษยิ่ง, เป็นแผนที่และป้ายบอกทางที่วิเศษยิ่ง, เป็นแสงสว่างส่องทางสู่นิพพานที่วิเศษยิ่ง"จากวัดสามแยก
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2556
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
17 พฤศจิกายน 2556
 
All Blogs
 

จิตสงบโดยไม่เกิดความรู้ คือจิตโง่ โดยหลวงปู่เกษม อาจิณณสีโล 21กันยายน 2556

เนื้อหา บางส่วนจากการแสดงธรรม ชุดนี้
      ๑.  ได้รู้จักพระรัตนตรัย เป็นลาภอันประเสริฐสุด
      ๒.  พระพุทธเจ้าให้รักษาศีลให้ดี ก่อนจะทำกรรมฐาน
      ๓.  พระพุทธเจ้า สอนให้ดำรงชีวิตแบบพอเหมาะพอดี
      ๔.  พระพุทธเจ้า สอนให้ถวายทานในสงฆ์
      ๕.  โลกและสังขาทั้งหลายไม่เที่ยง ต้องเปลี่ยนแปลงไป
     ฯลฯ





-ได้รู้จักพระรัตนตรัย เป็นลาภอันประเสริฐสุด(อนุตตริยสูตร)เล่ม36หน้า607
-พระพุทธเจ้าให้รักษาศีลให้ดี ก่อนจะทำกรรมฐาน(คณกโมคัลลานสูตร)เล่ม22หน้า144
-ตำแหน่งพระเจ้าจักรพรรดิ์มอบให้กันไม่ได้(จักกวัตติสูตร)เล่ม15หน้า102
-ธรรมทั้งหลายทั้งปวงต้องละทิ้ง ปล่อยวางไปให้ทั้งหมด(อลคัททูปมสตร)เล่ม18หน้า288
-ในวันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ หมื่นโลกธาตุหวั่นไหวแล้ว(อ.ปาสราสิสูตร)เล่ม18หน้า448
-ผลบาปของพระโกณฑธานเถระสนองท่าน(อ.ประวัติพระโกณฑธานะฯ)เล่ม32หน้า407
-พระพุทธเจ้าสอนให้ดำรงชีวิตแบบพอเหมาะพอดี(ทีฆชาณุสูตร)เล่ม37หน้า560-565
-โลกและสังขาทั้งหลายไม่เที่ยง ต้องเปลี่ยนแปลงไป(อัตทัณฑสูตตนิทเทส)เล่ม66หน้า452-455
-พระพุทธเจ้าสอนให้ถวายทานในสงฆ์(ทารุกัมมิกสูตร)เล่ม36หน้า739
-ทำบุญให้เทวดาแบบถูกต้อง เทวดาจะตามรักษา(เภสัชชขันธกะ)เล่ม7หน้า118


-ได้รู้จักพระรัตนตรัยเป็นลาภอันประเสริฐสุด(อนุตตริยสูตร)เล่ม36หน้า607

อนุตตริยสูตรว่าด้วยสิ่งยอดเยี่ยม ๖

[๓๐๑]ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอนุตริยะ ๖ ประการนี้ ๖ประการเป็นไฉน คือทัสสนานุตริยะ ๑ สวนานุตริยะ๑ ลาภานุตริยะ ๑ สิกขานุตริยะ๑ ปาริจริยานุตริยะ ๑อนุสตานุตริยะ ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็ทัสสนานุตริยะเป็นไฉน? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมไปเพื่อดูช้างแก้วบ้างม้าแก้วบ้าง แก้วมณีบ้างของใหญ่ของเล็กหรือสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิดผู้ปฏิบัติผิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลายทัสสนะนั้นมีอยู่ เราไม่กล่าวว่าไม่มี ก็แต่ว่าทัสสนะนี้นั้นแลเป็นกิจเลวเป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชนไม่ประเสริฐ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายเพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับเพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่งเพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมไปเห็นพระตถาคตหรือสาวกพระตถาคต การ เห็นนี้ยอดเยี่ยมกว่าการเห็นทั้งหลาย ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไรเพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรมเพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลายข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่นมีความรักตั้งมั่นมีศรัทธาไม่หวั่นไหวมีความเลื่อมใสยิ่งไปเห็นพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตนี้ เราเรียกว่าทัสสนานุตริยะ.ทัสสนานุตริยะเป็นดังนี้.

สวนานุตริยะเป็นอย่างไร?ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไปเพื่อฟังเสียงกลองบ้างเสียงพิณบ้าง เสียงเพลงขับบ้างหรือเสียงสูงๆ ต่ำๆย่อมไปเพื่อฟังธรรมของสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิดผู้ปฏิบัติผิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การฟังนี้มีอยู่ เราไม่กล่าวว่าไม่มีก็แต่ว่าการฟังนี้นั้นเป็นกิจแล้ว....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหวมีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมไปฟังธรรมของพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต การฟังนี้ยอดเยี่ยมกว่าการฟังทั้งหลาย ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย...เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน...

ลาภานุตริยะป็นอย่างไร? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมได้ลาภคือบุตรบ้าง ภรรยาบ้าง ทรัพย์บ้างหรือลาภมากบ้างน้อยบ้างหรือได้ศรัทธาในสมณะหรือพราหมณ์ ผู้เห็นผิดผูปฏิบัติผิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลายลาภนี้มีอยู่ เราไม่กล่าวว่าไม่มี ก็แต่ว่าลาภนี้นั้นเป็นของเลว...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมได้ศรัทธาในพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต การได้นี้ยอดเยี่ยมกว่าการได้ทั้งหลาย ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย...เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน...

สิกขานุตริยะเป็นอย่างไร? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมศึกษาศิลปะเกี่ยวกับช้างบ้างม้าบ้าง รถบ้าง ธนูบ้างดาบบ้าง หรือศึกษาศิลปะชั้นสูงชั้นต่ำย่อมศึกษาต่อสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิดผู้ปฏิบัติผิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลายการศึกษานี้มีอยู่ เราไม่กล่าวว่าไม่มี ก็แต่ว่าการศึกษานั้นเป็นการศึกษาที่เลว...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมศึกษาอธิศีลบ้างอธิจิตบ้าง อธิปัญญาบ้าง ในธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว การศึกษานี้ยอดเยี่ยมกว่าการศึกษาทั้งหลาย ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย...เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน...

ปาริจริยานุตริยะเป็นอย่างไร?ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมบำรุงกษัตริย์บ้าง สมณะบ้าง พราหมณ์บ้าง คฤหบดีบ้างบำรุงคนชั้นสูงชั้นต่ำบำรุงสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิดผู้ปฏิบัติผิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลายการบำรุงนี้นั้นมีอยู่ เราไม่กล่าวว่าไม่มี ก็แต่ว่าการบำรุงนี้นั้นเป็นการบำรุงที่เลว...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมบำรุงพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต การบำรุงนี้ยอดเยี่ยมกว่าการบำรุงทั้งหลาย. ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย...เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน...

อนุสตานุตริยะเป็นอย่างไร? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมระลึกถึงการได้บุตรบ้างภริยาบ้าง ทรัพย์บ้างหรือการได้มากน้อยระลึกถึงสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิดผู้ปฏิบัติผิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การระลึกนี้มีอยู่ เราไม่กล่าวว่าไม่มี ก็แต่ว่าการระลึกนี้นั้นเป็นกิจเลว...ก่อนภิกษุทั้งหลายส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่งย่อมระลึกถึงพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต การระลึกถึงนี้ยอดเยี่ยมกว่าการระลึกถึงทั้งหลาย ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไรเพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่นมีความรักตั้งมั่นมีศรัทธาไม่หวั่นไหวมีความเลื่อมใสยิ่งย่อมระลึกถึงพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตนี้เราเรียกว่า อนุสตานุตริยะ.ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอนุตริยะ ๖ ประการนี้แล.

ภิกษุเหล่าใดได้ทัสสนานุตริยะ สวนานุตริยะลาภานุตริยะ ยินดีในสิกขานุตริยะเข้าไปตั้งการบำรุงเจริญอนุสติที่ประกอบด้วยวิเวก เป็นแดนเกษมให้ถึงอมตธรรมผู้บันเทิงในความไม่ประมาท มีปัญญารักษาตน สำรวมในศีลภิกษุเหล่านั้นแลย่อมรู้ชัดซึ่งที่เป็นที่ดับทุกข์โดยกาลอันควร.


-
พระพุทธเจ้าให้รักษาศีลให้ดีก่อนจะทำกรรมฐาน(คณกโมคัลลานสูตร)เล่ม22หน้า144

ดูก่อนพราหมณ์เราอาจบัญญัติการศึกษาโดยลำดับการกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับในธรรมวินัยนี้ได้เปรียบเหมือนคนฝึกม้าผู้ฉลาดได้ม้าอาชาไนยตัวงามแล้วเริ่มต้นทีเดียวให้ทำสิ่งควรให้ทำในบังเหียนต่อไปจึงให้ทำสิ่งที่ควรให้ทำสิ่งๆขึ้นไปฉันใด ดูก่อนพราหมณ์ฉันนั้นเหมือนกันแลตถาคตได้บุรุษที่ควรฝึกแล้วเริ่มต้นย่อมแนะนำอย่างนี้ว่าดูก่อนภิกษุ มาเถิดเธอจงเป็นผู้มีศีลสำรวมด้วยปาติโมกขสังวรถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่จงเป็นผู้เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อยสมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด.

ดูก่อนพราหมณ์ในเมื่อภิกษุเป็นผู้มีศีลสำรวมด้วยปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่เป็นผู้เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อยสมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายแล้ว ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูก่อนภิกษุ มาเถิดเธอจงเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายเธอเป็นรูปด้วยจักษุแล้วจงอย่าถือเอาโดยนิมิตอย่าถือเอาโดยอนุพยัญชนะจงปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์อันมีการเห็นรูปเป็นเหตุซึ่งบุคคลผู้ไม่สำรวมอยู่พึงถูกอกุศลบาปธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้จงรักษาจักขุนทรีย์ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์เถิดเธอได้ยินเสียงด้วยโสตะแล้ว...เธอดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว..เธอลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว...เธอถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว...เธอรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยมโนแล้วอย่าถือเอาโดยนิมิตอย่าถือเอาโดยอนุพยัญชนะจงปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์อันมีการรู้ธรรมารมณ์เป็นเหตุซึ่งบุคคลผู้ไม่สำรวมอยู่พึงถูกอกุศลบาปธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้จงรักษามนินทรีย์ถึงความสำรวมในมนินทรีย์เถิด.

-ตำแหน่งพระเจ้าจักรพรรดิ์มอบให้กันไม่ได้(จักกวัตติสูตร)เล่ม15หน้า102

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเมื่อท้าวเธอกราบทูลอย่างนี้แล้วพระราชฤาษีจึงตรัสกะท้าวเธอว่า ดูก่อนพ่อ พ่ออย่าเสียใจและอยู่เสวยความโทมนัสไปเลยในเมื่อจักรแก้วอันเป็นทิพย์อันตรธานไปแล้วด้วยว่า จักรแก้วอันเป็นทิพย์หาใช่สมบัติสิบมาจากบิดาของพ่อไม่ ดูก่อนพ่อเชิญพ่อประพฤติในจักกวัตติวัตรอันประเสริฐเถิดข้อนี้เป็นฐานะที่จะมิได้แลเมื่อพ่อประพฤติในจักกวัตติวัตรอันประเสริฐ.ครั้นถึงวันอุโบสถขึ้น๑๕ ค่ำ จักรแก้วอันเป็นทิพย์ซึ่งมีกำพันหนึ่งมีกง มีดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่างจักปรากฏมีแก่พ่อผู้สนานพระเศียรแล้วรักษาอุโบสถอยู่ ณปราสาทอันประเสริฐชั้นบน.

-ธรรมทั้งหลายทั้งปวงต้องละทิ้งปล่อยวางไปให้ทั้งหมด(อลคัททูปมสตร)เล่ม18หน้า288

ภิกษุทั้งหลาย ก็บุรุษนั้นกระทำอย่างไรจึงจะชื่อว่าทำถูกหน้าที่ในทุ่นนั้น.ในข้อนี้บุรุษนั้นข้ามไปสู่ฝั่งแล้ว พึงดำริอย่างนี้ว่าทุ่นนี้มีอุปการะแก่เรามากแลเราอาศัยทุ่นนี้พยายามอยู่ด้วยมือและเท้าจึงข้ามถึงฝั่งได้โดยความสวัสดีถ้ากระไร เราพึงยกทุ่นนี้ขึ้นวางไว้บนบกหรือให้ลอยอยู่ในน้ำแล้วพึงหลีกไป

ตามความปรารถนาภิกษุทั้งหลาย บุรุษนั้นกระทำอย่างนี้แลจึงจะชื่อว่ากระทำถูกหน้าที่ในทุ่นนั้น แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย เราแสดงธรรมมีอุปมาด้วยทุ่น เพื่อต้องการสลัดออกไม่ใช่เพื่อต้องการยึดถือฉันนั้นแลเธอทั้งหลาย รู้ถึงธรรมมีอุปมาด้วยทุ่นที่เราแสดงแล้วแก่ท่านทั้งหลาย พึงละแม้ซึ่งธรรมทั้งหลาย จะป่วยการกล่าวไปไยถึงอธรรมเล่า.

-ในวันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้หมื่นโลกธาตุหวั่นไหวแล้ว(.ปาสราสิสูตร)เล่ม18หน้า448

ชื่อว่าบารมีไรๆที่เรามิได้บำเพ็ญก็ไม่มีเมื่อเรานั้นกำจัดกำลังของมารที่เหมือนไร้อุตสาหะแผ่นดิน ก็ไม่ไหวเมื่อระลึกถึงปุพเพนิวาสญาณในปฐมยาม ก็ไม่ไหวเมื่อชำระทิพยจักษุในมัชฌิมยามก็ไม่ไหว แต่เมื่อแทงตลอดปฏิจจสมุปบาทในปัจฉิมยาม หมื่นโลกธาตุจึงไหวดังนั้นผู้ที่มีญาณกล้าแม้เช่นเรายังแทงตลอดธรรมนี้ได้โดยยากทีเดียวโลกิยมหาชนจักแทงตลอดธรรมนั้นได้อย่างไรพึงทราบว่า ทรงน้อมจิตไปอย่างนี้แม้ด้วยอานุภาพแห่งการพิจารณาความลึกซึ้งแห่งพระธรรมด้วยประการดังนี้.

-พระพุทธเจ้าสอนให้ดำรงชีวิตแบบพอเหมาะพอดี(ทีฆชาณุสูตร)เล่ม37หน้า560-565

[๑๔๔]สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ณ นิคมแห่งชาวโกลิยะ ชื่อกักกรปัตตะ ใกล้เมืองโกลิยะครั้งนั้นแลโกลิยบุตรชื่อทีฆชาณุเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับถวายบังคมแล้วนั่งณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งครั้นแล้วได้กราบพระผู้มีพระภาคเจ้าว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญข้าพระองค์เป็นคฤหัสถ์ยังบริโภคกาม อยู่ครั้งเรือนนอนเบียดบุตร ใช้จันทร์ในแคว้นกาสียังทรงดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้ยังยินดีเงินและทองอยู่ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดแสดงธรรมที่เหมาะแก่ข้าพระองค์อันจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อความสุขในปัจจุบันเพื่อประโยชน์เพื่อความสุขในภายหน้าเถิด.

ดูก่อนพยัคฆปัชชะธรรม ๔ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อความสุขในปัจจุบันแก่กุลบุตร๔ ประการเป็นไฉน คือ อุฏฐานสัมปทา๑ อารักขาสัมปทา ๑ กัลยาณมิตตตา ๑ สมชีวิตา ๑.

ดูก่อนพยัคฆปัชชะก็อุฏฐานสัมปทเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้เลี้ยงชีพด้วยการหมั่นประกอบการงาน คือ กสิกรรมพาณิชยกรรมโครักขกรรม รับราชการฝ่ายทหารรับราชการฝ่ายพลเรือหรือศิลปอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้านในการงานนั้นประกอบด้วยปัญญาเครื่องสอดส่องอันเป็นอุบายในการงานนั้นสามารถจัดทำได้ ดูก่อนพยัคฆปัชชะนี้เรียกว่า อุฏฐานสัมปทา.

ดูก่อนพยัคฆปัชชะ ก็อารักขสัมปทาเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้ โภคทรัพย์หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร สั่งสมด้วยกำลังแขน เหงื่อโทรมตัว ชอบธรรม ได้มาโดยธรรม เขารักษาคุ้มครองโภคทรัพย์เหล่านั้นไว พร้อมมูล ด้วยทำไว้ในใจว่า ไฉนหนอ พระราชาไม่พึงริบโภคทรัพย์เหล่านี้ของเรา โจรไม่พึงลัก ไฟไม่พึงไหม้ น้ำไม่พึงพัดไม่ ทายาทผู้ไม่เป็นที่รักจะไม่พึงลักไป ดูก่อนพยัคฆปัชชะ นี้เรียกว่า อารักขสัมปทา.

ดูก่อนพยัคฆปัชชะก็กัลยาณมิตตตาเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้อยู่อาศัยในฐานหรือนิคมใดย่อมดำรงตนหรือบุตรสนทนากับบุคคลในบ้านหรือนิคมนั้นซึ่งเป็นคฤหบดี หรือบุตรคฤหบดีเป็นคนหนุ่มหรือคนแก่ผู้มีสมาจารบริสุทธิ์ผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ศีลจาคะ ปัญญา ศึกษาศรัทธาสัมปทาตามผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะศึกษาปัญญาสัมปทาตามผู้พึงพร้อมด้วยปัญญาดูก่อนพยัคฆปัชชะนี้ เรียกว่า กัลยาณมิตตตา.

ดูก่อนพยัคฆปัชชะก็สมชีวิตาเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้ทางเจริญแห่งทรัพย์และทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์แล้วเลี้ยงชีพพอเหมาะไม่ให้ฟูมฟายนัก ไม่ให้ฝืดเคืองนักด้วยคิดว่า รายได้ของเราจักต้องเหนือรายจ่ายและรายจ่ายของเราจักต้องไม่เหนือรายได้ดูก่อนพยัคฆปัชชะ เปรียบเหมือนคนชั่งตราชั่งหรือลูกมือคนชั่งตราชั่งยกตราชั่งขึ้นแล้ว ย่อมลดออกเท่านี้หรือต้องเพิ่มเข้าเท่านี้ฉันใด กุลบุตรก็ฉันนั้นเหมือนกันรู้ทางเจริญและทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์แล้วเลี้ยงชีพพอเหมาะ.ไม่ให้ฟูมฟายนัก

ไม่ให้ฝืดเคืองนักด้วยคิดว่ารายได้ของเราจักต้องเหนือรายจ่ายและรายจ่ายของเราจักต้องไม่เหนือรายได้ ดูก่อนพยัคฆปัชชะถ้ากุลบุตรผู้นี้มีรายได้น้อยแต่เลี้ยงชีวิตอย่างโอ่อ่าจะมีผู้ว่าเขาว่ากุลบุตรผู้นี้ใช้โภคทรัพย์เหมือนคนเคี้ยวกินผลมะเดื่อฉะนั้นก็ถ้ากุลบุตรผู้ที่มีรายได้มากแต่เลี้ยงชีพอย่างฝืดเคืองจะมีผู้ว่าเขาว่ากุลบุตรผู้นี้จักตายอย่างอนาถา แต่เพราะกุลบุตรผู้นี้รู้ทางเจริญและทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์แล้วเลี้ยงชีพพอเหมาะไม่ให้ฟูมฟายนัก ไม่ให้ฝืดเคืองนักด้วยคิดว่า รายได้ของเราจักต้องเหนือรายจ่ายและรายจ่ายของเราจักต้องไม่เหนือรายได้ ดูก่อนพยัคฆปัชชะ นี้เรียกว่า สมชีวิตา.

ดูก่อนพยัคฆปัชชะ โภคทรัพย์ที่เกิดโดยชอบอย่างนี้แล้วย่อมมีทางเสื่อม๔ ประการ คือ เป็นนักเลงหญิง๑ เป็นนักเลงสุรา ๑ เป็นนักเลงการพนัน๑ มีมิตรชั่ว สหายชั่วเพื่อนชั่ว ๑

ดูก่อนพยัคฆปัชชะ เปรียบเหมือนสระน้ำใหญ่มีทางไหลเข้า ๔ ทางทางไหลออก๔ ทาง บุรุษพึงปิดทางไหลเข้าเปิดทางไหลออกของสระนั้นฝนก็มิตกต้องตามฤดูกาลด้วยประการฉะนี้สระน้ำใหญ่นั้นพึงหวังความเสื่อมอย่างเดียวไม่มีความเจริญเลยฉันใดโภคทรัพย์ที่เกิดโดยชอบอย่างนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมมีทางเสื่อม ๔ ประการคือ เป็นนักเลงหญิง ๑เป็นนักเลงสุรา ๑ เป็นนักเลงการพนัน๑ มีมิตรชั่ว หลายชั่วเพื่อนชั่ว ๑.

ดูก่อนพยัคฆปัชชะ โภคทรัพย์ที่เกิดโดยชอบอย่างนี้แล้วย่อมมีความเจริญ๔ ประการ คือ ไม่เป็นนักเลงหญิง๑ ไม่เป็นนักเลงสุรา ๑ไม่เป็นนักเลงการพนั้น ๑มีมิตรดี สหายดี เพื่อนดี๑

ดูก่อนพยัคฆปัชชะเปรียบเหมือนสระน้ำใหญ่มีทางไหลเข้า ๔ ทางไหลออก๔ ทาง บุรุษพึงเปิดทางไหลเข้าปิดทางไหลออกของสระนั้น ทั้งฝนก็ตกต้องตามฤดูกาลด้วยประการฉะนี้ สระน้ำใหญ่นั้นพึงหวังความเจริญอย่างเดียวไม่มีเสื่อม ฉันใดโภคทรัพย์ที่เกิดโดยชอบอย่างนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมมีทางเจริญ ๔ ประการ คือไม่เป็นนักเลงหญิง ๑ ไม่เป็นนักเลงสุรา ๑ไม่เป็นนักเลงการพนัน ๑มีมิตรดี สหายดี เพื่อนดี ๑ ดูก่อนพยัคฆปัชชะธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อความสุขในปัจจุบันแก่กุลบุตร.

ดูก่อนพยัคฆปัชชะ ธรรม ๔ ประการนี้ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อความสุขในภายหน้าแก่กุลบุตร คือ สัทธาสัมปทา ๑ สีลสัมปทา๑ จาคสัมปทา ๑ ปัญญาสัมปทา ๑.

สัทธาสัมปทาเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้มีศรัทธาคือเพื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่าแม้เพราะเหตุนี้ ๆพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นฯลฯ เป็นผู้เบิกบานแล้วเป็นผู้จำแนกธรรม ดูก่อนพยัคฆปัชชะนี้เรียกว่า สัทธาสัมปทา.

สีลสัมปทาเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้เป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาตฯลฯ เป็นผู้งดเว้นจาการดื่มน้ำเมาคือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

จาคสัมปทาเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้มีจิตปราศจากมลทินคือความตระหนี้อยู่ครองเรือน มีจาคะอันปล่อยแล้วมีฝ่ามือชุ่มยินดีในการสละควรแก่การขอ ยินดีในการจำแนกทาน

ปัญญาสัมปทเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้ เป็นผู้มีปัญญาคือ ประกอบด้วยปัญญาที่เห็นความเกิดและความดับเป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ดูก่อนพยัคฆปัชชะนี้เรียกว่า ปัญญาสัมปทา

คนหมั่นในการทำงานไม่ประมาท จัดการงานเหมาะสมเลี้ยงชีพพอเหมาะ รักษาทรัพย์ที่หามาได้มีศรัทธา ถึงพร้อมด้วยศีลถ้อยคำปราศจากความตระหนี้ชำระทางสัมปรายิก ประโยชน์เป็นนิตย์ ธรรม ๘ ประการดังกล่าวนี้ของผู้คอบเรือน ผู้มีศรัทธาอันพระพุทธเจ้าผู้มีพระนามอันแท้จริงตรัสว่านำสุขมาให้ในโลกทั้งสองคือ ประโยชน์ในปัจจุบันนี้และความสุขในภายหน้าบุญ คือ จาคะนี้ย่อมเจริญแก่คฤหัสถ์ด้วยประการฉะนี้.


-
พระพุทธเจ้าสอนให้ถวายทานในสงฆ์(ทารุกัมมิกสูตร)เล่ม36หน้า739

ว่าด้วยพระพุทธองค์ทรงสรรเสริญสังฆทาน

[๓๓๐]สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ปราสาทสร้างด้วยอิฐใกล้นาทิกคาม ครั้งนั้น คฤหบดีชื่อทารุกันมิกะ(พ่อค้าฟืน)เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับถวายบังคมแล้วนั่ง ณที่ควรส่วนข้างหนึ่งครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามว่าดูก่อนคฤหบดี ทานในสกุลท่านยังให้อยู่หรือคฤหบดีชื่อทารุกัมมิกะได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังให้อยู่และทานนั้นแลข้าพระองค์ให้ในภิกษุผู้เป็นอรหันต์หรือผู้บรรลุอรหัตมรรคผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตรผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร.

พ.ดูก่อนคฤหบดีท่านผู้เป็นคฤหัสถ์ บริโภคกามอยู่ครองเรือนนอนเบียดเสียดบุตรบริโภคจันทน์แคว้นกาสีทัดทรงดอกไม้ ของหอมและเครื่องลูบไล้ยินดีทองและเงินอยู่พึงรู้ข้อนี้ได้ยากว่าภิกษุเหล่านี้เป็นพระอรหันต์หรือเป็นผู้บรรลุอรหัตมรรค ดูก่อนคฤหบดี ถ้าแม้ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตรเป็นผู้ฟุ้งซ่าน ถือตัวเห่อ ปากกล่า พูดพล่ามมีสติเลอะเลือนไม่มีสัมปชัญญะมีใจไม่ตั้งมั่น มีจิตพุ่งพล่านไม่สำรวมอินทรีย์ เมื่อเป็นอย่างนี้ภิกษุนั้นพึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นถ้าแม้ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตรเป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่านไม่ถือตัว ไม่เห่อ ไม่ปากกล้าไม่พูดพล่าม มีสติตั้งมั่นมีสัมปชัญญะ มีใจตั้งมั่นมีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งสำรวมอินทรีย์ เมื่อเป็นอย่างนี้ภิกษุนั้นพึงได้รับสรรเสริญด้วยเหตุนี้ ถ้าแม้ภิกษุผู้อยู่ใกล้บ้าน

เป็นผู้ฟุ้งซ่านฯลฯ เมื่อเป็นอย่างนี้ภิกษุนั้นพึงกล่าวติเตียนด้วยเหตุนั้นถ้าแม้ภิกษุผู้อยู่ใกล้บ้านเป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน ฯลฯเมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นพึงได้รับสรรเสริญด้วยเหตุนั้นถ้าแม้ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรเป็นผู้ฟุ้งซ่าน ฯลฯเมื่อเป็นอย่างนี้ภิกษุนั้นพึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นถ้าแม้ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรเป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน ฯลฯเมื่อเป็นอย่างนี้ภิกษุนั้นพึงได้รับสรรเสริญด้วยเหตุนั้นถ้าแม้ภิกษุผู้รับนิมนต์เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ฯลฯเมื่อเป็นอย่างนี้ภิกษุนั้นพึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นถ้าแม้ภิกษุผู้รับนิมนต์เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่านฯลฯ เมื่อเป็นอย่างนี้ภิกษุนั้นพึงได้รับสรรเสริญด้วยเหตุนั้นถ้าแม้ภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตรเป็นผู้ฟุ้งซ่าน ฯลฯเมื่อเป็นอย่างนี้ภิกษุนั้นพึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นถ้าแม้ภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตรเป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน ฯลฯเมื่อเป็นอย่างนี้ภิกษุนั้นพึงได้รับสรรเสริญด้วยเหตุนั้นถ้าแม้

ภิกษุผู้ทรงคฤหบดีจีวรเป็นผู้ฟุ้งซ่าน ถือตัว เห่อปากกล้า พูดพล่ามมีสติเลอะเลือนไม่มีสัมปชัญญะ มีใจไม่ตั้งมั่นมีจิตพลุ่งพล่าน ไม่สำรวมอินทรีย์เมื่อเป็นอย่างนี้ภิกษุนั้นพึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นถ้าแม้ภิกษุผู้ทรงคฤหบดีจีวรเป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ถือตัวไม่เห่อ ไม่ปากกล้าไม่พูดพล่ามมีสติตั้งมั่นมีสัมปชัญญะ มีใจตั้งมั่นมีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งสำรวมอินทรีย์เมื่อเป็นอย่างนี้ภิกษุนั้นพึงได้รับสรรเสริญด้วยเหตุนั้น ดูก่อนคฤหบดี เชิญท่านให้สังฆทานเถิด เมื่อท่านให้สังฆทานอยู่จิตจักเลื่อมใส ท่านนั้นผู้มีจิตเลื่อมใสเมื่อตายไป จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์คฤหบดีชื่อ ทารุกัมมิกะ.ทูลสนองว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญข้าพระองค์นี้จักให้สังฆทานตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

-ทำบุญให้เทวดาแบบถูกต้องเทวดาจะตามรักษา(เภสัชชขันธกะ)เล่ม7หน้า118

ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองอันตรวาสกทรงถือบาตรจีวร เสด็จพระพุทธดำเนินไปทางสถานที่อังคาสของสองมหาอำมาตย์แห่งมคธรัฐ ครั้นถึงแล้วประทับนั่งเหนือพระพุทธอาสน์ที่เขาจัดถวายพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ครั้งสองมหาอำมาตย์อังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยขาทนียโภชนียาหารอันประณีตด้วยมือของตนจนยังพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เสวยเสร็จแล้วทรงนำพระหัตถ์ออกจากบาตรให้ห้ามภัตรแล้ว ได้นั่งอยู่ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งพระผู้มีjพระภาคเจ้าทรงอนุโมทนาแก่สองหาอำมาตย์นั้น ด้วยพระคาถาเหล่านั้นว่า ดังนี้:-

คาถาอนุโมทนา

[๗๓] บัณฑิตชาติอยู่ในประเทศใดเลี้ยงดูท่านผู้มีศีลผู้สำรวม ประพฤติพรหมจรรย์ในประเทศนั้น และได้อุทิศทักษิณาแก่เหล่าเทพดาผู้สถิตในสถานที่นั้นเทพดาเหล่านั้นอันบัณฑิตชาติบูชาแล้วย่อมบูชาตอบอันบัณฑิตชาตินับถือแล้วย่อมนับถือตอบซึ่งบัณฑิตชาตินั้นแต่นั้น ย่อมอนุเคราะห์บัณฑิตชาตินั้น ดุจมารดาอนุเคราะห์บุตรผู้เกิดแต่อกฉะนั้น คนที่เทพดาอนุเคราะห์แล้ว ย่อมพบเห็นแต่สิ่งที่เจริญทุกเมื่อ.

-โลกและสังขาทั้งหลายไม่เที่ยงต้องเปลี่ยนแปลงไป(อัตทัณฑสูตตนิทเทส)เล่ม66หน้า452-455

ว่าด้วยโลก

[๘๐๐] คำว่า โลกทั้งหมดไม่เป็นแก่นสาร ความว่า โลกนรก โลกดิรัจฉานกำเนิดโลกเปรตวิสัย โลกมนุษย์ โลกเทวดา โลกขันธ์ โลกธาตุโลกอายตนะ โลกนี้ โลกอื่นทั้งโลกพรหม ทั้งโลกเทวดา

นี้ชื่อว่าโลกโลกนรกไม่เป็นแก่นสารไม่มีแก่นสาร ปราศจากแก่นสารโดยแก่นสารที่เป็นของเที่ยง โดยแก่นสารที่เป็นสุขโดยแก่นสารที่เป็นตัวตนโดยความเป็นสภาพเที่ยงโดยความเป็นสภาพยั่งยืน โดยความเป็นสภาพมั่นคงหรือโดยความเป็นธรรมไม่มีความแปรปรวนโลกดิรัจฉานกำเนิด โลกเปรตวิสัยโลกมนุษย์ โลกเทวดา โลกขันธ์โลกธาตุ โลกอายตนะ โลกนี้โลกอื่น ทั้งพรหมโลกทั้งเทวโลกไม่เป็นแก่นสารไม่มีแก่นสาร ปราศจากแก่นสารโดยแก่นสารที่เป็นของเที่ยงโดยแก่นสารที่เป็นสุข โดยแก่นสารที่เป็นตัวตนโดยความเป็นสภาพเที่ยงโดยความเป็นสภาพยั่งยืนโดยความเป็นสภาพมั่นคงหรือโดยความเป็น ธรรมไม่มีความแปรปรวนต้นอ้อไม่เป็นแก่นสารไม่มีแก่นสารปราศจากแก่นสาร ฉันใด ต้นละหุ่งไม่เป็นแก่นสาร ไม่มีแก่นสาร ปราศจากแก่นสาร ฉันใด ต้นมะเดื่อไม่เป็นแก่นสาร ไม่มีแก่นสารปราศจากแก่นสาร ฉันใด ต้นทองหลางไม่เป็นแก่นสาร ไม่มีแก่นสารปราศจากแก่นสาร ฉันใด ต่อมฟองน้ำไม่เป็นแก่นสาร ไม่มีแก่นสาร ปราศจากแก่นสาร ฉันใด พยับแดดไม่เป็นแก่นสารไม่มีแก่นสารปราศจากแก่นสาร ฉันใด ต้นกล้วยไม่เป็นแก่นสาร ไม่มีแก่นสารปราศจากแก่นสาร ฉันใด มายาไม่เป็นแก่นสาร ไม่มีแก่นสารปราศจากแก่นสาร ฉันใด โลกนรกไม่เป็นแก่นสาร ไม่มีแก่นสารปราศจากแก่นสารฯลฯ ทั้งพรหมโลก ทั้งเทวโลก ไม่เป็นแก่นสาร ไม่มีแก่นสารปราศจากแก่นสารโดยแก่นสารที่เป็นของเที่ยง...หรือโดยความเป็นธรรมไม่มีความแปรปรวนฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า โลกทั้งหมดไม่เป็นแก่นสาร.

ว่าด้วยสังขารไม่เที่ยง

[๘๐๑]คำว่า สังขารทั้งหลายหวั่นไหวแล้วตลอดทิศทั้งปวง ความว่า สังขารทั้งหลายในทิศตะวันออกแม้สังขารเหล่านั้นก็หวั่นไหวสะเทื้อนสะท้าน เอนเอียงเพราะเป็นสภาพไม่เที่ยงจึงเป็นสภาพอันชาติติดตามชราห้อมล้อม พยาธิครอบงำถูกมรณะกำจัด ตั้งอยู่ในกองทุกข์ไม่มีที่ต้านทาน ไม่มีที่หลีกเร้นไม่มีที่พึ่งเป็นสภาพไม่มีที่พึ่งสังขารทั้งหลายในทิศตะวันตกในทิศเหนือ ในทิศใต้ในทิศอาคเนย์ในทิศพายัพในทิศอีสาน ในทิศหรดีในทิศเบื้องต่ำ ในทิศเบื้องบนในสิบทิศแม้สังขารเหล่านั้น หวั่นไหวสะเทื้อน สะท้าน เอนเอียงเพราะเป็นของไม่เที่ยงจึงเป็นสภาพอันชาติติดตามชราห้อมล้อม พยาธิครอบงำถูกมรณะกำจัด ตั้งอยู่ในกองทุกข์ไม่มีที่ป้องกัน ไม่มีที่หลีกเร้นไม่มีที่พึ่ง เป็นสภาพไม่มีที่พึ่งสมจริงตามภาษิตนี้ว่า

ก็วิมานนี้ สว่างรุ่งเรืองอยู่ในทิศอุดรแม้โดยแท้แต่บัณฑิตเห็นความชั่ว(โทษ)ในรูปแล้วหวั่นไหวทุกเมื่อเพราะเหตุนั้นท่านผู้มีปัญญาดีย่อมไม่ยินดีในรูปโลกอันมัจจุกำจัดอันชราห้อมล้อม ถูกลูกศรคือตัณหาแทงติดอยู่ลุกเป็นควันเพราะความปรารถนาทุกเมื่อโลกทั้งปวงอันไฟติดทั่วโลกทั้งปวงอันไฟให้ลุกสว่างโลกทั้งปวงอันไฟให้ลุกรุ่งโรจน์ โลกทั้งปวงหวั่นไหว.เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า สังขารทั้งหลายหวั่นไหวแล้วตลอดทิศทั้งปวง.

[๘๐๒] คำว่า เมื่อเราปรารถนาความเจริญเพื่อตน ความว่า เมื่อเราปรารถนายินดี ประสงค์ รักใคร่ ชอบใจซึ่งความเจริญ คือ ที่ป้องกันที่หลีกเร้น ที่พึ่ง ที่ดำเนินที่ก้าวหน้า เพื่อตน เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า เมื่อเราปรารถนาความเจริญเพื่อตน.

[๘๐๓]คำว่า ไม่ได้เห็นซึ่งฐานะอะไรๆ อันไม่ถูกครอบงำ ความว่าเราไม่ได้เห็นซึ่งฐานะอะไรอันไม่ถูกครองงำคือได้เห็นฐานะทั้งปวงถูกครอบงำทั้งนั้นความเป็นหนุ่มสาวทั้งปวงถูกชราครอบงำ ความเป็นผู้ไม่มีโรคทั้งปวงถูกพยาธิครอบงำชีวิตทั้งปวงถูกมรณะครอบงำลาภทั้งปวงถูกความเสื่อมลาภครอบงำยศทั้งปวงถูกความเสื่อมยศครอบงำความสรรเสริญทั้งปวงถูกความนินทาครอบงำสุขทั้งปวงถูกทุกข์ครอบงำ.สมจริงดังภาษิตว่า

ธรรมในหมู่มนุษย์เหล่านี้คือลาภ ความเสื่อมลาภ ยศ ความเสื่อมยศ นินทา สรรเสริญสุข ทุกข์ เป็นของไม่เที่ยงไม่มั่นคง มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา.เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ไม่ได้เห็นซึ่งฐานะอะไรๆอันไม่ถูกครอบงำ

เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า โลกทั้งหมดไม่เป็นแก่นสารสังขารทั้งหลายหวั่นไหวแล้วตลอดทิศทั้งปวงเมื่อเราปรารถนาความเจริญเพื่อตนไม่ได้เห็นซึ่งฐานะอะไรๆอันไม่ถูกครอบงำ


ที่มา : วัดป่าสามแยก ศึกษาพระธรรมวินัย เบิกบุญ โอนบุญ อกหัก โดนของ ธรรมะ ธรรมทาน คลายเครียด เจริญรุ่งเรือง //www.samyaek.com/index.php

หัวข้อพระไตรปิฏก ที่ทางวัดสามแยกคัดเอาหัวข้อย่อๆ ให้ดาวโหลดขึ้นมาไว้ เพื่ออ่านเทียบเคียงพระไตรปิฎกทั้ง 91 เล่ม (พระวัดสามแยกยกหัวข้อสำคัญเพื่อเป็นแนวทางอ่านพระไตรปิฏกทั้ง91เล่ม)
//www.samyaek.com/board2/index.php?topic=3230.msg19459#msg19459

-ศึกษาพระไตรปิฏกและอรรถกถาแปลชุด91เล่ม ของมหามกุฏราชวิทยาลัย //www.thepalicanon.com/palicanon/

-Facebook พุทธพจน์ //www.facebook.com/login.php?next=http%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2Fgroups%2FBuddhaspeech

-Download free พระไตรปิฏกพร้อมหัวข้อธรรมสำหรับ apple ipad & iphone & Android ดูรายละเอียดได้ที่เวบ //www.tripitaka91.com

-เสียงอ่านพระไตรปิฏกชุด91เล่ม //www.dharmatarzan.com/

****หมายเหตุ "แสดงธรรมวันอาสาฬหบูชา ปี 2555" (//youtu.be/l52iDWt3V5Q ) นาทีที่ 6:01:55 ..เป็นต้นไป หลวงปู่ท่านได้พูดถึง ทนายชนอณุพงศ์ ชัยธนาวิรัตน์ ท่านใดมีปัญหาด้านกฏหมาย,คดีความต่างๆ ปรึกษาได้ที่ ทนายชนอณุพงศ์ ชัยธนาวิรัตน์ ที่เมล์ pasponglawyer@hotmail.com ,เบอร์โทรที่ 0818060981 , 0867809391 ****





 

Create Date : 17 พฤศจิกายน 2556
2 comments
Last Update : 19 พฤศจิกายน 2556 18:40:24 น.
Counter : 1088 Pageviews.

 

-ผลบาปของพระโกณฑธานเถระสนองท่าน(อ.ประวัติพระโกณฑธานะฯ)เล่ม32หน้า407

คำว่า กุณฑธาน เป็นชื่อขอท่าน ในปัญหากรรมของท่านมีเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับดังต่อไปนี้ :-

ได้ยินว่า ครั้งพระปทุมุตตรพุทธเจ้า พระเถระนี้บังเกิดในเรือนของครอบครัวกรุงหงสวดี ไปวิหารฟังธรรมโดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้จักสลากได้ที่ ๑ จึงการทำกุศลกรรมแด่พระพุทธเจ้าปรารถนาตำแหน่งนั้น ผู้อันพระศาสดาทรงเห็นว่าหาอันตรายมิได้จึงพยากรณ์แล้วบำเพ็ญกุศลตลอดชีพ เวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ ครั้งพระกัสสปพุทธเจ้าก็บังเกิดเป็นภุมมเทวดา.

ก็ธรรมดาว่าพระพุทธเจ้าผู้มีพระชนมายุยืน มิได้ทำอุโบสถทุกกึ่งเดือน. คือพระวิปัสสีทศพลในระหว่าง ๖ ปี จึงมีอุโบสถ ครั้งหนึ่ง ส่วนพระกัสสปทศพลทรงให้สวดพระปาฏิโมกข์ทุกๆ ๖ เดือน ในวันสวดปาฏิโมกข์นั้น ภิกษุ ๒ รูปผู้อยู่ในทิศมาด้วยจงใจว่า จะกระทำอุโบสถ.ภุมมเทวดานี้คิดว่าความมีไมตรีของภิกษุ ๒ รูปนี้มั่นคงเหลือเกิน เมื่อมีคนทำให้แตกแยกกัน ท่านจะแตกกันหรือไม่แตกกันหนอ จึงคอยหาโอกาสของภิกษุทั้งสองนั้นเดินไปใกล้ ๆ ภิกษุทั้งสองนั้น. ครั้งนั้นพระเถระรูปหนึ่งฝากบาตรและจีวรไว้กับพระเถระอีกรูปหนึ่ง ไปยังที่ มีความผาสุกด้วยน้ำเพื่อชำระล้างสรีระ ครั้งล้างมือล้างเท้าแล้วก็ออกมาจากร่มไม้ที่ถูกใจ. ภุมมเทวดาแปลงเป็นหญิงมีรูปร่างงามอยู่ข้างหลังพระเถระนั้น จึงทำให้เสมือนผมยุ่งแล้วจัดผมเสียใหม่ ทำเป็นปัดฝุ่นข้างหลังแล้วจัดผ้านุ่งเสียใหม่ เดินสกดรอยพระเถระออกจากพุ่มไม้มายืนอยู่ ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง, พระเถระผู้เป็นสหายเห็นเหตุการณ์นี้จึงเกิด ความโทมนัสคิดว่า ความเยื่อใยที่ติดตามกันมาเป็นเวลานานกับภิกษุนี้ ของเรามาฉิบหายเสียแล้วในบัดนี้ ถ้าหากเรารู้เช่นเห็นชาติอย่างนี้เราจะไม่ทำความคุ้นเคยกับภิกษุนี้ให้เนิ่นนานถึงเพียงนี้. พอพระเถระ นั้นมาถึงเท่านั้นก็พูดว่า เชิญเถอะอาวุโส นี่บาตรจีวรของท่านเราไม่เดินทางเดียวกันกับสหายเช่นท่าน. ครั้นได้ฟังถ้อยคำนั้นหทัยของภิกษุผู้มีความละอายนั้น เหมือนกับถูกหอกคมทิ่มแทงเอาแล้วฉะนั้น แต่นั้นท่านจึงกล่าวกะพระเถระนั้นว่า อาวุโส ท่านพูดอะไรอย่างนี้ ผมไม่รู้อาบัติแม้เพียงทุกกฏมาตลอดกาลเพียงนี้ ก็ท่านพูดว่าข้าพเจ้าเป็นคนชั่วในวันนี้ ท่านเห็นอะไรหรือ? พระเถระนั้นกล่าวว่า จะประโยชน์อะไรด้วยกรรมอื่นที่เราเห็นแล้ว ท่านออกมาอยู่ในที่เดียวกับผู้หญิงที่แต่งตัวอย่างนี้ ๆ เพราะเหตุไร.

พระเถระนั้นจึงตอบว่า อาวุโส กรรมนั้นของข้าพเจ้าไม่มี, ข้าพเจ้ามิได้เห็นผู้หญิงเห็นปานนี้ แม้ท่านจะกล่าวอยู่ถึง ๓ ครั้ง.

พระเถระอีกรูปหนึ่งก็มิได้เชื่อถ้อยคำ ถือเอาเหตุที่ตนเห็นแล้วเท่านั้นเป็นสำคัญ ไม่เดินทางเดียวกับพระเถระนั้น ไปเฝ้าพระศาสดาโดยทางอื่น.แม้ภิกษุอีกรูปหนึ่งก็ไปเฝ้าพระศาสดาโดยทางอื่นเหมือนกัน.

แต่นั้นเวลาภิกษุสงฆ์ลงอุโบสถ ภิกษุนั้นจำภิกษุนั้นได้ในโรงอุโบสถจึงกล่าวว่า ในโรงอุโบสถนี้มีภิกษุลามกชื่อนี้ เราไม่กระทำอุโบสถร่วมกับภิกษุนั้น จึงออกไปยืนอยู่ข้างนอก. ภุมมเทวดาคิดว่าเราทำกรรมหนักแล้ว จึงแปลงเป็นอุบาสกแก่ไปหาภิกษุนั้นกล่าวว่า เหตุไรเจ้ากูจึงมายืนอยู่ในที่นี้. พระเถระกล่าวว่า อุบาสกก็ภิกษุลามกเข้ามายังโรงอุโบสถนี้ อาตมาจะไม่ทำอุโบสถร่วมกับภิกษุลามกนั้นจึงออกมายืนอยู่ข้างนอก. อุบาสกแก่นั้นกล่าวว่า ท่านเจ้าข้า อย่าถืออย่างนั้นเลย ภิกษุนี้เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ผมคือ

ผู้หญิงที่ท่านเห็นนั้น ผมแลเห็นความดีความละอายและความไม่ละอายกระทำกรรมแล้วด้วยคิดว่า ความไมตรีของพระเถระนี้มั่นคงหรือไม่มั่นคง ก็เพื่อทดลองท่านทั้งหลายดู ภิกษุนั้นถามว่า สัปบุรุษก็ท่านเป็นใคร อุบาสกแก่ตอบว่า ผมเป็นภุมมเทวดาเจ้าค่ะ. เทวบุตรทั้งที่ยืนกล่าวอยู่ด้วยอานุภาพอันเป็นทิพย์หมอบลงแทบเท้าของพระเถระกล่าวว่า ขอจงอดโทษนั้นแก่ข้าพเจ้า พระเถระไม่รู้เรื่อง โปรดทำอุโบสถเถิด วิงวอนให้พระเถระเข้าไปสู่โรงอุโบสถแล้วพระเถระนั้นกระทำอุโบสถในที่เดียวกันก่อน แล้วก็อยู่ในที่เดียวกันกับพระเถระนั้น ด้วยอำนาจแห่งการผูกไมตรีอีกด้วยแล.กรรมของพระเถระนี้ท่านมิได้กล่าวไว้ ส่วนภิกษุผู้ถูกโจทย์บำเพ็ญวิปัสสนาต่อ ๆ มาได้บรรลุพระอรหัตแล้ว.

ภุมมเทวดาก็ไม่พ้นภัยในอบายตลอดพุทธันดรหนึ่ง เพราะผลของกรรมนั้น แต่ถ้ามาเกิดเป็นมนุษย์ตามสมควรแต่กาล โทษที่คนอื่นจะเป็นผู้ใดก็ตามกระทำ ก็ตกอยู่แก่เขาเท่านั้น ท่านบังเกิดในครอบครัวพราหมณ์ในกรุงสาวัตถี ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราพวกของท่านตั้งชื่อท่านว่า ธานมาณพ, ธานมาณพนั้นเจริญวัยแล้วเรียนไตรเพท ในเวลาแก่ฟังธรรมของพระศาสดาได้ศรัทธาแล้วบวช ตั้งแต่วันที่ท่านบวชแล้ว หญิงผู้แต่งตัวคนหนึ่ง เมื่อท่านเข้าบ้าน ก็เข้าไปกับท่านด้วย เมื่อออกก็ออกด้วย แม้เมื่อเข้าวิหารก็เข้าด้วย แม้เมื่อยืนก็ยืนอยู่ด้วยดังนั้นย่อมปรากฏว่า ติดพันอยู่เป็นนิตย์อย่างนี้ พระเถระก็ไม่เห็น แต่ด้วยผลของกรรมเก่าของพระเถระนั้น หญิงนั้นจึงปรากฏแก่คนอื่น ๆ หญิงทั้งหลายที่ถวายข้าวยาคู และภิกษาในบ้านก็ทำการเย้ยหยันว่า ท่านเจ้าขา ข้าวยาคูกระบวยหนึ่งนี้ สำหรับท่าน อีกกระบวยหนึ่งนี้ สำหรับเพื่อนหญิงของท่าน พระเถระจึงมีความเดือดร้อนรำคาญอย่างใหญ่ สามเณรและภิกษุหนุ่ม ต่างแวดล้อมท่าน แม้ไปวิหารก็ทำการหัวเราะเยาะว่า พระธานะเป็นคนชั่ว.

(ธาโน โกณฺโฑ ชาโต) ภายหลังท่านมีชื่อว่า โกณฑธานเถระ เพราะเหตุนั้นนั่นแลพระเถระพยายามแล้วพยายามเล่า เมื่อไม่อาจอดกลั้นความเย้ยหยันที่พวกสามเณรและภิกษุหนุ่มเหล่านั้นกระทำได้ ก็เกิดความบุ่มบ่ามขึ้นกล่าวว่า อุปัชฌาย์ของท่านซิชั่ว อาจารย์ของท่านซิชั่ว ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระศาสดาว่า พระกุณฑธานะกล่าวหยาบอย่างนี้ ๆ กับภิกษุหนุ่มและสามเณรทั้งหลาย พระศาสดาให้เรียกภิกษุนั้นมา ตรัสถามว่า "จริงหรือ ภิกษุ" เมื่อทูลว่าจริง พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เหตุไรท่านจึงกล่าวอย่างนั้นพระเถระทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ก็ไม่อาจอดกลั้นการเสียดสี อยู่เป็นประจำ จึงกล่าวอย่างนั้น พระศาสดาตรัสว่า ตัวท่านไม่อาจใช้กรรมที่ทำไว้ในปางก่อนให้หมดไป จนถึงทุกวันนี้ ต่อไปนี้ท่านอย่ากล่าวคำหยาบ เห็นปานนั้นน่ะภิกษุ ดังนี้แล้ว ตรัสว่า

ท่านอย่ากล่าวคำหยาบกะใคร ๆ ผู้ที่ท่านกล่าวแล้ว ก็จะโต้ตอบท่านด้วยว่า ถ้อยคำที่แข็งดีกัน นำทุกข์มาให้ผู้ทำตอบ ก็พึงประสบทุกข์นั้นท่านไม่ยังตนให้หวั่นไหว ดุจกังสดาลถูกเลาะขอบอกแล้ว ท่านนั้นก็จะเป็นผู้ถึงพระนิพพาน ความแข็งดีก็จะไม่มีแก่ท่าน ดังนี้.

ก็และบุคคลทั้งหลาย กราบทูลความที่พระเถระสนเที่ยวไปกับมาตุคามนี้ แด่พระเจ้าโกศล พระราชาส่งอำมาตย์ไปว่า พนายจงไปสืบสวนดู แม้พระองค์เองก็เสด็จไปยังที่อยู่ ของพระเถระนั้นพร้อมด้วยราชบริพารเป็นอันมาก ประทับยืนดูอยู่ ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง ขณะนั้นพระเถระกำลังนั่งเย็บผ้าอยู่ หญิงแม้นั้น ก็ปรากฏเหมือนยืนอยู่ในที่ไม่ไกลพระเถระนั้น พระราชาเห็นแล้วทรงดำริว่า มีเหตุนี้หรือจึงเสด็จไปยังที่ ๆ หญิงนั้นยืนอยู่แล้ว เมื่อพระราชามาถึง หญิงนั้นก็เป็นเหมือนเข้าไปยังบรรณศาลาอันเป็นที่อยู่ของพระเถระ แม้พระราชาก็เสด็จเข้าไปบรรณศาลาพร้อมกับหญิงนั้นทีเดียว ตรวจดูทุกแห่งก็ไม่เห็น จึงทำความเข้าพระทัยว่า นี้มิใช่มาตุคาม เป็นวิบากกรรมอย่างหนึ่งของพระเถระ ที่แรกแม้มาถึงใกล้พระเถระ ก็ไม่ทรงไหว้พระเถระ ครั้นทรงทราบว่า เหตุนั้นไม่เป็นจริง จึงเสด็จมาไหว้พระเถระ ประทับนั่ง ณ ที่สมควรส่วน หนึ่งตรัสถามว่า พระคุณเจ้า ไม่ลำบากด้วยบิณฑบาตบ้างหรือพระเถระทูลว่า เป็นไปได้ ขอถวายพระพร พระราชาตรัสว่า ท่านผู้เจริญ โยมรู้เรื่องราวของพระคุณเจ้า เมื่อพระคุณเจ้าเที่ยวไปกับสิ่งที่ทำให้เศร้าหมองเห็นปานนี้ ชื่อว่าใครเล่าจักเลื่อมใสตั้งแต่นี้ไป พระคุณเจ้าไม่จำต้องไปในที่ไหนๆ โยมจักบำรุงด้วยปัจจัย ๔ พระคุณเจ้าอย่าประมาทด้วยโยนิโสมนสิการะเถิด แล้วส่งภิกษาไปถวายเป็นประจำ พระเถระได้พระราชูปถัมภ์ เป็นผู้มีจิตมีอารมณ์เดียว เพราะมีโภชนะสบาย เจริญวิปัสสนาบรรลุพระอรหัตตผลแล้ว ตั้งแต่นั้นไป หญิงนั้นก็หายไป.

 

โดย: Budratsa 17 พฤศจิกายน 2556 18:26:48 น.  

 

ทุกๆ วันเสาร์เวลาประเทศไทย โดยประมาณ 20:30 น.มีการถ่ายทอดสดไปทั่วโลก เทศน์โดยหลวงปู่เกษม อาจิณณสีโล จากสำนักสงฆ์ป่าสามแยก

ดูได้ที่
=> //www.samyaek.com

หรือ สามารถดูทางช่องสำรอง:
=> //live.samyaek.com/

 

โดย: Budratsa 17 พฤศจิกายน 2556 18:29:19 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Budratsa
Location :
พิจิตร Switzerland

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




สวัสดีค่ะ ยินดีต้อนรับทุกๆคนค่ะ
"ดูก่อนอานนท์ บางทีพวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ปาพจน์ (พุทธพจน์) มีพระศาสดาล่วงแล้ว พระศาสดาของพวกเราไม่มี ข้อนี้พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น ธรรมก็ดี วินัยก็ดีอันใดอันเราแสดงแล้ว ได้บัญญัติไว้แล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาแห่งพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา" เล่มที่ ๑๓ : พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ หน้าที่ ๓๒๐
Friends' blogs
[Add Budratsa's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.