"ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้หรือในโลกอื่น หรือรัตนะใดอันประณีตในสวรรค์ ทรัพย์และรัตนะนั้นเสมอด้วยพระตถาคตย่อมไม่มี พระพุทธเจ้าแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยการกล่าวคำจริงนี้ ขอความสวัสดีจงมี....." "พระไตรปิฏก เป็นตาที่วิเศษยิ่ง, เป็นหูที่วิเศษยิ่ง, เป็นจมูกที่วิเศษยิ่ง, เป็นลิ้นที่วิเศษยิ่ง, เป็นกายที่วิเศษยิ่ง, เป็นใจที่วิเศษยิ่ง, เป็นครู-อาจารย์ที่วิเศษยิ่ง, เป็นพ่อ-แม่ที่วิเศษยิ่ง, เป็นมิตรและเข็มทิศที่วิเศษยิ่ง, เป็นแผนที่และป้ายบอกทางที่วิเศษยิ่ง, เป็นแสงสว่างส่องทางสู่นิพพานที่วิเศษยิ่ง"จากวัดสามแยก
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2557
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
232425262728 
 
9 กุมภาพันธ์ 2557
 
All Blogs
 

แสดงธรรมที่สวนสมุนไพร สมเด็จพระเทพฯ. HD โดยหลวงปู่เกษม อาจิณณสีโล 12ธ.ค. 2556

เนื้อหา บางส่วนจากการแสดงธรรม ชุดนี้
      ๑.     คบพระละเมิดศีล จะประสบทุกข์ยาวนาน
      ๒.     บุคคลที่น่าเคารพไม่ใช่เพราะแก่หรือมียศใหญ่
      ๓.     ให้อาหารปลาก็อุทิศบุญไปให้นาคช่วยเหลือได้
      ๔.     พระพุทธเจ้าให้สวดมนต์ด้วยภาษาที่เข้าใจ
      ๕.     สามารถแจ้งเรื่องถึงเทพดาที่มีอานุภาพได้
     ฯลฯ





-เทวดาต้องไม่ทำร้ายมนุษย์ ที่ไปเอาทรัพยากรธรรมชาติ(ธรรมิกสูตร)เล่ม36หน้า698
-ความแตกต่างของผลทาน(ทักขิณาวิภังคสูตร)เล่ม23หน้า393
-คบพระละเมิดศีล จะประสบทุกข์ยาวนาน(นวสูตร)เล่ม34หน้า489
-บุคคลที่น่าเคารพไม่ใช่เพราะแก่หรือมียศใหญ่(สูตร7)เล่ม33หน้า390-392
-พวกชาวทิพย์ที่ชอบประพฤติผิดศีลธรรมมีมาก(อาฏาฏิยสูตร)เล่ม16หน้า123-124
-พระเจ้าพิมพิสารอุทิศให้เปรตแบบถูกต้อง(ติโรกุฑฑสูตร)เล่ม39หน้า276-284
-ให้อาหารปลาก็อุทิศบุญไปให้นาคช่วยเหลือได้(เรื่องบุรุษคนใดคนหนึ่ง)เล่ม41หน้า156
-พระพุทธเจ้าให้สวดมนต์ด้วยภาษาที่เข้าใจ(อรณวิภังคสูตร)เล่ม23หน้า329
-ระลึกถึงพระรัตนตรัยได้ตลอดเวลา(ทุติยมหานามสูตร)เล่ม38หน้า537-540
-สามารถแจ้งเรื่องถึงเทพดาที่มีอานุภาพได้(อาฏานาฏิยสูตร)เล่ม16หน้า134-137
-ถ้าทายกถวายมากภิกษุพึงรับแต่พอประมาณ(อ.สังคีติสูตร)เล่ม16หน้า339

-เทวดาต้องไม่ทำร้ายมนุษย์ ที่ไปเอาทรัพยากรธรรมชาติ(ธรรมิกสูตร)เล่ม36หน้า698

ส. ดูก่อนเทวดา พวกชนที่ต้องการราก ย่อมนำรากต้นไม้ไป พวกชนผู้ต้องการเปลือก ย่อมนำเปลือกไป พวกชนผู้ต้องการใบย่อมนำใบไป พวกชนผู้ต้องการดอกย่อมนำดอกไป พวกชนผู้ต้องการผลย่อมนำผลไป ก็แต่เทวดาไม่พึงกระทำความเสียใจหรือความดีใจเพราะการกระทำนั้นๆ ดูก่อนเทวดาเทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ต้นไม้ ย่อมเป็นผู้ดำรงอยู่ในรุกขธรรมอย่างนี้แล.
ท. ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ข้าพระองค์ไม่ดำรงอยู่ในรุกขธรรมเป็นแน่เทียว ลมฝนที่แรงกล้าจึงได้พัดมาโค่นที่อยู่ให้ล้มลง ทำให้มีรากอยู่ข้างบน.
ส.  ดูก่อนเทวดา ถ้าว่าท่านพึงดำรงอยู่ในรุกขธรรมไซร้ ที่อยู่ของท่านก็พึงมีเหมือนกาลก่อน.
ท.  ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ข้าพระองค์จะพึงดำรงอยู่ในรุกขธรรมขอให้ที่อยู่ของข้าพระองค์พึงมีเหมือนกาลก่อนเถิด.
ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพได้ทรงบันดาลอิทธาภิสังขาร ให้มีลมฝนที่แรงกล้าพัดต้นไทรใหญ่ชื่อสุปติฏฐะ ให้กลับตั้งขึ้นดังเดิม ต้นไทรใหญ่ชื่อสุปติฏฐะได้มีรากตั้งอยู่ดังเดิม ฉันใด ดูก่อนพราหมณ์ธรรมิกะ เออก็ พวกอุบาสกชาวชาติภูมิชนบท ได้ขับไล่เธอผู้ดำรงอยู่ในสมณธรรมออกจากอาวาสทั้ง ๗ แห่ง ในชาติภูมิชนบททั้งหมด ฉันนั้นเหมือนกัน


-คบพระละเมิดศีล จะประสบทุกข์ยาวนาน(นวสูตร)เล่ม34หน้า489

อนึ่ง ชนเหล่าใดคบหาสมาคม ทำตามเยี่ยงอย่างภิกษุนั้น ข้อนั้นย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งอันไม่เกื้อกูลเพื่อทุกข์แก่ชนเหล่านั้น ตลอดกาลนาน เรากล่าวการคบหาสมาคมทำตามเยี่ยงอย่างที่เป็นเหตุให้เกิดสิ่งอันไม่เกื้อกูลเกิดทุกข์นี้ในความมีสัมผัสหยาบของภิกษุ กล่าวบุคคลนี้ว่า ดุจผ้าเปลือกไม้มีสัมผัสหยาบฉะนั้น

-บุคคลที่น่าเคารพไม่ใช่เพราะแก่หรือมียศใหญ่(สูตร7) เล่ม33หน้า390-392

สูตรที่ ๗ ว่าด้วยชื่อว่าเป็นบัณฑิตและเป็นเถระ มิใช่เพราะเป็นคนแก่

  สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจานะอยู่ที่ป่าคุนทาวันใกล้เมืองมธุรา ครั้งนั้นแล พราหมณ์กัณฑรายนะเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระมหากัจจานะ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามว่า ดูก่อนท่านกัจจานะ ข้าพเจ้าได้ฟังมาว่า ท่านสมณะกัจจานะ หาอภิวาท ลุกขึ้นต้อนรับพวกพราหมณ์ ที่ชราแก่เฒ่าล่วงกาลผ่านวัย หรือเชื้อเชิญด้วยอาสนะไม่ ดูก่อนท่านกัจจานะ ข่าวที่ได้ฟังมา นั้นจริงแท้ เพราะท่านกัจจานะหาอภิวาท ลุกขึ้นต้อนรับพวกพราหมณ์ที่ชราแก่เฒ่าล่วงกาลผ่านวัย หรือเชื้อเชิญด้วยอาสนะไม่ ดูก่อนกัจจานะการกระทำเช่นนี้นั้นเป็นการไม่สมควรแท้.

ท่านพระมหากัจจานะตอบว่า
ดูก่อนพราหมณ์ ภูมิคนแก่และภูมิเด็ก ที่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงรู้ทรงเห็นพระองค์นั้นตรัสไว้มีอยู่ ดูก่อนพราหมณ์ ถึงแม้จะเป็นคนแก่มีอายุ ๘๐ ปี ๙๐ ปีหรือ ๑๐๐ ปี แต่กำเนิดก็ดี แต่เขายังบริโภคกาม อยู่ในท่ามกลางกามถูกความเร่าร้อนเพราะกามแผดเผา ถูกกามวิตกเคี้ยวกินอยู่ ยังเป็นผู้ขวนขวายเพื่อแสวงหากาม เขาก็ย่อมถึงการนับว่าเป็นพาล ไม่ใช่เถระโดยแท้ ดูก่อนพราหมณ์ ถึงแม้ว่าจะเป็นเด็กยังเป็นหนุ่ม มีผมดำสนิทประกอบด้วยความเป็นหนุ่มอันเจริญ ยังตั้งอยู่ในปฐมวัย แต่เขาไม่บริโภคกาม ไม่อยู่ในท่ามกลางกาม ไม่ถูกความเร่าร้อนเพราะกามแผดเผาไม่ถูกกามวิตกเคี้ยวกิน ไม่ขวนขวายเพื่อแสวงหากาม เขาก็ย่อมถึงการนับว่าเป็นบัณฑิต เป็นเถระแน่แท้ทีเดียวแล.

-พวกชาวทิพย์ที่ชอบประพฤติผิดศีลธรรมมีมาก(อาฏาฏิยสูตร)เล่ม16หน้า123-124

ท้าวเวสวัณมหาราชประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยักษ์ชั้นสูงบางพวกมิได้เลื่อมใสต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าก็มี ยักษ์ชั้นสูงบางพวกที่เลื่อมใสต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าก็มี ยักษ์ชั้นกลางที่ไม่เลื่อมใสต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าก็มียักษ์ชั้นกลางที่เลื่อมใสต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าก็มี ยักษ์ชั้นต่ำที่ไม่เลื่อมใสต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าก็มี ยักษ์ชั้นต่ำที่เลื่อมใสต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าก็มี.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โดยมากยักษ์มิได้เลื่อมใสต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเลย ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงธรรม เพื่องดเว้นจากปาณาติบาต ทรงแสดงธรรมเพื่องดเว้นจากอทินนาทาน ทรงแสดงธรรมเพื่องดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร ทรงแสดงธรรมเพื่องดเว้นจากมุสาวาท.ทรงแสดงธรรมเพื่องดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
.แต่โดยมากพวกยักษ์ มิได้งดเว้นจากปาณาติบาต มิได้งดเว้นจากอทินนาทาน มิได้งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร มิได้งดเว้นจากมุสาวาท มิได้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ข้อนั้นจึงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของยักษ์เหตุนั้น.ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าบางพวกย่อมเสพเสนาสนะอันเป็นราวไพร ในป่า มีเสียงน้อย มีเสียงดังน้อยปราศจากลมแต่ชนผู้เดินเข้าออก ควรแก่การทำกรรมอันเร้นลับของมนุษย์ควรแก่การหลีกเร้น ยักข์ชั้นสูงบางพวกมีอยู่ในป่านั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงเรียนอาฏานาฏิยรักษ์ เพื่อให้ยักษ์พวกที่ไม่เลื่อมใสในคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านี้เลื่อมใส เพื่อคุ้มครองเพื่อรักษา เพื่อไม่เบียดเบียน เพื่อยู่สำราญของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ทั้งหลายเถิด พระเจ้าข้า.พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับโดยดุษณีภาพ.

-ให้อาหารปลาก็อุทิศบุญไปให้นาคช่วยเหลือได้(เรื่องบุรุษคนใดคนหนึ่ง)เล่ม41หน้า156

แม้บุรุษนอกนี้ ก็โปรยภัตลงในน้ำกำมือหนึ่ง บ้วนปากแล้ว ประกาศขึ้น ๓ ครั้งด้วยเสียงอันดังว่า "ขอพวกนาค ครุฑและเทวดา ผู้สิงอยู่ในประเทศแห่งแม่น้ำนี้จงฟังคำของข้าพเจ้า; พระราชาทรงปรารถนาจะลงอาญาแก่ข้าพเจ้าทรงบังคับข้าพเจ้าว่า "เธอจงนำเอาดินสีอรุณกับดอกโกมุทและดอกอุบลมา," ก็ภัตที่ข้าพเจ้าให้แก่มนุษย์เดินทางแล้ว, ทานที่ข้าพเจ้าให้แล้วนั้นมีอานิสงส์ตั้งพัน, ภัตที่ข้าพเจ้าให้แก่ปลาทั้งหลายในน้ำ, ทานที่ข้าพเจ้าให้นั้นมีอานิสงส์ตั้งร้อย, ข้าพเจ้าให้ผลบุญประมาณเท่านี้ ให้เป็นส่วนบุญแก่ท่านทั้งหลาย; ท่านทั้งหลายจงนำดินสีอรุณกับดอกโกมุทและดอกอุบลมาให้แก่ข้าพเจ้าเถิด."
พระยานาค ผู้อาศัยอยู่ในประเทศนั้น ได้ยินเสียงนั้น จึงไปสู่สำนักบุรุษนั้น ด้วยเพศแห่งคนแก่ กล่าวว่า " ท่านพูดอะไร ? บุรุษนั้น จึงกล่าวซ้ำอย่างนั้นนั่นแหละ, เมื่อพระยานาค กล่าวว่า " ท่านจงให้ส่วนบุญนั้นแก่เรา,"  จึงกล่าวว่า "เราให้ นาย" เมื่อพระยานาคกล่าวแม้อีกว่า "ท่านจงให้" ก็กล่าว (ยืนคำ)ว่า "เราให้ นาย," พระยานาคนั้น ให้น้ำส่วนบุญมาอย่างนั้นสิ้น ๒-๓ คราวแล้ว จึงได้ให้ดินสีอรุณกับดอกโกมุทและดอกอุบล(แก่บุรุษนั้น).

-พระพุทธเจ้าให้สวดมนต์ด้วยภาษาที่เข้าใจ(อรณวิภังคสูตร)เล่ม23หน้า329

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น การปรักปรำภาษาชนบทและการล่วงเลยคำพูดสามัญ นี้เป็นธรรมมีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงยังมีกิเลสต้องรณรงค์ แต่การไม่ปรักปรำภาษาชนบท และการไม่ล่วงเลยคำพูดสามัญ นี้เป็นธรรมไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติชอบ เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงไม่มีกิเลสต้องรณรงค์

-ระลึกถึงพระรัตนตรัยได้ตลอดเวลา(ทุติยมหานามสูตร)เล่ม23หน้า329


ทุติยมหานามสูตร ว่าด้วยเจ้าศากยะมหานามะทูลถามถึงธรรมเป็นเครื่องอยู่


สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธารามใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ก็สมัยนั้นแล เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะ  ทรงหายจากประชวร คือหายจากภาวะที่ประชวรไม่นาน ก็สมัยนั้นภิกษุเป็นอันมากกระทำจีวรกรรมเพื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยหวังว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีจีวรสำเร็จแล้ว จักเสด็จจาริกโดยกาลล่วงไป ๓ เดือน เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะได้ทรงสดับข่าวว่า ภิกษุเป็นอันมากกระทำจีวรกรรมเพื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยหวังว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีจีวรสำเร็วแล้ว จักเสด็จจาริกโดยล่วงไป ๓ เดือน ครั้งนั้นแล เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะ เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้ทราบข่าวมาดังนี้ว่า ภิกษุเป็นอันมากกระทำจีวรกรรมเพื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยหวังว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีจีวรสำเร็จแล้ว จักเสด็จจาริกโดยล่วงไป ๓ เดือน ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันผู้อยู่ด้วยธรรมเครื่องอยู่ต่างๆ พึงอยู่ด้วยธรรมเครื่องอยู่อะไร พระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดีละๆ มหาบพิตร การที่มหาบพิตรเสด็จเข้ามาหาตถาคตแล้วตรัสถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันผู้อยู่ด้วยธรรมเครื่องอยู่ต่างๆ พึงอยู่ด้วยธรรมเครื่องอยู่อะไร ดังนี้ เป็นการสมควรแก่มหาบพิตรผู้เป็นกุลบุตร ดูก่อนมหาบพิตร กุลบุตรผู้มีศรัทธาย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ ผู้ไม่มีศรัทธา ย่อมไม่เป็นผู้บริบูรณ์ ผู้ปรารภความเพียรย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ ผู้เกียจคร้านย่อมไม่เป็นผู้บริบูรณ์ ผู้มีสติตั้งมั่นย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ ผู้มีสติหลงลืมย่อมไม่เป็นผู้บูรณ์ ผู้มีจิตตั้งมั่นย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ ผู้ไม่มีจิตตั้งมั่นย่อมไม่เป็นผู้บริบูรณ์ ผู้มีปัญญาย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ ผู้มีปัญญาทราม ย่อมไม่เป็นผู้บริบูรณ์ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตรทรงตั้งอยู่ในธรรม ๕ ประการนี้แล้วพึงเจริญธรรม ๖ ประการให้ยิ่งขึ้นไป

ดูก่อนมหาบพิตร ในธรรม ๖ ประการนี้ พึงทรงระลึกถึงพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรมดูก่อนมหาบพิตร สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงพระตถาคต สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น ย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม สมัยนั้นจิตของอริยสาวกนั้นย่อมดำเนินไปตรง ดูก่อนมหาบพิตร อริยสารกผู้มีจิตดำเนินไปตรงเพราะปรารภพระตถาคต ย่อมได้ความรู้อรรถ ย่อมได้ความรู้ธรรม ย่อมได้ความปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม ปีติย่อมเกิดแก่อริยสาวกผู้มีความปราโมทย์ กายของอริยสาวกผู้มีใจประกอบด้วยปีติย่อมสงบ อริยสาวกผู้มีกายสงบแล้ว ย่อมเสวยสุข จิตของอริยสาวกผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตรพึงเสด็จดำเนินเจริญก็ได้พึงประทับยืนเจริญก็ได้ พึงประทับนั่งเจริญก็ได้ พึงบรรทมเจริญก็ได้ พึงทรงประกอบการงานเจริญก็ได้ พึงประทับบนที่นอนอันเบียดเสียดด้วยพระโอรสและพระธิดาเจริญก็ได้ ซึ่งพุทธานุสสตินี้แล.
ดูก่อนมหาบพิตร อีกประการหนึ่ง  มหาบพิตรพึงทรงระลึกถึงพระธรรม...
ดูก่อนมหาบพิตร  อีกประการหนึ่ง  มหาบพิตรพึงทรงระลึกถึงพระสงฆ์...

ดูก่อนมหาบพิตร  อีกประการหนึ่ง  มหาบพิตรพึงทรงระลึกถึงศีลของตน...
ดูก่อนมหาบพิตร  อีกประการหนึ่ง  มหาบพิตรพึงทรงระลึกถึงจาคะของตน. . .
ดูก่อนมหาบพิตร  อีกประการหนึ่ง  มหาบพิตรพึงทรงระลึกถึงเทวดาทั้งหลายว่า เทวดาชั้นจาตุมหาราชมีอยู่ เทวดาชั้นดาวดึงส์มีอยู่ . . .
เทวดาผู้สูงขึ้นไปกว่านั้นมีอยู่  เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศรัทธาเช่นใดจุติจากโลกนี้แล้วไปบังเกิดในเทวโลกชั้นนั้น ๆ แม้เราก็มีศรัทธาเช่นนั้นเทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศีล. . . สุตะ. . . จาคะ . . . ปัญญาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้วไปบังเกิดในเทวโลกชั้นนั้นๆ  แม้เราก็มีปัญญาเช่นนั้นดูก่อนมหาบพิตร สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะและปัญญา ของตนและของเทวดาเหล่านั้น สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม สมัยนั้นจิตของอริยสาวกนั้นย่อมดำเนินไปตรง ดูก่อนมหาบพิตร อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงเพราะปรารภเทวดาทั้งหลาย ย่อมได้ความรู้อรรถ ย่อมได้ความรู้ธรรม ย่อมได้ความปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม ปีติย่อมเกิดแก่อริยสาวกผู้มีความปราโมทย์ กายของอริยสาวกผู้มีใจประกอบด้วยปีติย่อมสงบ อริยสาวกผู้มีกายสงบย่อมเสวยสุข จิตของอริยสาวกผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตรพึงเสด็จดำเนินเจริญก็ได้ พึงประทับยืนเจริญก็ได้ พึงประทับนั่งเจริญก็ได้ พึงบรรทมเจริญก็ได้ พึงทรงประกอบการงานเจริญก็ได้ พึงประทับบนที่นอนอันเบียดเสียดด้วยพระโอรสและพระธิดาเจริญก็ได้ ซึ่งเทวตานุสสตินี้แล.

-สามารถแจ้งเรื่องถึงเทพดาที่มีอานุภาพได้(อาฏานาฏิยสูตร)เล่ม16หน้า134-137

ว่าด้วยวิธีป้องกันอมนุษย์

ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ อาฏานาฏิยรักษ์นี้นั้น เพื่อคุ้มครองเพื่อรักษา เพื่อไม่เบียดเบียน เพื่อสุขสำราญของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย. ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ ผู้ใดผู้หนึ่ง ภิกษุก็ตาม ภิกษุณีก็ตามอุบาสกก็ตาม อุบาสิกาก็ตาม จักเป็นผู้ยึดถือด้วยดี เรียนครบบริบูรณ์ซึ่งอาฏานาฏิยรักษ์นี้ หากว่า อมนุษย์ เป็นยักษ์ เป็นยักษิณี เป็นบุตรยักษ์ เป็นธิดายักษ์ เป็นมหาอำมาตย์ยักษ์ เป็นบริษัทยักษ์ เป็นยักษ์ผู้รับใช้ เป็นคนธรรพ์ เป็นนางคนธรรพ์ เป็นบุตรคนธรรพ์ เป็นธิดาคนธรรพ์ เป็นมหาอำมาตย์ของคนธรรพ์ เป็นคนธรรพ์บริษัท เป็นคนธรรพ์ผู้รับใช้เป็นกุมภัณฑ์ เป็นนางกุมภัณฑ์ เป็นบุตรกุมภัณฑ์ เป็นธิดากุมภัณฑ์ เป็นมหาอำมาตย์ของกุมภัณฑ์ เป็นกุมภัณฑ์บริษัท เป็นกุมภัณฑ์ผู้รับใช้ เป็นนาค เป็นนางนาค เป็นบุตรนาค เป็นธิดานาค เป็นมหาอำมาตย์ของนาค เป็นนาคบริษัท หรือเป็นนาคผู้รับใช้ เป็นผู้มีจิตประทุษร้ายพึงเดินตามภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้เดินไปอยู่ หรือ พึงยืนใกล้ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้ยืนอยู่ หรือพึงนั่งใกล้ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้นั่งอยู่ หรือพึงนอนใกล้ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้นอนอยู่.ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ อมนุษย์นั้นไม่พึงได้สักการะ หรือ ความเคารพ ในบ้านหรือในนิคม ของข้าพระพุทธเจ้า.ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ อมนุษย์นั้นไม่พึงได้วัตถุ หรือการอยู่ในราชธานี ชื่อว่าอาฬกมันฑา ของข้าพระพุทธเจ้า.ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ อมนุษย์นั้นไม่พึงได้ เพื่อเข้าสมาคมของพวกยักษ์ ของข้าพระพุทธเจ้า.อนึ่งอมนุษย์ทั้งหลาย ไม่พึงทำการอาวาหะ และวิวาหะกะอมนุษย์. อนึ่งอมนุษย์ทั้งหลายพึงบริภาษอมนุษย์นั้นด้วยความดูหมิ่น ครบบริบูรณ์ดังกล่าวแล้วโดยแท้.อนึ่ง อมนุษย์ทั้งหลาย พึงครอบบาตรเปล่าบนศีรษะอมนุษย์นั้นโดยแท้.อนึ่ง อมนุษย์ทั้งหลาย พึงผ่าศีรษะอมนุษย์นั้นออก.๗ เสี่ยงโดยแท้.

ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ อมนุษย์ทั้งหลาย ดุร้าย ร้ายกาจ ทำเกินเหตุมีอยู่ อมนุษย์เหล่านั้นไม่เชื่อท้าวมหาราช ไม่เชื่อยักษ์เสนาบดี ของท้าวมหาราช ไม่เชื่อถ้อยคำของรองยักขเสนาบดีของท้าวมหาราช.ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ อมนุษย์เหล่านั้นแล ท่านกล่าวว่า ชื่อว่าเป็นข้าศึกศัตรูของท้าวมหาราช. เหมือนโจรทั้งหลาย ในแว่นแคว้นของพระราชามคธ โจรเหล่านั้น ไม่เชื่อพระราชามคธ ไม่เชื่อเสนาบดีของพระราชามคธ ไม่เชื่อถ้อยคำของเสนาบดีของพระราชามคธ ไม่เชื่อรองเสนาบดีของพระราชามคธ ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์  มหาโจรเหล่านั้น ท่านกล่าวว่าชื่อว่า  เป็นข้าศึกศัตรูของพระราชามคธ ฉันใด ก็อมนุษย์ทั้งหลาย ดุร้าย ร้ายกาจ ทำเกินกว่าเหตุมีอยู่ อมนุษย์เหล่านั้น ไม่เชื่อท้าวมหาราช ไม่เชื่อยักขเสนาบดีของท้าวมหาราช ไม่เชื่อถ้อยคำของรองยักขเสนาบดีของท้าวมหาราช ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ อมนุษย์เหล่านั้นแล ท่านกล่าวว่าเป็นข้าศึกศัตรูของท้าว.มหาราชฉันนั้น.ก็อมนุษย์ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นยักษ์ เป็นยักษิณี เป็นบุตรยักษ์ เป็นธิดายักษ์ เป็นมหาอำมาตย์ของยักษ์ เป็นยักขบริษัท เป็นยักษ์ผู้รับใช้เป็นคนธรรพ์ เป็นนางคนธรรพ์ เป็นบุตรคนธรรพ์ เป็นธิดาคนธรรพ์เป็นมหาอำมาตย์ของคนธรรพ์ เป็นคนธรรพ์บริษัท เป็นคนธรรพ์ผู้รับใช้เป็นกุมภัณฑ์ เป็นนางกุมภัณฑ์ เป็นบุตรกุมภัณฑ์ เป็นธิดากุมภัณฑ์ เป็นมหาอำมาตย์ของกุมภัณฑ์ เป็นกุมภัณฑ์บริษัท เป็นกุมภัณฑ์ผู้รับใช้ เป็นนาค เป็นนางนาค เป็นบุตรนาค เป็นธิดานาค เป็นมหาอำมาตย์ของนาคเป็นนาคบริษัท หรือเป็นนาคผู้รับใช้ เป็นผู้มีจิตประทุษร้าย พึงเดินตามภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้เดินอยู่ พึงยินใกล้ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกา ผู้ยืนอยู่ พึงนั่งใกล้ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกา ผู้นั่งอยู่ พึงนอนใกล้ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้นอนอยู่.พึงยกโทษ พึงคร่ำครวญ พึงร้อง แก่ยักษ์ มหายักษ์ว่า ยักษ์นี้สิง ยักษ์นี้ติดตาม ยักษ์นี้รุกราน ยักษ์นี้เบียดเบียน ยักษ์นี้ทำให้เดือดร้อน ยักษ์นี้ทำให้เกิดทุกข์ ยักษ์นี้ไม่ปล่อย ดังนี้.

ยักษ์ มหายักษ์  เสนาบดี  มหาเสนาบดี  เหล่าไหน  คือ
อินทะ โสมะ วรุณะ ภารทวาชะ ปชาปติ
จันทนะ กามเสฏฐะ กินนุมัณฑุ นิฆัณฑุ.
ปนาทะ โอปมัญญะ เทวสูตะ มาตลิ
จิตตเสนะ คันธัพพะ มโฬราชาชโนสภะ
สาตาคิระ เหมวตะ ปุณณกะ กริติยะ คุละ
สิวกะ มุจจลินทะ เวสสามิตตะ ยุคันธระ.
โคปาละ สุปปเคธะ หิริ เนตตะ มันทิยะ
ปัญจาลจันทะ อาลวกะ ปชุณณะ  สุมุขะ
มธิมุขะ มณี มานิจระ ทีฆะ และ เสรีสกะ.

 พึงยกโทษ พึงคร่ำครวญ พึงร้องแก่ยักษ์ มหายักษ์ เสนาบดี มหาเสนาบดี เหล่านี้ว่า ยักษ์นี้สิง ยักษ์นี้ติดตาม ยักษ์นี้รุกรานยักษ์นี้เบียดเบียน ยักษ์นี้ทำให้เดือดร้อน ยักษ์นี้ทำให้เกิดทุกข์ ยักษ์นี้ไม่ปล่อย ดังนี้.

 ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ อาฏานาฏิยรักษ์นี้แล เพื่อคุ้มครองเพื่อรักษา เพื่อไม่เบียดเบียน เพื่อความอยู่สำราญของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย. ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ ขอโอกาสบัดนี้ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย มีกิจมาก มีธุระที่จะต้องทำมาก ขอกราบทูลลาไป.ดูก่อนท้าวมหาราชทั้งหลาย พวกท่านจงสำคัญซึ่งกาลอันควร ณ บัดนี้เถิด.

-ถ้าทายกถวายมากภิกษุพึงรับแต่พอประมาณ(อ.สังคีติสูตร)เล่ม16หน้า339

นี้ชื่อว่าสันโดษในการรับ.ก็ในสันโดษข้อนี้ ไทยธรรมมีมาก แต่ทายกต้องการจะถวายแต่น้อยพึงรับเอาแต่น้อย แม้ไทยธรรมก็มีมาก ถึงทายกก็ต้องการจะถวายมาก พึงรับเอาแต่พอประมาณเท่านั้น ไทยธรรมมีไม่มาก ถึงทายกก็ต้องการจะถวายไม่มาก พึงรับเอาแต่น้อย ไทยธรรมมีไม่มาก แต่ทายกต้องการจะถวายมาก ก็พึงรับเอาแต่พอประมาณเท่านั้น. 


=> ที่มา : วัดป่าสามแยก ศึกษาพระธรรมวินัย เบิกบุญ โอนบุญ อกหัก โดนของ ธรรมะ ธรรมทาน คลายเครียด เจริญรุ่งเรือง //www.samyaek.com/index.php

=> หัวข้อพระไตรปิฏก ที่ทางวัดสามแยกคัดเอาหัวข้อย่อๆ ให้ดาวโหลดขึ้นมาไว้ เพื่ออ่านเทียบเคียงพระไตรปิฎกทั้ง 91 เล่ม (พระวัดสามแยกยกหัวข้อสำคัญเพื่อเป็นแนวทางอ่านพระไตรปิฏกทั้ง91เล่ม)
//www.samyaek.com/board2/index.php?topic=3230.msg19459#msg19459

=> ศึกษาพระไตรปิฏกและอรรถกถาแปลชุด91เล่ม ของมหามกุฏราชวิทยาลัย //www.thepalicanon.com/palicanon/





 

Create Date : 09 กุมภาพันธ์ 2557
2 comments
Last Update : 9 กุมภาพันธ์ 2557 19:32:17 น.
Counter : 968 Pageviews.

 

สวัสดียามค่ำครับ

 

โดย: **mp5** 9 กุมภาพันธ์ 2557 20:24:53 น.  

 

วันนี้วันเสาร์ที่ 15 ก.พ.2557 เวลาประเทศไทย 21.30 น. มีการถ่ายทอดสดไปทั่วโลก เทศน์โดยหลวงปู่เกษม อาจิณณสีโล จากสำนักสงฆ์ป่าสามแยก

ดูได้ที่
=>//www.samyaek.com

=> หรือ สามารถดูทางช่องสำรอง: //live.samyaek.com/

=> หรือ //new.livestream.com/samyaek/samyaek

=> หรือ
//www.login.in.th/flashstreaming/flash_url/watsamyaek/425/350.html

 

โดย: Budratsa 15 กุมภาพันธ์ 2557 21:37:51 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Budratsa
Location :
พิจิตร Switzerland

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




สวัสดีค่ะ ยินดีต้อนรับทุกๆคนค่ะ
"ดูก่อนอานนท์ บางทีพวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ปาพจน์ (พุทธพจน์) มีพระศาสดาล่วงแล้ว พระศาสดาของพวกเราไม่มี ข้อนี้พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น ธรรมก็ดี วินัยก็ดีอันใดอันเราแสดงแล้ว ได้บัญญัติไว้แล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาแห่งพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา" เล่มที่ ๑๓ : พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ หน้าที่ ๓๒๐
Friends' blogs
[Add Budratsa's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.