Group Blog
พฤศจิกายน 2554

 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
24
25
26
27
28
29
30
 
 
21 พฤศจิกายน 2554
All Blog
สวดมนต์เพื่ออะไร













สวดมนต์เพื่ออะไร

เรา สวดมนต์กันมาก สวดถูกบ้างผิดบ้าง สวดสิ่งที่ควรสวดบ้างไม่ควรสวด บ้าง เพราะความไม่รู้ แล้วแต่ผู้ที่เคารพนับถือจะแนะนำให้สวดอะไร ก็มัก จะสวดกันไป โดยไม่รู้ความหมายด้วย บางทีก็ใช้เวลานานและยากที่จะจำ แต่ ว่าเชื่อ มีศรัทธาในบทสวดมนต์ว่าขลังและศักดิ์สิทธิ์ สามารถจะบันดาล ประสิทธิ์ประสาทสิ่งที่ต้องการให้ได้ ตามคำโฆษณาที่เขาเขียนเอาไว้บ้างพูด เอาไว้บ้าง ในหนังสือสวดมนต์นั้นๆก็มี

การสวดมนต์ เป็นวิธีการอันหนึ่ง ในการทำจิตให้สงบไม่ใช่พิธีการ วิธีการกับพิธีการไม่เหมือนกัน เดี๋ยวจะอธิบาย

การ สวดมนต์ เป็นวิธีการอันหนึ่ง ในการทำจิตให้สงบเป็นบริกรรมสมาธิ ถ้าจุด มุ่งหมายอันนี้ ก็สวดอะไรก็ได้ เพื่อให้จิตสงบ คือทำสมาธิโดยวิธี บริกรรม หมายถึงสวดเบาๆ สิ้นมนต์ไปบทหนึ่งๆว่าซ้ำๆจนจิตใจจดจ่ออยู่กับบท นั้น ไม่วอกแวกไปที่อื่น จะสวดบทเดียวหรือหลายบทก็ได้ ให้จิตใจจดจ่ออยู่ กับบทสวดเป็นใช้ได้ เหมือนท่องหนังสือ หรือท่องสูตรคูณ

ตัวอย่าง ที่นิยมสวดกันทั้งฝ่ายพระ ฝ่ายฆราวาส และเป็นบทที่ดี เช่น บทพระ พุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ อิติปิโส ภควา ถ้าเราสวดคนเดียว ต้อง การให้เป็นสมาธิ ก็สวดเบาๆ สวดกลับไปกลับมา 20-30 เที่ยวก็ได้

เดิมที เดียว คำสอนของพระพุทธเจ้ายังไม่ได้จารึกลงเป็นตัวอักษรในใบลาน พระสาวกนำ พาพระพุทธพจน์มาโดยการถ่ายทอดจากอาจารย์ไปยังศิษย์โดยการท่องจำ ท่องเป็น กลุ่มๆ และช่วยกันจำ ถ้าเป็นหนังสือสมัยนี้ ก็เรียกว่าท่องกันเป็น เล่มๆ สมัยก่อนนี้เขาบอกกันให้จำ เขาเรียกว่าไปต่อหนังสือ

บาง ทีวัดหนึ่งก็มีหนังสืออยู่เล่มเดียวที่กุฏิเจ้าอาวาส ลูกศิษย์ไม่มี หนังสือ ลูกศิษย์ก็ต้องไปต่อหนังสือ คืนนี้ได้แค่นี้ พออีกคืนหนึ่งก็ไป ต่อ อาจารย์ก็ว่านำ ลูกศิษย์ก็ว่าตาม ท่องจำ ก็จำกันได้เป็นเล่ม สวด มนต์ฉบับหลวงเล่มใหญ่ 400-500 หน้า บางคนก็จำได้หมด ท่องหลายปี ท่องไป เรื่อยๆ เพราะว่าบวชอยู่เรื่อยๆ

คนที่ไม่ได้บวช หรือ ว่าสึกแล้ว แต่ว่ายังมีฉันทะยังมีศรัทธา ยังมีอุตสาหะในการที่จะท่อง จำ ก็ท่องต่อไปเรื่อยๆ ก็จำได้เยอะ จำได้มากอย่างไม่น่าจะจำได้ เป็นที่ ประหลาดใจของคนที่ได้ยินได้ฟังว่าจำได้อย่างไร ไม่มีเทคนิคลี้ลับอะไร หรอก เพียงแต่ว่ามีฉันทะอุตสาหะในการท่องเท่านั้น ไปเห็นอะไรดีๆ ก็ท่อง เอาไว้ เพื่อเป็นประโยชน์กับการสวดบ้าง การเพ่งพินิจเนื้อความบ้าง ท่อง จำแล้วก็ง่ายกับการที่จะเพ่งพินิจเนื้อความ

เพราะ ฉะนั้น ในองค์ของพหูสูตร ท่านจึงมีอยู่ข้อหนึ่งว่า ธตา จำ ได้ วจสา ปริจิตา ว่าได้คล่องปาก มนสานุเปกฺขิตา เพ่งพินิจในใจ เอาใจ ไปเพ่งพินิจเนื้อความ ว่าเนื้อความนี้มีความหมายอย่างใด ไม่ต้องไปเปิด หนังสือ ก็ช่วยประหยัดเวลาได้เยอะ

การท่องจำพระพุทธพจน์นั่นเอง ก็กลายมาเป็นบทสวดมนต์ในภายหลัง

บท สวดมนต์เช้า สวดมนต์เย็น ส่วนมากแต่งขึ้นในภายหลัง พระท่านก็จะสวดเหมือน กัน สวดเป็นบทต้นๆ พอไปกลางๆ พระท่านจะสวดพระพุทธพจน์ เช่น ธัมมจักร กัปปวัตนสูตร อนัตตลักขณสูตร อาทิตตปริยายสูตร ธรรมนิยาม สูตร โลกธรรมสูตร อะไรที่มีเนื้อธรรมดีๆ ท่านจะสวดหลังๆของการสวดมนต์

ท่าน ลองเทียบดูกับการสวดปาติโมกข์ก็ได้ คือเป็นการท่องวินัย 227 ข้อ ท่ามกลาง สงฆ์ทุก 15 วัน ต้องท่องเร็วมากเลย มีผู้ทบทวนอยู่ข้างธรรมมาศ องค์ที่ สวดก็พนมมือ ไม่มองใคร สวดเรื่อยไป ส่วนมากโดยเฉลี่ยก็ 45 นาทีจึงจะ จบ จบแล้วก็เหนื่อย เพราะว่าสวดไม่หยุดเลยเร็วด้วย เร็วกว่าสวดมนต์

เมื่อ ก่อนนี้ท่านสวดพร้อมกัน และรู้ความหมาย เพราะเป็นภาษาของท่านเอง ต่อมา เมื่อพระพุทธศาสนามาอยู่ในเมืองไทย เราก็สวดเพื่อจะรักษาธรรมเนียมเดิมเอา ไว้ นี่หมายถึงการสวดมนต์นะครับ แต่ส่วนมากไม่รู้ความหมายว่าสวด อะไร เพราะไม่ใช่ภาษาของเรา และก็ไม่ได้เรียน ไม่เข้าใจ การสวด ปาติโมกข์จึงกลายเป็นพิธีการ ไม่ใช่วิธีการ เป็นพิธีการ พิธีกรรม โดย ที่ผู้สวดก็ไม่รู้เนื้อความ ผู้ฟังก็ไม่รู้เนื้อความ แต่ว่าต้อง สวด เพราะเป็นพิธีการ หรือเป็นวินัยบัญญัติว่าต้องสวดปาติโมกข์ หรือ ทบทวนวินัยทุก 15 วัน

เมื่อก่อนนี้ ท่านฟังไปๆท่านรู้ เรื่อง ถ้าพระองค์ไหนท่านรู้ว่าต้องอาบัติอะไร ก็สะกิดเพื่อนมา ไปปลง อาบัติใกล้ๆนั้นเอง และผู้ที่สวดก็ต้องหยุดสวด

แต่ว่าเวลานี้ ไม่มีเป็นอย่างนั้น เพราะว่าปลงอาบัติกันไปเสร็จเรียบร้อยแล้ว แล้วค่อยเข้าไปฟังปาติโมกข์

การ สวดมนต์หรือสวดพระปริตรต่างๆ ส่วนมากก็มุ่งไปทางพิธีการ คือทำพิธี มุ่ง เอาความขลังและความศักดิ์สิทธิ์ที่จะบันดาลให้สำเร็จผลด้วยมนต์นั้น แต่จะ สำเร็จหรือไม่สำเร็จก็ไม่มีใครรับรอง มีแต่ความเชื่อ ผู้สวดเองก็ไม่กล้า รับรอง แต่เราก็นิยมเรื่องการสวดมนต์เพื่อความขลังและศักดิ์สิทธิ์อยู่

ศักดิ์สิทธิ์ ตาม พจนานุกรมแปลว่าขลัง แล้วขลังแปลว่าอะไร ขลังแปลว่ามีอำนาจ ศักดิ์สิทธิ์ ที่เชื่อกันว่าอาจบันดาลให้สำเร็จได้ดังประสงค์ จริงไม่จริง ไม่รู้ แต่ ‘เชื่อกันว่า’ บางทีก็สวดเพื่อเป็นสิริมงคลในโอกาสต่างๆ สวด เพื่อป้องกันและทำลายทุกข์โศกโรคภัย และให้สำเร็จสมบัติทั้งปวง ดังคำ อาราธนาพระปริตรที่ทำกันอยู่ ท่านว่า

วิปตฺติ ปฏิพา หาย สพฺพสมฺปตฺติ สิทฺธิยา สพฺพทุกฺขวินาสาย ปริตฺตํ พฺรูถ มงฺคลํ แปล ว่า ขอท่านทั้งหลายสวดพระปริตร วิปตฺติ ปฏิพาหาย เพื่อป้องกัน วิบัติ หรือต่อต้านวิบัติ หรือทำลายวิบัติ สพฺพสมฺปตฺติ สิทฺธิยา เพื่อ ให้สำเร็จสมบัติทั้งปวง สพฺพทุกฺขวินาสาย เพื่อความพินาศแห่งทุกข์ทั้ง ปวง สพฺโรค วินาสาย เพื่อความพินาศแห่งโรคทั้งปวง สพฺพภย วินาสาย เพื่อ ความพินาศแห่งภัยทั้งปวง

นี่คือจุดมุ่งหมายแห่งการสวด พระปริตร เพื่อความพินาศแห่งทุกข์ทั้งปวง แห่งโรคทั้งปวง แห่งภัยทั้ง ปวง เพื่อให้ประสบความสำเร็จในสมบัติทั้งปวง

จะเป็น อย่างนั้นหรือเปล่า ไม่มีใครรับรอง แต่ก็มีความเชื่อ ถ้าจะถามว่าการสวด พระปริตรจะให้สำเร็จผลตามประสงค์ได้หรือไม่ ในคัมภีร์มิลินทปัญหา พระเจ้า มิลินท์ตรัสถามเรื่องนี้กับพระนาคเสนเหมือนกัน พระนาคเสนก็ถวายพระพรตอบว่า

จะให้สำเร็จผล ต้องมีเงื่อนไข 3 อย่าง

1. ต้องมีความเชื่อ

2. ไม่มีกรรมเป็นเครื่องกางกั้น เรียกว่า กรรมวรณ์

3. ไม่มีกิเลสเป็นเครื่องกางกั้น เรียกว่า กิเลสาวรณ์

ถ้า ไม่เชื่อ พระปริตรก็ไม่สำเร็จ หรือถ้ามีกรรมเป็นเครื่องกางกั้น คือกรรม ชั่วมันจะให้ผล ป้องกันไม่ได้ เพราะนตฺถิ กมฺมะ สมงฺ พลงฺ ไม่มีกำลังใด เสมอด้วยกำลังกรรม หรือว่ามีกิเลสเป็นเครื่องกางกั้น คือว่ากิเลส รุนแรง เดี๋ยวจะเล่าเรื่องให้ฟัง ให้เห็นว่ากิเลสรุนแรง มันป้องกันไม่ ได้อย่างไร

ปัญหาว่าองค์ 3 ที่ว่านั้นเป็นของใคร คือ เป็นของผู้สวด ผู้ทำพิธี หรือว่าเป็นของผู้รับทำพิธี หมายความว่าที่ว่า ไม่เชื่อนั้นใครไม่เชื่อ ผู้สวดไม่เชื่อหรือผู้รับพิธีไม่เชื่อ

เช่น นิมนต์พระมาทำพิธี ท่านที่สวดเองท่านก็ไม่เชื่อ หรือว่าคนฟังไม่เชื่อ

ที่ว่ากรรม เป็นกรรมของใคร กรรมของผู้ทำพิธี หรือกรรมของผู้รับพิธี

ที่ว่ากิเลสนั้นเป็นกิเลสของใคร ของผู้ทำพิธีหรือว่าเป็นกิเลสของผู้รับทำพิธี

นี่ก็ทิ้งเอาไว้ให้คิดกันดูนะครับ

กล่าว ถึงในพระไตรปิฎก พบเรื่องพระมหากัสสป และพระมหาโมคคัลลานะป่วย พระ พุทธเจ้าทรงทราบเข้า เสด็จไปเยี่ยมทรงแสดงหรือตรัสโพชฌงค์ 7 ประการ เมื่อ จบลงพระมหากัสสป พระมหาโมคคัลลานะหายป่วย หายจากทุกขเวทนากล้าแข็ง อัน นี้ปรากฏใน สังยุตนิกาย มหาวารวรรค พระไตรปิฎกเล่ม 19 หน้า 113-115

พระ มหากัสสป ป่วยอยู่ที่ถ้ำปิผลิ ท่านมหาโมคคัลลานะป่วยอยู่ที่ภูเขาคิช กูฏ เมืองราชคฤห์ พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจากเวฬุวัน ไปเยี่ยมทั้งสอง ท่าน

ในเมืองไทยก็นิยมสวดโพชฌงค์ให้กับผู้ป่วยเหมือน กัน เมื่อผู้สูงอายุป่วย ญาติพี่น้องมักจะนิมนต์พระสงฆ์ไปสวดโพชฌงค์ ผู้ ป่วยหายบ้าง ตายบ้าง สุดแล้วแต่เหตุปัจจัยของผู้ป่วยนั่นเอง

ทำไม พระเหล่านั้น ท่านฟังโพชฌงค์แล้วท่านหาย แต่ทำไมผู้ป่วยในเมืองไทย นี้ ส่วนมากตาย ส่วนน้อยหาย ที่หายนั้นก็คือ ถึงแม้จะนิมนต์พระไม่สวดโพ ชฌงค์ ก็หายเองอยู่ได้บ้างแล้ว ที่ตายนั้นเพราะอะไร ก็เพราะว่าโพ ชฌงค์ 7 นั้นมีบริบูรณ์อยู่ในพระอรหันต์เหล่านั้น แต่ว่าผู้ป่วยของเรา นั้น มีโพชฌงค์อยู่บ้างหรือเปล่า

โพชฌงฺโค สติ สงฺขา โต มีสติ ธมฺมานํ วิจโย ตถา มีธรรมวิจยะ วิริยมฺปิติ ปสฺสทฺธิ มี วิริยะ มีปีติ มีปัทสัทธิ โพชฺฌงฺคา จ ตถาปเร สมาธุเปกฺขโพชฺฌงฺคา มี สมาธิ อุเบกขา เหล่านี้มีไหม ถ้าไม่มี ก็คือเหตุปัจจัยมันไม่พร้อม ก็ เพียงแต่ทำพิธีไปเท่านั้นเอง

บางคราวพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงป่วยเอง รับสั่งให้พระจุนทะน้องชายพระสารีบุตรสวดโพชฌงค์ถวาย ก็ปรากฏ ว่าทรงพอพระทัยและหายป่วยเหมือนกัน นี่ปรากฏในพระไตรปิฎกเล่มเดียวกัน สัง ยุตนิกาย มหาวารวรรค พระไตรปิฎกเล่ม 19 หน้า 116

ท่าน ผู้เป็นมหาบุรุษทั้ง 3 นี้หายป่วย เพราะฟังโพชฌงค์ เพราะเหตุใดฟังโพชฌงค์ แล้วจึงหาย เพราะท่านมีโพชฌงค์ 7 ประการอยู่เต็มบริบูรณ์

แต่ คนเราธรรมดา มีโพชฌงค์อยู่เท่าใด หรือไม่มีเลยเมื่อเป็นเช่นนี้ จะเอา อะไรมาเป็นยาหรือเป็นธรรมโอสถสำหรับรักษา คุณสมบัติภายในไม่เหมือนกัน แม้ ทำอาการภายนอกให้เหมือนกัน ผลก็ไม่เหมือนกัน เหมือนผลไม้พลาสติกกับผลไม้ จริง มันดูอาการภายนอกมันเหมือน แต่ผลไม้พลาสติกมันกินไม่ได้ ความสำเร็จ ประโยชน์ในการบริโภคไม่เหมือนกัน

เพราะฉะนั้น การทำอะไรแต่เพียงพอเป็นพิธี กับการทำด้วยการเข้าใจความหมายอันแท้จริง จึงได้ผลไม่เหมือนกันอย่างแน่นอน

อีก ครั้งหนึ่ง ที่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี พระคิริมานนท์ป่วยหนัก พระอานนท์ ไปเยี่ยม แล้วกลับไปกราบทูลพระพุทธเจ้าให้เสด็จไปเยี่ยมพระคิริมานนท์ แต่ พระศาสดาไม่ได้เสด็จไป ทรงให้พระอานนท์ท่องสัญญา 10 ประการ สัญญาในที่นี้ หมายถึงข้อพิจารณา ไม่ใช่สัญญาแบบหนังสือสัญญาในภาษาไทย

ข้อ พิจารณา 10 ประการ มี อนิจจสัญญา เป็นต้น คือว่าพิจารณาถึงความไม่ เที่ยง มีอานาปานสติเป็นที่สุด ให้ไปกล่าวบอกเล่าแก่พระคิริมานนท์ คิริ มานนท์ฟังแล้วหายอาพาธเหมือนกัน

ถ้าจะสงสัยว่าทำไมพระ ศาสดาไม่ให้พระอานนท์แสดงโพชฌงค์แก่คิริมานนท์ นี่สันนิษฐานว่าทรงมีพระญาณ กำหนดรู้อินทรีย์คือความพร้อม และอาศัยอนุสัยของพระสาวกว่าผู้ใดควรโปรด ด้วยธรรมใด อาศัยคือความโน้มเอียง อนุสัยคือความรู้สึกส่วนลึกหรือกิเลส ที่อยู่ส่วนลึก ควรโปรดด้วยธรรมใดจึงจะสำเร็จประโยชน์ได้ เหมือนกับหมอให้ ยาคนไข้ให้ถูกกับโรคของเขา

ข้อความในพระสูตรหลาย สูตร เช่น กรณียเมตตสูตรที่กล่าวถึงเรื่องเมตตาและรัตนสูตร ขัน ธปริตร โมรปริตร เป็นต้น ที่พระนิยมสวดในพิธีต่างๆ ก็มีเรื่องเล่า ประกอบถึงเหตุที่ตรัสไว้ และปรากฏในอรรถกถาบ้าง และอรรถกถาชาดกบ้าง เช่น กรณียเมตตสูตรก็รู้จักกันแพร่หลายที่ว่า พระไปอยู่ป่าและถูกผีหลอก เพราะ ว่าไปแย่งที่อยู่ของเขา อยู่ไม่ได้กลับมา พระพุทธเจ้าประทานโอวาทในกรณีเม ตตสูตร ถึงคุณสมบัติของที่บรรลุสันต บทหลายข้อด้วยกันและให้แผ่เมตตาให้ สรรพสัตว์ ปรากฏว่า พระไปอยู่ป่าได้ ผีไม่หลอก รุกขเทวดาก็เมตตา ได้ คุ้มครองให้อยู่เป็นสุข

รัตนสูตรนั้น ก็มีเรื่องเล่า ถึงว่า เกิดทุพภิกขภัยขึ้นในเมืองเวสาลี พระพุทธเจ้าได้ให้พระอานนท์ไปสวด รัตนสูตรภัยพิบัติก็ค่อยๆลดลง

ขันธปริตร เกี่ยวกับการ แผ่เมตตาให้สัตว์ร้าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคืองู งูก็ไม่กัด เรื่องก็มี ว่า ภิกษุถูกงูกัด พระพุทธเจ้าทรงประทานพุทธมนต์ คือขันธปริตร แผ่เมตตา ไปให้พวกงูตระกูลต่างๆ พระพุทธเจ้าบอกว่าแผ่เมตตาไปให้งู แล้วงูจะไม่กัด

ที่ จริงสัตว์พวกนี้กลัวคน ถึงจะมีพิษสักเท่าไหร่ มันก็กลัวคน คนก็กลัว งู คือต่างคนต่างกลัวกัน คนก็กลัวงูกัด กัดแล้วก็ถึงตาย หรือปางตาย งู ก็กลัวคนจะตีมัน คนจะฆ่ามัน โดยสัญชาตญาณ แต่ถ้าคนมีเมตตาก็อยู่กับงูได้

โมร ปริตร เกี่ยวกับนกยูง โมร แปลว่านกยูง ก็จะเล่าเกี่ยวกับนกยูงนิด หนึ่ง เป็นเรื่องประกอบ โมรปริตร เป็นมนต์นกยูง สวดแล้วให้แคล้วคลาด ปลอดภัย จากตัวอย่างของนกยูงทอง ตามชาดก นกยูงทองสวดมนต์ทั้งเช้าทั้ง เย็น ตอนเช้าก็สวดมนต์นอบน้อมดวงอาทิตย์ นอบน้อมท่านผู้หลุดพ้น นอบน้อม ความหลุดพ้น และขอให้หลุดพ้น ปลอดภัยมาเป็นเวลานาน จนพรานนกยูง เอานก ยูงตัวเมียมาส่งเสียงร้อง นกยูงตัวนี้ก็ติดในเสียงของตัวเมีย รีบตะลี ตะลานลงมา ลืมสวดมนต์ ด้วยความพอใจในเสียงของนางนกยูง



Create Date : 21 พฤศจิกายน 2554
Last Update : 21 พฤศจิกายน 2554 10:27:48 น.
Counter : 755 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ใบไม้เบาหวิว
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]



Friends Blog
[Add ใบไม้เบาหวิว's blog to your weblog]