พระเครื่อง : แหล่งข้อมูลบทความพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง และวัตถุมงคล
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2556
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
11 มิถุนายน 2556
 
All Blogs
 
ลูกค้าโวยดาต้าอืด! ปัญหาหลัก 3 จี 2.1 GHz

ลูกค้าโวยดาต้าอืด! ปัญหาหลัก 3 จี 2.1 GHz

3 ค่ายถกปัญหา ครบ 1 เดือนหลังเปิดบริการ 3จี คลื่น 2.1 กิกะเฮิรตซ์ เผยนโยบายกำกับราคาของ กสทช. สร้างความหนักใจให้ผู้ประกอบการ ฟาก กสทช. ยันลุยทำงานตามกรอบหน้าที่ พิทักษ์ประโยชน์ผู้บริโภค...

เมื่อวันที่ 10 มิ.ย. ชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสารสนเทศ และสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้จัดงานเสวนาจิบน้ำชา "เปิดเรือน 1 เดือน 3จี 2.1 กิกะเฮิรตซ์" ณ หอประชุม สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อติดตามการเปิดให้บริการ 3จี บนคลื่น 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ของผู้ให้บริการ โดยมีตัวแทนจาก กสทช. และผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (โอเปอเรเตอร์) 3 ราย ได้แก่ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค และบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ร่วมเสวนาในครั้งนี้

นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการ กสทช. ในฐานะประธานคณะทำงานติดตามและกำกับดูแลค่าบริการ 3จี ย่าน 2.1 กิกะเฮิรตซ์ เปิดเผยว่า การเปิดประมูลใบอนุญาต (ไลเซ่นส์) คลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ เป็นการเปิดให้ใช้บริการภายใต้ระบบไลเซ่นส์จากเดิมที่เป็นระบบสัมปทาน จึงถือเป็นยุคเปลี่ยนผ่านซึ่งอาจต้องใช้ระยะเวลาหลายปี แต่จากความพร้อมของผู้ให้บริการในปัจจุบันเชื่อว่าอาจทำให้ระยะเวลาดังกล่าวสั้นลง แม้อาจมีปัญหาเนื่องจากผู้บริโภคมีความคาดหวังต่อบริการ ซึ่งรอมาเป็นเวลานาน รวมถึงคาดหวังว่าจะได้รับบริการที่รวดเร็วขึ้นและความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน ซึ่งถือเป็นกรอบการทำงานที่ กสทช. จะต้องกำกับดูแล

ประธานคณะทำงานติดตามและกำกับดูแลค่าบริการ 3จี ย่าน 2.1 กิกะเฮิรตซ์ กล่าวว่า หลังจากโอเปอเรเตอร์เปิดให้บริการ 3จี บนคลื่น 2.1 กิกะเฮิรตซ์ได้ราว 1 เดือน พบว่ามีปัญหาที่ชัดเจนคือเรื่องความคาดหวังในการให้บริการความเร็วดาต้า เนื่องจากผู้ใช้งานส่วนใหญ่คาดหวังว่าจะได้รับบริการที่มีความรวดเร็วและสามารถใช้งานได้ในปริมาณมาก อย่างไรก็ตาม ในวันพรุ่งนี้ (11 มิ.ย.) สำนักงาน กสทช. จะสรุปภาพรวมการตรวจสอบเอกชนว่าปฏิบัติตามคำสั่งของ กสทช.หรือไม่ หลังเปิดให้บริการครบ 1 เดือน โดยเน้นเกี่ยวกับการตรวจสอบเรื่องโปรโมชั่นที่มีอยู่ในตลาดว่าลดราคาลง 15%

นายจาตุรนต์ โชคสวัสดิ์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานอำนวยการภารกิจโทรคมนาคม กสทช. กล่าวว่า ปัญหาที่ กสทช. หนักใจคือการรวบรวมข้อมูลเพื่อมากำหนดนโยบายที่เหมาะสม โดยโอเปอเรเตอร์ทั้ง 3 ราย มีข้อมูล ขั้นตอนเอกสาร ที่แยกกันลำบาก รวมถึงผลด้านการนโนบายด้านราคา จึงต้องทำงานด้วยความรอบคอบและระมัดระวัง นอกจากนี้ยังรวมถึงการขอความร่วมมือในการรวบรวมข้อมูล ซึ่งบริษัทเห็นว่าเป็นการแข่งขันทางธุรกิจและเป็นข้อมูลเชิงลึก ซึ่งต้องประสานการทำงานงานร่วมกันเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของ กสทช. ส่วนกรณีการโอนย้ายเครือข่ายเพื่อใช้บริการ 3จี บนคลื่น 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ซึ่งผู้ใช้ซิมแบบพรีเพด (เติมเงิน) บางรายอาจมียอดเงินคงค้างอยู่นั้น ขอยืนยันว่ามีสิทธิ์เรียกขอเงินจำนวนดังกล่าวคืนได้จากผู้ให้บริการ โดยต้องไปแสดงตนที่ศูนย์ให้บริการของแต่ละเครือข่ายพร้อมแสดงซิมการ์ดเดิมและบัตรประชาชน

นายฐิติพงศ์ เขียวไพศาล ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส สายงานการตลาดและการขยาย เอไอเอส กล่าวว่า การเปิดให้บริการในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา มีลูกค้าโอนย้ายมายังเครือข่าย 2.1 กิกะเฮิรตซ์ จำนวน 2 ล้านคน จากจำนวนพื้นที่ให้บริการครอบคลุม 20 จังหวัดในช่วงแรก บริษัทได้เปิดพื้นที่ให้บริการเพิ่มอีก 5 จังหวัด โดยมีงบลงทุนรวม 7 หมื่นล้านบาท ภายในเวลา 3 ปีแรกที่เปิดให้บริการ

ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส สายงานการตลาดและการขยาย เอไอเอส กล่าวอีกว่า ปัญหาด้านการใช้งานที่บริษัทพบ คือความหนาแน่นในการใช้งานทั้งการโทร.เข้าและโทร.ออก ข้อจำกัดการใช้บริการบางประเภท ข้อมูลที่ลูกค้าตั้งค่าในการใช้เครือข่ายใหม่ และปัญหาการใช้โรมมิ่งในบางประเทศไม่ได้ นอกจากนี้ยังพบปัญหาการใช้ความเร็วดาต้า ที่พบว่ามีความเร็วช้าลงเมื่อใช้บริการถึงจำนวนที่จำกัดไว้ในโปรโมชั่น ซึ่งขอชี้แจงว่าเป็นเรื่องในการให้บริการของอุตสาหกรรมตลาดโทรคมนาคมที่มีลูกค้าใช้บริการจำนวนมาก ซึ่งหากไม่ลดความเร็วก็จะทำให้เกิดจราจรหนาแน่นและลูกค้าอาจต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น แต่การลดความเร็วดังกล่าวก็อยู่ภายในเงื่อนไขที่ กสทช.กำหนด

นายจักรกฤษณ์ อุไรรัตน์ รองผู้อำนวยการ ด้านรัฐกิจสัมพันธ์ ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า การให้บริการ 3 จี ของบริษัทที่ไม่ได้อยู่บนคลื่น 2.1 กิกะเฮิรตซ์นั้นถือว่าครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัดแล้ว หลังจากเปิดให้บริการมาเกือบ 2 ปี บนคลื่น 850 เมกะเฮิรตซ์ โดยทรูมีแผนติดตั้งเสาคลื่น 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ครอบคลุม 5 พันสถานีฐาน พร้อมนำเทคโนโลยีแอลทีอีมาใช้เพิ่มความเร็วในการใช้งาน และลงทุนเสาอีก 2 พันสถานีฐาน ในระยะแรกโดยเน้นการให้บริการในพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นใน ส่วนภาพรวมลูกค้า ขณะนี้มีลูกค้าโอนย้ายมาใช้บริการแล้วประมาณ 1 ล้านคน หรือมีลูกค้าขอโอนย้ายเฉลี่ย 8 พันคนต่อวัน ซึ่งเป็นลูกค้าใหม่ที่ย้ายมาจากเครือข่ายอื่นประมาณ 30% ซึ่งลูกค้า 1 คน จะใช้เวลาโอนย้ายเฉลี่ย 24 ชั่วโมง โดยลูกค้าเดิมไม่ต้องเปลี่ยนซิม ยกเว้นผู้ที่ต้องการใช้บริการแอลทีอี 4จี เท่านั้น ที่จะต้องเปลี่ยนซิมใหม่

รองผู้อำนวยการ ด้านรัฐกิจสัมพันธ์ ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวอีกว่า สำหรับประเด็นข้อร้องเรียนในขณะนี้ยังมีไม่มากนัก ซึ่งลูกค้าที่สอบถามข้อมูลกว่า 50% จะสอบถามเกี่ยวกับศูนย์ให้บริการ การตั้งค่าบริการ 3จี สอบถามเครื่องรุ่นที่รองรับบริการ 30% ขณะที่อีก 20% จะสอบถามพื้นที่ใช้งานรวมถึงการจับสัญญาณไวไฟทรู ส่วนประเด็นการปรับลดอัตราค่าบริการลง 15% ยอมรับว่าแม้ทรูจะปรับลดราคาลงมาแต่ลูกค้าอาจไม่ได้เห็นเป็นรูปธรรม แต่โปรโมชั่นที่เห็นชัดเจนอยู่แล้ว เช่น 899 บาท ก็จะปรับลดเหลือ 745 บาท ส่วนแพ็กเกจใหม่ที่จะออกมานั้นก็จะต้องสอดคล้องกับนโนบายของ กสทช.อยู่แล้ว

นายจักรกฤษณ์ กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ บริษัทยังมีความกังวลเกี่ยวกับลูกค้าทรู 18 ล้านเลขหมาย ซึ่งบริษัทกำลังจะหมดสัญญาสัมปทานในวันที่ 15 ก.ย.นี้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ทรูต้องเร่งทำความเข้าใจกับลูกค้าและพยายามแข่งประมูลเพื่อได้คลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อจะได้ดูแลลูกค้าได้ต่อเนื่อง ซึ่งจะต้องดูแนวทางการกำกับและนโยบายการจัดสรรคคลื่นส่วนนี้ของ กสทช.ว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป

นายนฤพนธ์ รัตนสมาหาร ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานรัฐกิจสัมพันธ์ ดีแทค กล่าวว่า บริษัทจะเปิดตัวบริการ 3จี บนคลื่น 2.1 กิกะเฮิรตซ์ แบบไม่เป็นทางการในวันที่ 21 มิ.ย.นี้ และจะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในเดือน ก.ค. แต่ขณะนี้พบว่ามีลูกค้าลงทะเบียนเพื่อแสดงความจำนงในการโอนย้ายเครือข่ายแล้ว 1 ล้าน 7 แสนเลขหมาย ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นลูกค้าเดิม โดยดีแทคทำในแบรนด์ของไตรเน็ต ซึ่งเป็นการใช้คลื่นร่วมกันระหว่าง 850 , 1800 และ 2,100 เมกกะเฮิรตซ์ ในโครงการเริ่มต้น 4 พันสถานีฐาน และจะครบ 5 พันสถานีฐานในปลายปี โดยใช้งบลงทุน 34,000-40,000 ล้านบาทคลอบคลุม 3 ปี โดยเชื่อมั่นว่าจะดูแลได้ทั้งลูกค้าใหม่ และลูกค้า 2 จีเดิม ส่วนการโอนย้ายเครือข่ายนั้น ภาพรวมยังเป็นลูกค้า 2จี ซึ่งการที่บริษัทจะหมดสัญญาสัมปทานในอีก 5-6 ปี นี้ เชื่อว่าลูกค้าจะค่อยๆ ทยอยย้ายมาเครือข่ายใหม่ แต่ขณะนี้หากลูกค้าไม่ยินยอมย้ายมาเครือข่ายใหม่ ทางดีแทคก็มีโปรโมชั่นในการดูแลลูกค้าที่ใช้บริการควบคู่ไปด้วย

อย่างไรก็ตาม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โอเปอเรเตอร์ทั้ง 3 ค่าย ยอมรับว่าปัญหาที่สร้างความหนักใจให้ผู้ประกอบการมากที่สุด คือ นโยบายด้านราคาของ กสทช. รวมถึง ประเด็นการคืนเงินสดให้ผู้บริโภคเต็มจำนวนหากมีเงินเหลือในระบบเติมเงิน เนื่องจากจำนวนเงินที่เหลืออยู่ 30% นั้น โอเปอเรเตอร์จะต้องนำส่งให้บริษัทที่เป็นคู่สัญญาณสัมปทาน ในขณะที่ต้องคืนเงินเต็มจำนวนให้ผู้บริโภค เท่ากับว่าบริษัทจะขาดทุนถึง 30% ต่อ 1 เลขหมาย ซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้บริการโทรศัพท์ระบบเติมเงินในระบบอย่างน้อย 70 ล้านเลขหมาย แต่ทุกค่ายแจ้งว่าพร้อมปฏิบัติตามคำสั่งของ กสทช. แต่ขณะนี้พบว่ามีผู้แจ้งขอเงินคืนน้อยมาก.




Create Date : 11 มิถุนายน 2556
Last Update : 11 มิถุนายน 2556 1:01:35 น. 0 comments
Counter : 1122 Pageviews.

amulet108
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 96 คน [?]








Friends' blogs
[Add amulet108's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.