ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2553
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
29 กรกฏาคม 2553
 
All Blogs
 
พัฒนาเข็มจิ๋วใช้ “แปะ” ไม่ต้องแทง

พัฒนาเข็มจิ๋วใช้ “แปะ” ไม่ต้องแทง


แท่งจิ๋ว ซึ่งย้อมสีชมพูเพื่อแสดงให้เห็นการบรรจุวัคซีนลงเข็ม (เอพี/Nature )


ไม่เฉพาะคนที่กลัวเข็มแต่เป็นเรื่องน่ายินดีสำหรับทุกคน หากเราได้รับวัคซีนโดยไม่ต้องใช้เข็มฉีดยา ซึ่งทีมวิจัยสหรัฐฯ กำลังพัฒนา “เข็มฉีดยาจิ๋ว” ที่ให้ความรู้สึกเหมือนสัมผัสกระดาษทรายละเอียด และถ้าทุกอย่างเป็นไปตามเป้าหมาย อีก 5 ปีเราจะมีวัคซีนแบบ “แผ่นแปะ” ไว้ใช้

การใช้ “แผ่นแปะ” เพื่อการรักษาทางยานั้น มีตัวอย่างความสำเร็จให้เห็นอยู่บ้าง เช่นที่เอพียกตัวอย่างคือ “แผ่นนิโคติน” สำหรับคนที่ต้องการเลิกบุหรี่ แต่ยังไม่มีความสำเร็จที่จะนำแผ่นแปะมาใช้กับวัคซีน หากแต่ทีมวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีจอร์เจีย (Georgia Institute of Technology) หรือจอร์เจียเทค (Georgia Tech) กำลังพัฒนาแถบ “เข็มฉีดยาจิ๋ว” ซึ่งให้ความรู้สึกเหมือนสัมผัสกระดาษทรายละเอียด

มาร์ก พรอสนิตซ์ (Mark Prausnitz) จากจอร์เจียเทคซึ่งเป็นหัวหน้างานวิจัยนี้กล่าวว่า การให้ความรู้สึกเหมือนกระดาษทรายเป็นจุดขายของผลงานวิจัยชิ้นนี้ ซึ่งจากการทดสอบให้อาสมัครทดลองใช้แบบไม่มีวัคซีน ผู้รับการทดสอบต่างให้คะแนนว่าแถบจิ๋วนี้สร้างความเจ็บปวดน้อยกว่าการใช้เข็มฉีดยา 1 ใน 10 ถึง 1 ใน 20 เท่า และเกือบทุกคนกล่าวว่าไม่มีความเจ็บปวดเลย

อย่างไรก็ดี แถบเข็มจิ๋วของทีมวิจัยจอร์เจียเทคยังคงจิ้มทะลุผิวหนังลงไป แต่ด้วยขนาดเข็มที่เล็กมากจึงทำให้ไม่รู้สึกเจ็บปวด และการใช้งานเข็มฉีดยาพันธุ์ใหม่นี้ยังไม่ต้องอาศัยผู้ที่ได้รับการฝึกฝนเป็นพิเศษ ซึ่งพรอสนิตซ์กล่าวว่า นอกจากลดความน่ากลัวของเข็มแล้ว ยังช่วยให้ผู้ป่วยสามารถจัดการฉีดยาได้เอง โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ต้องฉีดด้วยตัวเอง โดยเข็มฉีดยานี้ช่วยขจัดปัญหาออกไปได้ 2 อย่างคือ แก้ปัญหาการกลัวเข็ม และเขี่ยเข็มฉีดยาแบบต้องแทงผิวลึกๆ ทิ้งไป

การพัฒนาเข็มฉีดยาที่ให้ความรู้สึกเจ็บปวดน้อยและลดความน่ากลัวลงนี้เป็นความร่วมมือระหว่างจอร์เจียเทคและมหาวิทยาลัยอีโมรี (Emory University) ในแอตแลนตา สหรัฐฯ โดยการสนับสนุนจากสถาบันสุขภาพสหรัฐฯ (National Institutes of Health) ซึ่งงานวิจัยได้พัฒนาถึงขั้นการทดสอบในหนูทดลอง และตอนนี้ทีมวิจัยกำลังหาทุนเพื่อวิจัยในคน และหากทุกอย่างไปได้ดี พรอสนิตซ์คาดว่าเราจะได้ใช้แถบเข็มจิ๋วนี้ในอีก 5 ปีข้างหน้า

ด้านไซน์เดลีให้ความเห็นของ ริชาร์ด คอมแพนส์ (Richard Compans) ศาสตราจารย์ด้านจุลชีววิทยาและภูมิคุ้มกันวิทยา จากวิทยาลัยแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยอีโมรี ว่าผิวหนังนั้นเป็นบริเวณที่น่าสนใจต่อการสร้างภูมิคุ้มหันให้ร่างกาย เพราะเป็นบริเวณที่มีเซลล์หลากหลายชนิดและมีความสำคัญต่อการกระตุ้นภูมิคุ้มกันจากวัคซีน

สำหรับแถบเข็มจิ๋วที่ใช้ศึกษาในหนูมีขนาดเข็มจิ๋วที่ยาวเพียง 650 ไมครอน และเรียงกันเป็นแถบอยู่ 100 เข็ม โดยแปะแถบเข็มลงไปที่ผิวหนังนาน 5-15 นาที แต่สามารถแปะได้นานกว่านั้นโดยไม่ทำให้เกิดอันตราย ซึ่งการทดลองในหนูนั้นสามารถส่งวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้ในโดสหรือปริมาณยาที่ถูกต้อง

ทั้งนี้ไซน์เดลีอธิบายขั้นตอนการศึกษาว่า ทีมวิจัยได้แบ่งหนูทดลองออกเป็น 3 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกได้รับวัคซีนด้วยวิธีฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อแบบเก่า อีกกลุ่มได้รับวัคซีนที่ละลายผ่านแถบเข็มจิ๋ว ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการแปะแถบเข็มจิ๋วที่ไม่มีวัคซีน เมื่อได้รับเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่หลังจากนั้น 30 วัน กลุ่มที่ได้รับวัคซีนยังคงแข็งแรง แต่กลุ่มควบคุมนั้นเมื่อได้รับเชื้อไวรัสก็ตายในที่สุด

หลังจากนั้นอีก 3 เดือนทีมวิจัยนำหนูที่ได้รับวัคซีนไปรับเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่อีกครั้ง พบว่าหนูที่ได้รับวัคซีนจากแถบเข็มจิ๋วนั้นตอบสนองต่อไวรัสได้ดีกว่า และยังกำจัดเชื้อไวรัสออกจากตับได้มีประสิทธิภาพมากกว่าหนูกลุ่มที่ได้รับวัคซีนผ่านเข็มฉีดยาแบบทั่วไป

สำหรับการทำงานของเข็มจิ๋วนี้เมื่อกดลงบนผิวหนัง เข็มเล็กๆ จะละลายในของเหลวของร่างกายอย่างรวดเร็ว เหลือเพียงแถบที่ละลายน้ำได้ซึ่งสามารถทิ้งได้ทันทีเพราะไม่เหลือปลายแหลมที่เป็นอันตรายอีก ส่วนวัสดุที่ใช้ผลิตเข็มจิ๋วคือ “พอลิไวนีลไพร์โรลิโดน” (poly-vinyl pyrrolidone) ซึ่งได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นพอลิเมอร์ที่ปลอดภัยต่อภายในร่างกาย

ทั้งนี้ วัคซีนจะถูกเป่าแห้งแล้วผสมเข้ากับพอลิเมอร์ดังกล่าวก่อนหลอมขึ้นเป็นเข็มจิ๋ว จากนั้นทำให้เป็นพอลิเมอร์ที่อุณหภูมิห้องด้วยแสงอัลตราไวโอเลต

“อีกความได้เปรียบของเข็มจิ๋วคือวัคซีนถูกเก็บไว้ในรูปแห้ง ซึ่งจะเพิ่มความคงทนในการขนส่งและเก็บรักษา” เอียนนา สกูนซัว (Ioanna Skountzou) ผู้ช่วยศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยอีโมรีให้ความเห็น

พร้อมกันนี้พรอสนิตซ์ยังกล่าวอีกว่า ทุกๆ คนควรได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุกปี ซึ่งกลายเป็นภาระใหญ่สำหรับเครือข่ายสุขภาพ ซึ่งมีคนจำนวนมากไม่เข้ารับการฉีดวัคซีนเนื่องจากความไม่สะดวก แต่หากคนเหล่านั้นสามารถรับวัคซีนผ่านทางจดหมาย หรือซื้อหาได้ที่ร้านขายยาก็จะแก้ปัญหานี้ได้


แถบเข็มจิ๋ว 36 แท่งที่เรียงกัน เปรียบเทียบกับขนาดนิ้วมือ (ไซน์เดลี)


ที่มา
//www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9530000103585


Create Date : 29 กรกฎาคม 2553
Last Update : 29 กรกฎาคม 2553 13:27:04 น. 0 comments
Counter : 1808 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.