Ladakh ฉบับเบา ๆ - Chutayrangtak Street


จากแผนที่ Leh Heritage Walk :
https://www.tibetheritagefund.org/_obj/?r=161&c=0&o=2

(ตำแหน่งที่ 21)  Chutayrangtak Street




ลำไม้ใหญ่อายุเก่าแก่ที่ยังมีชีวิตอยู่ พาดตัวข้ามทางเดินบนตรอกทางเดินเล็ก ๆ ในตำแหน่งที่สูงพอให้เดิน
ลอดได้
อย่างไม่เกะกะ บริเวณย่านที่ตั้งอยู่ท้ายตลาดไม่ไกลจากประตูทางเข้า Central Asian Museum 
ที่รายล้อมไปด้วยชุมชนชาวลาดักมุสลิม

นอกเหนือไปจากต้นไม้ใหญ่ที่เป็นจุดเด่นแล้ว ก็ยังมีกลุ่มร้านขายขนมปังท้องถิ่นที่ยังคงทำด้วย
กรรมวิธีดั้งเดิม
(อบในโอ่ง) ยิ่งเป็นช่วงเช้าก็จะคึกคักมากเพราะเต็มไปด้วยคนที่แวะผ่านมาซื้อเต็มไปหมด ด้วยความรีบเร่งของ
ชีวิตในสังคมเมืองที่ต้องแข่งขันกับเวลาและเพื่อความสะดวก  


 




"....เขาหยิบแป้งหมักซึ่งปั้นเป็นก้อนกลมเล็ก ๆ คลุมผ้าไว้ในถาดมากมายมาทีละก้อน ตีแผ่เป็นแผ่น
กลมบาง ๆ แตะน้ำบางครั้งก็ผสมงาลงไป (ซึ่งจะเรียกเปลี่ยนไปเป็น "กุตจา") แล้วโปะลงข้าง ๆ ด้านใน
ของเตาดินเผารูปร่างคล้ายโอ่งใบใหญ่ รอจนแผ่นแป้งแข็งกรอบ จึงใช้เหล็กแหลมแทงขึ้นมาอันแล้ว
อันเล่าด้วยท่วงท่าอันสงบนิ่ง..."    


คำบรรยายบางส่วนและภาพประกอบ
: 'ในห้วงหิมาลัย' ,ธารา รินศานต์, สำนักพิมพ์เจนเดอร์เพรส, 2539 





การเรียกขนมปังตามภาษาท้องถิ่นของลาดัก โดยทั่วไปก็จะใช้คำว่า ทากิ
ก็น่าจะเหมือนกับที่คนอินเดียเรียกขนมปังชนิดแบนว่า
โรตี ไปแทบเสียหมด
แม้ว่าจะมีทั้งตัวที่ชื่อ Naan, Chapati, Paratha และอื่น ๆ เหล่านี้ก็คือ โรตี 


ทากิ ของลาดักก็เช่นกัน พวกเขามีขนมปังมากกว่าหนึ่งประเภท แต่ละประเภท
ก็มีชื่อเฉพาะ ที่เราพูดถึงบ่อย ๆ 
คือตัวที่ชื่อว่า คัมบีร์ (Khambir) ก็อาจจะเรียก
แบบเต็มยศได้ว่า ทากิ คัมบีร์ (Tagi Khambir) เป็นต้น นอกเหนือจากนี้ก็ยังมี
อีกตัวที่คล้ายกันคือ ทากิ ชาโม (Tagi Shamo)  


ส่วนชนิดที่นำไปอบในโอ่งและทำขายกันในย่านนี้ ถ้าหากอ้างอิงจากหนังสือฯ
จะเรียกว่า ไต
 * เพิ่มเติมภายหลัง อันนี้สอบถามคนลาดักมาอีกนะ ก็คือคำว่า ไต
เป็นอีกหนึ่งคำสามัญทั่วไปที่หมายถึงโรตี 
(flatbread)  ส่วนชื่อเฉพาะของขนมปังทรง
กลมแบน
ที่ร้านชาวมุสลิมนำไปอบในโอ่งที่เรียกว่าทันดูร์ (
tandoor) อย่างที่เห็นตามตรอก 
chutayrangtak โดยขนมปังนี้มีความหนาและขนาดเล็กกระทัดลัดเรียกว่ากุลจา (Kulcha)


เนื่องจากไม่ได้แวะไปอุดหนุน เลยไม่กล้าเข้าไปขอถ่ายภาพร้านขาย
ขนมปังท้องถิ่นบริเวณถนน 
Chutayrangtak มาฝากกัน  พอได้เวลากลับมา
เขียนถึง  ก็ต้องวุ่นวายกลับมาเปิดหนังสือหารูปเก่าจากบันทึกการเดินทางของ 

คุณธารา รินศานต์ ที่ถ่ายลงไว้เมื่อหลายปีก่อน มาใช้ประกอบคำบรรยายแทน 

ลองคิดย้อนไป ไม่แน่ว่าช่วงที่เดินเตร่ผ่านแถวตรอกนี้ เราอาจเคยเห็นคุณลุง
สักคนหนึ่งที่ขายขนมปังเป็นชายหนุ่มคนเดียวกับในภาพมาแล้วก็ได้เนอะ (^^)





อนึ่ง ชื่อของ Chutayrangtak นั้นมาจากคำว่า Rantak (บางทีก็เขียนว่า Rangtak) 
แปลว่า เครื่องโม่  ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่อาศัยพลังงานจาก น้ำ (Chu) บดโม่ข้าว
เพราะเคยเป็นที่ตั้งของโรงโม่แป้งนั่นเอง ซึ่งก็ดูสอดคล้องกันดี
กับวิถีและกิจการ
ผลิตขนมปังที่ยังคงมีอยู่ในแถบนี้  



มาปิดท้ายเอนทรี่ย์นี้ ด้วยหน้าตาของ Rantak กันค่ะ 


Linkhttps://www.youtube.com/watch?v=L-tfWmHozSA


 



Create Date : 18 กันยายน 2564
Last Update : 31 กรกฎาคม 2565 1:03:55 น.
Counter : 1465 Pageviews.

6 comments
:: ชีวิตคือการพบเจอและการเลือก :: กะว่าก๋า
(19 ก.ค. 2567 05:09:21 น.)
จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ยังไงเมื่อที่ว่าการเขตไม่รับจดแล้ว (สำหรับนิติบุคคล) ฟ้าใสทะเลคราม
(18 ก.ค. 2567 17:51:53 น.)
17 กค 67 Live วัดป่าภูไม้ฮาว mcayenne94
(17 ก.ค. 2567 19:31:28 น.)
15 กค 67 Beautiful day 2 - กระทิง Alexandrian Laurel mcayenne94
(15 ก.ค. 2567 11:20:49 น.)

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณmultiple, คุณSweet_pills, คุณRain_sk, คุณmariabamboo, คุณnewyorknurse, คุณKavanich96, คุณทุเรียนกวน ป่วนรัก, คุณhaiku, คุณtuk-tuk@korat, คุณSertPhoto

  
โอ้ ชอบถนนที่มีต้นไม้ใหญ่ขวางทางจัง แล้วเหมือนเค้าจะทำห้อง หรือ อาคารล้อมรอบ ต้นไม้อีกด้วยซ้ำ ดูเอื้อเฟื้อ+อนุรักษ์ดีจัง
นี่ถ้าเป็นบ้านเรา คงเลื่อยไปทำเรือนไทยแล้วละ555

ส่วนโม่พลังน้ำนี่ ภูมิปัญญาพื้นถิ่นที่น่าทึ่งมาก ใช้วัสดุที่มีในแถบนั้น
เห็นมีแท่งไม้ แปะติดอยู่ด้วย ดังปีอกๆแป๊กๆ เหมือนเป็นระบบเสียงเตือนให้รู้ว่าเครื่องโม่ ยังหมุนอยู่ สุดยอด555

แล้วก็เหมือนจะเคยอ่านที่ไหนไม่รู้ เรื่องตลกเกี่ยวกับขนมปัง
ที่ชื่อ Naan

คือมีคน เข้าไปชิมอาหาร ที่ร้านอาหารทิเบต
พอนั่งโต๊ะปุ๊บ บริกร ก็มาถามทันทีว่า จะกิน นาน Naan มั้ย

ลูกค้าก็แปลกใจทำไมต้องถามด้วย สงสัยมีคนมารอโต๊ะ
เลยตอบไปว่า ไม่นานหรอก ซัก ครึ่งชั่วโมง ก็จะอิ่มแล้ว 555

โดย: multiple วันที่: 20 กันยายน 2564 เวลา:20:41:43 น.
  
ขนมปังอบในโอ่งดูเป็นภูมิปัญญาด้วยนะคะน้องฟ้า
ถ้าคุณลุงสักคนที่ขายขนมปังเป็นคนเดียวกับในภาพ
ก็นับว่าชายหนุ่มยึดอาชีพนี้มายาวนาน น่าชื่นชมที่รักษาวิธีการดั้งเดิมไว้ค่ะ

ต้นไม้ที่ยังมีชีวิตรูปทรงแปลกตามาก
เหมือนปรับตัวตามสภาพแวดล้อม

ขอบคุณน้องฟ้าที่พาเที่ยวนะคะ
โดย: Sweet_pills วันที่: 21 กันยายน 2564 เวลา:0:49:59 น.
  
ขอบคุณที่่แบ่งปัน
โดย: Kavanich96 วันที่: 25 กันยายน 2564 เวลา:5:02:09 น.
  
ขนมปังอบในโอ่งน่าสนใจแฮะ
ปัจจุบันมีแต่อบในเตา แป้งวางแป้งบนถาด บนตะแกรง
ถ้าแปะแป้งในโอ่ง พื้นผิวสัมผัสหลังอบแล้วจะเป็นยังไง
น่าจะเรียบ ๆ แหละมั้ง แต่ก็เสียดายที่ไม่ได้เห็น ^^"


คนไทยสมัยนี้ชอบลองของแปลก
ถ้าเอาขนมปังแบบนี้มาทำขายบ้านเรา
แล้วตั้งชื่อว่า "โอ่งเว้ยเฮ้ย!" อาจจะขายได้ก็ได้นะ
(หรืออาจจะถูก ปังเว้ยเฮ้ย ฟ้องลิขสิทธิ์ก่อน แฮ่ )
โดย: ทุเรียนกวน ป่วนรัก วันที่: 27 กันยายน 2564 เวลา:9:06:27 น.
  
โอ้ ดูจากรูป ประวัติทวดต้นไม้นี้ 555
เดาเอาว่า น่าจะอายุเป็น 100ปี ซะละมั้ง

เพราะต้นที่ขึ้นตรงๆนี่ ตามรูปสมัยก่อน ต้นนิดเดียวเอง
แต่ในรูปที่น้องฟ้า ถ่ายมานี่ เบ่อเริ้มแล้ว
ทีแรกคิดว่าเป็นคนละต้น แต่ดูใบแล้วเหมือนกัน

สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นต้นเดียวกันแหละ
ไม่ยอมตายง่ายๆ เลยโผล่พรวดมาอีกต้น
มีอะไรก็ส่งมาให้ อ.เต๊ะ วิเคราะห์ได้เลยน้า
ช่วงนี้ งานการไม่ค่อยได้ทำ ว่างจัด 555

โดย: multiple วันที่: 2 ตุลาคม 2564 เวลา:19:02:01 น.
  
น้องฟ้าสบายดีนะคะ

พี่ต๋าปั่นซอสเพสโต้แล้วใช้ไม่หมดก็ใส่ขวดเข้าตู้เย็นช่องธรรมดา
ความหอมโหระพาก็ยังใช้ได้อยู่ค่ะ

ขอบคุณน้องฟ้ามากนะคะสำหรับกำลังใจ

โดย: Sweet_pills วันที่: 3 ตุลาคม 2564 เวลา:0:21:22 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Wachii.BlogGang.com

กาบริเอล
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 58 คน [?]

บทความทั้งหมด