บันทึกสุดท้ายที่ Chitkul หมู่บ้านสุดท้ายในอินเดีย | INDIA 2019





⭗ พ.ย. 2015 เรือนไม้ขนาดเล็กที่น่าจะเป็นยุ้งฉางเก่า ตั้งอยู่บริเวณลานพื้นที่โล่งด้านหลังร้านขายอาหารหน้าหมู่บ้าน
เป็นหนึ่งในภาพจำที่ประทับใจกับบรรยากาศท่ามกลางภูเขาและธรรมชาติที่แวดล้อมไปด้วยความสงบในช่วงต้นฤดูหนาว


เอนทรี่เก่า ที่เขียนถึง Chitkul เมื่อปี 2015 :

Kinnaur : Chhitkul ณ หมู่บ้านแห่งสุดท้ายของอินเดีย (1)
Kinnaur : Chhitkul ณ หมู่บ้านแห่งสุดท้ายของอินเดีย (2)



Chitkul 2019   

ณ จุดลงรถโดยสาร ป้ายสีขาวที่เขียนติดไว้เป็นที่ ๆ นักท่องเที่ยวมักจะมาหยุดยืนถ่ายรูปกันเป็น
ที่ระลึกและมีแคปชั่นถึงสถานที่แห่งนี้ว่า “ที่นี่คือ
Chitkul หมู่บ้านสุดท้ายของอินเดีย!” จนดูเหมือน
กับเป็นหนึ่งในพิธีกรรม แล้วจากนั้นก็แทบไม่เห็นอะไรเพิ่มเติมอีก หลังจากการขยายตัวของนักท่องเที่ยว
เพิ่มขึ้นจนมีโรงแรม ที่พัก  ร้านอาหาร
รองรับ ให้ผู้มาเยือนได้มีเวลาสำรวจหมู่บ้านมากกว่าแวะมาแล้วตีรถ
กลับเช่นในอดีต


ทางด้านทิศตะวันออกของ Chitkul คือพรมแดนทิเบต/จีน ราว 90 กม. เป็นหมู่บ้านแห่งสุดท้าย
ที่ตั้งอยู่สุดเขตแดนของอินเดีย จากถนนเส้น NH-22 ที่แยกย่อยเส้นทางไปสู่ Sangla-Chitkul
ตรง Karcham ก็จะมาสุดท้ายกันที่นี่ พื้นที่ของ Chitkul ถ้าประเมิณทางสายตาแล้วอาจกะระยะ
ยากหน่อย หากเทียบกับลาดักหรือหุบเขาสปิติ ก็ดูจะสูสีไม่แพ้กันเพราะระดับความสูงจากระดับ
น้ำทะเลก็อยู่ที่ 3,450 เมตร แน่นอนว่าอากาศในฤดูร้อนยังคงเย็นสบายและหนาวจัดในช่วงฤดู
หนาว ส่วนบรรยากาศในขณะที่เรามาเยือนนั้นเป็นช่วงปลายฤดูฝน ซึ่งก็ต้องยอมรับสภาพเปียก-
ปอนกันไป 



⭗ รวงข้าวที่ยังคงไม่ได้เก็บเกี่ยว จากระดับความสูงของพื้นที่เดาว่าน่าจะเป็นบาร์เลย์



⭗ ในช่วงฤดูหนาว บริเวณนี้จะมีอากาศหนาวจัดทำให้ต้องมีการจัดเก็บอาหารเอาไว้ในยุ้งฉางเพื่อเป็นเสบียงในช่วงเวลาหนึ่ง
ยุ้งฉางดังกล่าวเรียกกันว่า 
Urch  ส่วนหอคอยสูงที่ตั้งเด่นบนเนินสูง (ภาษาท้องถิ่นเรียก quila) เป็นเหมือนกับเทวสถานหรือ
สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ประจำหมู่บ้าน

 

เราเจอกับฝนห่าใหญ่ตั้งแต่เมื่อวาน นับจากที่เดินทางออกมาจาก Nako (Upper Kinnaur) ไล่จนถึงเขต
พื้นที่ส่วนล่างของเขตการปกครอง Kinnaur ไปต่อรถที่ท่ารถ 
Reckong Peo  แวะพักที่ Sangla จนถึงตอนนี้
ก็ยังคงไม่ยอมประนีประนอมให้ได้ใช้เวลาช่วงสุดท้ายกับ 
Chitkul หมู่บ้านสุดท้ายของอินเดียตามที่คิดไว้เลย

หลังเอาสัมภาระไปไว้ยังที่พักแล้ว เราก็ใช้เวลาที่เหลืิอเดินสำรวจและเก็บภาพของ Chitkul อีกครั้งในเวอร์ชั่น
ปี
2019 ที่ทั้งหนาวและเปียกปอนไปด้วยลมฝน ทำให้ต้องตัดเรื่องการเดินลัดขึ้นไปยังจุดชมวิวที่เนินเขา ฉาก
ด้านหลังของหมู่บ้านออกไป เราไล่ลัดไปตามทางเดินที่เชื่อมโยงไปสู่ตัวหมู่บ้านด้านใน และวกออกสู่
ทุ่งกว้าง
พื้นที่เพาะปลูก ย้อนทิศขึ้นไปยังต้นธารของแม่น้ำ
Baspa ที่ไหลเชี่ยว แม่น้ำนี้กั้นเขตพื้นที่ระหว่างที่ตั้งชุมชน
และป่าไม้เอาไว้




⭗ เส้นทางลำเลียงน้ำ น้ำเหล่านี้ไหลมาจากภูเขาท้ายหมู่บ้าน มีแรงเชี่ยวพอสมควร ทำให้มีการใช้ประโยชน์ตรงนี้เป็น
โรงโม่พลังงานน้ำ (
Gharat) เครื่องใช้ไม้สอยส่วนกลางประจำหมู่บ้าน โดยคนอินเดียเรียกเครื่องโม่ว่า Chakki 



 อาคารเรือนไม้สำหรับใช้เป็นยุ้งฉางหลังนี้มีธงมนตราทรงแนวตั้ง (Darchog) ปักไว้ คนที่นี่รับทั้งความเชื่อท้องถิ่น ฮินดู
และพุทธวัชรยานแบบทิเบต (นิกาย 
Kagyur)  




⭗ บ้านเรือนที่สร้างกึ่งปูนกึ่งไม้ ที่หลังคาของบ้านหลายหลัง(รวมทั้งยุ้งฉาง) ถูกปรับเป็นสังกะสีจนเกือบหมด



⭗ มีหัวแกะที่วางเหนือประตูไม้ และแผ่นกระดาษที่น่าจะเกี่ยวกับทางศาสนาติดแปะไว้ด้านข้าง




⭗ จุดปล่อยน้ำสาธารณะบริเวณท้ายหมู่บ้าน



⭗ สีสันที่ถูกเติมแต่งเข้ามาที่อาคารหลังเล็ก ไม่รู้เอาไว้ใช้ทำอะไรมีการต่อท่อปล่อยน้ำออกมาที่ด้านนอก 
โครงไม้หนาที่กั้นเป็นห้องทึบ คร่อมอยู่เหนือทางน้ำไหล ในตำแหน่งด้านหลังของตัวอาคารเล็ก (ไม่ได้ปรากฏบนรูป)
แต่จะยังพอเห็นได้จาก ภาพเก่าปี 2015: 
https://www.bloggang.com/data/w/wachii/picture/1466672199.jpg ใต้ฐานล่าง
มีกังหันเล็กที่หมุนรับแรงน้ำอยู่ตลอดเวลา จุดนั้นก็คือโรงโม่พลังงานน้ำ 







⭗ สภาพเส้นทางเดินเท้าด้านในหมู่บ้านในช่วงที่ฝนตก โคลนดีดกระเด็กระดอนติดขาเลอะเทอะมา่ก



⭗ ที่ตั้งของวัด Mathi Devi หากใครชอบงานไม้แกะสลัก ก็น่าจะชอบศิลปะท้องถิ่นของที่นี่เช่นกัน 



⭗ เกสเฮาส์หนึ่งที่ตั้งอยู่บริเวณตีนเขา บนเขานี้สามารถเดินขึ้นไปดูภาพมุมสูงของหมู่บ้านได้นะ แต่รอบนี้ฝนฟ้าไม่เป็นใจ



⭗ บ้านที่ยังคลุมด้วยหลังคาแผ่นหินก็ยังมีให้เห็นอยู่



⭗ รถบรรทุกกองกำลังกึ่งทหารสีเขียวขี้ม้า กำลังวิ่งผ่านเข้ามายังหมู่บ้านเพื่อตรงไปยังฐานประจำการ



ในชุมชนมีโฮมสเตย์ของชาวบ้านมากเพิ่มขึ้นบ้างแล้ว จากที่เมื่อก่อนมีแค่เจ้าเดียวคือ Amar Homestay
ส่วนรูปแบบของเกสเฮ้าส์ ทั้งที่สร้างเสร็จแล้วและกำลังสร้างอยู่ ก็ล้วนผุดขึ้นมาล้อมรอบตัวหมู่บ้านอยู่มากมาย
ผ่านไปเกือบสองชั่วโมงสายฝนยัง
คงตกอยู่ ความเจิ่งนองตรงพื้นทางเดินที่เลอะไปด้วยดินโคลน รถขนกำลังพล
Paramilitary ที่มาประจำการยังหมู่บ้านเคลื่อนผ่านเข้ามาคันแล้วคันเล่า เป็นภาพปกติที่เห็นได้บ่อย ๆ บนพื้นที่
ใกล้เขตชายแดนเช่นนี้ 





⭗ งานก่อสร้างที่พักคืบขยายมายังบริเวณลานด้านหลังร้านอาหาร ยุ้งฉางไม้นั่นยังคงอยู่ แต่ก็ไม่โดดเด่นเหมือนเดิมแล้ว 


 

สิ่งดั้งเดิมที่ยังคงอยู่ และสิ่งแปลกใหม่ที่เติมเข้ามา

+++ เส้นทางลำเลียงน้ำจากบนเขาสู่หมู่บ้านยังคงเป็นเช่นเดิม แต่จากรางน้ำเหล่าน้ำ ก็ยังถูกใช้
ปล่อยขยะบางอย่างเช่น ซองขนม ขวดน้ำ ลอยละล่อง
ไปสิ้นสุดตรงข้างแม่น้ำด้านล่างแล้วก็กอง
อยู่อย่างนั้น  


+++ คอกแกะแพะที่หลังวัด ย้ายไปอยู่บริเวณอื่น ในช่วงเย็นไม่มีการต้อนฝูงกลับมารวมกันบริเวณเดิม


+++ ภาพ Grafiti สีสด แถว ๆ โรงโม่พลังน้ำ และอาคารใกล้เคียง จากกลุ่ม The Wanderer's Nest
อ้างอิงตามที่พวกเขาลงเขียนชื่อกำกับไว้


+++ ยุ้งฉางบนทุ่งกว้างกับฉากหน้าที่เป็นป่าไม้บนเขา ที่อยู่บริเวณด้านหลังร้านอาหารเจ้าเก่าที่ถูกกลืน
หายไปกับบรรดาสิ่งปลูกสร้างที่ขนาบล้อม
ส่วนที่ตั้งของร้านอาหาร ก็มีการต่อเติมใหม่เป็นอีกหนึ่งคูหา
ติดกับร้าน
เก่าที่อยู่ประจำหมู่บ้าน


+++ โฮมสเตย์เดิม ที่เคยเข้าพักถ้าไม่นับว่ามีการปรับราคาขึ้นตามค่าครองชีพ ครอบครัวลุงอามาร์ก็ยัง
คงอินดี้เช่นเดิม เพิ่มเติมคือมีหลานตัวเล็กอีกสอง
ถึงแม้ว่าในวันนั้นจะไม่มีฝนเป็นตัวเร่งให้เราต้องรีบตรง
ดิ่งมาหาที่พักก็ตาม
เราก็คงเลือกโฮมสเตย์แบบที่ชาวบ้านเปิดให้เข้าพักตามเดิม ซึ่งตอนนี้ก็มีให้เลือก
เพิ่มขึ้นแล้วด้วย ท่ามกลางบรรดาเกสเฮาส์ที่ผุดมา
บดบังความเป็น Chitkul เหล่านั้นล้วนมาจากกลุ่มทุน
ของบุคคลภายนอกทั้งนั้น 


 



⭗ ส่วนที่ต่อเติมเสริมขยายขึ้นมาเรื่อย ๆ โดยมากก็เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว



⭗ ทางเดินไปยังพื้นที่เพาะปลูกของหมู่บ้าน ซึ่งจะต้องเดินผ่านยังจุดที่เป็นประตูตรงนี้
 



⭗ พ้นจากพื้นที่เพาะปลูกไป ก็ยังมีที่พักแบบอาคารสร้างขึ้นตรงนั้นด้วย

 

สุดท้าย สุดท้ายของสุดท้าย และสุดท้ายได้อีก

 

เมื่อผ่านซุ้มประตูของหมู่บ้าน ซึ่งเชื่อมโยงเส้นทางรอยต่อทางไปยังผืนนาและเส้นทางรถวิ่ง ไกลห่างเลยไป
จากนี้ไม่กิโลเมตร ยังมีที่ตั้งของอาคารที่ใช้
เป็นเกสเฮาส์ตั้งหราเด่นอยู่เพียงหนึ่งเดียว เจ้าอาคารหลังนี้เพิ่งมา
ใหม่เช่น
เดียวกับจุดตั้งแคมป์ที่อยู่ถัดไป

เราเจอแต่คำว่าLast…”  
หรือสุดท้ายแปะวางเต็มไปหมดในแง่ของจุดขาย Last camping site, Last Resort, Last cafe กระทั่งก่อน
ไปถึงป้ายเขียวนั่น
เขตหวงห้ามที่ติดแจ้งไว้ไม่ให้บุคคลภายนอกล้ำเขตไปไกลกว่านี้ไม่อย่างนั้นก็คงไปไกลถึง
พรมแดนทิเบตโน่นเลยมั้ง พื้นที่สุดท้ายจริง ๆ ของบริเวณนี้เป็น
ที่ทำการของ I.T.B.P. ต่างหาก นี่ถ้าพวกเขามี
อารมณ์ขันที่จะเล่นคำก็คงจะติดป้ายข่ม
ได้ว่า...ตรงนี้แหละ อาคารหลังสุดท้ายของแท้!

 



⭗ แวะลงมายังบริเวณจุดตั้งแคมป์ที่อยู่ด้านล่าง สวนกับเหล่าวัวที่กำลังถูกต้อนกลับไปยังหมู่บ้าน




⭗ สองโคบาลที่เดินคุมอยู่ด้านหลังฝูงสัตว์ของพวกเขา



⭗ จุดตั้งแคมป์ใกล้แม่น้ำ Baspa เจ้าของแต่ละเจ้า ต่างพยายามช่วงชิงคำว่า "สุดท้าย" เป็นน่าจุดสนใจ




⭗ ป้ายสีเขียว ที่ติดแจ้งบอกถึงเขตห้ามเข้า ถัดจากตรงนี้ไป คือที่ทำการของ Indo-Tibetan Border Police (I.T.B.P) 


เช้าวันถัดมากับวันฟ้าเปิด หลังผ่านฝนมาได้สองวัน บนรถรอบเก้าโมงเช้าเที่ยวขาออกจาก Chitkul มุ่งตรง
ไปยัง
Mandi กับระยะเวลาอีก 18 ชม. ที่ต้องนั่งนานอย่างทรหดข้ามวันและคืนจนเมื่อยก้น เราเจอกับคนต่างถิ่น
ที่มารับจ๊อบงานครัวจากจุดตั้งแคมป์ที่ชื่อ "
Last camping site" ตัวเขามาจากเมือง Billing และในช่วงนี้ก็ถือว่า
หมดฤดูท่องเที่ยวแล้วเลยต้องเดินทางกลับบ้าน ซึ่งจะต้องไปต่อรถที่ Mandi เช่นเดียวกัน




⭗ เช้าวันใหม่กับวันไร้ฝน เทือกเขาที่อยู่ไกลโพ้นนั่นชวนให้นึกถึงหน้าตาของพรมแดนที่ซ่อนตัวอยู่
 



⭗ ท่ารถโดยสารหน้าหมู่บ้าน



⭗ เจ้าแกะที่ร่วมเดินทางไปกับเราบนรถคันนี้
 



⭗ ฝูงปศุสัตว์ที่กำลังยึดครองถนนในรอบเช้า


บนรถประจำทางท้องถิ่น เจ้าแกะตัวหนึ่งถูกเจ้าของนำมาผูกล่ามจองที่นั่งไว้ด้านบน เป้ที่วางอยู่ตรงนั้น
มีลูกแกะตัวเล็กนอนขดคุดคู้ที่ด้านใน ผู้คนจากต้นทางที่หมู่บ้านสุดท้ายของอินเดีย มีไม่เต็มจำนวนคันรถ
จะมีใครสักกี่คนที่จะไปลงสุดทางอย่างเราบ้าง ค่าตั๋วโดยสารจากจำนวนเต็มราวห้าร้อยกว่า ๆ ถูกลด 15%
ตามสิทธิของผู้หญิงในช่วงนี้ที่รถโดยสารของรัฐบาลเขาจัดโปรโมชั่นให้ 

การเคลื่อนผ่านพื้นที่หุบเขาในเขตปกครอง
Kinnaur เต็มไปด้วยความเรียบง่ายและอลหม่าน 

กลุ่มฝูงแพะและแกะที่เคลื่อนออกมาตรงบริเวณก่อนถึงที่ทำการของกรมป่าไม้แถว ๆ Mastrang
พากันเดินให้วุ่นเต็มถนน หมาต้อนฝูงแกะคอยไล่เห่าเพื่อจัดระเบียบให้ฝูง
สัตว์ไม่แตกแถว คนเลี้ยง
ที่คอยต้อนอยู่ส่วนท้ายคอยส่งเสียงตะคอกและ
ผิวปาก ประสานกับแตรรถสองฝั่งที่ต่างกดไล่จังหวะ
ช่วยเร่งอีกทาง  สรรพเสียงจากเครื่อง
ยนต์ คน และสัตว์ ต่างดังระงมและเคลื่อนขยับไปพร้อม ๆ กับ
เวลาที่นำพาให้ภาพของ
ความทรงจำสุดท้ายเบื้องหน้าเหล่านี้แล่นหายไปทีละนิด
 




Create Date : 27 พฤษภาคม 2567
Last Update : 28 พฤษภาคม 2567 11:19:23 น.
Counter : 938 Pageviews.

6 comments
มีนา…หน้าร้อน แอ่วเหนือมุมใหม่ แบบ ”อยู่-เย็น-เป็น-สุข”คลายร้อนกับ “สีสัน..แอ่วเหนือหน้าร้อน นกสีเทา
(4 มี.ค. 2568 10:00:00 น.)
นกแอ่นพง - นกปากฟ้า tuk-tuk@korat
(2 มี.ค. 2568 08:37:59 น.)
Switzerland 2024 ไร้นาม
(28 ก.พ. 2568 18:57:25 น.)
ฮานอย ซาปา - Phung Hung Mural Street, Serein Cafe & Lounge สายหมอกและก้อนเมฆ
(27 ก.พ. 2568 15:51:48 น.)

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณmultiple, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณหอมกร, คุณอุ้มสี, คุณ**mp5**, คุณtoor36, คุณhaiku, คุณดอยสะเก็ด

  
Chitkul หมู่บ้านท่ามกลางสายหมอกและละอองฝนชุ่มฉ่ำ

ไปเที่ยวหน้าฝนนี่ สดชื่นจริง แต่ก็จะแถมความเลอะเทอะ
ให้แบบปฏิเสธไม่ได้นะครับ 555

ภาพเปิดนี่ สวยงามมาก อยากจะไปนั่งตรงนั้น
แล้ว sketch ภาพ +นั่งกินข้าวขาหมู 555 เอ๊ย จิบกาแฟร้อนๆไปด้วย น่าจะฟินมากๆเลยเชียว

ด้านสถาปัตย์พื้นถิ่นนี่ เสียดายบ้านหลังคาหินแบบดั้งเดิมมาก
เปลี่ยนเป็น สังกะสี ก็นอนฟังเสียงเปาะแปะ ตอนฝนตก
บันเทิงกันทั้งคืนเลยนะครับ 555

ชอบระบบสาธารณูปโภค ระบบน้ำประปาภูเขา
จ่ายทั้งหมู่บ้าน ฟรีๆ
ไม่เหมือนบ้านเรา จ่ายช้า เอะอะก็จะมาตัดน้ำ ถอดมิเตอร์
พูดแล้วมันขึ้น แฮร่

เห็นภาพ Graffiti ตามผนังบ้าน ฝีมือไม่ธรรมดา
ขนาดที่ห่างไกล ขนาดนี้ ศิลปิน ยังตามไปฝากผลงาน
ไม่ย้อท้อกันเลยจริงๆ

เส้นทางเดินในหมู่บ้าน เลอะเทอะมาก
ขากางเกง กับเสื้อด้านหลัง ถ้าใส่รองเท้าอีแตะไปเดิน น่าจะดีด
บางทีขึ้นถึงหัว เดือดร้อนต้องสระผม หนาวสั่น ฟันกระทบกัน กึ๊กๆอีกนะครับ 555

ที่น่าเสียดายมากก็คือ ของไม่เข้าพวก สิ่งก่อสร้างสมัยใหม่
ที่ตามมากับ ความเจริญนี่ ทำลายบรรยากาศ ของเดิมดีๆไปแยะเลยเชียว

ส่วนกลยุทธ์ การตลาด ชิ้นสุดท้าย อันสุดท้ายนี่
มักจะโก่งราคา ดึงดูดให้คนรีบซื้อ รีบไปได้เสมอเลยนะครับ

การเดินทางบนรถโดยสาร ได้นั่งคู่กับ น้องแกะ
เป็น อ.เต๊ะ นี่ คงนั่งนึกภาพ มัสมั่นแกะ
นั่งจ้อง ขาหลังน้องไปตลอดทาง อิอิ

น้องฟ้า ร้องกรี๊ดดดด ไอ้คนใจร้าย ป่าเถื่อน ไม่มีความเมตตา
เอ็งอย่ามาแย่ง สันใน ของข้านะ ข้าจอง อุ๊บอิ๊บ
ข้าอยากกิน สันในแกะผัดพริก แซ่บๆเย้ย 555


โดย: multiple วันที่: 28 พฤษภาคม 2567 เวลา:5:09:44 น.
  
เห็นใรกระทู้พันทิปอยู่ใช่มั๊ยคะ

โดย: หอมกร วันที่: 28 พฤษภาคม 2567 เวลา:8:13:35 น.
  
ตามมาอ่านต่อ
ชอบน้องฟ้าพาเที่ยว
โดย: อุ้มสี วันที่: 28 พฤษภาคม 2567 เวลา:9:25:03 น.
  
@Multiple : โอ้โห แกะนี่ขอเป็นแกงกรุม่านะคะ อร่อย 555
กลับไปดูเอนทรี่เก่า ๆ ตอนนั้นก็ไม่ได้ลงรูปยุ้งฉางในตำนาน
เลยมาขอมาจั่วเอาไว้ตรงนี้ละกัน เจอความเปลี่ยนแปลงเข้าไปแล้วหมองทันที โอยน่อ...เหมือนกลับมาเพื่อช็อคโดยแท้


@หอมกร : เอ...ในกระทู้พันทิปไม่รู้มีใครลงหรือยัง
เคยเห็นการแคปชั่นแนว ๆ นี้มาจากโพสต์ของนักท่องเที่ยวอินเดียค่ะ
รวมถึงกลุ่มจัดเที่ยวก็ด้วย ก่อนที่จะกลับไปถึงหมู่บ้านนี้ก็แอบสงสัยนะ
พวกเขาไปถ่ายป้ายกันอย่างเดียวเหรอ



@สายหมอกและก้อนเมฆ : สวัสดีค่ะพี่หนู



@อุ้มสี : พามาถึงสถานีสุดท้ายแล้วค่ะพี่อุ้ม (ดองไว้นานเนาะ)
โดย: กาบริเอล วันที่: 28 พฤษภาคม 2567 เวลา:10:56:36 น.
  
พื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลมากก็จะแบบนี้แหละครับ สมัยผมอยู่จีนขนาดสูงแค่ 1900 กว่าเมตรจากระดับน้ำทะเลอากาศยังเปลี่ยนบ่อยเลยนี่สูงกว่าอีกเป็นเรื่งธรรมดาล่ะครับ ปลายฤดูฝนก็เปียกหน่อย แต่ถึงฤดูอื่นก็อย่าหวังว่าจะไม่เปียก

พวกภาพวาดที่ดูมีสีสันก็ถือเป็นจุดสังเกตเวลาเราเดินผ่านได้เหมือนกัน ยิ่งในบ้านเมืองที่เราไม่ค่อยคุ้นจุดเหล่านี้ช่วยเราได้มาก

เวลาที่แตกต่างกัน ก็ย่อมมีสิ่งที่แตกต่างจากของเดิมที่อยู่ในใจเรา แต่เห็นแล้วถ้าเราไม่ค่อยถูกใจมันก็อดคิดถึงของเดิมไม่ได้ บางทีต่อให้ชอบก็คิดถึงของเดิมได้เหมือนกัน

โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 29 พฤษภาคม 2567 เวลา:21:37:28 น.
  
@toor36: ภาพวาดมันเป็นของใหม่ สำหรับเราแล้วรู้สึกเฉยๆ นะ ความเปลี่ยนแปลงมันมีอยู่แล้วแต่ไม่คิดว่าจะ แห่แหนกันมาจนล้น
โดย: กาบริเอล วันที่: 4 มิถุนายน 2567 เวลา:17:49:44 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Wachii.BlogGang.com

กาบริเอล
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 58 คน [?]

บทความทั้งหมด