### เบญจราชกกุธภัณฑ์ ###











เบญจราชกกุธภัณฑ์

.................

 เครื่องหมายแห่งความเป็นพระราชาธิบดี

ใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ประกอบด้วย 5 สิ่ง

ซึ่งประกอบด้วย พระมหาพิชัยมงกุฎ วาลวิชนี

พระแส้และพระจามรี พระแสงขรรค์ชัยศรี

ธารพระกร และฉลองพระบาท

สมัยอยุธยาเครื่องราชกกุธภัณฑ์ จะใช้เมื่อ

เวลาที่พระเจ้าแผ่นดินพระองค์ก่อน สิ้นรัชกาลลง

 และพระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่เสวยราชย์

 และเมื่อเราเสียกรุงศรีอยุธยา ในปีพุทธศักราช 2310

คาดว่าสิ่งของเหล่านี้ได้สูญหายไป

ฉะนั้นเมื่อพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

 ทรงสถาปนากรุงเทพฯ ขึ้นเป็นนครราชธานี

พระองค์ได้ทรงสร้างเบญจราชกกุธภัณฑ์สำรับใหม่ขึ้น

และได้มีพระราชพิธีบรมราชาพิเษกในปี 2328

พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ จะต้องผ่านกระบวนการพิธี

 ที่เรียกว่า “บรมราชาภิเษก”

 ในพิธีจะมีการถวาย เครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์

เช่นเดียวกับชาวยุโรปที่สวมมงกุฎ

แต่ของไทยจะไม่ใช้ วิธีการสวมพระมหาพิชัยมงกุฎ

เนื่องจากหัวใจสำคัญของ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

อยู่ที่การถวายน้ำอภิเษก

 หลังการถวายน้ำอภิเษกแล้ว จึงถวายสิ่งของเหล่านี้

นับเป็นของสำคัญสำหรับบ้านเมืองมาโดยตลอด

หากพระเจ้าแผ่นดิน ยังไม่ได้ทำ พิธีบรมราชาภิเษก

 หรือยังไม่ได้รับเบญจราชกกุธภัณฑ์ พระเกียรติยศจะยังไม่เต็มที่

โดยจะยังไม่ออกพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

 เรียกเพียงสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉัตรก็เพียง 7 ชั้น

 เพราะฉัตร 9 ชั้น จะถวายในพิธีบรมราชาภิเษก

คำสั่งของพระเจ้าแผ่นดิน จะเรียกเพียงพระราชโองการ

 ไม่ใช้พระบรมราชโองการ

 ด้วยเหตุนี้พระปฐมบรมราชโองการ

ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ที่ว่า

“เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม

 เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”

 เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2493 นั้น

 เป็นพระราชกระแสรับสั่ง หลังจากผ่านพิธีเหล่านี้แล้ว

จึงเรียกว่า พระปฐมบรมราชโองการ

เพราะเป็นพระบรมราชโองการองค์แรก

ก่อนหน้านั้นเป็นเพียงแต่ พระราชโองการ

องค์ประกอบของเบญจราชกกุธภัณฑ์ ประกอบด้วย

พระมหาพิชัยมงกุฎ วาลวิชนี พระแส้และพระจามรี

พระแสงขรรค์ชัยศรี ธารพระกร และฉลองพระบาท

"พระมหาพิชัยมงกุฎ "

สูง 66 เซนติเมตร หนัก 7,300 กรัม

 สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1

สำหรับเป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

 ทำด้วยทองคำ ลงยาราชาวดี สองข้างมีจอนหู

ทำด้วยทองคำลงยาราชาวดี เช่นกัน

แต่ละชั้นประดับด้วยดอกไม้เพชร

 เดิมยอดพระมหาพิชัยมงกุฎ เป็นยอดแหลม

 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชสมบัติ

ไปหาซื้อเพชร จากเมืองกัลกัตตา ประเทศอินเดีย

 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ติดไว้ ที่ยอดพระมหามงกุฎ

 โดยพระราชทานนามว่า “มหาวิเชียรมณี”

พระมหาพิชัยมงกุฎนี้ แต่เดิมเวลาทำพิธีบรมราชาภิเษก

 พระมหากษัตริย์ก็ทรงรับ จากพราหมณ์แล้วทรงใช้

ต่อมาในรัชกาล พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

จึงทรงอนุโลมตามแบบประเทศตะวันตก ให้ถือว่า

 ขณะที่สวมพระมหามงกุฎ เป็นตอนสำคัญที่สุดของพิธี

พราหมณ์เป่าสังข์ ไกวบัณเฑาะว์มีการประโคม ยิงสลุต

 และพระสงฆ์สวดชัยมงคลทั่วราชอาณาจักร









"วาลวิชนี "

แปลกันเป็น 2 อย่าง คือ เป็นพัด แส้

เดิมเป็นพัดใบตาล ที่เรียกว่าพัชนีฝักมะขาม

ทำขึ้นครั้งรัชกาลที่ 1

ต่อมาพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ทรงพระราชดำริเห็นว่า พัดใบตาลไม่ถูกต้อง

 เพราะพระบาลี แปลว่า วาลวิชนี

วาลเป็นขนโคชนิดหนึ่ง ซึ่งฝรั่งเรียก Yak

จึงทรงทำแส้ขนจามรีขึ้น

แต่ไม่ทรงอาจให้เปลี่ยนพัดของเก่า จึงใช้ไปด้วยกัน

ปัจจุบันใช้พระแส้ขนหางช้าง ด้ามทองคำแทน

พระแส้จามรี ที่ชำรุดมาก

วาลวิชนีมีลักษณะเป็นพัด ทำด้วยใบตาลปิดทอง มีขอบ

และด้ามเป็นทองคำลงยา

 ส่วนแส้ ในที่นี้ เป็นของที่ทำมาแทนแส้จามรี

ของรัชกาลที่ 4 ที่ด้ามเป็นแก้วผลึก


















"พระแสงขรรค์ชัยศรี"

ยาวเฉพาะองค์ 65 เซนติเมตร ด้าม 25.5 เซนติเมตร

ฝัก 75.5 เซนติเมตร ยาวตลอดองค์ 101 เซนติเมตร หนัก 1900 กรัม

พระขรรค์องค์นี้ใบพระขรรค์เป็นของเก่า ชาวประมงทอดแห่ได้

ที่ทะเลสาบนครเสมราฐ เมื่อพุทธศักราช 2327

เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์(แบน) ให้พระยาพระเขมร

เชิญเข้ามาทูลเกล้าฯ ถวาย

 สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

 โปรดเกล้าฯให้ทำด้ามและฝัก ขึ้น

ด้วยทองคำลงประดับอัญมณี

ใช้เป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์สืบมา

พระขรรค์นี้เมื่อเชิญมาถึงกรุงเทพฯ มือสนีบาตตกถึง 7 แห่ง

 จำนวนนี้ มีตกในพระบรมมหาราชวังถึง 2 แห่ง

 คือที่ประตูวิเศษชัยศรี และพิมานชัยศรี

ซึ่งเป็นเหตุให้ประตูทั้งสอง ได้สร้อยชัยศรี

ตามชื่อพระขรรค์องค์นี้ด้วย

พระแสงขรรค์ชัยศรี มีลักษณ์ดังนี้

ตัวพระขรรค์เป็น เหล็กแหลมกล้ามีสองคม

โคนพระขรรค์คร่ำทอง จำหลักรูปเทพเจ้าในศาสนาฮินดู

 ประกอบด้วยพระนารายณ์ทรงครุฑ อยู่เบื้องล่าง

ถัดมา เป็นพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ

แต่ละองค์อยู่ภายในซุ้มเรือนแก้วแล็กๆ ที่เรียงซ้อนขึ้นไปอีกทีหนึ่ง

ด้ามของพระขรรค์ เป็นทองคำลงยาประดับพลอย

ส่วนบนของด้าม ทำเป็นลายกลีบบัว

 และส่วนบนของกลีบบัว เป็นครุฑแบก

ตรงกลางด้ามทำเป็นลาย หน้าสิงห์ก้านแย่ง

 และที่สันด้ามทำเป็นเทพพนม ซ้อนกันในรูปของหัวเม็ด

 ฝักทองคำลงยาที่โคน และปลายฝัก

 ส่วนลายตรงกลางนั้น เป็นเงินฉลุประดับพลอย











"ธารพระกร "

ตัวธารพระกรเป็นไม้ชัยพฤกษ์ปิดทอง

 ปลายทั้งสองข้าง เป็นเหล็กคร่ำทองข้างหนึ่ง

และเป็นซ่อมข้างหนึ่ง

 ของเดิมทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ปิดทอง

 หัวและส้นเป็นเหล็กคร่ำทองที่สุดส้นเป็นซ่อม

 ลักษณะเหมือน กับไม้เท้าพระภิกษุ

ที่ว่าใช้ในการชักมหาบังสุกุล

ธารพระกรองค์นี้มีชื่อเรียกว่า ธารพระกรชัยพฤกษ์

ครั้นถึงรัชกาลที่ 4 ทรงสร้างธารพระกรองค์ใหม่องค์หนึ่งด้วยทองคำ

 ภายในมีพระแสงเสน่า (ศาสตราวุธคล้ายมีดใช้ขว้าง)

 ยอดมีรูปเทวดา เรียกว่า ธารพระกรเทวรูป

 แต่ที่แท้ลักษณะเป็น พระแสงดาบมากกว่าธารพระกร

และทรงใช้แทนธารพระกรชัยพฤกษ์

ครั้งตกถึงรัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ

ให้กลับเอาธารพระกรชัยพฤกษ์

ออกใช้อีก และคงใช้มาจนถึงปัจจุบัน

ธารพระกรนี้ ไทยได้ถือเอามาแทนฉัตร หรือพระมหาเศวตฉัตร

ซึ่งเป็นฉัตรผ้าขาว 9 ชั้น มีระบายขลิบทองแผ่ลวด

และมียอดเป็นราชกกุธภัณฑ์ ของพระมหากษัตริย์

มีที่ใช้คือ ปักที่พระแท่นราชอาสน์ ราชบัลลังก์

 กางกั้นเหนือพระแท่นที่บรรทม ปักพระยานมาศ

 และแขวงกางกั้นพระโกศ ทรงพระบรมศพ

 แต่โบราณมาไทยถือเศวตฉัตร เป็นสิ่งสำคัญยิ่งกว่าสิ่งอื่นใด

 เศวตฉัตร หมายถึง ว่าเป็นพระราชามหากษัตริย์

 เช่นเดียวกับมงกุฎของชาวยุโรป

 สมัยรัชกาลที่ 4 ได้โปรดเกล้าฯ

ให้เอาฉัตรพระคชาธาร มายื่นถวายได้

 ทำเช่นนั้นต่อมาถึงรัชกาลที่ 6 จึงได้โปรดเกล้าฯ

ให้ทำฉัตร 9 ชั้นเล็กขึ้น ถวายด้วย

 สำหรับฉัตรพระคชาธารมีเพียง 7 ชั้น











"ฉลองพระบาท "

คือ ฉลองพระบาทเชิงงอน ซึ่งมีน้ำหนัก 650 กรัม

เป็นราชกกุธภัณฑ์สำคัญองค์หนึ่ง ตามแบบอินเดียโบราณ

ในทศรถชาดก ซึ่งเป็นต้นฉบับโบราณ ของนิทานพระราม เล่าว่า

 เมื่อพระภรตไปวิงวอนพระราม ในป่าให้กลับมาทรงราชย์นั้น

พระรามไม่ยอมกลับ จึงประทานฉลองพระบาท

ซึ่งพระภรตเชิญมาประดิษฐานไว้ แทนองค์พระราม

 บนราชบัลลังก์ในกรุงอโยธยา

ฉลองพระบาท ทำด้วยทองคำทั้งองค์

ที่พื้นภายในบุกำมะหยี่ ลวดลายเป็นทองคำสลัก

 ประดับพลอย และทองคำลงยา สีแดง เขียว ขาว

ลายช่อหางโต ใบเทศ ปลายฉลองพระบาททำงอนขึ้นไป

มีส่วนปลายเป็นทรงมณฑป











ที่มา : วารสารทองคำ
ขอบคุณ fb. Anna Jill




Create Date : 03 มีนาคม 2558
Last Update : 3 มีนาคม 2558 11:26:11 น.
Counter : 2653 Pageviews.

0 comments
หนังสือและอุปกรณ์การเรียนสำหรับเด็ก ป.1 ของโรงเรียนประถมที่ญี่ปุ่น SN_monchan
(7 เม.ย. 2567 05:39:08 น.)
เมนูที่เต็มไปด้วยคุณค่าอาหาร ข้าวยำ สมาชิกหมายเลข 4313444
(4 เม.ย. 2567 00:28:04 น.)
วิธีถามราคาสินค้าเป็นภาษาอังกฤษ khatha0808
(2 เม.ย. 2567 00:05:26 น.)
กาแฟคั่วเข้ม เหมาะกับเมนูไหนดี สมาชิกหมายเลข 7983004
(29 มี.ค. 2567 02:14:10 น.)
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Poungchompoo.BlogGang.com

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]

บทความทั้งหมด