### 29 กรกฎาคม วันภาษาไทยแห่งชาติ ###




๒๙ กรกฎาคม วันภาษาไทยแห่งชาติ





น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ...... พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

ผู้ให้กำเนิดแบบอักษรไทย แม้ไม่ได้เป็นผู้ทรงประดิษฐ์รูปอักษรขึ้น

 โดยพระองค์เองก็ตาม

การที่พระองค์ทรงแก้ไขตัวอักษร ในสมัยกรุงสุโขทัยนั้น

นับเป็นการสำคัญ เป็นการพัฒนาต่อยอด ทางความคิด

คือ การนำภูมิความรู้ทั้งหลาย ที่มีอยู่เดิมในขณะนั้นมาพัฒนา

ให้เกิดความเหมาะสม ให้มีความสะดวกในการจารึกและอ่าน

อีกทั้งเสียงที่ใช้นั้น ก็มีความครบถ้วนตามลักษณะเสียง

ที่ใช้ในภาษาไทย สิ่งนี้นับเป็นคุณประโยชน์ อย่างมหาศาล

 เป็นวิวัฒนาการ อันทำให้เกิด ความเจริญก้าวหน้าทางความรู้

 และวิทยาการในสมัยนั้นเป็นอย่างยิ่ง


กำเนิดอักษรไทย เริ่มจากแบบอักษรคฤนถ์ของอินเดียใต้

ได้ถูกนำมาดัดแปลง เป็นอักษรขอม

อักษรขอมนี้ นำมาเขียนภาษาบาลี สันสกฤตได้สะดวก

แต่พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงเห็นว่า

การนำมาเขียน เป็นภาษาไทยนั้นไม่สะดวก

เพราะไม่มีวรรณยุกต์ เป็นเครื่องหมายกำหนดเสียงสูงต่ำ

และมีสระน้อย ไม่เพียงพอจะเขียนภาษาไทยได้ตามต้องการ

พระองค์จึงทรงมีพระราชดำริ แก้ไขแบบอักษร

ให้เป็นลักษณะอักษรไทย พระองค์ทรงแก้รูปตัวอักษร

ให้เขียนได้รวดเร็ว กว่าอักษรขอม

ทั้งสระและพยัญชนะ ก็จะเขียนอยู่ในบรรทัดเดียวกัน

ครั้นล่วงรัชกาล พ่อขุนรามคำแหงมหาราชแล้ว

ไม่ปรากฎหลักฐานว่า จะมีผู้ใดแก้ไขกลับไปใช้ คุณลักษณะบางอย่าง

ตามแบบหนังสือขอม ซึ่งมีสระอยู่ข้างหน้าพยัญชนะบ้าง

อยู่ข้างหลังพยัญชนะบ้าง อย่างเช่นใช้ในแบบหนังสือไทยมาจนทุกวันนี้

การประดิษฐ์ตัวอักษรไทย ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

พยัญชนะไทยน่าจะมีครบทั้ง ๔๔ ตัว

ตั้งแต่ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแล้ว

ทางขอมได้ภาษาบาลี -สันสกฤตเป็นครู มีพยัญชนะจำนวน ๓๓ ตัว

เท่ากับภาษาบาลี พ่อขุนรามคำแหงได้แบบอย่าง จากขอมและอินเดีย

 ครั้งแรกนั้น คงเป็นพยัญชนะ ๓๔ ตัว ตัดนิคหิต ออก ๑ ตัว

แต่พระองค์ได้นำมาใช้แทนตัว ม อย่างสันสกฤตและขอม

ต่อมาพระองค์อาจจะทรงคิดค้น เพิ่มเติมอีก ๑๐ ตัว

ที่เรียกว่า "พยัญชนะเติม" เพื่อให้เสียงพอใช้ในภาษาไทย

พยัญชนะเติม ๑๐ ตัวคือ ฃ ฅ ซ ฎ ด บ ฝ ฟ อ ฮ

จะเห็นว่าพยัญชนะเหล่านี้

ได้เพิ่มเข้ามาจากพยัญชนะวรรคมีเสียงที่พ้องกัน

เช่น ฃ พ้องเสียงกับ ข และ ฅ พ้องเสียงกับ ค

ในสมัยพ่อขุนรามฯ ตัวอักษรนี้ คงออกเสียงเป็น คนละหน่วยเสียงกัน

แต่ ฃ กับ ฅ คงจะออกเสียง ได้ยากกว่า จึงรักษาเอาไว้ไม่ได้

มีอันต้องสูญไป เหตุผลคือ ถ้าเป็นหน่วยเสียงเดียวกัน

พระองค์จ ะไม่ทรงคิดเสียงซ้ำกัน เช่นนั้น ฃ กับ ข และ ฅ กับ ค

 จึงน่าจะเป็นคนละหน่วยเสียงกัน เช่นเดียวกับภาษาบาลี สันสกฤต

ที่ออกเสียงพยัญชนะวรรคตะ ต่างกับเสียงพยัญชนะวรรคฏะ

แต่เมื่อเรารับเข้ามาใช้ เราออกเสียงอย่างเขาไม่ได้

เราจึงออกเสียงเหมือนกัน เช่นเดียวกับ ตัว ส,ษ,ศ ก็เช่นเดียวกัน

ที่ออกเสียงต่างกัน แต่เราออกเสียงเหมือนกันหมด

 เสียงใดที่ออกยากย่อมสูญได้ง่าย

พยัญชนะ ๓๙ ตัว สระ ๒๐ ตัว และ วรรณยุกต์ ๒ รูป ตัวเลข ๖ ตัว












วันภาษาไทยแห่งชาติ ๒๙ กรกฎาคม ขออัญเชิญ

พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ตอนหนึ่งว่า "เรามีโชคดีที่มี ภาษาของตนเอง แต่โบราณกาล

จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้

ปัญหาเฉพาะในด้านรักษาภาษา ก็มีหลายประการ

อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง

คือให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน

อีกอย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีใช้

หมายความว่าวิธีใช้คำมาประกอบประโยค นับเป็นปัญหาที่สำคัญ

ปัญหาที่สามคือความร่ำรวยในคำของภาษาไทย

ซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ร่ำรวยพอ จึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่

มาใช้... สำหรับคำใหม่ที่ตั้งขึ้น มีความจำเป็นในทางวิชาการไม่น้อย

แต่บางคำที่ง่าย ๆ ก็ควรจะมี ควรจะใช้คำเก่า ๆ ที่เรามีอยู่แล้ว

ไม่ควรจะมาตั้งศัพท์ใหม่ให้ยุ่งยาก..."


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังได้ทรงแสดงความสนพระราชหฤทัย

และความห่วงใยในภาษาไทย อีกหลายโอกาส

อย่างในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๑

ที่ได้ทรงมีพระบรมราโชวาท ตอนหนึ่งว่า

"ในปัจจุบันนี้ปรากฏว่า ได้มีการใช้คำออกจะฟุ่มเฟือย

 และไม่ตรงกับความหมาย อันแท้จริงอยู่เนือง ๆ

ทั้งออกเสียงก็ไม่ถูกต้อง ตามอักขรวิธี ถ้าปล่อยให้เป็นไปดังนี้

ภาษาของเราก็มีแต่จะทรุดโทรม ชาติไทยเรามีภาษาของเราใช้เอง

 เป็นสิ่งอันประเสริฐอยู่แล้ว เป็นมรดกอันมีค่า ตกทอดมาถึงเราทุกคน

 จึงมีหน้าที่จะต้องรักษาไว้

ฉะนั้นจึงขอให้บรรดานิสิต และบัณฑิต ตลอดจนครูบาอาจารย์

ได้ช่วยกันรักษาและส่งเสริมภาษาไทย

ซึ่งเป็นอุปกรณ์และหลักประกัน

เพื่อความเจริญวัฒนาของประเทศชาติ"


ขอขอบคุณ Cr. Fb. Anna Jill









Create Date : 29 กรกฎาคม 2557
Last Update : 29 กรกฎาคม 2557 12:19:15 น.
Counter : 3011 Pageviews.

0 comments
บัตรทอง -รายชื่อหน่วยบริการเอกชนบัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่ newyorknurse
(16 เม.ย. 2567 04:04:52 น.)
สรุปวิชาสังคมไทยสังคมโลกในศตวรรษที่ 21 เรื่องปราชญ์ท้องถิ่น นายแว่นขยันเที่ยว
(10 เม.ย. 2567 03:05:45 น.)
แคดเมียม Cadmium ความอันตรายของมัน สมาชิกหมายเลข 4149951
(8 เม.ย. 2567 07:11:22 น.)
สรุปวิชาคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.5) เรื่องเอกซ์โพเนนเชียล & ลอการิทึม นายแว่นขยันเที่ยว
(27 มี.ค. 2567 00:52:25 น.)
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Poungchompoo.BlogGang.com

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]

บทความทั้งหมด