### ๑๗ มกราคม วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ###

 

 

10933743_610807299053509_2853438549812162415_n

๑๗ มกราคม

วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

วันสำคัญทางประวัติศาสตร์

รัฐบาลกำหนดให้ยึดเอาวันที่

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ทรงพบหลักศิลาจารึก

ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

ซึ่งกับวัน ศุกร์ที่ ๑๗ มกราคม

ปีพระพุทธศักราช ๒๓๗๖

ในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ว่า

ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด

ได้ยกทัพมาตีเมืองตาก

ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของสุโขทัย

พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จึงยกกองทัพ

จากเมืองสุโขทัยไปป้องกันเมืองตาก

โดยมีพระรามราชโอรส

ซึ่งมีพระชนมายุ ๑๙ พรรษาไปด้วย

การรบของทั้งสองฝ่ายได้ทำยุทธหัตถี

ในตอนแรกพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นฝ่ายเสียเปรียบ

ช้างที่ประทับของพระองค์สู้กำลังข้าศึกไม่ได้

พระรามได้รีบไสช้างเข้าไปช่วย

และสู้รบกับขุนสามชนจนได้ชัยชนะ

ความกล้าหาญของพระรามในครั้งนี้

พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ จึงพระราชทานนาม

ให้เป็น “รามคำแหง” ซึ่งหมายถึง

รามผู้กล้าหาญเข้มแข็ง

ศิลาจารึกหลักที่ ๑ ว่า

“กูไปท่บ้านท่เมือง ได้ช้าง ได้งวง ได้ปั่ว

ได้นาง ได้เงือน ได้ทอง กูเอามาเวนแก่พ่อกู

พ่อกูตายยังพี่กู กูพร่ำบำเรอแก่พี่กู

ดังบำเรอแก่พ่อกู”

จากเอกสารของจีนได้กล่าวถึง

การขยายอาณาเขตของพ่อขุนรามคำแหงฯ

ไปยังดินแดนทางใต้ว่า

ในปี พ.ศ. ๑๘๒๓ ตีได้เมืองนครศรีธรรมราช

และเมืองในแหลมมลายู ตลอดจนยะโฮร์

และต่อมาตีได้กัมพูชา

“ทางทิศเหนือ มีเมืองแพร่ เมืองน่าน

เมืองพลัว ถึงเมืองหลวงพระบาง

ทิศตะวันออกมี เมืองสระหลวง สองแคว

ลุมบาจาย สคา ถึงเมืองเวียงจันทร์

ทางทิศตะวันตกมีเมืองฉอด เมืองหงสาวดี

จนสุดชายฝั่งทะเล

ทางทิศใต้มี เมืองคณฑี เมืองพระบาง เมืองแพรก

เมืองสุพรรณภูมิ เมืองราชบุรี เมืองเพชรบุรี

เมืองนครศรีธรรมราช จนสุดชายฝั่งทะเล”

จะเห็นว่าในรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงฯนี้

อาณาจักรสุโขทัยได้ครอบครองเมือง

ในลุ่มแม่น้ำ ปิง ยม น่าน และป่าสักได้ทั้งหมด

อันเป็นการรวบรวมเมืองบ้านพี่เมืองน้อง

ซึ่งเคยอยู่ใต้ครอบครอง ของ

ราชวงศ์พ่อขุนศรีนาวนำถุม

ให้เป็นแว่นแคว้นเดียวกัน

และขยายอาณาเขตไปยัง

ดินแดนห่างไกลออกไป

แม้ว่าพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

จะมิได้เป็นผู้ทรงประดิษฐ์รูปอักษรขึ้น

โดยพระองค์เองก็ตาม

การที่พระองค์ทรงแก้ไขตัวอักษรเสียใหม่

ในสมัยกรุงสุโขทัยนั้น นับเป็นการสำคัญ

เป็นการพัฒนาต่อยอดทางความคิด

คือ การนำภูมิความรู้ทั้งหลาย

ที่มีอยู่เดิมในขณะนั้น

มาพัฒนาให้เกิดความเหมาะสม

ให้มีความสะดวกในการจารึกและอ่าน

อีกทั้งเสียงที่ใช้นั้นก็มีความครบถ้วน

ตามลักษณะเสียงที่ใช้ในภาษาไทย

สิ่งนี้นับเป็นคุณประโยชน์ อย่างมหาศาล

เป็นวิวัฒนาการอันทำให้เกิด

ความเจริญก้าวหน้าทางความรู้และวิทยาการ

ในสมัยนั้นเป็นอย่างยิ่ง

แสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยะภาพในเชิงภาษาศาสตร์

และความเป็นนักปราชญ์ของพระองค์

ตัวอักษรไทยที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

ทรงคิดค้นขึ้นนี้ ได้มีผู้นำไปใช้กันแพร่หลายต่อไป

ในประเทศใกล้เคียงในสมัยนั้น

เช่น ในล้านช้าง ล้านนา และประเทศข้างฝ่ายใต้

ของอาณาจักรสุโขทัย คือ กรุงศรีอยุธยา

ขอบคุณที่มา  fb. Anna Jill
ขอบคุณเจ้าของภาพทุกภาพ

คัดลอกจาก....




Create Date : 17 มกราคม 2558
Last Update : 17 มกราคม 2558 13:24:58 น.
Counter : 786 Pageviews.

0 comments
การ์ตูนจากกล่องอาหาร สมาชิกหมายเลข 4313444
(14 เม.ย. 2567 04:14:16 น.)
เมนูที่เต็มไปด้วยคุณค่าอาหาร ข้าวยำ สมาชิกหมายเลข 4313444
(4 เม.ย. 2567 00:28:04 น.)
9 แนวคิดที่ทำให้เรามีชีวิตประจำวันที่ดีกว่าเดิม peaceplay
(31 มี.ค. 2567 09:18:27 น.)
เอื้องชมพูไพร สมาชิกหมายเลข 4313444
(21 มี.ค. 2567 02:45:05 น.)
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Poungchompoo.BlogGang.com

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]

บทความทั้งหมด